ธาตุปะนม 6


ขอเล่าต่อจากตอนที่แล้ว พญาสุมิตรธรรมวงศาและชาวเมืองมรุกขนครได้ทำบุญด้วยทรัพย์สิ่งของนานาประการแด่พระอุรังคธาตุแล้วได้ตั้งความปรารถนาว่าขอให้บรรลุพระอรหันต์องค์หนึ่งส่วนชาวเมืองก็ตามอัธยาศัยของตนแล้วได้สร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระธาตุไว้แล้วให้คนมาเฝ้าดูแลรักษาสามพันคนแล้วพญาจุลอินทปัตถนครและพญาปุตตจุลณีพรหมทัตก็อำลากลับยังนครของตน

ส่วนพญาสุมิตรธรรมวงศาได้ไปสร้างพระธาตุไว้อีกองค์หนึ่งตรงที่พระพุทธเจ้าเคยมาพักที่ใต้ต้นรังเมื่อครั้งที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองศรีโคตรบูร ฝ่ายพระอรหันต์ห้ารูปจึงอัญเชิญพระธาตุกระดูกสันหลังของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุนั้นคือพระธาตุอิงฮังในเมืองสวรรณเขตประเทศลาวปัจจุบันนี้

ต่อมาพญาสุมิตรธรรมวงศาได้ย้ายไปปกครองเมืองร้อยเอ็ดประตูและได้ล่วงลาลับที่นั้น

ส่วนเมืองมรุกขนครมีผู้ปกครองต่อมาอีกสองสมัยคือพญาทุฏฐคามินีและพญานิรุทธราช ด้วยพญานิรุทธราชไม่อยู่ในศีลธรรมทำให้เกิดบ้านเมืองวิปริตเมืองล่มสลายด้วยฝนตกน้ำท่วมเป็นหนองบึงทำให้เมืองร้างมาราวห้าร้อยปี

และตำนานพระธาตุปะนมได้บันทึกลงในใบลานทองเก็บไว้ที่เมืองร้อยเอ็ดประตูมีผู้นำเอาไปไว้ที่โลหะปราสาทเมืองลังกานานแสนนาน ต่อมาพระพุทธโฆษาจารย์เดินทางไปแปลพุทธธรรมที่ลังกาได้พบใบลานนี้และได้จำลองใส่ใบลานอีกชุดส่งมาไว้ที่เมืองอินทปัตถนคร ( เขมร ) นานแสนนานขณะที่พระธาตุปะนมที่ภูกำพร้าก็ถูกทิ้งร้างนานแสนนานอย่างน่าใจหาย

หมายเลขบันทึก: 588693เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยไปกราบมาแล้วค่ะ .... งดงามมากๆๆค่ะ


สวัสดีครับ ดร. เปิ้ล

มีความสุขในวันสงกรานต์ไทยนะครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท