​ธาตุปะนม 7



เล่ามาถึงคน( ไท, ไต, ลาว ) ล้านช้างได้ละถิ่นเดิมล่องแม่น้ำโขงลงมา พวกคนข่าคนขอมที่อยู่เดิมก็ถอยลงไปอยู่เขมรหรือประเทศกัมพูชาปัจจุบัน มีผู้นำเป็นเจ้านายในราชวงศ์ล้านช้างท่านหนึ่งมาตั้งเมืองเอาชื่อเดิมคือมรุกขนครขึ้นต่อกรุงล้านช้าง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศรีโคตรบูร และย้ายข้ามฝั่งโขงมาตั้งเมืองชื่อเมืองนครและกาลต่อมาเอาชื่อองค์พระธาตุไปต่อท้ายได้คำว่า นครพนม ปัจจุบัน

ช่วง พ.ศ. 2073-2103 พญาโพธิศาล ลูกพญาวิชุลลราช ปกครองเมืองหลวงพระบาง ท่านมีมเหสีเป็นธิดาพญาอินทปัตถนคร ( เขมร ) ด้วยเหตุนี้พ่อตาได้มอบตำนานพระอุรังคธาตุให้ เมื่อท่านได้อ่านแล้วเกิดธรรมปีติเลื่อมใสได้มากราบไหว้บูชาองค์พระธาตุ ณ ภูกำพร้าและมอบให้ข่าชะเองและข่าพันเฮือนหิน ดูแลรักษาพร้อมคนสามพันคนพร้อมสั่งให้ไปรับเครื่องราชสักการะมาถวายองค์พระธาตุในเทศกาลออกพรรษาตลอดสมัยท่าน

ช่วง พ.ศ. 2103-2114 พญาไชยเชษฐาธิราชบุตรพญาโพธิศาลขึ้นปกครองต่อมาโดยย้ายเมืองหลวงมาที่นครเวียงจันทร์

ท่านได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนามาก เช่น ปี พ.ศ. 2111 ก่อเจดีย์เสริมพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ให้สูงขึ้นปัจจุบัน สร้างพระพุทธรูปองค์ตื้อ 3 องค์ อยู่ในเวียงจันทร์ 2 องค์ และอยู่วัดน้ำโมงค์ อ. ท่าบ่อ จ. หนองคาย อีกหนึ่งองค์ ครั้งมามรุกขนครได้สร้างพระธาตุไว้หนึ่งองค์คือพระธาตุศรีโคตรบูรเมืองท่าแขกในปัจจุบันแล้วมากราบไหว้บูชาองค์พระธาตุปะนม ณ ภูกำพร้า

ช่วง พ.ศ. 2187-2254 บุตรพญาต่อนคำชื่อพญาสุริยวงศาปกครองแต่บ้านเมืองไม่สงบเจ้านายชั้นสูงต่างหลบหนีเอาชีวิตรอด แต่มีพระเถระรูปหนึ่งเป็นที่พึ่งชาวเมืองนับถือมากคือ ท่านราชครูโพนสะเม็ก ใน พ.ศ. 2233-35 ท่านได้เป็นผู้นำบูรณะองค์พระธาตุเจดีย์ ณ ภูกำพร้าตั้งแต่ชั้นที่สองถึงยอดพระธาตุแล้วท่านได้พาบริวารล่องโขงลงไปถึงเมืองเชียงแตงในเขตเขมร ท่านได้สร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ที่นั้นชื่อว่าพระองค์แสน ( สมัย ร.4 ได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดหงส์ ฯ ฝั่งธนบุรี ปัจจุบัน )

ที่นั้นนางเพากับนางแพงครองเมืองจำปาศักดิ์อยู่ได้ยกเมืองถวายท่าน ท่านให้เจ้าหน่อพญาที่ตามมาขึ้นครองเมือง และท่านได้เป็นเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กปกครองฝ่ายสงฆ์ไม่ขึ้นกับกรุงเวียงจันทร์ จนท่านอายุ 90 ปีได้ละสังขาร ณ วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2263 ผู้ศรัทธาท่านเรียกว่า เจ้าราชครูขี้หอม ได้นำกระดูกท่านมาไว้ ณ วัดพระธาตุพนมในปัจจุบัน

พ.ศ. 2321 เกิดการรบกันระหว่างกองทัพกรุงธนบุรีกับกองทัพกรุงเวียงจันทร์ พระยาสุรสีห์แม่ทัพกรุงธนบุรีมีชัย

พ.ศ. 2349 เจ้าอนุวงศ์ครองเมืองเวียงจันทร์องค์สุดท้ายได้ร่วมกับเจ้าเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารมาบูรณะองค์พระธาตุเจดีย์ ณ ภูกำพร้า

พ.ศ. 2444 มีพระเถระจากเมืองอุบล 3 รูปคือ พระอาจารย์ ทา พระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์มาถึงองค์พระธาตุ ณ ภูกำพร้าเกิดธรรมปีติจึงบอกชาวบ้านให้ไปนิมนต์พระช่างผู้ชำนาญมาอยู่วัดพระธาตุนี้คือพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดชและท่านได้นำการบูรณะสำเร็จ ลุมาถึง วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน

9 ปี เถาะ พระธาตุพนมที่เปลี่ยนไปตามชื่อจังหวัดก็พังทลายลงมา

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2518 ทำพิธีบวงสรวงและบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 17 ตุลาคม 2518 ค้นพบพระอุรังคธาตุเดิมสูงจากดิน 14.70 เมตร ขณะพบพระอุรังคธาตุสูงจากดิน 3 เมตร เป็นพระอุรังคธาตุ 8 องค์ บรรจุในผอบแก้วและวันที่ 21-23 มีนาคม พ.ศ. 2522 ทำพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุตามเดิมแล

หมายเลขบันทึก: 588695เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ จ้ะ ขอบคุณมากมายสำหรับเรื่องราวดี ๆ จ้ะ


สวัสดีครับ ดร. เปิ้ล

ยังมีหลายแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่น่าสนใจนะครับ

สวัสดีครับ คุณมะเดื่อ

ข้อมูลบางอย่างยังคงความขลังและศักดิ์สิทธิ์มองในแง่มุมทางศาสนานะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท