โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (ช่วงที 4 แล้ว ระหว่างวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 ได้เข้ามาสู่ช่วงที 4 แล้ว ระหว่างวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2557

สำหรับครั้งนี้มีทั้งการนำเสนอผลงานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ เรื่อง How Google Works และ ศึกษากรณีศึกษาที่น่าสนใจ เรื่องเป็นแนวทางในการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ภายใต้แนวคิด MED PSU 2020 ที่สามารถเชื่อมโยงกับงาน Mini Research for Innovative Project ของแต่ละกลุ่ม รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม CSR:Public Spirit -Enlarge your Networks ร่วมกันด้วยครับ

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2557

หัวข้อ นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสื

เรื่อง "How Google Works" (Group Assignment 3) เวลา 09.00-10.00 น.

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เวลา 10.00 - 12.30 น.

หัวข้อ ศึกษากรณีศึกษาที่น่าสนใจ1 เรื่องเป็นแนวทางในการพัฒนาคณะแพทย์ฯ ภายใต้แนวคิด"MED PSU 2020" ที่สามารถเชื่อมโยง กับงาน "Mini Research for Innovative Project ของแต่ละกลุ่ม"

โดย อ.กิตติ ชยางคกุลและอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เวลา 13.30 – 16.30 น. Learning Forum& Workshop

หัวข้อ "จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง"ธรรมาภิบาล" ในองค์กร"

โดย ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

กรรมการ ป.ป.ช.

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557

09.00-12.00น. MED PSU 2020: Case Studies & Learn – Share – Care Intensive Workshop (4): CSR

: Social Innovation: คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชน

ในสายตาของประชาชน

โดย นายพงศา ชูแนม

หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (ปราชญ์ชาวบ้าน)

นายดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ"

ปราชญ์ชาวบ้านแห่งตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และดำเนินรายการ โดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

13.30 – 16.30 น. Learning Forum& Workshop

หัวข้อ Crucial Conversation

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หมายเลขบันทึก: 580266เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2014 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (84)

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสื

เรื่อง "How Google Works" (Group Assignment 3)

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2557

กลุ่ม 1

สิ่งทีเป็นนวัตกรรมของ Google

  • -Google ทำรถที่ขับได้เอง
  • -Google ทำแว่น
  • -Google เป็นเจ้าของระบบ android
  • -ซื้อโมโตโรล่าปี 2011
  • -ผลิตหุ่นยนต์ลงทุนในบอสตัน ซึ่งใกล้เคียงกับมนุษย์มาก
  • -Artificial intelligent

สิ่งที่ต้องการคือให้ทมบริหาร ป้อน Big idea เข้าไป

กลยุทธ์ขององค์กร

  • -คิดสิ่งที่เหนือกว่าปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยี
  • -คิด Growth แต่ไม่ revenue
  • -ให้รู้จักคู่แข่งแต่ไม่ต้องตาม

ทฤษฎี 8K's

1.ทุนมนุษย์ ได้แก่ทุนเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นทุนที่ได้มาจากการกระทำในอดีตชาติ ทำให้มาเกิดในท้องของพ่อแม่ ที่มีความพร้อมแตกต่างกัน

2.ทุนทางปัญญา ทุนนี้เป็น ทุนที่ต้องสร้างด้วยตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาและคนรอบข้าง มีอิทธิพลกับการนำทุนทางปัญญาไปใช้ในทางดีหรือไม่ดี

3.ทุนทางจริยธรรม ทุนนี้เป็นทุนที่ต้องสร้างด้วยตัวเองล้วนๆ เป็นทุนที่ส่งเสริมในการนำ ทุนที่ 2 คือทุนทางปัญญาไปใช้ในทางที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพร้อง

4.ทุนแห่งความสุข ทุนนี้เป็นทุนที่สร้างด้วยตัวเองล้วนๆ เป็นทุนที่สำคัญที่สุด คนที่มีทุนนี้มาก คือคนที่มีทุน ที่ 1+2+3 เต็มสมบูรณ์

5.ทุนทางสังคม ทุนนี้เป็นทุนที่ได้รับอิทธิพลจาก ครอบครัว สถานศึกษา และคนรอบข้าง ส่วนจะพัฒนาให้มีทุนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชอบและความสามารถของแต่ละคน ในการมีบทบาทเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นๆ

6.ทุนแห่งความยั่งยืน ขึ้นอยู่กับการกระทำและประสบการณ์ของแต่ละคนที่มีผลกระทบต่อจิตใจของตัวเองและคนรอบข้างหรือคนที่มีส่วนได้เสียกับการกระทำของแต่ละคน

7.ทุนทางไอที ทุนในการนำ ไอที มาใช้เป็นเครื่องมือ ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและการทำงานของแต่ละคน

8.ทุนความรู้และทักษะและทัศนคติ ทุนนี้เป็นทุนที่ได้จากประสบการณ์ในการเรียนรู้ ในสถาบันการศึกษา สถานที่ทำงาน ชุมชนและเครือข่ายทางสังคม ตลอดจนในครอบครัวของตนเอง

ทุน 5K's

1.ทุนแห่งการสร้างสรรค์ เป็นทุนที่คิดในด้านบวก สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส คิดสิ่งใหม่ๆ

2.ทุนทางความรู้ เป็นทุนที่เพิ่มเติมจากความรู้อย่างผิวเผิน ความรู้ในมิติเดียว ให้เป็นความรู้อย่างลึกซึ่งและเป็นความรู้ในหลายมิติ

3.ทุนทางนวัตกรรม ได้แก่ทุนที่ต่อยอดจากของเดิมทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

4.ทุนทางอารมณ์ ได้แก่ทุนในการบริหารอารมณ์ ให้เกิดอารมณ์ที่สร้างสรรค์ มีอิทธิพลทำให้เกิดทุนทางปัญญา +ทุนทางจริยธรรม เป็นผลทำให้เกิดทุนทางความสุข +ทุนแห่งความยั่งยืน

5.ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ทุนในการศึกษาเรียนรู้เรื่องคน ซึ่งเป็นคนในมิติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและค่านิยมของแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน

อ.จีระ: เมื่อเราเข้าใจ Google จะประยุกต์กับคนในห้องนี้อย่างไร หลักสูตรนี้ต้อง Know and do เราจะปรับตัวเองอย่างไรในการเข้าไปสู่ 5K ต้องกระเด้งออกไป

สิ่งทียากคือ อะไรเป็นแรงผลักดัน เพื่อรวมพลังกันให้ไปสู่สิ่งที่ยาก หรือ หลุดจาก Comfort zone

กลุ่ม 2

Innovation: เป็นที่ใหม่ สิ่งใหม่ การดำเนินการของความคิดใหม่ และมีประโยชน์ ยังไม่พอต้องมี -New
Surprising
Useful

Google(x) Team

1.งานที่ท้าทาย กระทบต่อคนหมู่มาก

2.แตกต่าง

3.สิ่งที่เป็นไปได้และทำได้จริงในอนาคตอันใกล้

CEO ควรทำหน้าที่ CIO
Chief Innovation Officer
Udi Manbe from Yahoo
คนที่ และมีความสามารถในการนำซึ่งสิ่งใหม่ๆและมีความกล้าที่จะเสี่ยง คิดแปลกๆคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ มีความสำคัญการสร้างนวัตกรรม

หลัก 20% Time ของ Google
แปลง่ายๆในทางปฏิบัติเลยคือ พนักงานจะมีเวลา 1 ใน 5 ของเวลาทำงานทั้งหมดเพื่อทำงานในโปรเจคที่สนใจ

ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับงานหลักก็ได้ : Demo Day

Innovations จะเป็นการเล่าถึงเทคนิคในการออกแบบองค์กรให้ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งแน่นไปด้วยตัวอย่างจริงของบริษัท รวมไปถึงวิธีการตัดสินใจของคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะได้เห็นเหมือนที่ผ่านมาว่า Google มีวิธีการของตัวเองที่เป็นเอกลักษณ์และไม่สามารถเอาวิธีการเดิมๆ จากบริษัทที่มีอายุมายาวนานมาใช้ได้เลย

Innovation ต่อองค์กร คณะแพทย์
CIO
7ส

Innovation award
Human:New Generation

20 % Time??

อ.จีระ: Innovation culture ที่เกิดที่ Google จะมาเกิดที่คณะแพทย์ มอ.ได้อย่างไร

อย่างแรกคือต้องสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

Incentive ของคนใน Google มันมหาศาล แต่ของเรายังติดที่ Reward ซึ่งต้องกลับมาดูความเป็นจริงของเรา

กลุ่ม 3 Conversations: BE A DAMN GOOD ROUTER

เขาจะตอบจดหมายทันที เมื่อมีจดหมายเข้ามา แต่คนอื่นไม่เข้าใจคิดว่าไม่มีการลำดับความสำคัญของงาน เขาจะเห็นอุปสรรคเป็นแรงบันดาลใจ TOOK A BARB AS A COMPLIMENT

จุดมุ่งหมายของภาวะผู้นำ คือ การให้ข้อมูลทั่วถึง

•ERIC เลือกที่จะเปิดเผย โดยการรายงานสถานะธุรกิจเชิงลึกต่อ คณะกรรมการทุก 3 เดือน

•OKR Objective key result

ในแต่ละคน ผล ทำให้ทุกคนรู้เพื่อการสื่อสารได้ตรงคนทุก 3 เดือน

ผู้บริหารจะต้องรู้รายละเอียดของงาน KNOW THE DETAILS : ติดตามความก้าวหน้าต่อไปและให้ข้อมูลย้อนกลับ

IT MUST BE SAFE TO TELL THE TRUTH

•TGIF -------à THANKS GOD IS FRIDAYวันที่พนักงานจะถามปัญหากับผู้บริหาร ERIC& SERGOY

•DORY -à จัดระบบให้ส่งคำถามมา คำถามใดที่เป็นที่สนใจที่สุดจะได้รับการตอบ (พนักงานลงคะแนน

การสื่อสารต้องทำซ้ำๆ 15-20 ครั้ง

•Over communication

แนวทางการสื่อสารขั้นพื้นฐาน 7 ประการ

1. การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะรู้หรือเปล่า

2. การสื่อสารวิธีนี้ได้ผลหรือไม่

3. การสื่อสารนี้น่าสนุก น่าสนใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจหรือไม่

4. การสื่อสารนี้ น่าเชื่อถือหรือไม่

5.การสื่อสารนี้ถูกคน/ถูกกลุ่มหรือไม่

6.การสื่อสาร นี้เลือกใช้สื่อถูกหรือไม่

7. สื่อสารด้วยการบอกความจริง ด้วยความปรารถนาดี

Email Wisdom

  • -ต้องมีการตอบสนองที่เร็ว
  • -กระชับ ชัดเจน
  • -มีการเคลียร์inbox ตลอด
  • แสดงให้เห็นว่า CEO ของ Google ใส่ใจต่อเพื่อนร่วมงาน

CEO มีบทบาท เป็นลูกน้อง เป็น Partner เขารู้ว่าจะต้องสื่อสารแบบไหน มีการพูดคุยเป็นระยะเป็น 1:1

การประชุมบอร์ด

เป้าหมาย

  • -Harmony
  • -Transparency
  • -Advice
  • Highlight/lowlight

อ.จีระ: บทนี้เน้นเรื่องการสื่อสารในองค์กร ผู้นำทางความคิด สิ่งแรกที่ควรจะมีคือต้องมีความรู้ใหม่ๆ
ระบบราชการ ยังมีการบัญชาการเป็นระบบขั้น

กลุ่ม 1 มีการแสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นของ Google ลึกๆแล้วเหมือนว่าทำเรื่อง search engine อย่างเดียว แต่กลุ่ม 1 แสดงให้เห็นว่าทำเรื่องนวัตกรรมหลายอย่างมาก

อ.จีระ: ช่วงเวลาที่จะสร้างความคิดใหม่ ต้องมีช่วง Clam and peace

EQ ถ้าใครมีก็ประสบความสำเร็จในงาน

กลุ่ม 4

Talent-Hiring is the most Important thing you do

Google ให้ความสำคัญ คน เข้าทำงาน

เพราะเชื่อว่า "ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญ"

มีหลักเกณฑ์ที่น่าสนใจ

•การคัดเลือกเป็นแบบคณะกรรมการ (peer-based hiring) เพราะการสัมภาษณ์ด้วยผู้จัดการคนเดียวจะทำให้ได้คนที่เก่งแต่อาจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้

•การสร้างวัฒนธรรมการสัมภาษณ์ให้ทุกคนมีส่วนร่วม

•เลือกคนที่มีความอยากเรียนรู้ ไม่ได้เลือกจากความรู้ที่เขามีแต่จะเลือกคนที่ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้ด้วย เพราะเชื่อว่าพลังสมองคือจุดเริ่มต้นของการคิดไกล และมีทัศนคติที่เติบโตได้ (growth mindset)

•เลือกผู้ที่สามารถทำงาน Generalist มากกว่า specialist

•ความรักในงาน (passion) และบุคลิกภาพที่เข้ากันได้ มีความยืดหยุ่น(character)

•ให้กำหนดคุณสมบัติ กว้าง ๆ ก่อน แล้วค่อยๆ คัดเลือกโดยไม่กังวลเรื่องประสบการณ์

•ให้ความสำคัญใน การสัมภาษณ์มากกว่าเอกสารแนะนำตัว

ตั้งคำถามแบบให้แสดงความคิดและนำคำถามเดียวกันไปใช้ถามคนอื่นด้วยเพื่อจะได้เป็นการเปรียบเทียบ

•ใช้เวลาการสัมภาษณ์ไม่เกิน 30 นาที

•แบ่งกลุ่มของผู้สมัคร เป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่มีความเป็นผู้นำ (leadership)

กลุ่มใช้ความรู้ในงาน (role-related knowledge)

กลุ่มที่มีความสามารถเชิงความคิด (general cognitive ability)

กลุ่มที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ Googleyness

•การสัมภาษณ์จะเน้นคุณภาพและเร็ว และสามารถตอบได้ทันที"ผ่าน" (thumb up) หรือ "ไม่ผ่าน" (thumb down)

Talent-Hiring is the most Important thing you do *คัดเลือกคนที่มีความอยากเรียนรู้ พร้อมที่จะเจอสิ่งใหม่ๆ มองปัญหาเป็น ตั้งคำถามเป็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์ในงานที่รับสมัครแต่เขาคนนั้น คือ บุคคลที่ควรจะรับเข้าทำงาน

กลุ่ม 5 Decision-The true meaning of Consensus

  • -ต้องมีการตัดสินใจหลายสถานการณ์
  • การเปิดตลาดที่ประเทศจีน มีปัญหา แต่ต้องอยู่ที่ประเทศจีน กฎหมายของจีนมีการเซนเซอร์ข้อมูล ทำให้ข้อมูลโดนแฮค โดยเฉพาะ Gmail และเรื่องความลับสำคัญต่างๆ
  • Consensus (Latin)
  • "Cum"à "Together with"
  • "sentire" à "To think or feel"
  • "To think or feel together" คิดและรู้สึกและไปร่วมกัน

การจะประสบความสำเร็จ

  • -ต้องมีข้อโต้แย้งกัน
  • -ต้องมั่นใจว่าทุกคนต้องออกเสียง

การตัดสินใจ

  • -ต้องมีระยะเวลา
  • -ตัดอคติ
  • -ต้องตัดสิ่งที่ไม่สำคัญ
  • -ทำให้ทีมไปด้วยเป้าหมายร่วมกัน
  • -ต้องมีความยืดหยุ่น

Make fewer decisions ต้องเลือก Which one of you won?

Actually, we came up with a new idea

ถ้าการตัดสินใจมี 2 เรื่อง ให้คุณค่าของเรื่องที่ไม่ได้เลือกด้วยเช่นกัน

ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีเจ้าของการตัดสินใจต้องมีวัตถุประสงค์ของการประชุม

Have a succession plan

Losing these high-potential employees is very costly to company ต้องรักษาคนทีมีความสามารถสูง

Be proactive and aggressive in your efforts to keep them happy ทำให้มีความสุข

นักกีฬาที่เก่งที่สุดในโลก มีทักษะหลายอย่าง เช่นเดียวกับเรื่องการบริหารที่ต้องมีโค้ช มีการเรียนรู้ทักษะใหม่ เรียนรู้จากประสบการณ์

อ.จีระ: กลุ่ม 4 google จะรับคนที่บ้าการเรียนรู้ กลุ่ม 5 เมื่อองค์กรถึงจุดหนึ่งต้องมีการตัดสินใจ

ขอแนะนำเรื่องการประชุม

- อย่าประชุมบ่อย

- อย่าประชุมแบบไม่มีเวลาจำกัด

- ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วม

สิ่งที่คณะแพทย์ มอ.มาประยุกต์ใช้

  • -20% เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • -ผู้บริหาร ผู้ใต้บังคับบัญชา มีการเรียนรู้ด้วยกัน และมีการแชร์กัน และมีการแคร์กัน ส่วนที่ประสบความสำเร็จมาก คือ เรื่องการสื่อสาร เพราะมีการโต้ตอบตลอดเวลา

คุณพิชญ์ภูรี: ได้เรียนรู้และร่วมแชร์ความคิดเห็น กลุ่ม1 นำเสนอสมบูรณ์แบบ สามารถสร้างศรัทธาได้ กลุ่ม 2-5 ในความไม่สมบูรณ์แบบ แต่การขาดๆ ทำให้เกิดช่องว่างทำให้คนคิดตามได้

คุณสมบัติของCEOใน Google

  • -Step
  • -เลือกความสำคัญ เนื่องจากมีข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงมาก มีการลำดับความสำคัญในคำถามของพนักงานที่จะถาม CEO
  • -การสื่อสารที่ดี ฟัง โต้ตอบ และมีการสื่อสารที่เร้าใจ
  • -ความสุขในการทำงาน

สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดการยอมรับนับถือ ทำให้เกิด Big idea ทำให้การทำงานร่วมกันไปได้ดี

ต้อง Turn idea to action ให้ได้

สรุปการบรรยาย

หัวข้อ "จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง"ธรรมาภิบาล" ในองค์กร"

โดย ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ
12
พฤศจิกายน 2557

ทุนมนุษย์ที่สำคัญ คือ ทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานติดตัวมาในแต่ละคน

หลักทางการแพทย์ หรือจิตวิทยาสังคม กล่าวว่า การเลี้ยงดูลูกมีความสำคัญมาก

การสอนในครอบครัว บางครั้งลูกๆอาจจะเบื่อ เพราะอาจจะพูดซ้ำ ต้องเข้าใจว่าพ่อแม่เป็นห่วง

กระบวนการสอนจะติดอยู่ในหู ในใจ จะเกิดสิ่งที่เป็นรากฐานของธรรมะที่อยู่ในบ้าน

ขั้นตอนของการพัฒนาหลักคุณธรรม

ขั้นที่ 1 punishment & reward ขั้นเตรียมการเข้าสู่การเป็นผู้มีคุณธรรม (preconventional level)

ขั้นที่ 2 Good Boy / Nice Girl ขั้นเริ่มต้นการมีคุณธรรม (conventional level) เรียนรู้จากครอบครัว โรงเรียน & เพื่อน (LAW & ORDER)

การฝึกอบรมสมัยนี้ไม่มีประโยชน์ เพราะคนที่จะเอาไปใช้ได้คือ คนที่มีความคิดที่จะสามารถนำไปปรับใช้ได้

สิ่งที่จะให้เราเข้าสู่ระบบคุณธรรมจริยธรรมที่สมบูรณ์จะต้องเข้าสู่ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 3 self – acceptedmoral principles ขั้นของการยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง(posteonventional , autonomous or principled level) เป็นกระบวนการที่เข้าสู่ระบบจริยธรรม ต้องใช้วิจารณญาณและเหตุผลแยกแยะว่าอะไรผิดอะไรถูก

หลักการยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตัวเอง เป็นพื้นฐานของหลักจริยธรรม ต้องเต็มใจที่จะปฏิบัติไม่ใช่ถูกบังคับ เราวิเคราะห์แล้วว่าถูกต้อง
มีการให้เหตุผลกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักยึดในการประพฤติปฏิบัติ

มนุษย์มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ไม่สามารถทำลายได้

วาจาไม่สุภาพ ทำร้ายคนได้ถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นคำว่าฆ่า ไม่ได้ใช้เฉพาะกายภาพอย่างเดียว ทางวาจาก็ให้ผลเช่นกัน การที่ยอมรับหลักคุณธรรมว่าการฆ่าไม่ดี ก็จะลงลึกถึงจิตใจ

พ่อแม่ที่เลี้ยงดูให้เกียรติลูกเท่าเทียมกัน ลูกก็จะรู้สึกว่าต้องให้เกียรติคนอื่นเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ครอบครัวต้องมี จนถึงเข้าโรงเรียน

จริยธรรม

อุดมการณ์หรือมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ที่เป็นจุดมุ่งหมายเพื่อความดีสูงสุด แยกเป็น 2 แนวทาง

1. ช่วยอธิบายการตัดสินใจของมนุษย์ เรื่องอุดมการณ์ ยังอยู่ไกลระบบสากลหรือตะวันตก การเอาเรื่องความประพฤติความรู้ความสามารถเป็นหลักคิด ไม่ใช่ดูที่พวกเป็นหลัก

หากดูองค์กรเป็นหลักในการรับคน เรียกว่าธรรมาภิบาล

จริยธรรม จึงช่วยเราตัดสินใจเวลาทำอะไร แบบแหลมคม

2. ช่วยก่อตั้งหรือส่งเสริมการกระทำหรือจุดมุ่งหมายของมนุษย์ให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง

ถ้าหากเป็นการตัดสินใจส่วนตัวก็เลือกได้ตามใจชอบ แต่หากจะเลือกของที่เหมาะสมกับองค์กรของเรา เราจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ไม่ได้ ต้องละลายความเป็นตัวตนของตัวเองออกไป

1. การตัดสินใจในเรื่องของคุณค่า ส่วนที่ได้คือ จิตใจเรายกระดับ เราจะคำนวณเป็นมูลค่า ในกระบวนการวางหลักเรื่องคุณค่าต้องสอนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา รู้จักคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คุณค่าอยู่ที่ว่าจะรับเท่าไหร่ แต่สิ่งที่กำลังพูดคุณค่าด้านจริยธรรม คือหาค่าไม่ได้ เท่าไหร่ก็หาค่าไม่ได้ คำนวณไม่ได้ คุณค่าความเป็นมนุษย์อยู่ที่จิตใจ ขึ้นอยู่กับเขามีคุณค่าแค่ไหน มีมูลค่าเท่าไหร่ มูลค่าบางอย่างก็ไม่มีคุณค่าแค่เรื่องเงิน คุณค่าแห่งการเป็นมนุษย์ขาดหายไปในสังคมไทย การศึกษาเปลี่ยนแปลงไปเลยมีการเปลี่ยนแปลง มีการตีราคาเป็นเงิน สิ่งที่ซื้อไม่ได้เลยคือ ความรัก

2.การติดสินใจในเรื่องของภาระหน้าที่ ทฤษฎีว่าด้วยภาระหน้าที เป็นต้นกำเนิดของวิชาชีพ ซึ่งต้องมีจริยธรรมที่สูงกว่าปกติ ต้องมีจรรยาบรรณ ประมวลจริยธรรม แล้วต้องมีสภาหรือองค์กรที่ควบคุมจรรยา หรือวิชาชีพของตัวเอง

แยกเป็น 2 ลักษณะ

1. การตัดสินใจในเรื่องคุณค่า - ทฤษฎีที่ว่าด้วยคุณค่า

2. การตัดสินใจในเรื่องของภาระหน้าที่ – ทฤษฎีที่ว่าด้วยภาระหน้าที่

การรักษาคนไข้ เราคำนึงว่าต้องรักษาให้ดีที่สุด มาตรฐานเดียวกัน ต้องมีความยุติธรรม

จริยธรรมที่สำคัญ

1. ความซื่อตรง (Integrity)

ประเทศเกาหลี มีการประเมิน Integrity Assessment ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรโดยประเมินคุณธรรม จริยธรรม

2. ความสุจริต (Honesty)

3. ความมีศีลธรรม (Morality)

4. ความยุติธรรม (Fairness)

5. การรักษาคำมั่นสัญญา (Promise Keeping)

6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (Compliance With Laws and Regulation)

8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี (Reputation and Dignity

ทั้ง 8 ข้อ เป็นเรื่องของ Personal ethics

สิ่งที่ต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่งคือ การปกครองบ้านเมือง เพราะอาศัยความดีงามของมนุษย์

  • -ต้องใช้ศิลปะทุกประเภท
  • -ต้องเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย

สิ่งที่ทำให้บ้านเมืองอยู่รอดคือ ให้คนดีปกครองบ้านเมือง เพราะหากให้มาปกครองบ้านเมืองก็ไม่มีทางรอด ประเทศตกต่ำ

ต้องคำนึงถึงความดี งาม และถูกต้อง หรือไม่ ถ้าครบ 3 อย่างนี้ก็ทำเลย

เวลาดำเนินการอะไรก็ตามต้องให้ครบทั้ง 3 อย่าง ถึงจะสัมฤทธิ์ผล

จริยธรรม คืออะไร

มาตรฐานความประพฤติที่ใช้ในการกำกับดูแลพฤติกรรมของบุคคล หรือของกลุ่มบุคคล หรือ

ของชุมชน และรัฐบาลที่ดีจะต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่

1. ออกกฎหมายที่ดี สอดคล้องกับศีลธรรม และจริยธรรมของผู้คนที่อยู่ในสังคม

2. ไม่ออกกฎหมายที่ทำลายหลักศีลธรรม และจริยธรรมของผู้คน

พฤติกรรมของคนต้องตระหนักว่าวัฒนธรรมเป็นมาอย่างไร และอย่ากดเขาให้ต่ำ ต้องจับจุดอ่อน มาเป็นจุดแข็งให้ได้

หลักทศพิธราชธรรม

1. ทาน คือ การให้

2. ศีล คือ วินัย

3. บริจาค คือ ความเสียสละ

4. อาชวะ คือ ความซื่อตรง

5. มัทวะ คือ ความอ่อนโยน

6. ตบะ คือ ความเพียร

7. อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ

8. อวิหิงสา คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

9. ขันติ คือ ความอดทน

10. อวิโรธนะ คือ ความเที่ยงธรรม

ความหมายของธรรมาภิบาล

- Good Governance

- ธรรมาภิบาล

- การบริหารจัดการที่ดี

- การกำกับดูแลกิจการที่ดี

- การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่

1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3. มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบพื้นฐานของ "ธรรมาภิบาล"

1. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ : สามารถตรวจสอบได้ ส่วนไหนมีข้อบกพร่อง ต้องมีส่วนกระตุ้นเตือน และเป็นการทำงานทั้งระบบ

2. ความโปร่งใส

3. การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน

4. การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

5. มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

คำถาม : หากไม่มีความโปร่งในองค์กร จะต้องทำอย่างไร

ท่านวิชา: ในการตรวจสอบ ในหน่วยงานต้องเข้าถึงผู้บริหารได้ ผู้บริหารต้องไม่รู้สึกว่าพนักงานยุ่งอะไร เช่น กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ดำรงธรรม มีการให้ร้องเรียนผ่านตู้ และทางที่ดีต้องตั้งคณะกรรมกาในการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

คำถาม: หากต้องการให้มีการตรวจสอบ อาจต้องเขียนจดหมายถึงหัวหน้าหน่วยงาน หากเรื่องเงียบไปเขียนถึงผู้ตรวจการแผ่นดินได้หรือไม่

ท่านวิชา: ได้หลายช่องทาง เพื่อให้คนที่อยู่ในหน่วยงานตรวจสอบ มีหน่วย Watch dog หรือ แค่ Integrity watch เพื่อให้สบายใจ และทำให้คนมีส่วนร่วม

กฎที่อยู่เหนือกฎหมายคือความยุติธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการความเสมอภาค respect to the law ควรนับถือกฎหมาย อย่าเคารพคนเลย

วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยความดีงามทั้งหมด ต้องขับเคลื่อนด้วยส่วนรวม ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ

คำถาม: การเมืองการละเมิดต่อประเทศชาติเป็นหนี้มากมายมหาศาล ควรจะมีวิธีจัดการอย่างไร และขอคำตอบสุดท้าย

ท่านวิชา: การเมืองประเทศเจริญแล้วมีการระวังและยอมให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากสุจริตก็ไม่ต้องอาย

คำถาม: คดีข่มขืนประหารชีวิต มีความคิดต่อเรื่องนี้อย่างไร

ท่านวิชา: ต้องดูผลลัพธ์ของเรื่องนี้ บางทีเหยื่ออาจจะโดนฆ่า หากตัดสินว่าต้องประหารทุกราย ต้องให้การอบรม และเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้ชาย ต้องสอนให้ชายเห็นว่าการยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงไม่ได้ร้ายแรงอะไร

คำถาม: การข่มขืนเด็ก จะมีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้นหรือไม่

ท่านวิชา: ในทางอาชญาวิทยา คนที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ในกรณีไปละเมิดสิทธิเด็ก เป็นผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม โทษจะรุนแรง

ถอดบทเรียนจาก หนังสือ "How Google Works"
ได้มองเห็นการทำงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Google และมองหา แนวความคิดเห็น ด้าน Innovation มาปรับใช้องค์กรคณะแพทย์

หนังสือ "How google works"ทั้ง 5 กลุ่มนำเสนอน่าสนใจมาก ที่สำคัญคือการปรับใช้กับคณะแพทย์ เห็นด้วยกับการประชุม ควรจะlean เอาwasteออก ประชุมในประเด็นสำคัญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องค่ะ

การนำเสนอโครงการ แต่ละกลุ่มได้ข้อเสนอแนะเพื่อที่จะกระเด้งต่อไป

"จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้างธรรมาภิบาล ในองค์กร โดย ศ. (พิเศษ)วิชา มหาคุณ

อ. สอดแทรกประสบการณ์และถ่ายทอดน่าสนใจมาก ได้เรียนรู้เรื่องเทคนิคในการสื่อสารอย่างไรกับมนุษย์ที่เป็นบัวในโคนตมด้วยความเมตตา เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยังไงก็ต้องพูดคุยสื่อสาร อ.บอกว่าถ้าคุณไม่ใช่มนุษย์ผมจะไม่เสียเวลามาคุยกับคุณ อยากฟังประสบการณ์จากท่านอ.เยอะๆค่ะ รู้สึกศรัทธาในความสามารถ และพลังความดีภายในตัวอ.ค่ะ

บทเรียนจาก How google works.=> แล้วInnovation culture ในคณะแพทย์ มอ.จะเกิดขึ้นเมื่อไร? ทุกคนในองค์กรคงต้องร่วมคิดร่วมทำร่วมสร้างและได้รับการสนับสนุนจากหลายๆส่วน

จากประสบการณ์สู่แนวทางการสร้าง"ธรรมาภิบาล"ในองค์กร:- ทุกคนต้องมีคุณธรรม ตั้งแต่เริ่มต้นของการเจริญเติบโต พัฒนาสู่การเป็นผู้มีจริยธรรม มีอุดมการณ์ เมื่อทำงานก็ต้องมีจรรยาบรรณของอาชีพทำในสิ่งที่ ดี-งามและถูกต้อง ยึดหลักคำสอนของพระศาสดา

"ต้องไม่อายหรือแอบสุจริต"เป็นสิ่งที่ต้องกระตุ้นให้เกิดขึ้นมากๆในสังคมไท

-How google works.เป็นเรื่องที่ดีมาก ต้องขอบคุณอาจารย์ที่เลือกหนังสือมาให้อ่าน พวกเราก็พอจะรับทราบคร่าว ๆเกี่ยวกับลักษณะการทำงานเพื่อให้เกิดจินตนาการ แต่ยังไม่เคยอ่านรายละเอียด อีกบทที่ชอบคือการรับสมัครคนเข้าทำงานซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากของคณะแพทย์ บางครั้งมีโอกาสเลือกคนได้น้อย และลักษณะการทำงานแบบ google จะทำให้เกิดในคณะคงยากแต่คิดว่าการปรับบางส่วนมาใช้น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า

-ส่วนในเรื่องธรรมาภิบาล ตอนแรกเข้าใจว่าอาจารย์จะเอาประสบการณ์จริงเล่าและสอดแทรกทฤษฏี แต่อาจารย์พูดเฉพาะทฤษฏีทำให้บรรยากาศช่วงแรกง่วงนอนมาก และมีโอกาสได้ Discussion น้อยไป ติดตามผลงานของปปช.อยู่ตลอด

-ชอบอาจารย์กิตติมาก วิพากษ์ตรงประเด็น กระชับ

สำหรับ How google work เป็นหนังสือที่สุดยอดมากค่ะ มีเรื่องราวมากมายที่น่าทึ่ง และน่าสนใจมากค่ะ มีประเด็นหลายอย่างที่สามารถนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ของเรา หากสามารถทำได้ คงจะดีมากๆๆ ส่วนช่วงบ่ายอ.วิชา ให้ความรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ซึ่งทำให้รู้และเข้าใจได้มายิ่งขึ้น


Today (November 12, 2014), in the morning session, we share about the things that we got from the book "How Google works". I know more about the things that Google uses to do the business and their innovation. Many innovations come from their people. Furthermore, I know that Google pay attention to "Human" as an important asset. Also, we present about the case studies of mini research and discuss with Aj.Jaa and Aj. Kitti. In the afternoon, we learn about moral and ethic lectured by Aj. Vicha. In addition, we know about how to perform a good governance for the organization.

วันที่ 12 พย.57 น่าทึ่งกับการทำงานของ Google ในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่าย ผู้นำที่ดีต้องบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

ธรรมาภิบาลต้องปลูกฝั่งตั้งแต่ครอบครโรงเรียน แม้แต่กลุ่มเพื่อนฝูง จนถึงขั้นยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณธรรมไปสู่ธรรมาภิบาล

หนังสือที่ให้กลุ่มนำเสนอ เป็นเรื่องเกี่ยวกับgoogle. ซึ่งได้เรีบนรู้ในวิธีการบริหารจัดการคนในองค์กร เพื่อให้องค์กรพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และGoogle. ยังไม่หยุดในการพัฒนา มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ช่วงบ่าย อ.วิชาได้มาพูดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม โดยในระบบคุณธรรมถ้าใครทำดีก็ต้องชมเชย ถ้าทำไม่ดีก็ต้องตักเตือน


หนังสือ how google work ทำให้เราเห็นอะไรที่แปลกใหม่และน่าสนใจ ยิ่งถ้าสามารถนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ได้ น่าจะดีทีเดียว

เรียนรู้เรื่องธรรมาภิบาล ที่เรามีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้เห็นถึงความสำคัญและเข้าใจหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น

MED PSU 2020: Case Studies & Learn – Share – Care Intensive Workshop (4): CSR

: Social Innovation: คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชน

ในสายตาของประชาชน

โดย นายพงศา ชูแนม

หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (ปราชญ์ชาวบ้าน)

นายดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ"

ปราชญ์ชาวบ้านแห่งตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการโดย อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

13 พฤศจิกายน 2557

นายดือราแม ดาราแม:

สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างไร เริ่มจากเชื่อมความแตกแยกกัน ไปในฐานะที่เราไม่รู้ (ไปถามเขา ขอความรู้จากเขา) ต้องรู้ปัญหา แสดงให้เขาเห็นปัญหาเป็นระยะ ๆ และค่อย ๆ ซึมลึก และรับฟังและร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ทุกที่แม้ในทุ่งนา และถามต่อ เช่น เรื่องที่เล่าให้ฟังคิดอย่างไร

กรณีภูเขา .... ปี 2542 ประกาศปิดห้าม (อุทธยาน) เล่าให้ชาวบ้านเข้าใจ อุทธยานไม่ให้เข้าไปทำกิน ไม่ให้เก็บผลผลิต ชาวบ้านจะแสดงอาการออกทั้งทางสีหน้า ท่าทาง เมื่อเห็นอาการเราก็สรุปให้เขา ฟัง และรู้จักคิดใหม่ เป็นการแก้แบบรากหญ้า เมื่อทุกคนรู้แล้ว โดยเฉพาะระดับแกนนำ และขอความเห็นจะทำอย่างไรต่อ ทุกคนตอบไม่รู้ ใครจะแก้ ไม่มีใครรู้ แต่อย่างไรเป็นปัญหาของชุมชน เปรียบเสมือนท้องผูก ไม่มีใครเบ่งให้ เราจะทำอย่างไร ดังนั้นสรุปว่าต้องทำกันเอง คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเขาก็ไม่ทำให้ สรุปต้องดำเนินการ ปัญหาคือ ไม่มีศักยภาพพอ

ไม่บังคับ ไม่ชี้นำ แต่เป็นที่ปรึกษา แนะแนว เขารับได้ เราก็มีช่องทางที่จะดำเนินการต่อไป เป็นขั้นแรกของการทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

ไปติดต่อส่วนราชการ แจ้งปัญหาที่รัฐทำกับประชาชน รับฟังจากรัฐ และรับฟังจากชาวบ้าน อย่าพูดคำว่า "สู้กับรัฐบาล" เพราะเราไม่มีอาวุธ กำลัง พูดว่า เราไป "ขอร้อง" เรียกร้อง ขอความเอ็นดูจากผู้ปกครอง เน้น "อย่าพูดคำว่าสู้"

ได้ไปคุยรัฐหลาย ๆ หน่วยงาน ตั้งแต่ปี 2542 ไปครั้งที่ 1-3 พอครั้งที่ 4 หมดปัญญาแล้ว หน่วยงานที่ทิ้งเลย คือ มอ.ปัตตานี ช่วยอบรมด้านวิชาการ ฝึกให้เขียนหนังสือ เรียนไปด้วย สุดท้ายปี 2546 ไปไม่ไหว หมดปัญหาที่จะไปหาคนโน้นคนนี้

ปี 2547 ลุกเป็นไฟ คิดว่าหยุดไม่ได้ต้องเดินต่อ หากหยุดจะยิ่งลุกเป็นไฟ เดินต่อ รมต.ช่วยไปดู บังเอิญท่านโทรไปหา และนัดกัน รู้สึกดีใจที่ รมต.ช่วยโทรนัด และมีโอกาสได้พูดในที่ประชุม ถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน ลังเลใจ ชาวบ้านจะอยู่ได้อย่างไรถ้าเอาอุทธยานไป รมต.บอกว่าช่วยไม่ได้ (อย่าพูดเด็ดขาด)

จนกระทั่งประชุมเสร็จ ได้ไปพูดคุยตัวต่อตัว ต่อมาได้รับจดหมายส่งให้ องค์กรพัฒนาชุมชน และได้มาติดต่อ ได้สอนให้กลับไปทำการบ้าน ที่ดินกี่ไร่ ...... ได้พบกับนายอำเภอ (ครั้งที่ 3 ได้พบ) พูดกับนายอำเภอ ท่านต้องช่วยเพื่อให้สำเร็จเพราะนายอำเภอมีบารมี ช่วยเริ่มจากจัดตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอ เพื่อศึกษา ความจริง ความเท็จ ประชาชนมาก่อน หรือ กฎหมายมาก่อน และให้หัวหน้าส่วนเป็นประธาน ส่วนราชการเป็นคณะกรรมการร่วม เช่น สำนักงานที่ดิน ป่าไม้ ฯลฯ

ชาวบ้านเข้าใจปัญหา วิธีการแก้ปัญหาไม่เข้าใจกัน แกนนำไม่พอ ด้านความคิด ความรู้ ไม่มี

การเรียนรู้ ได้เริ่มจาก เด็ก ๆ ได้รับการฝึกอบรมจาก... ทั้งด้านคอมพิวเตอร์

การวัดพื้นที่ มีเครื่องมือใหม่ ๆ BTS ใช้ไม่เป็น ให้จัดกลุ่มคณะทำงาน 5 กลุ่ม ไปอบรม

สุดท้ายกลุ่มนี้เป็นองค์กร พร้อมทุกเรื่อง เกิดเป็นองค์กรการแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกินของ

สุไหงปาดี ปัจจุบันมีสำนักงานช่วยแก้ปัญหาที่ดินของชาวบ้าน ปัจจุบันบุคลากรสามารถเป็นวิทยากร สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ง่าย นี้คือวิธีการแบบรากหญ้า อ.จีระ: วันนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจวิธีการทำงานของปราชญ์ชาวบ้านที่ตรงประเด็น คือจะพูดจากความจริง ท่านไม่มีทฤษฎีอะไร แต่เน้นไปที่ความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ชาวบ้านจะเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน แบ่งการแบ่งปันความรู้ทีดี เมื่อมีกลุ่มที่สร้างขึ้นแล้วเป็นโครงการที่สร้างชาวบ้านที่ไสงปาดี และสร้างเครือข่ายนี้ขึ้นมา ขอให้เปาะจิสรุปโครงการที่จะทำร่วมกับมอ. ต่อไป

ตอนที่เราหารือเรื่องโครงการรอบ 2 ของท่านเปาะจิ และท่านพงศา ขอให้ทุกคนแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อจะให้มีโครงการที่จะดึงเครือข่ายระดับชาวบ้าน และระดับกาแพทย์มาใช้ที่นี่

ขั้นตอนของการทำงานเน้นที่ชุมชน ในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาก คือ Peter Drucker สิ่งแรกคือ ถามคำถาม คำถามสำคัญกว่าการให้สาระ

การถามคำถาม ของเปาะจิ สำคัญมาก เหมือนมาเรียนรู้ร่วมกัน

โลกปัจจุบัน สิ่งที่ไฮเทค กับชาวบ้านจะเป็นสิ่งเดียวกัน โดยการไม่ทำให้เป็นทางการ เหมือนมาให้ความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น

อยากให้ทุกคนได้นำประเด็นของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อกระเด้งไปสู้สิ่งที่สำคัญ เมื่อมีการประทะทางปัญญา

อ.จีระเดช: สิ่งที่ได้จากเปาะจิ คือ รากหญ้ากับรัฐบาล เหมือนรัฐบาลรู้มาก แต่ชาวบ้านไม่รู้อะไรเลย บางครั้งจึงอาจถูกหลอก

วันนี้สิ่งที่ได้จากเปาะจิ คือ การ Learn share care

นายพงศา ชูแนม: สัมผัสได้จากความสุขของสาธารณะ ขอเริ่มว่าความสุขของสาธารณะไม่ใช่เรื่องสุขภาพ แต่เป็นเรื่องของสังคมที่เบียดเบียนทำให้เกิดความทุกข์ ผมทำงานบนความเชื่อที่เป็นสัจธรรม

เรื่องอาหาร และที่ดินทำกิน เมื่อไม่มีก็เกิดทุกข์ และเกิดปัญหา แล้วลุกขึ้นสู้อย่างที่สุด

ทำงานกับชุมชน ป่า เครือข่ายธนาคารต้นไม้ ความเชื่อของผมคือ เชื่อในหลักศาสนา คือ อุปาทานเก่า คือ ดีถูก ชั่วผิด แต่ปัจจุบัน นี้ถูกท้าทายจากคนกลุ่มหนึ่งคือ ชั่วก็ไม่ผิด จึงทำให้สังคมเปลี่ยนไปเป็น รวยถูก จนผิด

แต่ผมไม่เชื่ออุปาทานนี้ รวยถูก จนผิด เพราะไม่มีศาสนาไหนสอน ความร่ำรวยได้จากกำไร กำไรเกิดความขาดทุนของผู้อื่น คนขาดทุนก็ลุกขึ้นสู้ คนเหลือน้อยก็เป็นทุกข์ ลุกขึ้นมาเข่นฆ่า เพราะคนอื่นเอาไปมาก จึงไม่ใช่ความสุขของสาธารณะ

คณะแพทย์ การสาธารณะสุข คนสมัยก่อน ชั่งน้ำหนักความสุขของตนและความสุขของสังคม และทำให้สังคมมีความสุขก่อน แล้วจึงมาหาตัวเอง วันอาทิตย์ ถือเป็นวันครอบครัว ต้องสนใจครอบครัวตัวเองให้ดีที่สุด ทำครอบครัวตัวเองก่อน แล้วสังคมจะดีเอง ซึ่งคนสมัยก่อน คนที่ไม่เอาไหน พอออกไปในสังคมชนบทโดนคนในสังคมเตือน ว่ากล่าว ซึ่งสังคมจะเป็นห่วงเป็นใยกัน ต่างจากปัจจุบันนี้ต่างคนต่างอยู่

เมื่อก่อนมองความสุขของตนกับในสังคมไปในทางเดียวกัน ครั้งสุดท้าย พระพุทธเจ้ากล่าวปัจฉิมวาจา ว่ามองประโยชน์ของท่านด้วย มองประโยชน์ตนด้วย

คนที่อายุยืน พยายามทำสังคมของเขาให้ดีและมีความสุข หากไปงานศพคนเกิน 100 ปี จะขโมยช้อนของผู้ตาย เพื่อให้คนรุ่นหลังคิดว่าคนที่อายุยืนมีการกิน และดูแลสุขภาพอย่างไร

สุขภาพกับความมั่งคั่ง ไม่มีความแน่นอนว่าความมั่งคั่งอาจจะส่งผลไปยังสุขภาพของเราได้

ส่งผลให้คนเห็นแก่ตัว เนื่องจากเมื่อมีเงินก็มีซื้อสุขภาพ ซื้อการดูแลสุขภาพ เกิดเป็นธุรกิจการบริการสาธารณะเชิงธุรกิจ

ธุรกิจหาทางเอาเงินที่เป็นกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ สุขภาพของเราก็ผูกไปกับธุรกิจนี้

อนาคตไม่นานจากนี้มุมมองความสุขสาธารณะถูกประมูลจากนักการเมืองในการสร้างความสุขต่อหัว หัวละ 2600 บาท ต้องคิดต่อว่าอะไรจะเกิดขึ้นวันข้างหน้า

การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องหลุดจากการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน อุปาทานรวยถูก จนผิด ถูกกลืนกินในสังคม อาชีพที่ทำการจัดการความสุขสาธารณะก็ยึดอุปาทานนี้เช่นกัน

แพทย์ไม่ควรรวยเพราะถ้ารวย ก็เกิดจากการเอาเปรียบคนไข้ ที่อ่อนแอกว่า หากแพทย์เอาเปรียบก็ไม่น่านับถืออีกต่อไป

อสม.ประเทศไทย ดีที่สุดในโลก เป็นกลุ่มคนที่มีค่ามากในหมู่บ้าน เป็นคนอาสาทำงานอย่างแท้จริง แต่เราไม่ใช่อสม.ให้เป็นประโยชน์

อสม. ควรให้ครัวเรือนปลูกให้ปลอดภัย ไร้สารพิษ และควรให้เงินให้อสม.ซื้อประกันชีวิต เป็นการปฏิรูปการดูแลความสุขสาธารณะ

คนที่อายุยืนไม่ต้องมีวิทยาการการแพทย์มาก เกาะโอกินาวา เมื่อก่อนมีแต่คนอายุยืน ตั้งแต่อเมริกาตั้งฐานทัพ คนก็เป็นมะเร็ง

มีวิจัยคนที่อายุยืนที่ญี่ปุ่นว่า

  • -อยู่ชนบท
  • -กินของสด ของหมัก ของดอง
  • -กินแอลกฮอล์
  • ถ้าเราให้สิทธิการจัดการตัวเองอย่างเต็มที่ อสม.ก็สามารถสร้างความสุขของสาธารณะให้เกิดขึ้น

อ.จีระ: ได้ความรู้จากคุณพงศามาก ตัวเองต้องเรียนรู้มากขึ้น ขอชมเชย ผมตื่นเต้นและประทับใจ ครั้งนี้เป็น Value diversity มีความหลากหลายมาก

สิ่งทีได้เรียนรู้และคิดกับทางมอ.คือ สร้างศักยภาพในการสร้างสุขภาพให้มากขึ้น มีเทคโนโลยี ตรวจวัดความดัน มีระบบรายงานเป็นเครือข่าย

คุณพงศา เสนอในประเด็น ที่ต่างออกไป คือ คนทีไม่มารพ.ก็แสดงว่าสุขภาพดี

ท่านพงศามอง Happiness ระดับบุคคล แต่ผมเชื่อว่าถ้าบุคคลดีข้างบนก็ต้องดีด้วย เพราะ Micro ระดับ Individual มากๆก็จะกลายเป็นระดับ Macro

ร่วมแสดงความคิดเห็น:

1. แนวทางการทำให้ชุมชนมีสาธารณสุขมาก ทำอย่างไร

เปาะจิ: เรื่องอสม. สุขภาวะในชุมชน ต้องดูว่าเขามีความสุขหรือไม่ สุขภาวะในแต่ละชุมชนกำลังสลายไป เพราะโดนสังคมภายนอกทำลายไป ต้องมีการจัดการปัญหาที่ดี รากหญ้ากับรัฐขาดคนกลางที่จะไปประสาน

อ.จีระเดช: เปาะจิให้คำว่า Learn share care อย่างดี

2. ความท้าทายเรื่องแนวคิด ครอบครัว และสังคม

คุณพงศา: ต้องรักครอบครัวและไปด้วยกันกับสังคม คนสมัยก่อน ทำครอบครัวตัวเอง มีศีลธรรมกำกับ ทำระบบสภาคู่ ต้องถูกกฎระเบียบ

การปกครองชาติต่อไป ต้องคิดเรื่องศีลธรรมกำกับ เรื่องวันอาทิตย์ คิดแล้วว่าเป็นเรื่องท้าทาย ว่าถ้าคิดเรื่องครอบครัวอย่างเดียวแต่ไม่สนเรื่องอื่นเลยก็ผิด

สิ่งที่ทำเพื่อตัวเองไม่ค่อยสอน เพราะเป็นสัญชาติญาณ มนุษย์ที่แข็งแรงต้องไม่เอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอ

เรื่องอสม. ควรลองสักตำบล ที่ทำเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม ลองไปดูแถวรัฐภูมิทำสังคมมีความสุข เพราะอสม.เห็นศักยภาพว่าใช้ได้ มีสิทธิ์ที่จะทำให้สังคมดี

ความสุขของสังคมที่เป็นแนวคิด ควรทำให้ความเชื่อมีความสุข ไม่ว่าศาสนาใดก็มีความสุขได้ ในหลักศาสนาพุทธ วันหนึ่งหากเราเชื่อและทำตามหลักศาสนาทุกคนก็จะเข้ายุคพระศรีอานต์ ที่ทุกคนหน้าเหมือนกันหมด แปลว่าไม่มีใครเอาเปรียบใคร ทุกคนเท่าเทียมกัน แม่ 4 คน เมีย 4 คน แสดงถึงเราต้องดูแลคนอื่นด้วย ต้นกัลปพฤกษ์ หมายถึง สิ่งที่ยั่งยืน เป็นทรัพย์ เกื้อกูลความผาสุก ทำให้มนุษย์ไม่ต้องทำงานหนัก

การเป็นหนี้ทำให้มีความทุกข์ แต่ปัจจุบันหนี้คือโอกาส ซึ่งทำให้เห็นชัดว่า คนมีความทุกข์เพิ่มขึ้น

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาจะทำอย่างไร...หากใช้ความธรรมดา เรียบง่าย สามัญ ก็จะอยู่รอด

ความรู้บางอย่างก็ทำให้คนอื่นเดือดร้อน

เ3. ปัญหาเยาวชน มีการดูแลและช่วยชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

คุณพงศา: เรื่องเยาวชนกับยาเสพติดนั้น ผลมันต้องมีเหตุ คือ สังคมไม่เปิดพื้นที่ให้เขาเข้ามา เราต้องแม่อย่างในยุคพระศรีอานต์ช่วยสังคม ช่วยเยาวชนให้ดีขึ้น

เราพัฒนาสังคมตามทฤษฎีตะวันตก และไม่รู้ว่าปลายทางไปทางไหน แต่ตอนนี้รู้แล้วว่า ทฤษฎีตะวันตก สอนให้เชื่อว่าจนผิด รวยถูก วันนี้ต้องพยายามให้คนกลับเข้าหาชนบท ต้องสร้างสังคมที่มีความสุขทางสาธารณะ ไม่อย่างนั้นสังคมก็จะล่ม

กำไรในยุคปัจจุบัน ต้องอยู่อย่างพองาม ถึงจะอยู่ด้วยกันได้ ถ้าได้กำไรมาก เกิดประโยชน์ตนมาก คนอื่นลำบากก็อยู่ยาก

4. องค์กรเอกชนทำ CSR มากขึ้น ปราชญ์ชาวบ้านมอง CSR อย่างไร

อ.พงศา: บริษัททั้งหลายไม่มีสำนึก CSR เป็นเครื่องมือเท่านั้น ประชาชนที่ฉลาดต้องเรียกร้อง

ควรทำวิจัยเรื่อง ความล่มสลายของชาวอาชีพสวนยาง สังคมต้องพึ่งตนเองตามหลักที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง

CSR ต้องทำให้เขาพึ่งตนเองด้านอาหาร พลังงาน ปัจจัยด้านการผลิต ต่อไปจะมีชุดความรู้มาจัดการสังคม

CSR ประชาชนไม่รู้ว่าจะเรียกร้องอย่างไร บางครั้งใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ จ่ายน้อยเคลมมาก

อ.จีระเดช: คุณพงศา พูดเรื่อง Happiness capital เสมอ ทุกวันนี้ คิดว่า OTOP ต้องล่มสลายแน่นอน เนื่องจากสินค้ามีทั่วไป ไม่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดนั้นๆแล้ว

อ.จีระ: panel นี้เป็น diversity ท่านเปาะจิเป็นคนในพื้นที่ ท่านพงศาเป็นนักปราชญ์มีแนวคิดกว้างไกล การอภิปรายมองไปถึงพระศรีอานต์ ทุนนิยมสามาลย์ กำไร ขาดทุน

ต้องคิด วิเคราะห์ คิดต่อว่า ถ้ามอ.ต้องการมีส่วนร่วมสร้างสังคมให้เข้มแข็งกับเปาะจิ ต้องทำอย่างไร

ส่วนท่านพงศามีข้อดีมากมาย ต้องสังเคราะห์ให้ดีว่า ส่วนไหนที่มอ.จะ Add value เข้าไปได้ โดยให้ประโยชน์กับสังคมมาก และเป็นแนวร่วมกับชุมชนมากขึ้น

สรุป

  • การนำทฤษฎีตะวันตกมาใช้ บางครั้งไม่ได้ผิดหมด รูปแบบที่จะเอามาใช้ก็ต้องปรับให้เข้ากับของเรา
  • ความพยายามของคุณพงศา น่ายกย่องมาก
  • อยากให้มอ.ทั้ง 2 รุ่นรวมตัว สร้างความสัมพันธ์กับปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 ท่าน

สรุปการบรรยายหัวข้อ

Crucial Conversation

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

13 พฤศจิกายน 2557

ศ.ดร.จีระ: Trends ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคต่อไป คือ การสร้างมูลค่าแบบ 3 V ของทุนมนุษย์ ซึ่งเน้น Macro ไปสู่ Macro เน้นปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution และ Trends ก็คือ HR ต้องสร้าง Leadership ในทุกระดับ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ HR เองก็ต้องมีภาวะผู้นำด้วย

คณะแพทย์ฯ มอ. มีศักยภาพสูงมาก แต่สิ่งที่ท้าทาย คือ จะนำเอาศักยภาพที่ซ่อนเร้นภายในเหล่านั้นออกมาอย่างไร? หลักสูตรนี้จึงเน้นไปที่..

- Tangible / Intangible

- Visible / Invisible

Crucial Conversations คือ ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร มี Solutions เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ นำไปสู่ Value Creation และ Value Diversity อย่างคาดไม่ถึง

ผมได้อ่านและได้เจอกับผู้เขียนโดยตรง และได้นำเรื่องนี้มาใช้ในการพัฒนาคนหลายแห่ง ผู้เขียนเป็นลูกศิษย์ของ Steven Covey เจ้าพ่อ 7 Habits ซึ่งถือว่ามีครูดี และทำวิจัยอย่างหนักว่าทำไมการสื่อสารในองค์กร(กรณีศึกษาในสหรัฐอเมริกา) จึงไม่ประสบความสำเร็จ

จุดดีของหนังสือเล่มนี้ คือ ค้นพบว่า เรื่องเล็ก ๆ อย่างการสนทนา แต่ถ้าฝึกฝน ปรับตัวได้ก็จะกระเด้งไปสู่เรื่องใหญ่ คือ สามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้

การสนทนาที่ดีต้องฝึก

ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้ คือContext หรือ บริบทเป็นตะวันตก ดังนั้น จุดสำคัญ คือ จับหลักการใหญ่ ๆ หรือ Principle ว่า หลักของ Crucial Conversations คืออะไร? ซึ่งเดี่ยวจะได้ดูจากเทป ผู้เขียนเอง แต่ในความเห็นของผม น่าจะประกอบไปด้วย 3 – 4 เรื่อง

การสื่อสารมีหลายวิธี เช่น

- ทางการ formal เช่น การประชุม แต่ส่วนใหญ่การประชุมในประเทศล้มเหลวเพราะประธานไม่เก่ง / ไม่เป็นทางการ informal

- ทางการพูดและฟัง (Verbal) คือ ใช้เสียง แต่ ท่าที สีหน้า ท่าทางที่เรียกว่า Non – Verbal ก็สำคัญมาก และอาจจะไม่ได้ศึกษาผลกระทบเหล่านี้มากนัก

การสื่อสารที่ดี คือ ไม่สื่อสาร บางจังหวะไม่พูดจะดีกว่า แต่บางจังหวะพูดก็ดี คล้าย ๆ แนวคิดผู้นำของผม เรื่อง Rhythm and Speed คือ จังหวะ หรือ กาลเทศะ

การสื่อสารที่ดีต้องควบคุมอารมณ์อย่าให้หลุด ให้ใช้ 5K's ของผม คือ Emotional Intelligence

และการสื่อสารที่ดี ต้องเป็นในแง่บวก คือ ต้อง 2 I's คือ Inspiration (สร้างแรงบันดาลใจ) และ Imagination (สร้างจินตนาการ)

การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมีกาลเทศะ ในการพูด ไม่พูดมาก หรือน้อยเกินไป

โดยสรุป.. รุ่นที่ 2 โชคดีกว่ารุ่นที่ 1 ซึ่งผมไม่อยู่ จึงได้แต่ดูเทป ไม่ได้workshop แต่มีคุณจ้าช่วยสรุป ..คุณจ้าบอกผมว่า ทุกคนชอบ และเรื่องนี้สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานของคณะแพทย์ได้ ผมก็เลยได้แรงบันดาลใจว่าจะทำรุ่น 2 ให้ระเบิด และจะทำ Workshop ลึก ๆ 4 ข้อ

หวังว่างานครั้งนี้จะเป็นจุดสำคัญและหักเห เพราะดูเหมือนว่า เรื่องเล็ก ๆ เรื่อง Conversation ในทางวิชาการมีความหมาย คล้าย ๆ ว่า "Insignificant" หรือ ไม่สำคัญนักแต่จริง ๆแล้วมีสาระมาก จึงอยากให้ Session นี้มี Deep Drive คือ ลงลึก และใช้กรณีศึกษาของคณะฯ ใน หลาย ๆ ชนิดของงาน ชนิดของกลุ่ม บุคลากรที่หลากหลาย และชนิดของการสนทนา – ยกตัวอย่างให้ชัด ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศอย่างไรที่ไปสู่ความสำเร็จ

ตัวอย่างของผม ผมจะเจรจาเรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ บางครั้งจะเน้นการสร้างบรรยากาศ เช่น ทานข้าวกลางวันหรือเย็น สร้างบรรยากาศให้ Relax อย่า formal มากไป จึงเป็นที่มาของแนวคิด Morning Coffee

แม้ว่าวันนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จนักใน รุ่น 2 แต่ก็นับว่าดีกว่ารุ่น 1 เพราะมีการสนทนาใน Morning Coffee มากกว่ารุ่น 1 แต่ก็ยังไม่สำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะหลายท่านยังมองการเรียนเป็น Formal เน้นการเรียนในห้องเรียน จึงต้องปรับ Mindset อย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่องคล้าย ๆ Concept ของ ไคเซน

หวังว่าช่วงเวลาที่ไปดูงานที่ภาคเหนือร่วมกันคงจะมี Crucial Conversations ระหว่างกันมากขึ้น และบางครั้งบรรยากาศสบาย ๆ อาจจะนำไปสู่มูลค่าเพิ่มอย่างคาดไม่ถึง

คุณพิชญ์ภูรี: วิจารณ์ถึงปูตินเอาผ้าคลุมไหล่ให้ภรรยาสิจิ้นผิง

-ดูวีดีโอ Crucial conversation-

Workshop

กลุ่ม 1

1)ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

  • -รู้สึกไม่ปลอดภัย ในการเสนอความคิดเห็น
  • -ผู้บังคับบัญชา ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น

2)ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

1. พยายามให้เกิดการีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

2. ใช้การขอความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชา

3)สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากหนังสือ Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

ทักษะการพูดให้ผู้ฟังสบายใจ

4) การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี8K's+5K's อย่างไร

- ให้ผู้บังคับบัญชาเปิดใจรับฟังความคิดเห็น ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาควรมีข้อมูลเพียงพอในการนำเสนอ

กลุ่ม 2

1) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

ค่าตอบแทน เหตุผล คือ การมองต่างมุม

การขอบุคลากรเพิ่มเติม เหตุผล คือ ข้อมูลในการพูดคุย

2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

- จิบน้ำชา

- ช่วงรับประทานอาหาร

3) สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากหนังสือ Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

- ฟัง

- เปิดใจ ก้าวข้ามความกลัว

- พูดด้วยความจริงใจ ใช้ความปรารถนาดี

4) การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี8K's+5K's อย่างไร

- คุณธรรม จริยธรรม

- การสื่อสาร มีสัมมาคารวะ มีความจริง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

กลุ่ม 3

1) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

- ไม่ได้มีการสนทนากันก่อน

- ไม่มีระบบตรวจสอบการดำเนินการบางเรื่องที่ชัดเจนคือการสมัครเป็นสมาชิกชมรม

2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

2.1 ค่าตอบแทน

- มีกาวิเคราะห์ภาระงาน

- มีการสื่อสารชี้แจงที่ดี

2.2 โครงการพัฒนาผู้นำ

- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

- ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์

3) สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากหนังสือ Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

- ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น

- กระตุ้นการสนทนา

4) การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี8K's+5K's อย่างไร

- ฝึกทักษะในการสนทนาให้มีกาลเทศะ เชื่อมสู่ 8K's

- สุนทรียสนทนา

กลุ่ม 4

1) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น แต่ไม่รับความคิดเห็น

- การสื่อสารมองกันคนละมุม ไม่ใช่บริบทระดับปฏิบัติงาน

2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

- การหารือร่วมกันเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

- การต่อยอดความคิดจากมุมที่แตกต่าง

3) สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากหนังสือ Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

- ความรู้สึกปลอดภัยของคู่สนทนา

- เอาชนะความกลัวและกล้าท่จะพูด

- จริงใจ เอาความจริงมาพูด

4) การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี8K's+5K's อย่างไร

- ควรเน้นการพูดคุยแบบ informal ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- ความยั่งยืน

- สร้างบรรยากาศการพูดคุยให้เป็นกันเอง

กลุ่ม 5

1) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

ปัญหา คือ ผู้นำเป็นปัญหาที่สำคัญ คือไม่รับฟัง ไม่มีความเท่าเทียม ไม่ผ่อนคลาย บรรยากาศไม่ผ่อนคลายทำให้เป็นปัญหาในการสนทนา

2) ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

- การสนทนาประสานระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากมีสัมพันธภาพรัดับเดียวกัน กล้าแสดงความคิดเห็น

- การสนทนาภายในหน่วยงาน บรรยากาศดี ฉันท์พี่น้อง การยอมรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน

- ขึ้นอยู่กับผู้นำการประชุมอย่างมีเป้าหมาย

3) สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากหนังสือ Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

- ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน

- ผ่อนคลาย

- ทุกคนที่อยู่ในการประชุมต้องเท่าเทียมกัน

อ.จีระ: การสนทนาที่ดี คือ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม การสนทนาต้องฝึกมากๆ ลองถามตัวเองว่าความกลัว หากคิดว่าได้ กับ เสีย แล้วหากได้มากกว่าเสียจะกลัวอะไร

การวางแผนประชุมสำคัญมาก เรื่องความระมัดระวังคำพูดสำคัญที่สุด การฝึกการพูดหากจะคอมเม้น ต้องพูดในลักษณะที่เสริมประเด็น

สรุปว่าวิชานี้ได้อะไร

  • -ได้ประเด็นว่าเวลาพูดจะต้องมีวัตถุประสงค์อะไร
  • -บทบาทที่จะพูดอยู่ในฐานะอะไร
  • -ผู้พูดผู้ฟังต้องมีความจริงมาพูด

อ.จีระ: หากมี Crucial conversation ทำให้ปัญหาความขัดแย้งลดลง หาก Google ไม่มีบรรยากาศในการทำงาน ก็จะไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ

วรรณฤดี หทัยพิทักษ์

วันที่ 12 จากการนำเสนอ Go ให้แนวคิดการนำมาปรับใช้อย่างมาก รู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ จะลองนำมาปฏิบัติในหน่วยงาน

การได้แลกเปลี่ยนกับ ท่านวิชา มหาคุณ รู้สึกอิ่มเอมใจที่ได้เจอท่าน ได้พูดคุยด้วย เป็นต้นแบบที่สุดอย่างหาไม่ได้ ขอบคุณ อ. จีระที่ทำให้มีวันนี้

ส่วนวันนี้ที่ 13 พ.ย. ได้มุมมองของปราญช์ชาวบ้าน คุณพงศาที่ให้มุมมองแบบสุดโต่ง กระตุ้นต่อมคิดได้ดีที่เดียวค่ะ.

crucial conversation ในวันนี้ ตอกย้ำแนวทาง conversationที่ได้ศึกษาจาก Go how google works ได้รู้ แต่จะได้จริงๆคือนำไปปฏิบัติ ผลลัพท์ต้องมาจากประสบการณ์ เรียนรู้จากนั้น ปรับปรุงแก้ไขและเรียนรู้ต่อเนื่อง

สรุปบทเรียน 12และ 13 พย57

Google เป็นองค์กรที่น่าสนใจมาก ให้ความสำคัญกับคนที่สุด ตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาร่วมงาน ทำให้มีผลงานที่เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากมาย

1. ผู้นำคือใครก็ได้ที่สร้างศรัทธาให้แก่ผู้ร่วมงาน

2. สังคมยุคต่อไป จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

3. Conversation เป็นการสื่อสารที่สำคัญและมีคุณค่า ซึ่งต้องทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง

4. จริยธรรม พัฒนาสูงกว่าคุณธรรม

5. Learn Share Care

6. Crucial conversation เป็นสิ่งที่ควรนำมาปรับใช้ในการทำงาน และต้องเน้นแบบ non verbal ด้วย

ปราชญ์ ทั้งสองท่าน ให้ประสบการณ์และมุมมอง ที่คาดไม่ถึง
เปาะจิ... ไม่ได้ไปสู้กับฝ่ายผู้ปกครอง(รัฐ) แต่ใช้ทักษะการขอร้อง ขอความช่วยเหลือ
อาศัยความมุ่งมั่นและ พลังประชาคม
คุณพงศา ... ความสุขสาธารณะ
เชื่อมโยงกับ กรอบความคิดเรื่องธรรมชาติ ได้อย่างงดงาม
วาจาคมคาย ฉะฉาน แต่สรรสาระ


ปราชญ์ชาวบ้านได้สะท้อนมุมมองแหล่งชุนชนของตัวเองเพื่อให้ความเป็นอยู่และการปกครองคนเดินไปได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีแนวคิดที่ปฏิบัติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปราชญ์ชาวบ้านจะใช้แนวคิดเพื่อคนในชุมชนให้มีความสุขเป็นความยั่งยืนเรียนรู้ตามหลักธรรมชาติและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ปราชญ์ชาวบ้านมีวิธีการงานเข้าใจทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนจริยธรรม โดยศึกษา ใช้ความร่วมมือจากกาตระหนักในปัญหาร่วมกัน และก้าวเดินพร้อมกัน ลงแรง ลงสมอง ลงทุนเท่าที่มีเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา ฝ่าวิกฤต ไปพร้อมกัน โดยสอดคล้องบูรณาการทุกภาคส่วน ทุกภาคีเครือข่าย

นอกจากนี้การเข้าใจธรรม ในธรรมชาติเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าใจปัญหา วาวแผนเพื่อแก้ปัญหาโดยการแก้ญหานั้นจะเกิดความสมดุล ไม่ส่งผลเสียและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆๆๆในสังคม และในโลก

สำหรีบช่วงเช้า ปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 ท่านได้ให้แนวคิด หลักคิดที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ ส่วนช่วงบ่าย crucial conversation ทำให้เราจับหลัก และความจำเป็นของการสื่อสาร ซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งสำหรับ ตัวเรา และองค์กร

HowGoogleWork - 12 พย 2557

ถ้าเปรียบว่าองค์กรเหมือนสวนดอกไม้

CEO หรือผู้บริหาร คือ เจ้าของสวนหรือชาวสวน

การบริหารงานของ google เรียบง่ายมาก

ชาวสวนเลือกเมล็ดพันธ์ุที่ดี - smart creative

นำพืชพันธ์ุดีเหล่านี้ไปไว้ในที่ที่เหมาะสม แดดกำลังดี ลมพัดสบาย - good environment

งานที่เหลือคือ รอเวลาที่ต้นไม้จะออกดอก คอยสังเกตว่าต้นใดจะมีปัญหาแล้วคอยให้ความช่วยเหลือ

จากนั้นสวนดอกไม้ก็จะสวยงาม น่าชืนชม

CEO สั่งต้นไม้ให้ออกดอกไม่ได้หรอกค่ะ แต่ CEO ดูแลต้นไม้ให้ออกดอกได้

ถ้าถามว่าอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะปรับใช้กับ มอ อย่างไร ก็คงเป็นแบบประโยคข้างบนนะคะ

ขอบคุณ อ.จีระ และทีมงานมากค่ะ ที่ทำให้พวกเราได้อ่านหนังสือดีๆ เพิ่มขึ้นอีกเล่ม

หนังสือดี + สุนทรียสนทนา เป็นต้นทุนสำคัญของการเรียนรู้และแรงบันดาลใจ

Have a good weekend นะคะ

On Thursday (November 13,2014), we learn how to share, learn and care from Porji. These are important things for our community to have a sustainable development in the aspect of living together. Furthermore, we learn about social awareness between past and present which points they are different. Past, we think and take responsibility for the social first but , now, we focus on our own family first. These are issues raised by Ajarn Pongsa. Moreover, in the Q&A session, we get more opinions from our invited speakers on the social issues.

In the afternoon, we learn about the crucial conversation which is important and useful for us to adapt for our work and life.

On Thursday (November 13,2014), we learn how to share, learn and care from Porji. These are important things for our community to have a sustainable development in the aspect of living together. Furthermore, we learn about social awareness between past and present which points they are different. Past, we think and take responsibility for the social first but , now, we focus on our own family first. These are issues raised by Ajarn Pongsa. Moreover, in the Q&A session, we get more opinions from our invited speakers on the social issues.In the afternoon, we learn about the crucial conversation which is important and useful for us to adapt for our work and life.

12พ.ย.57 ช่วงเช้า สรุป How Google Works ของทุกกลุ่มได้ประโยชน์และมองเห็นภาพ ขอบคุณที่ทีมท่านอจ.จีระและสมาชิกได้ร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบนี้ขึ้นมา Googleทำให้เห็นว่าทุนมนุษย์เป็นสิ่งมีค่าที่สุดในองค์กร จุดมุ่งหมายในการทำงานที่ยึดหลัก คิดสิ่งที่ดีกว่าปัจจุบัน ภายใต้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด คิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยไม่มองที่ผลกำไรเป็นหลัก คุณค่าของงานและผลกำไรย่อมตามมา สิ่งที่ คณะแพทย์ของเราสามารถนำมาประยุกต์ได้เช่น วิธีคัดเลือกคนเข้าทำงาน(ในบางหน่วย ) การสื่อสาร การสร้างบรรยากาศให้คนมีความสุขมากขึ้น...

ช่วงบ่าย อจ.วิชา มหาคุณ ได้เห็นตัวจริง เสียงจริง รู้สึกเหมือนเห็นท่านเปาบุ้นจิ้น แต่อจ.ดูใจดีและมีอารมณ์ขัน(เนียนๆ)มากกว่า ดูเป็นท่านเปาที่จับต้องได้ ฟังอจ.ก็เคลิ้มๆเหมือนพ่อสอน มีหลายประเด็นที่ควรจดจำและนำไป

ปฏิบัติเช่นการใช้ปัญญา ใช้เหตุผลในการตัดสินใจแทนการใช้ความรู้สึกใช้อารมณ์ การใช้ชีวิตที่พอเพียง...

วันที่ 13 พย.57 ช่วงเช้า คุณเปาะจิทำให้ได้รู้ว่าการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เราต้องไปเชื่อมชุนชนให้เป็นหนึ่งเดียว โดยผู้นำชุมชนต้องหาเรื่องเข้าไปคุยกับชาวบ้าน สร้างความเป็นกันเองกับชุมชน ช่วยค้นหาและหาช่องทางแก้ไขปัญหาให้ชุมชน วิเคราะห์ปัญหาให้ชาวบ้านช่วยกันคิดช่วยกันแสดงความคิดเห็น ต้องแก้ไขปัญหาที่มีมานานอย่างใจเย็น เมื่อมองกลับมายังคณะแพทย์ ผู้นำควรสร้างความเป็นกันเองกับคนในคณะ ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของคณะร่วมกัน เมื่อมีปัญหาก็มาร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะ ส่วนช่วงบ่ายหัวข้อ Crucial Conversation การทำ Workshop จะเห็นว่าทุกกลุ่มลงความเห็นเหมือนกันว่าคณะมีจุดอ่อนเหมือนกันในเรื่องการสนทนาคือ ให้ผู้ปฏิบัติแสดงความเห็นได้ แต่ไม่ค่อยยอมรับฟัง และการสนทนาระหว่าผู้นำกับผู้ปฏิบัติจะมีช่วงว่างค่อนข้างมาก ทำใหู้ลูกน้องรู้สึกกลัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บ่อยครั้งที่ผู้นำทำให้เรารู้สึกอึดอัดระหว่างการสนทนา เหมือนมีอะไรมากั้นตรงกลาง ทำให้การสนทนาไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ การสนทนาควรจะเป็นแบบ Informal หลายครั้งที่คำตอบของปัญหาอยู่นอกห้องประชุม

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

14 พ.ย. 57 CSR ที่ชะแล้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไปชะแล้ ไปกี่ครั้งก็ประทับใจ เคยได้มีโอกาสพบกับท่านอดีตนายก อบต.ชะแล้ผู้ล่วงลับ "คุณขุนทอง บุณยประวิตร" ตอนนำนักศึกษากายภาพบำบัด ออกทำโครงการ กายภาพบำบัดชุมชน ที่ชะแล้ ท่านผู้นี้ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นคนดี อุดมการณ์ของท่านจึงได้รับการสานต่อจนถึงปัจจุบัน เราจึงได้มีโอกาสไปเยือนชะแล้ ในโครงการ CSR

ชะแล้ มี " Learn Share Care" ระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง ขณะเดียวกันก็มี "Learn Share Care" ให้กับหน่วยงานต่างๆที่เข้าไป แสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างทางความคิด การแบ่งปัน การเรียนรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยบูรณาการกับสิ่งดีๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ได้มีโอกาสไปเดินบน walk way ของป่าชายเลน ที่นี่ ที่ที่มี Ozone ชั้นเลิศ รวมทั้งความรู้เรื่องป่าชายเลนที่ได้รับจากวิทยากรผู้บรรยายที่สนุกมาก

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

13 พ.ย. 57

รอบเช้า : คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน

คุณดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ" ปราชญ์ชาวบ้าน แห่ง ต.ปาลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

- ได้ยินชื่อท่านมานาน ได้พบตัวจริงเสียงจริงวันนี้ สิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้จากท่านในวันนี้ คือ ความชัดเจน ความจริงจัง และจริงใจในการแก้ปัญหา แบบ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" จริงๆ แบบที่ท่านเรียกว่าท่านทำในระดับแนวราบหรือรากหญ้า มีกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ล้ำลึก น่านับถือ

- ท่านได้เล่าถึงผลกระทบของโครงการต่างๆของภาครัฐที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมและที่ทำกินของคนในชุมชนและแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนของท่านอย่างกล้าหาญ และฉลาด โดยไม่ต้องสู้รบ กับภาครัฐ

คุณพงศา ชูแนม : "ปราชญ์ชาวบ้าน" หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร

- ท่านบูรณาการแนวทางของพระพุทธศาสนา กับการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ

- "กินของดี ไม่มีหนี้ ไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน" จะทำให้คนอายุยืน และมีความสุข เป็นข้อคิดที่กระตุ้นให้ใส่ใจรักษ์ธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง

- ท่านยังให้แนวคิดในการพัฒนา อสม.เพื่อการดูแลประชาชนในท้องถิ่น

รอบบ่าย : Crucial Conversation โดย ศ ดร.จิระ และ อ. พิชญ์ภูรี

- อ.จิระ เน้น เรื่องการใฝ่รู้ ซึ่่งเป็นวัฒนธรรมในการเรียนรู้

- crucial conversation เป็นการสื่อสาร เพื่อลดปัญหา สร้าง solution เพื่อนำไปสู่สร้าง value creation, value diversity

- คำว่า conversation เป็น การสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ เป็นการหารือในองค์กร

- การจะเกิด crucial conversation จะต้องมี การสร้างบรรยากาศเพื่อให้ผู้พูดไม่มีความกลัว รู้สึกปลอดภัยที่จะพูด และมีการกระตุ้นให้เกิดการพูดที่สร้างสรรค์

- crucial conversation เป็นทั้งการ ปลูก เก็บเกี่ยว และการสร้างแรงจูงใจ

- การสื่อสารที่ดี คือไม่สื่อสาร บางจังหวะไม่พูดยังจะดีกว่า ผู้พูดต้องคำนึงถึง rhythm and speed

- การสื่อสารที่ดี ต้องควบคุมอารมณ์ ต้องมีการใช้ 5K คือ emotional intelligence

- การสื่อสารที่ดี ต้องมี 2 I : inspiration, imagination


13พ.ย.57 ช่วงเช้าได้พบกับปราชญ์ทั้ง2ท่าน ทำให้ได้เห็นผู้นำตัวจริง (มิใช่มาจากตำแหน่งหน้าที่่ ) ท่านเปาะจิทำให้เห็นว่าอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอทำอย่างไร ประสบการณ์ที่ท่านเล่าให้ฟัง ทำให้ได้คิดว่าทุกปัญหามีทางออก แต่ต้องพยายามต่อเนื่่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องอ่างที่อจ.จีระสอนจริงๆ....ท่านพงศาเสนอแนวคิดความสุขสาธารณะกับเราชาวสาธารณสุข ดูคล้ายจะเป็นคนละเรื่องเดียวดัน แต่ไม่แตกต่าง เพียงมีมุมที่หลากหลายกว่า เชื่อเช่นกัน(โดยไม่ต้องใช้แบบสอบถาม)ว่าดีคือถูก เลวคือผิด นอกจากเราจะเชื่อแล้วก็ต้องทำด้วยค่ะ การพูดไม่ได้ทำให้ผู้อื่นคล้อยตามเท่ากับทำให้เห็น ขอเป็นกำลังใจและเป็นแนวร่วมด้วยค่ะ....

ช่วงบ่ายCrucial Conversation เนื่องจากไม่ได้ทำการบ้านมาก่อน ทำให้ไม่ค่อยgetเท่าที่ควร แถมวูบไปช่วงดูเทปสัมภาษณ์ ก็เลยทำwork shopแบบงงๆ วันนี้มาหาข้อมูลเพิ่มและตั้งใจจะหาหนังสือมาอ่านค่ะ น่าจะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มาก ขอบคุณอจ.ที่ช่วยแนะนำหนังสือดีๆค่ะ

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

12 พ.ย. 57

- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก การทำงานของ Google

- เน้นให้คนในองค์กรเกิดความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอด ไม่ปิดกั้น ดังเช่นมี 20% time ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นอกเหนือจากงานประจำ ทำให้เกิด value creation และ value diversity มากมายใน google ดังที่เห็นในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคน

- ความสัมพันธ์ที่ดี การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร การให้ความสำคัญในเรื่องของทุนมนุษย์ 8K and 5K ซึ่งก่อให้เกิด innovation รวมทั้ง happiness at work และ happy workplace

- กรณีศึกษา Med PSU 2020 ที่สามารถเชื่อมโยงกับ Mini Research for Innovative Project

- ได้เรียนรู้แนวทางของแต่ละกลุ่ม และแนวทางการปรับปรุงของกลุ่มเรา

- "จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง ธรรมาภิบาล ในองค์กร" โดย ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

- ท่านสอนสนุกมาก เพิ่งเห็นตัวจริงในวันนี้

- ท่านสอน "คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหาร และการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล"

- คุณธรรม (moral) เป็นเรื่องเฉพาะคน เช่น กตัญญู การช่วยเหลือ เกื้อกูล

- จริยธรรม (ethics) คือ คุณธรรมที่เรายอมรับ ปฏิบัติด้วยตัวเอง

- การตัดสินใจเพื่อองค์กร ต้องละลายความเป็นตัวตน

- ความโปร่งใส "สุจริต ต้องไม่อาย" ต้องตรวจสอบได้

- "ดี งาม ถูกต้อง" เป็นสามเหลี่ยมเขยื้อนโลก

- สังคมไทย ต้อง วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยส่วนรวม ไม่ใช่ส่วนบุคคล

14 พ.ย..57 CSR ที่่ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นCSRหน้าฝนของจริง ตกตั้งแต่เช้า ทำเอาสมาชิกเปียกปอนกันหลายคน ไปถึงร.ร.โชคดีที่ไม่มีฝนหนักๆ พวกเรารีบลงรถไปเตรียมฐานกัน ต้องใช้อาคารเดียวเนื่องจากไม่แน่ใจเรื่่องฟ้าฝน แต่ละฐานจึงใกล้กันไปหน่อย เสียงตีกันบ้างเป็นช่วงๆ กลุ่มเราจึงต้องปรับกิจกรรมโดยลดช่วงเปิดVDO

และเพิ่มเวลาดูหุ่นมากขึ้น เด็กๆส่วนใหญ่ให้ความสนใจดี สมาชิกในกลุ่มก็ช่วยกันสร้างบรรยากาศสุดฤทธิ์(ตามถนัด)

งานนี้เราน่าจะได้มากกว่าเด็ก? ช่วงบ่ายได้รับฟังตัวอย่างชุมชนที่มีLearn-Share-Care(ชุมชนนี้น่าจะ Care-Learn-Share)ในชุมชนกันเอง และShareให้ผู้มาเยือน ได้เห็นภาพชุมชนที่มีความรักถิ่น รักษ์รากขนบประเพณี ที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนของตน ขอคารวะผู้นำตัวจริงของชุมชน ช่วงท้ายได้ความรู้เรื่องป่าชายเลนมากขึ้น แถมยังได้เดินดูของจริง ประทับใจความตั้งใจถ่ายทอดของวิทยากรทั้ง2ท่าน สัมผัสได้ถึงพลังและความภาคภูมิใจ ก่อนกลับยังได้แวะตลาดนัดเล็กๆของชะแล้ พวกเราลงไป15นาที(จริงๆ)กุ้งสดหมด ยำบูดูหมด แกงส้มเกือบหมด สงสัยว่าลูกค้าประจำจะอดกินไปหลายคน ....


___ วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ___

ช่วงเช้า

How Google Works ---> เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก ชื่นชม ผู้นำที่ กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ ถ้านำแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้มาปรับใช้กับองค์กร รับรองว่าได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน

Mini Research for Innovative Project ของแต่ละกลุ่ม ---> มองปัญหา หาที่มาของปัญหา จากกรณีศึกษาที่ได้ หรือสิ่งที่เรากำลังจะทำ ทำแล้วส่งผลต่อองค์กรอย่างไร หากตอนนี้ใช้ความร่วมมือกันของแต่ละกลุ่ม หรือต่อยอดจากรุ่นที่ 1 เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว จะช่วยสร้างนวัตกรรมที่ดีให้องค์กร

ช่วงบ่าย

จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง ธรรมาภิบาล ในองค์กร ---> ครอบครัว ความเป็นเพื่อนมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อก้าวเดินออกข้างนอกไปเจอสิ่งที่ต้องปรับตัว ต้องพบเจอสิ่งที่เลวร้าย จะต้องกลัวอะไร ถ้าพื้นฐานครอบครัวดี เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้ติดตัวออกไป ผสมกับการแสดงออกในสิ่งที่ควร

ทุกวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมันตรงข้ามกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ แต่หากวันนี้เรานำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ไปเสริมสร้างกับคนใกล้ตัวเรา ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน สักวัน การถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง จะกลับคืนมาเกือบ 100 % แทน รู้รักษาตัวรอด(ตัวเองไม่สนใจใคร)เป็นยอดดี แน่นอน

___วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557___

ช่วงเช้า

Social Innovation ---> ชื่นชมปราชญ์ชาวบ้านทั้งสองที่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้ทุ่มเทให้กับชุมชน และเปรียบเทียบหลักความจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างเห็นภาพ เสมือนเราเป็นคนในชุมชน ทำให้รับรู้ปัญหาของชุมชน และสิ่งที่พวกเขาอยากให้องค์กรไปเข้าไปช่วยเหลือ โดยเฉพาะเปาะจิ๊ ที่พร้อม ยินดีรับการช่วยเหลือ

เปาะจิ๊ไม่เคยบอกหรือพูดว่า เราอย่าไปชุมชนเปาะจิ๊นะ มันอันตราย ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ เพราะผู้นำชุมชนแบบเปาะจิ๊นั้น ได้ประสาน สร้างความรัก ความสามัคคีให้คนในชุมชนแล้ว ขาดแต่ความช่วยเหลือจากองค์กรที่มีอำนาจที่สามารถตอบสนองความต้องการแก้ปัญหาของคนในชุมชนของเปาะจิ๊เท่านั้นเอง

ถ้าชุมชนเข้มแข็ง คนในชุมชนสามัคคีกัน ใครที่ไหนจะกล้าเข้าไปทำร้าย แล้วมีอีกกี่ชุมชนล่ะ ที่ไม่ได้มีโอกาสมาถ่ายทอดความเป็นชุมชนของเขา อาจจะมีผู้นำชุมชนอย่างเปาะจิ๊อยู่หลายชุมชน และถ้าหากมีการนำชุมชนเปาะจิ๊เป็นชุมชนตัวอย่าง เชื่อว่า สักวันหลาย ๆ ชุมชนก็นำไปเป็นแบบอย่าง จะส่งผลที่ดีต่อการเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้โดยตรงและทางอ้อมเชื่อว่าต้องสามารถลดการเกิดสถานการณ์ไฟได้อย่างแน่นอน

ช่วงบ่าย

Crucial Conversation ---> หากหน่วยงานสามารถลดการใช้อคติ และเปิดใจมากยิ่งขึ้น เอาใจของผู้ใต้บังคับบัญชาใส่ใจผู้บังคับบัญชา ไปพร้อม ๆ กับ การเข้าใจผู้บังคับบัญชา ทุกวันนี้คนเรามักจะโทษแต่ผู้บังคับบัญชา โดยลืมมองมุมเวลาเราอยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชา การประชุมที่ยาวนานแต่สุดท้ายไม่ได้มติการประชุม หากใช้การมีส่วนร่วม จะได้มติได้ในเวลาสั้น ๆ และสามารถแก้ไขปัญหา หรือต่อยอดสิ่งที่ดี ได้อย่างทันท่วงที

___วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2557___

กิจกรรม CSR ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ---> เป็นชุมชนที่น่าชื่นชม มีอากาศดี ยังคงสภาพแวดล้อมที่ดี มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมเรื่องสุขภาพอยู่เสมอ จาก ม.อ. และหลายหน่วยงาน

แต่อยากให้ ม.อ. มีกิจกรรม ช่วยส่งเสริม ทางด้านการศึกษา สร้างความคิดต่อยอดให้กับน้อง ๆ นักเรียนในชุมชน เพราะมีน้อง ๆ นักเรียนหลายคน ที่เห็นแววว่า สามารถส่งเสริมให้เรียนต่อ เช่น ทางด้านสาธารณสุข และเชื่อว่าน้อง ๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน และไม่ทิ้งความเชื่อ ความศรัทธา เพื่อมาพัฒนาและรักษาชุมชนให้เข้มแข็งได้ต่อไป ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในทุก ๆวัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม CSR ที่ชุมชน ชะแล้ วันที่ 14 พ.ย. 57

1. ธรรมนูญสุขภาพของชุมชน เป็นกิจกรรมที่น่ายกย่องและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ

2. ชุมชน มีมรดกที่น่าสนใจ ซึ่งควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง

3. ได้รับความรู้เรื่องป่าชายเลนจากกวิทยากรผู้มากความสามารถ และได้รับอากาศบริสุทธิ์

4. ความสามัคคีของกลุ่มผู้เข้าอบรมโครงการ พัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 ซึ่งทุกคนร่วมมือกัน ทำให้กิจกรรมประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม CSR ที่ชุมชน ชะแล้ วันที่ 14 พ.ย. 57

1. ธรรมนูญสุขภาพของชุมชน เป็นกิจกรรมที่น่ายกย่องและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ

2. ชุมชน มีมรดกที่น่าสนใจ ซึ่งควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง

3. ได้รับความรู้เรื่องป่าชายเลนจากกวิทยากรผู้มากความสามารถ และได้รับอากาศบริสุทธิ์

4. ความสามัคคีของกลุ่มผู้เข้าอบรมโครงการ พัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 ซึ่งทุกคนร่วมมือกัน ทำให้กิจกรรมประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

การเรียนรู้ ณ วันที่12 พ.ย.ในหัวข้อ ศึกษากรณีที่น่าสนใจภายใต้แนวคิด "MED PSU 2020" โดยอ.กิตติ ชยางคกุลและอ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล จากกลุ่ม 3 หัวข้อโครงการสร้างศูนย์สนับสนุนศูนย์ Excellence จากความคิดเห็นของอ. ทางกลุ่มยังหาเป้าหมายไม่ชัดเจนเหมือนยังกว้าง ต้องหาเป้าหมายให้ชัด และสามารถนำไปสู่การสร้างมูลค่าแบบ 3v ได้ด้วย ซึ่งทางหน่วยจึงต้องประชุมและหาแนวทางกันต่อไป

ณ. วันที่ 13 พ.ย. หัวข้อ Social Innovation: คณะแพทย์มอ.กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน โดย 2 ท่าน คุณพงศา ชูแนม และคุณดือราแม ดาราแม อาจารย์ที่นับถือ ทำให้ได้แนวความคิดในการแก้ไชปัญหาที่เกิดขึ้นว่าต้องปฎิบัติแบบนอบน้อม เข้าไปให้เห็นถึงปัญหาและร่วมเสียงกันดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน แนวที่เปาะจิ เรียกว่า แบบรากหญ้า ส่วนของอ.พงศา เป็นการช่วยกันให้มีสังคมที่ดี และต้องร่วมกันรับผิดชอบสังคม เช่นแนวความคิด ธนาคารต้นไม้

วันที่13พย.57

ได้เรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านทั้ง2ท่าน รับรู้ได้ถึงจิตวิญญาณ ความรักแผ่นดินบ้านเกิด อุดมการณ์

สำหรับท่านเปาะจิ ท่านมีความนอบน้อมถ่อมตน มีความพยายามมากจริงๆ เป็นคนกัดไม่ปล่อย รู้จักรอ มีความอดทนมากๆค่ะ ชอบมากที่ท่านมองชาวบ้านแบบเสมอตน จึงเข้าถึงชาวบ้าน สามารถหาปัญหาที่แท้จริงได้ และสามารถชี้ให้ชาวบ้านเห็นปัญหา และต้องแก้ด้วยตนเอง โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนที่ให้คำปรึกษา นึกถึงRoot Course Analysis ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่ทะลุปัญหาที่แท้จริง

ท่านพงษา ชูแนม บุคลิกเฉียบขาด อุดมการณ์สูง มีความคิดสุดขั้ว ท่านชอบชวนให้คิด...

จนผู้เข้าอบรมก็ได้คิด ที่มีความคิดต่างเรื่องวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว สังคมดีไม่ได้เกิดจากครอบครัวดี กำไรทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบเป็นต้น

สุดท้าย Crucial conversation เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน หลังได้เรียนแล้ว ทำให้เข้าใจถึงความใส่ใจ ความละเอียดอ่อนในการสนธนา การขจัดอารมณ์ที่แสดงออกทั้งน้ำเสียงคำพูดท่าทางในการสนธนา ทั้งสองฝ่าย ช่วยลดความขัดแย้ง และนำพาสู่การร่วมใจกันสนธนาเพื่อแก้ปัญหาค่ะ

วันที่14พ.ย.57 กิจกรรม CSR เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้ทำกับโรงเรียน ทั้ง5กลุ่มมีความตั้งใจ และเตรียมพร้อมมาก รวมทั้งทีม อ.จีระ

บอกได้เลยค่ะว่า "มีความสุขค่ะ เลยไม่รู้สึกเหนื่อย"

ช่วงบ่ายก่อนไปดูป่าโกงกาง ได้รับฟังคำบรรยายจากเจ้าของบ้านทั้ง2ท่าน รู้สึกถึงความเข้มแข็งของชุมชนมากๆ ช่วงดูป่าโกงกาง ทำให้รู้สึกอยากมาปลูกป่าชายเลน ก่อนกลับทุกคนอุดหนุนแม่ค้าที่ตลาด ซื้อแบบว่าไม่ต่อเลย...ขอบคุณทีมงานทุกคนนะคะ

12 พย. 2557

สรุปประเด็นจากการอ่านหนังสือ How Google Works

ซึ่งได้ทราบว่า Google ทำงานอย่างไรถึงมีการพัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างมากและรวดเร็ว มีนวัตกรรมเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง Google สนับสนุนคนในองค์กรของเค้าให้กล้าคิด กล้าทำ ให้คนในองค์กรมีการพูดคุยกัน คุยกับ CEO เกิด over communication ตัวของ CEO เองก็มีการพัฒนาตนเอง ประเมินตนเอง ใส่ใจลูกน้อง มี Board Meetings ใช้วิธีการทางการฑูตกับ partner ซึ่งทุกกลุ่มได้นำเสนอการนำมาปรับใช้ในคณะให้เกิดประโยชน์ยิ่งๆขึ้นไป

การนำเสนอกรณีศึกษา ในการจัดทำของกลุ่ม 2 project ที่เสนอยังแคบไป ทำให้ไม่เห็นการเกิดนวัตกรรมที่ก่อให้เกิด Med PSU 2020 อาจารย์กิตติและอาจารย์พิชญ์ภูรี ได้ให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นประโยชน์กับกลุ่มมากที่จะนำมาปรับให้ชัดเจนขึ้น

ช่วงบ่ายเป็นการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร โดย อ.วิชา มหาคุณ

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งทั้งสองคำนี้สามารถทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง องค์กร

13 พย. 2557 ได้ฟังปราญช์ชาวบ้าน 2 ท่าน

ท่านเปาะจิ ใช้วิธีการเริ่มจาก Care , Learn , Share โดยเริ่มจากการพูดคุยกับชาวบ้าน ค้นหาปัญหา ใช้วิธีการพูดคุย ต่อรองให้ทั้ง 2 ฝ่ายเกิดความเข้าใจกัน

อ.พงศา กล่าวว่า อาหารและที่ทำกิน เป็นอิสรภาพในการทำมาหากิน อ.ให้ข้อคิดว่าเราควรเริ่มที่จะดูแลสังคมก่อนที่จะดูแลตัวเอง เพราะถ้าดูแลตัวเองและคนในครอบครัวก่อน จะให้เกิดความเห็นแก่ตัว

ในช่วงบ่ายเรียนหัวข้อ " Crucial Conversation

สามารถทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ควรพูดถึงการสื่อสารทั้ง verbal และ Non-verbal พูดให้ถูกกาลเทศะ พูดในทางบวก ดังนั้นควรมีศิลปะในการพูด

วันที่ 14 พย. 2557

การที่ได้ไปทำ CSR ที่ชะแล้ ได้ประสบการณ์ที่ดีมากอันหนึ่ง ทำให้เราได้เรียนรู้วิถีชุมชน การที่มีธรรมนูญสุขภาพได้อย่างไร ได้ฟังแล้วทำให้เกิดความรู้สึกว่าชุมชนนี้มีผู้นำในการบริหารงานที่ดี และผู้คนในชุมชนมีความตั้งใจในการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ชุมชนนี้เค้ายังต้องการความช่วยเหลือจากเครือข่าย ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่จะมาช่วยเหลือเด็กเยาวชนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น สามารถที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชุมชนต่อๆไป

สรุปการเรียน 3 วัน

12/11/57 ประโยชน์จากการอ่านหนังสือ How Google work ทำให้เห็นว่าทุนมนุษย์สำคัญมาก ต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนเข้าทำงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีสัมพันธภาพที่ดีก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ต่อดัวยความรู้เรื่องธรรมาภิบาลต้องประกอบจริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งเรามีพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ในครอบครัวไปสู่โรงเรียน เพื่อนฝูง การนำหลักธรรมาภิบาลไปปรับใช้ในองค์กร

13/11/57 ได้เรียนรู้จากปราช์ญในการสร้างชุมชนให้เขัมแข็งทำอย่างไร ท่านเปาะจิบอกไม่ต้องสร้างแต่ให้เชื่อมเข้ามาด้วยกันโดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเค้าต้องการเสนอปัญหาให้เห็นก่อนเกิดปัญหา ส่วนท่านอาจารย์พงศเป็นตัวอย่างบุคคลที่ยกย่องที่เสียสละทำงานเพื่อสังคมมากกว่าตัวเอง ช่วงบ่ายเรื่อง Crucial conversation ได้เรียนรูว่าคุณภาพของการสื่อสารคือคุณภาพของการทำงานในองค์กร

14/11/57 กิจกรรม CSR โรงเรียนชะแล้นิมิต รู้สึกมีความสุขที่ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมกับน้องๆและเห็นถึงความตั้งใจ ความสามัคคีของเพื่อนร่วมรุ่นที่ทำให้กิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี จะเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ

Friday (November 14,2014), we go to Tambol Chalae where we have CSR activity. We have many activities related to health knowledge. We divide our activities into 5 groups. The first one is the knowledge about our body. The second is to know the correct method to brush teeth. The third one is to know the bad of snacks. The fourth is to know the values of nutrition. The last one is to exercise. In the overall, I think I enjoy the activities that we share to children. I also see how fun children have even it rains. People are also friendly. I learn how to handle unforecast event such as a closing speech.

As the view of group, we feel happy and do not tried. We do all of three important words: learn, share and care for this CSR activity. Lunch is very good especially Nam Prik and fried fish. Afternoon, we listen to the Chalae health story and forest conservation. We go to walkway that pass through the mangrove forest. We know more trees. In conclusion, we get success on giving the awareness to children on their health. We also learn from the community on their principles.

วันที่ 14 พย.57 ได้ไปทำ CSR ที่ชะแล้ ทำให้รู้สึกว่าการแบ่งปัน การเป็นผู้ให้ บางครั้งมีความสุขมากกว่าการเป็นผู้รับ ได้เห็นความตั้งใจของทุกคน ความทุ่มเทโดยไม่รู้จักเหนื่อย ถ้าหากสังคมเรามีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน เช่นนี้ สังคมก็จะน่าอยู่มาก คนในสังคมส่วนใหญ่ต้องการเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ สังคมจึงเกิดปัญหา เพราะทุกคนมุ่งแต่ที่จะได้รับ โดยมองที่วัตถุเป็นหลัก ไม่ได้มองที่คุณค่าทางจิคใจซึ่งเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ เมื่อมองกลับมาที่คณะ ผู้นำควรเป็นผู้ให้ สิ่งที่ให้ควรเป็นโอกาส ให้โอกาสกับผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าเรา มองความผิดพลาดของเขาเป็นบทเรียน ให้เขาได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหา ช่วยแนะนำเขาให้ลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง

วันที่ 12 พ.ย57 ได้เรียนรู้จากการแปลบทความในหนังสือซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของgoogld ที่สามารถทำงานได้อย่างมหัศจรรย์จริงๆ ที่ทุกคนคาดไม่ถึง

ช่วงบ่ายได้เรียนรู้คุณธรรมและจริยธรรมที่ทุกคนนั้นมีอยู่ในตัวเอง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ที่เยี่ยมยอดจริงๆ และการใช้หลักธรรมาภิบาลในชีวิตประจำวัน


12 พย.57 ได้รับรู้เรื่องราวการทำงาน ผลิตภัณฑ์ของ Google ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ที่เราได้รับรู้ ซึ่งถ้าทางกลุ่มไม่ได้อ่านหนังสือ HOW Google Works. ก็คงไม่ทราบกัน

จริยธรรมผู้บริหารและการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ต้องบริหารด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ถ้าพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่จะทำ ดี งาม ถูกต้อง ทำเลย

13 พย.57 คณะแพทย์ มอ.กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน การเจรจา หารือกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รับฟังความคิดเห็นต่อกันและกัน

Crucial conversation การมีการสนทนา หารือกันในองค์กร จะลดการขัดแย้งได้ เรื่องเล็กๆน้อยๆที่เกิดจากการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ ในเวลาสบายๆ สามารถนำให้เกิดความคิดให้เป็นเรื่องใหญ่ และสามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้ การสื่อสารที่ดีต้องถูกกาลเทศะ ควบคุมอารมณ์ สร้างแรงบันดาล สร้างจินตนาการ

14 พย.57 CSR. กลุ่มจัดกิจกรรมเล่นเก่มให้กับเด็กๆ ให้เกิดความสนุกสนาน เกิดสมาธิ เกิดความสมัคคี เกิดความคิด ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะเร็วและชนะการแข่งขัน และเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทำให้นึกถึงอดีตตอนเราอายุขนาดนี้ อาหารเที่ยงอร่อยมาก รับรู้ได้ถึงชุมชนที่มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีคุณธรรม จริยธรรม ที่จะทำชุมชนให้เป็นที่พึ่งของคนให้ชุมชน ไม่ต้องไม่หางานทำในตัวเมือง มีการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้นำกับคนในชุมชน ชุมชนชะแล้จึงเป็นชุมชนที่เปิดกว้างพร้อมที่นำเสนอเรื่องราว สิ่งของที่มีอยู่ในชุมชนให้ผู้อื่นได้รับรู้ และรับฟัง รับรู้สิ่งใหม่ที่จะเข้ามาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของชุมชนได้ถูกต้องเหมาะสม

จะเห็นได้ว่าการแนะนำตัวหรือพูดเรื่องราวที่ดีของเราให้คนอื่นฟัง จะเป็นการเปิดโอกาสที่ดีในการได้รับรู้เรื่องราวที่ดีของคนอื่น ซึ่งทำให้เราสามารถนำเรื่องราวนั้นๆ มาปรับปรุงในสิ่งที่เราอยู่ให้ดีขึ้น และดีขึ้นสู่ความเป็นเลิศได้


วันที่13 พ.ย 57 ได้เรียนรู้เรื่องการสื่อสารในองค์กร ชุมชน สังคม เพื่อนร่วมงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ท่าทางการพูดและการฟัง การใช้น้ำเสียง ท่าที สีหน้า ท่าทางที่เรียกว่า Non - Verbal

เทคนิคการเป็นผู้นำระดับชุมชน สังคม ประเทศ ที่สามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ ทุกคนมีความสุขสนุกกับการอยู่ในชุมชน องค์กรนั้น

วันที่ 14 พ.ย 57 ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม CSR กับพื้นที่ตำบลชะแล้ ในกลุ่มที่ 4 เรื่องอาหารสุขภาพกับนักเรียนในโรงเรียนชะแล้ เป็นกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกมีความสุข สนุกกับเด็กๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ของเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติ รู้สึกดีใจมากๆ

ได้เรียนรู้วิถีชุมชนของตำบลชะแล้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การรักษาธรรมชาติให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น

จริพร โตรุ่งนิพัทธ์

12 พ.ย.57 การยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตัวเอง เป็นพื้นฐานของหลักจริยธรรม ต้องเต็มใจที่จะปฏิบัติไม่ใช่ถูกบังคับ เราวิเคราะห์แล้วว่าถูกต้อง มีการให้เหตุผลกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักยึดในการประพฤติปฏิบัติ และมนุษย์มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เคารพในศักดิ์ศรีของแต่ละคน การใช้วาจาไม่สุภาพ ทำร้ายคนได้ถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นคำว่าฆ่า ไม่ได้ใช้เฉพาะกายภาพอย่างเดียว ทางวาจาก็ให้ผลเช่นกัน

จริยธรรมที่สำคัญ

1. ความซื่อตรง

2. ความสุจริต

3. ความมีศีลธรรม

4. ความยุติธรรม

5. การรักษาคำมั่นสัญญา

6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์

7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ

8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี

13 พ.ย.57 ความสุขของสาธารณะไม่ใช่เรื่องสุขภาพ แต่เป็นเรื่องของสังคมที่เบียดเบียนทำให้เกิดความทุกข์ การอยู่อย่างมีความสุขอยู่อย่างไร ทำงานอย่างมีความสุขทำอย่างไร

14 พ.ย.57 กิจกรรม CSR ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้เรียนรู้วิถีชุมชน ทำให้มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เห็นเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนมีความสุข เฮฮา ร่าเริง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทีมงานและบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมล้วนให้ความร่วมมือ สามัคคี เป็นน้้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นบรรยากาศที่น่าประทับใจมาก

ช่วงที่ 4 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2557

หัวข้อนำเสนอจากกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเรื่อง "How Google Works" ได้เรียนรู้ถึงการสร้างนวัตกรรมในองค์กร หัวหน้าผู้บริหารสูงสุด CEO ต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรม CIO ด้วย การสร้างนวัตกรรมเป็นโครงสร้างที่ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเริ่มต้นที่มีความคิดเกิดขึ้นที่จะทำ และค่อยๆทำอย่างพัฒนาการต่อเนื่อง และจะพบว่ามีอุปสรรคมากมายตั้งแต่การเริ่มโครงการจนสิ้นสุดโครงการระหว่างทางที่ทำจะเกิดความคิดดีๆที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเกิดแรงผลักดันผู้ที่ไม่มีความคิดและไม่ร่วมมือก็อยู่ไม่ได้ คนที่มีความคิดใหม่ๆ ไม่ใช่ว่าทุกความคิดได้รับการยอมรับ ต้องต่อสู้กับตัวเองเพื่อการอยู่รอดคนที่ฉลาดและมีความสามารถในการนำซึ่งสิ่งใหม่ๆ และมีความกล้าที่จะเสี่ยง คิดแปลกๆ คิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ และเทคโนโลยีจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ สามารถเอากลับมาปรับปรุงมุมมองและวิธีการทำงานหรือการตัดสินใจของเราเองได้

หัวข้อ "คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารและการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล" ได้เรียนรู้ว่า ทุกคนมีคุณธรรมติดตัวมาตั้งแต่เกิด หาข้างหน้าไม่ได้ ต้อต่อยอดเอง เช่น การกตัญญูรู้คุณ การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การเลี้ยงดูลูกสำคัญมาก แม่มีหน้าที่ให้นมจากอก กอดลูกระหว่างแม่กับลูก เป็นรากฐานของธรรมะที่มีอยู่ในบ้าน มีการลงโทษและให้รางวัล บางครั้งก็ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือน และถ้ามีการทำดีก็ต้องชมเชย การที่ว่ากล่าวตักเตือนลูกน้อง ไม่ต้องกลัวว่าลูกน้องไม่รัก ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้อย่างดียิ่ง

13 พฤศจิกายน 2557

หัวข้อ "คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน" ได้เรียนรู้ถึงการสร้างชุมชน ต้องมีเครือข่ายมีการพบปะพูดคุยกันแสดงความคิดเห็นและยอมรับเพื่อแก้ปัญหาได้เข้าใจถึงวิธีการทำงานของปราชญ์ชาวบ้าน เน้นที่ความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ความสุขคือความไม่ทุกข์เชื่อในหลักศาสนาว่า ดีถูกชั่วผิดรวยถูกจนผิด ไม่มีศาสนาไหนสอนให้มนุษย์ร่ำรวย คนในสมัยก่อนต้องทำให้สังคมมีความสุขก่อน ไม่เหมือนกันปัจจุบันตอนให้ครอบครัวต้องมีความสุขก่อน พระราชบิดาเคยกล่าวว่า "อาชีพแพทย์ไม่ควรจะร่ำรวย เพราะถ้าร่ำรวย แปลว่าต้องเอาเปรียบคนป่วยไข้ที่อ่อนแอ" แต่ในความจริงของสังคม ความอยากรวยมีพลังมากกว่าความอยากช่วยเหลือเหลือคน

หัวข้อ "Crucial Conversation" ได้เรียนรู้ถึงการเตรียมคนไปสู่ 3V เน้น Macro ไปสู่ Macro เน้นเรื่องการปลูก เก็บเกี่ยว และเน้นชนะอุปสรรค นำไปสู่ความสำเร็จ คณะแพทยศาสตร์ มอ มีศักยภาพสูงมาก Crucial conversations คือส่วนหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง การศึกษาในองค์กรมีปัญหาและไม่ประสบความสำเร็จ จุดดีคือค้นพบว่าเรื่องเล็กๆอย่างการสนทนาแต่ถ้าฝึกฝน ปรับตัวได้ก็จะกระเด้งไปสู่เรื่องใหญ่ คือ สามามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้การสื่อสารมีหลายวิธี เช่น เป็นทางการ และไม่เป็นทางการการพูดและฟัง การแสดงสีหน้าท่าทาง การประชุมที่ดีต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการสื่อสารทีดีคือไม่สื่อสารบางจังหวด ไม่พูดจะดีกว่า แต่บางจังหวะพูดก็ดี พูดให้ถูกกาลเทศะ ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์ อย่าให้หลุด ให้นำทฤษฎี 5K's คือ Emotional การที่จะทำให้การควบคุมอารมณ์ดีขึ้นได้นั้นต้องอาศัยเวลา ถ้าไม่สามารถทำให้ได้อาจจะเกิดความล้มเหลวและการสื่อสารที่ดีต้องมีการสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557

กิจกรรม CSR: Public Spirit - Enlarge your networks

ในกลุ่มที่ได้ 2 ได้ทำฐานการออกกำลังกาย มอบความรัก กำลังใจให้กับเด็กๆ ความสุขและความสนุก สอดแทรกความรู้ ความสามัคคี น้องๆได้เล่นเกมที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย เป็นการปลุกให้สมองตื่นตัวเตรียมพร้อม ความกระฉับกระเฉง และที่สำคัญทำให้ร่างกายแข็งแรง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้คือ รู้จักการวางแผน การแก้ปัญหา การมีมนุษย์สัมพันธ์ และการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญคือได้กินอาหารอร่อยมากนอกจากได้ทำฐานกิจกรรมให้นักเรียนแล้ว ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร ภาคใต้เราได้จัดทำธรรมนูญสุขภาพ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย สร้างความเข้าใจด้านสุขภาพและสุขภาวะชุมชน หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเยี่ยมชมสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 (สงขลา) เดินชมธรรมชาติป่าชายเลน สูดอากาศอันบริสุทธิ์ ท่ามกลางฝนตกปอย สอดแทรกด้วยความรู้ถึงคุณและโทษของพันธุ์ไม้ต่างๆ

วันที่ 13 พย.57 ปราชญ์ชาวบ้านได้มาสอนในเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม โดยท่านเปาะจิ ได้แสดงให้เห็นถึงการนอบน้อมถ่อมตน , ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ , ความเห็นอกเห็นใจ มีทักษะในการโน้มน้าวคนในชุมชน โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นของปัญหาและให้ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำแก้ไขปัญหา ไม่ใช้ความรุนแรง และแก้ปัญหาด้วยความใจเย็น ท่านเปาะจิจะไม่เข้าไปแบบผู้ชี้นำ แต่จะเป็นผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษา เป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชนกับส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะเน้นถึงความต้องการของชุมชนจริง ๆ

อ.พงศา ได้บอกถึงความสุขของชุมชนได้มาโดยการไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน และถ้าคนในชุมชนอยากอายุยืน ต้องไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน

วันที่ 13 พย.57 เรื่อง Crucial Conversation ในปัจจุบันการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นการที่จะสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจ จะต้อง

1. พูดอย่างมีเหตุมีผล

2. คู่สนทนาจะต้องรู้สึกปลอดภัยในการสนทนา

3. ต้องสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

การไม่พูดคุยกันเลยจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ความไม่เข้าใจกัน เกิดขึ้นในองค์กร ทำให้ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นคนในองค์กรควรจะมีการพูดคุยเปิดใจกันให้มาก

การทำ CSR ในชุมชนชะแล้ เด็ก ๆ ในชุมชนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม ได้เรียนรู้ถึงภาวะโภชนาการที่ดีเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ และชุมชน ส่วนผู้ทำกิจกรรม ได้เรียนรู้ในการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อทำงานให้สำเร็จ แต่ควรจะมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะแพทย์มีศักภาพที่จะจัด CSR ให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีทั้งบุคลากร ความรู้ ที่จะให้กับชุมชน

12 พ.ย 57

How Google Works

ทำให้เรามีแรงบันดาลใจ มีความกล้าที่จะเสี่ยง ความคิดแปลก แตกต่าง ความคิดนอกกรอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ และ IT จะเป็นส่วนสำคัญทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เริ่มตั้งแต่พิจารณารับสมัครบุคคลเข้ามาทำงาน ไม่ได้พิจารณาที่ความเก่ง แต่พิจารณาหลายๆด้าน จากความตั้งใจจริงที่จะทำงานเพื่อสร้างงานให้ออกมาดี

จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง "ธรรมภิบาล "ในองค์กร "

ประทับใจในจริยธรรม คือ

ความซื่อตรง (Integrity), ความสุจริต (Honesty), ความมีศีลธรรม (Morality), ความยุติธรรม (Fairness), การรักษาคำมั่นสัญญา (Promise Keeping), การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest), การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (Compliance With Laws and Regulation), การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี Reputation and Dignity สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน



ในการไปทำ CSR ที่โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น กลุ่ม4 รู้สึกว่าดีใจที่น้องหลายกลุ่มร่วมทำกิจกรรมกับเรา เพราะกลุ่ม4 ทำฐานเกี่ยวกับร่างกายของเราตอนแรกกลัวว่าจะไม่น่าสนใจนักเพราะเด็ก ม.ต้น อาจจะไม่ชอบเรื่องนี้ แต่พอเอาเข้าจริงก็รู้สึกว่าน้องๆเขาก็สนใจร่วมตอบคำถามของกลุ่มที่เตรียมไว้ นอกจากนี้กลุ่ม4เองก็ขอขอบคุณการต้อนรับของชาวชะแล้ที่มาร่วมกิจกรรมและจัดอาหารเที่ยง เป็นมื้อเที่ยงที่อร่อยมากมื้อนึง ได้เห็นการทุ่มเททำกิจกรรมของเพื่อนกลุ่มอื่นๆทำให้น้องๆได้สนุกสนาน และได้รับสาระ ความสนุกสนานจากวิทยากรในท้องที่อีกสองท่านในช่วงบ่าย ได้ไปเดินใน walkway ที่มีต้นไม้ต่างๆเยอะแยะ ได้ร่วมกันถ่ายรูปกันมากมาย นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้รับข้อคิดดีๆจากวิทยากรทั้งสองอีกด้วย สุดท้ายจะเห็นได้ว่ากิจกรรม CSR สามารถสำเร็จได้ด้วยพวกเราทุกภาคส่วน :)

13 พ.ย 57

คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม /ชุมชนในสายตาของประชาชน

อยากให้พวกเราสร้างความสัมพันธ์กับปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 ท่าน คือ คุณพงศา และคุณเปาะจิ เพื่อจะได้ learn share care เพื่อจะได้ลดความเลื่่อมล้ำ ปัญหาของชายแดนใต้จะได้ลดลง เพราะมีคนช่วยเยี่ยวยา อย่างจริงจัง และยั่งยืน ฝากไว้กับพวกเราชาว มอ. ทุกท่าน

Crucial Conversation คือ การสื่อสารที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร และการสื่อสารที่ดี ต้องเป็นในแง่บวก คือ ต้อง 2 I's คือ Inspiration (สร้างแรงบันดาลใจ) และ Imagination (สร้างจินตนาการ) มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งคิดว่าได้ประโยชน์อย่างมากกับชาว มอ.

14 Nov 2014

กิจกรรม CSR : public spirit ชะแล้

เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิดใหม่ๆกับน้องๆ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม รู้ภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

และพวกเราได้เรียนรู้วิถีชุมชนของตำบลชะแล้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การรักษาธรรมชาติให้ ยั่งยืนตลอดไป

12 พฤศจิกายน 2557 หัวข้อ "จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง"ธรรมาภิบาล" ในองค์กร"

ได้เรียนรู้ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและธรรมาภิบาลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคนและองค์กร แต่เรื่องจริยธรรมและธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนไม่ได้ตรงไปตรงมาตามทฤษฏี น่าเสียดายที่ขาดตัวอย่างที่จะช่วยให้ทำความเข้าใจกับเรื่องเหล่านี้ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ด้วยประสบการณ์ของท่านวิทยากรเชื่อมั่นว่าท่านมีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงมากมายและล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่อยู่ในความสนใจในระดับประเทศ หากได้มีการนำกรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงมาประกอบจะทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชานี้ มากยิ่งขึ้น

13 พฤศจิกายน 2557 Social Innovation: คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน

ได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่น่าทึ่ง การพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งต้องการความเข้าใจและการเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงจึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและพัฒนาอย่างยืนได้ สิ่งที่ตระหนักได้คือบางครั้งการที่มีโครงการเข้าไปพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/สังคมเป็นการดำเนินการจากผู้ที่คิดว่าเป็น"ผู้ให้"ให้ในสิ่งที่คิดว่าอยากให้และควรให้ แต่อาจไม่ได้เป็นความต้องการที่แท้จริงของ"ผู้รับ"หรือคนในชุมชน/สังคมก็ได้ ดังนั้นการดำเนินการใดๆในชุมชน/สังคม จำเป็นต้องมีการศึกษาและเข้าถึงปัญหา ต้องฟังเสียงจากคนในชุมชนนั้นๆการพัฒนาจึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

14 พ.ย..57 CSR ที่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

เป็นอีกครั้งที่ได้เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชนน่าเสียดายที่ความตั้งใจเดิมของเรากลุ่มเป้าหมายเป็นชาวบ้านมากกว่านักเรียน ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มชาวบ้านลักษณะกิจกรรมของเราน่าจะต้องเปลี่ยนเป็นอีกแบบ กิจกรรม CSR คงต้องเพิ่มและให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลของชุมชนรวมทั้งกลุ่มเป้าหมายและความต้องการที่แท้จริงมากกว่านี้เพื่อไม่ให้เป็นเพียงการทำกิจกรรมวันเดียวแล้วจบ แต่สำหรับเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้หลายอย่างงานนี้นอกจากเด็กๆจะได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เราทำในฐานต่างๆแล้ว พวกเราเองก็ได้เรียนรู้การทำงานลักษณะนี้อาจเป็นประสบการณ์ที่ได้รับมากกว่าเด็กๆด้วยซ้ำ สิ่งที่ตระหนักได้จากการทำงานคือบุคลากรของเรามีศักยภาพที่ซ่อนอยู่มากมายอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อมารวมกันกลายเป็นความร่วมมือที่น่าประทับใจ และเป็นตัวอย่างให้คณะแพทย์หันกลับมาให้ความสำคัญกับCSR มากขึ้น

How google work เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ถ้าคณะแพทย์สามารถนำมาปรับใช้ คงจะดีมากๆ คิดว่าบุคลากรคงมีความสุขในการทำงาน และสามารถที่จะดึงคนให้อยู่ในองค์กรได้

นายดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ" ดีใจที่ได้มีโอกาสได้ฟัง ปราช ของชาวบ้าน วิธีแก้ปัญหาได้อย่างดีเยี่ยมที่สามารถนำมาปรับใช้ในหน่วยงานได้เลยคือ

ต้องให้เขารู้ปัญหา แสดงให้เขาเห็นปัญหาเป็นระยะ ๆ และค่อย ๆ ซึมลึก และรับฟังและร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน เมื่อทุกคนรู้ปัญหา รู้ว่าต้องแก้ไขอย่างไร ความร่วมมือ ความสามัคคีจะเกิด งานก็จะประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่ว่าเราคิดให้เขาหมด

นายพงศา ชูแนม ชอบการใช้ชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ และป่าไม้ได้อย่างสมดุล และการช่วยเหลือเพื่อน

มนุษย์โดยไม่หวังผลตอบแทน

14 พ.ย..57 CSR ที่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

การทีได้เข้าไปทำกิจกรรมในชุมชน กิจกรรม CSR สำหรับเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้น เนื่องจากเรามีเวลาน้อย ทำให้กิจกรรมที่เราเตรียมไปต้องรีบเร่ง บางกิจกรรมเด็ก ๆ อาจจะเก็บเกี่ยวความรู้ได้น้อย ทำให้เราต้องมาวิเคราะห์ว่า บางกิจกรรมอาจไม่เหมาะกับเวลา แต่ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้หลาย ทำให้ได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน และซึ้งใจในตัวบุคลากรของคณะแพทย์ ทุกคนร่วมใจ ตั้งใจ ให้ความร่วมมือ ประทับใจมากๆ อยากให้คณะแพทย์หันกลับมาให้ความสำคัญกับCSR และจัดอย่างต่อเนื่อง

12 พ.ย. 2557

การทำงานของ google ( google work)

จะได้รู้การทำงานของ google และการ innovationและความมหัศจรรย์ซึ่งมีความคิคแบบนอกกรอบและมีความคิคสร้างสรรสามารถประดิษฐ์โปรแกรมที่มีประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้มาก ซึ่งถ้ามองไม่น่าจะทำได้แต่ google ก็ทำสำเร็จมาแล้ว

จริยธรรมและคุณธรรม

คุณธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตนติดตัวมาแต่กำเนิดที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่และครอบครัวซึ่งจะต้องอยู่ในทุนมนุษย์คือการมีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งคุณค่าของการเป็นมนุษย์มีมูลค่าทีประเมินไม่ได้ และได้ประโยชน์จากวิทยากรเป็นอย่างมากเพราะท่านมีประสบการณ์ในการทำงานสูงมากเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ

การพัฒนาด้านจริยธรรมและคุณธรรม

1 การเตรียมเข้าสู่การเป็นผู้มีคุณธรรม

2 การเริ่มต้นการมีคุณธรรม

3 การยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง ใช้เหตุผลในการแยกแยะความดีความชั่ว


วันพุทธ ที่ 12 พ.ย. 57

ช่วงเช้า

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่าน อ. จีระ หงส์ลดารมภ์ที่คัดสรรหนังสือเล่มนี้มาให้พวกเรา How Google Works : Google เป็นบริษัทที่สุดยอดจริงๆ ในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รูปแบบการทำงาน ซึ่งเรื่องบางเรื่องหลายๆคน อาจจะยังไม่ทราบว่า Google สามารถทำมันได้ และถ้าให้คาดเดาเกี่ยวกับCharacter ของพนักงานในบริษัทและผู้บริหารส่วนใหญ่ของ Google น่าจะเป็นคนที่มี Imagine หรือ Creative เพราะสิ่งนี้จะนำพาให้เกิด Big Idea และหากสิ่งที่คิดนั้นเป็นเรื่องใหม่ๆ แตกต่างกว่าใครๆ มันก็จะเป็น Innovation และเมื่อเราได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ Google อย่างลึกซึ้งจึงรู้ว่า Google ให้ความสำคัญกับ คน เป็นอย่างยิ่งตั้งแต่กระบวนสรรหาคนเข้าทำงาน (คัดเลือกคนที่มีความอยากเรียนรู้ พร้อมที่จะเจอสิ่งใหม่ๆ มองปัญหาเป็น ตั้งคำถามเป็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์) โดยเฉพาะกลุ่มคน Creative เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะทำให้เกิด Innovation ซึ่งก็จะทำให้บริษัทมีอะไรใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ถ้าได้กลุ่มคนเหล่านี้มา หรือแม้แต่เรื่องของ Conversation ซึ่งเขาถือว่าการสื่อสารในองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกัน และที่สำคัญการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งอำนวยความสะดวก ให้พนักงานบุคลากร รู้สึกมีความสุขในที่ทำงาน

สรุป สิ่งที่คณะแพทย์ฯควรปรับใช้คือ Recruitment and Sellection - - - > Workplce in dream - - - > Imagine - - - > Creative Thinking - - - > Innovation

ช่วงบ่าย

แนวทางการสร้างธรรมมาภิบาล : ธรรมมาภิบาลจะเกิดหากถ้าทุกคนสำนึกในบทบาทหน้าที่ มีความโปร่งใสในการทำงาน ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือสามารถตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน และต้องมีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

สรุป ปลูกฝังคุณธรรม (ครอบครัว+โรงเรียน) ---- > ตระหนักในบทบาทหน้าที่ (สถานที่ทำงาน) ---- > บริหารงานด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ (ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม)

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พ.ย 57

ช่วงเช้า

Social Innovation : คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชน

ใน Part นี้ รู้สึกชื่นชมวิทยากรทั้งสองท่านเป็นอย่างมาก ทั้งคุณ ดือราแม ดาราแม หรือ เปาะจิ และคุณพงศา ชูแนม

ซึ่งทั้งสองท่านทำให้เราได้เห็นแบบอย่างที่ดี ในการเป็นนักพัฒนาสังคม/ชุมชน เห็นถึงความจริงใจและตั้งใจในการทำงาน บางครั้งแบบอย่างที่ดี ก็มีอยู่ใกล้ตัวให้เราเห็น ไม่จำเป็นต้องมองไปไกลถึงระดับประเทศ เพราะบางครั้งการจะพัฒนาประเทศ อาจจะต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนเช่น ครอบครัว ชุมชน และสังคมที่กว้างขึ้น จนถึงระดับประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน/สังคมคือ การมีจิตใจที่เป็นนักพัฒนา นั่นคือเราต้องเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของชุมชนที่เกิดขึ้นก่อน มีความจริงใจที่จะศึกษาปัญหา,วัฒนธรรมในชุมชนของเขาและหาวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง ตรงตามความต้องการของชุมชน

วิทยากรทั้งสองท่าน ทำให้พวกเราได้ตระหนักถึงความสำคัญของ "วัฒนธรรม" และ "วิถีชีวิต" การเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของสมัยก่อนจาก รุ่นสู่รุ่น มันเริ่มขาดหายไป ไม่ต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับแต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ หรือจะกล่าวได้ว่า ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของชุมชนนั้นๆ อีกนัยหนึ่งคือ ผู้นำชุมชน มีบทบาทอย่างมากในการสืบทอดวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นๆ ซึ่งไม่ต่างกันกับการนำมาประยุกต์ใช้ในคณะแพทย์ฯของเรา ผู้นำ ทุกระดับ สำคัญกับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้นำจะต้องเป็นแบบอย่างและเป็นนักพัฒนา มีความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหา นำพาหรือพัฒนาองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม

ช่วงบ่าย

Crucial Conversation : การสื่อสารที่ดีในองค์กร ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะปัญหาส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าจะความขัดแย้ง,ความไม่เข้าใจกันภายในหรือภายนอกองค์กร ส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่าง หัวหน้ากับลูกน้อง , เพื่อนร่วมงาน, การสื่อสารระหว่างหน่วยงาน,การสื่อสารกับบุคคลภายนอกองค์กร เป็นต้น ดังนั้นหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับบทสนทนาที่สำคัญๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีหนังสือประเภทนี้มากมายให้ศึกษากัน และมีการยกตัวอย่างสถานการณ์ในการสนทนาขึ้นมากมายให้เราได้นำไปประยุกต์กัน บางครั้งในการสื่อสารที่สำคัญคือการคิดก่อน ที่จะสื่อสารออกไปและลองสมมุติว่าถ้าเราเป็นผู้รับสารดังกล่าวแล้วเจอคำพูดแบบนี้เราจะรู้สึกอย่างไร แต่สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ เรื่องของ อคติ เพราะหากถ้าผู้รับสารมีอคติกับผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารคงจะต้องระมัดระวังวิธีการสื่อสารมากขึ้น เพราะหากเกิดความเข้าใจผิดอาจจะนำพาไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตได้ ดังนั้นเราควรจะเลือกวิธีการสื่อสารให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับผู้รับสาร ตลอดทั้งสถานการณ์ต่างๆ

วันศุกร์ ที่ 14 พ.ย. 2557

กิจกรรม CSR : ที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สิ่งที่รู้สึกประทับใจในกิจกรรมครั้งนี้คือ

  • 1.รู้สึกภูมิใจที่เราเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยเหลือ ร่วมจัดทำกิจกรรมครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ
  • 2.กิจกรรมครั้งนี้ช่วยทำให้สมาชิกในกลุ่มได้รู้จักกันมากขึ้น เพราะพวกจะต้องมาทำบอร์ดและกิจกรรมร่วมกัน
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์และละลายพฤติกรรมภายในทีมงานได้ดีกิจกรรมหนึ่ง และทำให้พวกเรารู้สึกผ่อนคลาย
  • 3.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากโครงการในครั้งนี้และพวกเราก็ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ดีของชุมชน ชะแล้ ซึ่งรู้สึกชื่นชมผู้นำ ชุมชน การดำเนินงานของชุมชนสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ทำงานด้วยความจริงใจและตั้งใจ มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
  • 4.อยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้ในคณะแพทยฯ อย่างต่อเนื่อง และควรจัดให้อยู่ในแผนงานของคณะแพทย์ฯ เพราะนอกจากช่วยพัฒนาชุมชน/สังคมแล้ว แต่ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้นำระหว่างหน่วยงานหรือบุคลากรระหว่างหน่วยงาน ทั้งสนุกและได้เพื่อนใหม่

13 พ.ย. 2557

คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน

ขอชื่นชมวิทยากรทั้ง 2 ท่านที่ได้เล่าประสการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชนซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยความคิคพื้นๆของตนเองและเป็นที่ยอมรับของขุมชน และสามารถพัฒนาให้รุ่งเรืองได้โดยไม่มีความขัดแย้ง และมีเครือข่ายพูดคุยกันแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และปราชญ์ชาวบ้านจะเป็นผู้แนะนำแต่จะไม่ชี้นำให้กับชาวบ้านให้รู้จักคิคเองและยอมรับกันเอง

crucial conversation

มีความสำคัญมากในการสือสารภายในองค์กรเพื่อจะให้ปัญหาภายในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร และแสวงหาโอกาสใหม่ๆนำไปสู่ value creation value diversity และมีองค์ประกอบหลายอย่างในการสือสารเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จเช่น

1 ต้องสังเกตุสีหน้าผู้เข้าร่วมประชุม และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพูด และความพึ่งพอใจของคนร่วมประชุม

2 ต้องไม่มีความกลัว ต้องกล้าพูดกล้าแสดงความคิคเห็น

3 ต้องมีการวางแผนก่อนการประชุม

4 ต้องระมัดระวังคำพูดที่ไปกระทบความรู้สึกของผู้อื่น

5 ต้องคิคก่อนพูดหรือใช้สำนวนวาจาหรือต้องมีศิลปะในการพูด

6 การสนทนาต้องจริงใจ และ โปร่งใสในการพูด

14 พ.ย. 2557

กิจกรรม CSR ที่ รร.ชะแล้นิมิตรวิทยา ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในการสร้าง net work และได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นทีม มีการวางแผนในการสร้างเสริมกิจกรรมที่มีประโยชน์แก่นักเรียน และพวกเราได้เรียนรู้วิถีชุมชนของชะแล้ การรักษาธรรมชาติ และได้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนและได้ชมป่าชายเลนได้สัมผัสธรรมชาติล้วนๆและได้รู้ว่ามันมีประโยชน์และโทษอย่างไร กลุ่ม 3 ได้แนะนำน้องๆแปรงฟันให้ถูกวิธี การดูแลสุขภาพฟันและมีการทดสอบความรู้เกี่ยวกับเรื่องฟัน ดีใจที่น้องๆให้ความสนใจ และทางกลุ่มได้แจกแปรงสีฟันและยาสีฟันให้น้องๆนำกลับไปใช้ที่บ้านด้วย

วันพุธ ที่ 12 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

ทุนมนุษย์ที่สำคัญ คือ ทุนทางจริยธรรม คุณธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานติดตัวมาในแต่ละคน

ทำให้เห็นว่าทุนมนุษย์สำคัญมาก การคัดเลือกคนเข้าทำงานก็มีความสำคัญ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีสัมพันธภาพที่ดีก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ต่อดัวยความรู้เรื่องธรรมาภิบาลต้องประกอบจริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งเรามีพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ในครอบครัวไปสู่โรงเรียน เพื่อนฝูง และสามารถนำมาปรับใช้ในองค์กร อีกทั้งยังนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ด้วย

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

- การเป็นผู้นำที่ดี ต้องมีกาลเทศะ ในการพูด ไม่พูดมาก หรือน้อยเกินไป

- การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างไร เริ่มจากเชื่อมความแตกแยกกัน ไปในฐานะที่เราไม่รู้ (ไปถามเขา ขอความรู้จากเขา) ต้องรู้ปัญหา แสดงให้เขาเห็นปัญหาเป็นระยะ ๆ และค่อย ๆ ซึมลึก และรับฟังและร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจปัญหา แต่วิธีการแก้ปัญหาไม่เข้าใจกัน

การถามคำถาม เปรียบเหมือนมาเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งสำคัญยิ่ง

ความเชื่อในหลักศาสนา คือ อุปาทานเก่า คือ ดีถูก ชั่วผิด แต่ปัจจุบันรวยถูก จนผิด จึงทำให้สังคมเปลี่ยนไป

วันศุกร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

ทำกิจกรรม CSR ที่ชะแล้ ดีใจที่ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม ได้เห็นถึงความตั้งใจ ความสามัคคีของทุกคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรม ทำให้ผ่านไปได้ด้วยดี

12 พ.ย. 57

บทเรียนจาก "How Google Works" ชื่อหนังสือธรรมดา แต่เนื้อหามีคุณค่ามากไม่ว่าเรื่องเกี่ยวกับ Innovation : 1. New 2. Surprising 3. Useful และที่สำคัญการสื่อสารภายในองค์กรโดยมีพื้นฐาน 7 ประการ รวมถึงการคัดเลือกคนเข้าทำงาน "เลือกคนที่อยากรู้ พร้อมเจอสิ่งใหม่ ๆ มองปัญหาและตั้งคำถามเป็น ทำงานกับผู้อื่นได้ แม้ไม่มีประสบการณ์" ในส่วนขององค์กรต้องมีกลยุทธ์ 1. คิดสิ่งที่เหนือกว่าปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยี 2. คิด growth แต่ไม่ revenue 3. รู้จักคู่แข่งแต่ไม่ต้องตาม

ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

กล่าวถึงคุณธรรม (Moral)เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่จริยธรรม(Ethics) เป็นอุดมการณ์ หรือมาตรฐานความประพฤติ ความดีสูงสุดซึ่งจะสูงกว่าคุณธรรม ดังนั้นสังคมที่มีจริยธรรมต้องเริ่มต้นที่ครอบครัว ซึ่งอาจารย์ได้เน้นย้ำสิ่งสำคัญ คือแก่นของศาสนาทุกศาสนา "ไม่ทำบาปทั้งปวง และทำจิตให้สะอาด"

13 พ.ย. 57

คุณดือราแม ดาราแม (เปาะจิ) ปราชญ์ชาวบ้านแห่งตำบลปาลุกาสาเมาะ ชีวิตที่เรียบง่ายแต่เมื่อถึงวันหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง จากประสบการณ์ชีวิตจริงในการสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยการเรียนรู้ปัญหา แสดงปัญหา วิธีการซึมลึก รับฟัง และร่วมแก้ปัญหาทุกสถานที่ (Learn Share Care)

คุณพงศา ชูแนม ด้วยอุดมการณ์ที่มุ่งมั่น ในการรักษาให้ธรรมชาติให้คงอยู่ ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยี คนสามารถพึ่งตนเองได้ด้านอาหาร และพลังงาน และมีสุขภาพดีถ้วนหน้าที่ค่าใช้จ่ายไม่แพง

Crucial Conversation โดย ศ.จิระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล กล่าวถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคต่อไป ซึ่งสร้างมูลค่าแบบ 3V (เน้น Macro) เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ HR ต้องมี Leadership ทุกระดับ

นอกจากนี้พูดถึงการสนทนาที่ดี คือให้ทุกคนมีส่วนร่วม ต้องมีการฝึกฝน ฝึกพูด หากต้อง comment ต้องพูดเสริมประเด็น สรุป การพูดต้องมีวัตถุประสงค์ บทบาทและฐานะของผู้พูด ทั้งผู้พูดและผู้ฟังต้องมีความจริงมาพูด

14 พ.ย. 57

กิจกรรม CSR โรงเรียนชะแล้นิมิตพิทยา ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กม.แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติเป็นอย่างมาก กิจกรรมครั้งนี้ให้ทั้งความรู้ การออกกำลังกาย และการจุดประกายให้เด็ก ๆ ได้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีม และคาดหวังว่าผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งจะคงรักษาวิถีธรรมชาติให้คงอยู่ควบคู่กับเทคโนโลยีอย่างกลมกลืน

ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ

วันแรกของสัปดาห์ที่ 4 (12 พ.ย. 57) หลังได้สุนทรียสนทนาจิบชาในวงกาแฟกับท่านอาจารย์จีระแล้วแต่ละกลุ่มได้นำเสนอการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ How Google works ทำให้เกิดมุมมองที่ดีมากจริงๆว่าในปัจจุบันที่ Google สามารถพัฒนาได้อย่างไม่หยุดยั้ง เป็นเพราะ

Google สนับสนุนให้คนองค์กรเกิดความคิดสร้างสรรค์ ความคิดที่เกิดจากความศรัทธาร่วมกัน

Google มีการสื่อสารที่เร้าใจ

Google สร้างแรงบันดาลใจ

Google บอกเป็นขั้นตอน บอกอนาคตอันใกล้

Google สามารถสร้างได้ทั้ง happiness at work และ happy workplace

คงถึงคราวที่จะต้องมาร่วมวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจจากคัมภีร์ How Med PSU works เพื่อให้องค์กรที่มีทุนมนุษย์ที่อุดมสมบูรณ์เยี่ยงนี้ ได้ก้าวหน้าและก้าวไกล(สักที)

----------------------------------------------

ต่อมารู้สึกได้รับเกียรติอย่างสูงเลยค่ะที่ได้รับฟังบรรยายจากวิทยากรที่เห็นและติดตามจากทางสื่อมาตลอด วันนี้พบตัวเป็นๆและได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดในช่วงเบรคกาแฟด้วย

ท่าน ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ ในหัวข้อ คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหาร การสร้างธรรมมาภิบาลในองค์กร ทำให้ทราบว่า

1.คุณธรรมของคนเรามีมาตั้งแต่กำเนิดเช่น ความกตัญญูรู้คุณ

2.ขั้นตอนในการพัฒนาคุณธรรม

3.จริยธรรมจริงๆก็คือคุณธรรมที่เรายอมรับและปฏิบัติได้ด้วยตัวเราเอง เป็นอุดมการณ์หรือมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ที่เป็นจุดมุ่งหมายเพื่อความดีสูงสุด ใช้ในการกำกับดูแลพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล

4.หลักธรรมมาภิบาล เป็นหลักจริยธรรมขององค์กร สังคม ชุมชน ประเทศชาติ

5.คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่จิต ทุจริตเกิดขึ้นกับมนุษย์ที่ซื้อได้ คุณค่าของความเป็นมนุษย์ปัจจุบันได้หายไปจากสังคมไทย!!

6.คนที่มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องกล้าตัดสินใจในสิ่งที่คิดว่าดี

7.หน้าที่เป็นต้นกำเนิดของวิชาชีพที่ต้องมีจริยธรรมที่สูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นพันธะสัญญา

8.คนที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องอยู่ใต้ร่มคือจรรยาบรรณ จะมีองค์กรคอยควบคุม

9.สิ่งที่ต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่งคือการปกครองบ้านเมืองเพราะต้องอาศัยความดีงามของมนุษย์

10.หัวใจการปกครองบ้านเมืองคือมีระบบคุณธรรม

…… สุจริต ต้องไม่อาย………………..

ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ

วันที่2 สัปดาห์ที่4 (13 พ.ย. 57) ฝนเทอย่างหนักแต่มาทัน ได้มอร์นิ่ง คอฟฟี่กับอ.จีระ และอ.ดือราแม ดาราแม

รอบเช้า หัวข้อ Learn – Share – Care Intensive Workshop CSR: Social Innovation: คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน โดย นายพงศา ชูแนม ปราชญ์ชาวบ้าน หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และ นายดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ" ปราชญ์ชาวบ้านแห่งตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

คุณดือราแม ดาราแม หรือ "เปาะจิ" ได้ให้เทคนิคในการสร้างชุมชนไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงเราไปเชื่อมความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ให้เห็นความสำคัญในสิ่งที่เราจะไปช่วยหรือมอบให้ ทำให้เรียนรู้หลักการทำงานของปราชญ์ชาวบ้านที่ตรงประเด็น เน้นความต้องการของชุมชนที่แท้จริง คำพูดกับการกระทำต้องตรงกัน

คุณพงศา ชูแนม ได้มีการบูรณาการแนวทางหรือความเชื่อทางพระพุทธศาสนา มาประยุกต์ใช้กับการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้เป็นอย่างดีและน่าสนใจ ได้ให้แง่คิดในเรื่อง อสม.ที่เป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศแต่อาจจะขาดศักยภาพ หรือยังไม่เพียงพอ ดังนั้นหากเราคณะแพทย์สามารถเข้าไปสร้างระบบการดูแล บริการเป็นในลักษณะเครือข่ายที่ดีต่อกัน ซี่งคุณพงศาอยากให้มี project ร่วมกัน…..

รอบบ่าย : Crucial Conversation โดย ศ ดร.จิระ และ อ. พิชญ์ภูรี

- conversation เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ การหารือในองค์กร

- การสื่อสารที่ดี ผู้พูดต้องคำนึงถึง rhythm and speed

- การสื่อสารที่ดี ต้องควบคุมอารมณ์ ต้องมีการใช้ 5K คือ emotional intelligence

- การสื่อสารที่ดี ต้องมี 2 I คือ Inspiration and Imagination

- crucial conversation เป็นการสื่อสาร ที่มีการแก้ปัญหา ลดความขัดแย้งในองค์กร สร้าง solution เพื่อนำไปสู่สร้าง value creation, value diversity

- crucial conversation จะมีการสร้างบรรยากาศให้ทุกคนได้พูด พูดโดยไม่มีความกลัว รู้สึกปลอดภัยที่จะพูด ไม่เก็บกด ไม่ได้พูดด้วยความเกรงใจ และมีการกระตุ้นให้เกิดการพูดที่สร้างสรรค์

- crucial conversation เป็นการสร้างแรงจูงใจ มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพ เอาความคิดมาผสมผสานกัน

ทัศนันท์ ศิริเสถียยรุจ

วันที่ 3 สัปดาห์ที่ 4 ( 14 พ.ย. 57) วันนี้ที่รอคอยสำหรับโครงการ CSR "สุขภาวะเด็กวัยเรียนเยี่ยมเยียนวิถีชุมชนคนชะแล้"แรงสนับสนุนลงมาอย่างหนักหน่วงเหลือเกินจากสภาวะฝนที่ตกอย่างหนักในช่วงก่อนออกเดินทาง โชคดีมากเลยค่ะ เมื่อไปถึงชุมชน ท้องฟ้าเปิดฝนหยุดตก

-พิธีเปิดที่น่าประทับใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่มที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก (ผู้ประสานงานรู้สึกดีค่ะ)

-จัดกิจกรรมให้แก่นักเรียน มีหลายคนอาย ยังไม่กล้าแสดงออก ถ้ามีเวลามากกว่านี้คงได้มีความคุ้ยเคยกันมากขึ้น

-อาหารมื้อกลางวันที่แสนอร่อยจากผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

ภาคบ่าย ได้รับความรู้เกี่ยวประวัติ ความเป็นมาของชุมชนชะแล้ที่มีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เป็นชุมชนที่ได้มีการพัฒนา และบูรณาการการบริหารจัดการในทุกด้านให้เข้ากับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เน้นความร่วมมือและความเป็นเจ้าของร่วมกัน สามารถพัฒนาเป็นสำนักธรรมนูญสุขภาพจนได้รับรางวัลเป็นชุมชนแห่งแรกของประเทศ หลังจากฟังบรรยายจากวิทยากรประจำชุมชน จำนวน 2 ท่าน ฝนเริ่มหยุด พวกเราได้เดินชมและสำรวจป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ของชุมชนแห่งนี้กับกิจกรรม walkway เป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นแวะตลาดประจำหมู่บ้าน เปิดโอกาสให้นักชิมและนักช๊อปได้อุดหนุนผลผลิตของชุมชนแห่งนี้กันอย่างสนุกสนานและอร่อย สนุกมากค่ะ…………………………………….

ธรรมนันท์ เบ็ญจพรกุลพงศ์

12 พย 57 ช่วงเข้า

กลุ่ม 1 ( อ.ภาสุรีฯ ) นำเสนอสิ่่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ How Google works อาจารย์นำเสนอได้อย่างน่าสนใจมากๆ อ.จิระ สรุปตบท้ายว่า ผู้นำคือใครก็ได้ ที่สร้างศรัทธาได้ ไม่ใช่เป็นผู้นำโดยตำแหน่ง

กลุ่ม 2 ( อ.เสรีฯ ) พอสรุปได้ว่า 20% ของเวลาทำงาน ให้แบ่งเวลาให้กับการคิดอะไรใหม่ๆ

กลุ่ม 3 พอสรุปได้ว่า Conversation is the most important and valueable of communication. ให้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้-การทำงานแบบ"ไม่เป็นทางการ"บ้าง

กลุ่ม 4 กูเกิล เลือกคนเข้าทำงานโดยดูจาก "คนที่อยากเรียนรู้"

กลุ่ม 5 พอสรุปได้ว่า - start meeing with data ,

- Don't seek the convince by saying " I think .. "

- Convince by saying " Let me show you"

เคล็ดลับการประชุม 1. อย่าบ่อยเกินไป

2. ใช้เวลาให้เหมาะสม

3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความเห็น

ช่วงบ่าย ฟังอ.วิชา สรุปได้ว่า กวนอิม = ฟังเสียงกระซิบจากแผ่นดิน

13 พย 57

ช่วงเช้า ฟังปราชญ์ชาวบ้าน 2 ท่าน ซึ่งมีแนวคิดที่น่าสนใจอย่างมาก เป็นตัวอย่างของผู้นำที่น่าลอกเลียนแบบอย่างมาก เพราะมีจิตสำนึกสาธารณะสูงมากทั้งสองท่าน

ช่วงบ่าย - การเป็นผู้นำที่ดี ต้องเลือกกาละเทศะให้ดี ต้องควบคุมอารมณ์ให้ดี อย่าให้หลุด

- การสื่อสารที่ดี จะต้องสร้าง 2 I คือ Inspiration , Imagination

14 พย 57

ไปทำกิจกรรม CSR ที่ชะแล้ รู้สึกดีใจที่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับเด็กนักเรียน อาหารมื้อเที่ยงอร่อยมาก (โดยเฉพาะปลาทอด) กลุ่มตัวเองได้เตรียมอุปกรณ์และกิจกรรมเยอะมาก จนเวลาที่กำหนดให้เปลี่ยนฐานไม่พอ ต้องตัดลดปริมาณกิจกรรมออก กว่าจะลงตัวเข้าที่เข้าทางก็ครบ 5 กลุ่มพอดี

ช่วงบ่ายไปเดินศึกษา ท่องชมธรรมชาติป่าชายเลน ได้ความรู้เรื่องต้นไม้พอสมควร แถมยังได้ต้นกล้าตีนเป็ดน้ำติดไม้ติดมือมาปลูกที่บ้านด้วย 2 ต้น

ขอบพระคุณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557

ช่วงเช้า หัวข้อ MED PSU 2020: Case Studies & Learn Share-Care intensive Workshop (4): CSR:Social Innovation: คณะแพทย์ มอ.กับการพัฒนาสังคม/ชุมชน
ในสายตาของประชาชน

โดยส่วนตัว มีความชื่นชม คุณพงศา ชูแนม ปราชญ์ชาวบ้าน และ เปาะจิ ที่เป็นคนใต้ที่มีทัศนคติที่ดีเป็นผู้นำที่กล้าแสดงออกเป็นรูปธรรมทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติและการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ การทุ่มเททำงานภายใต้ความขาดแคลน แต่ด้วยใจที่แข็งแกร่งของผู้นำและคนในชุมชน ที่มีความรัก ความสามัคคี ก่อเกิดการพัฒนาตนเองโดยมิได้พึ่งองค์กรของรัฐหรือพึ่งพาเป็นส่วนน้อย นี่คือ การกระเด้งออกมาเพื่อส่วนรวม

เสียดายที่ไม่ได้เข้ากิจกรรมนี้ เพราะมีงานด่วนต้องเร่งทำ และต่อด้วยการตระเตรียมสิ่งของต่างๆ ไปทำกิจกรรมในวันรุ่งขึ้น แต่ได้แอบเข้าไปอ่าน Face book ของคุณพงศา ชูแนม และเห็นด้วยกับคุณพงศา คือ คำว่า "ธุรกิจ กับ การแพทย์" ไม่ควรมาคิดรวมกันเป็น "ธุรกิจการแพทย์" เราไม่ใช่สถาบันทางธุรกิจที่ต้องการแสวงหากำไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนความเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่รอความหวังทุกวินาทีจากวิทยาการทางการแพทย์ เราเป็นสถาบันทางการศึกษาที่เรียกกันว่า "แพทยศาสตร์ศึกษา" จึงควรตระหนักถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านการแพทย์ที่โดดเด่น ผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพ และคุณธรรม เน้นการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาผู้ป่วยทุกระดับให้เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะยากดีมีจน มีกำไรพอที่จะพัฒนาและพึ่งตนเองได้ โรงพยาบาลเอกชน มีไว้สำหรับผู้ป่วยรวยกำลังทรัพย์ โรงพยาบาลมอ.มีทีมแพทย์รวยน้ำใจมีไว้ให้กับผู้ป่วยทุกคน สืบสานคุณงามความดีไว้อย่างต่อเนื่องพูนทวี หาใช่การตีราคาสูงป็นคุณค่าเงินที่ลดน้อยถอยลงทุกวัน

"คุณค่าของคุณความดี ไม่สามารถวัดเป็นค่า/ปริมาณใดได้ ยังแต่จะฝังลืกอยู่ในใจคนตราบนานเท่านาน"


ช่วงบ่าย หัวข้อ Crucial Conversations ในมุมมองของจีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นหนังสือที่น่าอ่าน ให้ความสำคัญกับการสนทนาที่มีความลำบากใจ ไม่ว่า จะเป็นการสนทนาระหว่างคู่รัก สามีภรรยา เพื่อน หรือทำงานในองค์กร แนะนำมีเครื่องมือ/เทคนิค ที่สามารถจะจัดการกับการสนทนาที่ยากและสำคัญที่สุดในชีวิตได้ เกิดมีจินตนาการอยู่ในใจที่อยากให้มีการซื้อหนังสือเล่มนี้ใส่ไว้ในห้องสมุดทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยให้คนในองค์กรคณะแพทย์ได้ยืม-อ่านกันอย่างทั่วถึงกัน

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการฟังและการดู Video จากหนังสือเล่มนี้ ในมุมมองของ เปมิกา.ส

ผลกระทบจากการพูดคุยสนทนาไม่ว่าด้วยเรื่องใด ๆ จะส่งกระทบความรู้สึกทั้ง 2 ฝ่าย คือ ผู้พูด และผู้รับฟัง ยิ่งเมื่อต้องพูดในเรื่องที่สำคัญและน่าหนักใจของอีกฝ่ายอย่าง เราจึงมักเลี่ยงที่จะไม่พูด ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทนเก็บเรื่องน่าอึดอัดเอาไว้ (สะสมรอวันระเบิด) อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่น ไม่ว่า จะเรื่องงาน คนในองค์กร สภาพแวดล้อม บรรยากาศของการทำงาน ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายเราควรเริ่มต้นที่ ความเข้าใจ ยกตัวอย่าง การประชุมในหน่วยงาน ผู้พูด (ลูกน้อง) ควรมีความชัดเจน รู้ว่า ตนเองจะพูดเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการความช่วยเหลืออย่างไร พูดให้กาลเทศะ (ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา) ส่วนผู้ฟัง (ผู้บริหาร) รับฟังด้วยใจที่ไม่มีอคติ วิเคราะห์ให้ได้ว่า สิ่งที่ได้รับฟัง คืออะไร มีสิ่งใดที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ เปลี่ยนจากการจิกคน เซ้าซี้เพื่อให้ได้งาน เป็นโน้มน้าวใจคนเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ด้วยการพูดคุยสนทนากันอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยระหว่างบุคคล เรียนรู้เพื่อดูให้ออก พูดให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างดี สุขุม ผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ขับเคลื่อนงานไปอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ความสำเร็จเป็นสำคัญ

ขออ้างถึง The Why of Work, หน้า 142 ที่ว่า
"Help me understand." There words put the leader in a coaching stance where the leader wants to learn, not boss. "Help me understand what went wrong" and "Help me understand what went right" both spur helpful discussions.

สุดท้าย มิอาจหาคำใดได้ มากกว่า คำว่า ขอบคุณ คือ การได้เรียนรู้จากการอ่าน คิด วิเคราะห์ จับประเด็นและที่สำคัญคือการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมกันเรียนรู้จากหนังสือที่คัดสรรมาให้ เพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือเล่มต่อ ๆ ไป

13 พฤศจิกายน 2557 CSR:Social Innovation: คณะแพทย์ มอ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน

ได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งสองท่าน คุณพงศา ชูแนม จากพะโต๊ะและคุณเปาะจิ จากนราธิวาส ที่น่าสนใจมาก

การพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนนั้น มาจากการเห็นปัญหาและต้องการแก้ปัญหา มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อของทั้งสองท่าน การเข้าถึงเข้าใจในความต้องการของชุมชน ใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบหลักศาสนา การเจรจาต่อรอง ใจเย็นค่อยเป็นค่อยไป ใช้การขอร้องไม่บังคับมองหาเครือข่ายที่มีกำลังSupport ด้านวิชาการ. ซึ่ง คิดว่ามอ.มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนต่างๆได้เป็นอย่างดี ประทับใจปราชญ์ทั้งสองท่า

14 พ.ย. 57 สำหรับโครงการ CSR "สุขภาวะเด็กวัยเรียนเยี่ยมเยียนวิถีชุมชนคนชะแล้ ตื่นเต้นทั้งน้องๆทีมเย้าและพี่ๆทีมเยือน. คาดหวังว่าฟ้าจะเปิดฝนจะหยุดตกตามคำอธิฐาน อันแรงกล้าของพวกเราและเมื่อไปถึงชุมชน คำอธิฐานเป็นจริง

- การจัดเตรียมสถานที่คนละไม้คนละมือชั่วพริบตาทุกอย่างพร้อม

- พิธีเปิดและการต้อนรับน่าประทับใจ มีการแสดงเล็กๆของน้องๆประถมที่ตั้งใจมาก ฝึกซ้อมกันเอง

- กิจกรรมแต่ละฐานให้ทั้งความสนุกสนานและความรู้. ผู้ให้ มอบให้ด้วยความรักความเต็มใจ ผู้รับ ยินดีรับด้วยรอยยิ้มและความเต็มใจเช่นกัน มีการทำงานเป็นทีม มีการวางแผน ในการเล่นกิจกรรมต่างๆและสะท้อนให้เห็นว่าทุกพื้นที่ทุกชุมชนยังต้องการแรงสนับสนุนจากมอ.ของเราอยู่ ควรหาโอกาสไปให้โอกาสกันอีกนะคะ

- มื้อเที่ยงที่แสนอร่อยจากวัตถุดิบในท้องถิ่น

บ่าย อิ่มแล้วเคลิ้มไปกับบรรยากาศและความรู้เกี่ยวประวัติ ความเป็นมาของชุมชนชะแล้ที่มีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย จากวิทยากรประจำชุมชน 2 ท่าน เมื่อฝนเริ่มหยุด พวกเราได้ ร่วมเกิจกรรม walkway เดินชมและสำรวจป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ของชุมชนแห่งนี้กับ เป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ได้ทั้งความรู้และออกกำลังไปด้วย...

......เป็นอีกความประทับใจหนึ่งของเรา....

CSR ที่โรงเรียนชะเล้ อ.สิงหนคร สงขลา เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ได้มีการต้อนรับเป็นอย่างดีจากท่าน ผอ.โรงเรียน ผู้นำท้องถิ่น และนักเรียนทุกคน ซึ่งชาวคณะเเพทย์ก็ทำหน้าที่เต็มที่กับการนำความรู้ทางด้านสุขภาพสู่ชุมชนเกิดประโยชน์มากๆ อีกทั้งได้เดินชมป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำโดยมีท่านวิทยากรบรรยายที่เก่งมากๆ

กิจกรรม CSR เป็นกิจกรรมที่ดีมาก สามารถทำให้เราเข้าถึง และ รู้จักชุมชนมากขึ้น รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆ และยังได้รีบความรู้เรื่องป่าชายแลน และได้เที่ยงชมธรรมชาติ ทำให้รู้สึกสนุก และมีความสุขมากค่

การสังเกต

การเรียนรู้

การพัฒนา

สภาพแวดล้อม มีธรรมชาติ และบรรยากาศร่มรื่น

การดูแลรักษาสภาพแวดล้อม และการใช้วิถีชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

คงสภาพธรรมชาติให้อยู่ในพื้นที่เมือง

การเตรียมความพร้อมของกลุ่มในการทำ CSR มีการวางแผน มอบหมายงาน และทำงานเป็นทีม

การวางแผนงานที่ดี ทำให้การดำเนินงานเป็นไปในทางบวก

ให้มีการกระทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

การเปิดงานที่เป็นพิธีการ ทำให้เด็กนักเรียนขาดแรงจูงใจในระยะแรกของกิจกรรม

พิธีการเปิดงานควรปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรม

วิธีการในการนำเสนอ และกิจกรรมที่จัด ต้องตรงกับความต้องการศักยภาพของผู้เข้าร่วม

นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่กล้าแสดงออกในขณะเริ่มกิจกรรมกลุ่ม

ถึงแม้ว่านักเรียนจะเรียนโรงเรียนเดียวกัน แต่ก็อาจไม่คุ้นเคยกัน

การใช้ยุทธวิธีในการกระตุ้นกลุ่ม

การใช้ภาษาที่เหมาะสม เข้าใจง่าย

ในการทำกิจกรรมกลุ่ม ไม่แน่ใจว่านักเรียนที่เข้าร่วมกลุ่มบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราตั้งไว้หรือไม่

ควรมีการวัดผลในการทำกิจกรรมย่อย

การสรุปผลของกิจกรรมโดยนักเรียน

การได้ฟังปราชญ์ชาวบ้านสะท้อนให้เห็นว่าคนในชุมชนจะเป็นผู้ที่รู้ปัญหาที่แท้จริง และการร่วมมือกันในชุมชนจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากกว่า การทำ CSR กับนักเรียนในชุมชนและการพูดคุยกับน้อง ๆสะท้อนให้เห็นว่าทุนมนุษย์มีความสำคัญ การศึกษาในประเทศยังต้องการการพัฒนาอีกมาก ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในชุมชนกับในเมืองยังมีความแตกต่างกันมาก พวกเราที่ไปทำถ้าจะทำให้ดีในเรื่อง CSR เราคงต้องมีการ Contact กับชุมชน/ศึกษาให้มากกว่านี้เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่แท้จริงและแก้ได้ตรงจุด แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมเพื่อให้เราเห็นความสำคัญเป็นบทเรียนที่ฝึกในยการมองของพวกเราซึ่งนับได้ว่าสามารถประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

บุปผา ส่งศรีบุญสิทธิ์

วันแรกของช่วงที่4 เราได้เรียนรู้โลกกว้างในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักเพียงเป็นแหล่งให้เราค้นคว้าในเรื่องต่างๆ แต่เมื่อเรียนรู้ถึงภายในขององค์กรและผลงานที่เกิดขึ้น ช่างน่าทึ่งและอัศจรรย์ใจมาก ผลการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่างๆมีมากมายชนิดที่จะไปเชื่อมถึงนอกโลก google บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และก้าวไกลในด้านการสร้างสรรเป็นเพราะความไร้กรอบ มีคนที่มีความสามารถมาอยู่ด้วยกัน หรือเป็นเพราะการยอมรับฟังซึ่งกันและกัน หรือเป็นเพราะการไม่มีชั้นการบังคับบัญชาที่มากมาย เหล่านี้เป็นปัจจัยที่น่าสนใจนำมาใช้วิเคราะห์ศึกษา และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคณะของเราได้

นอกจากสิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้จากการแปลหนังสือแล้ว พวกเราก็มีโอกาสดีที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการบริหารจัดการองค์กรจากท่านวิชา มหาคุณ ทำให้พวกเราได้ลับคมความคิดและใช้เป็นแนวทางในการทำงานในองค์กรที่เป็นผู้ให้ของสังคมได้อย่างดี ซึ่งการปลูกฝังนั้นเริ่มจากในครอบครัวเป็นอันดับแรกแล้วต่อด้วยการศึกษา สังคม สภาพแวดล้อมจนถึงการคิดได้เองด้วยตัวตนภายในของแต่ละคน

ในวันที่สองของช่วงนี้ เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของปราชญ์ชาวบ้าน คุณเปาะจิ และ คุณพงศา ชูแนม ที่ถ่ายทอดวิธีการทำงานที่มาจากปัญหาที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดพลังการสร้างสรรและพัฒนาก้าวหน้าอย่างเข้มแข็ง ไม่มีการใช้ทบ.อะไรมากมาย แต่เป็นการปฏิบัติตามพ่อหลวงของพวกเราโดยแท้ นั่นคือการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

ในวันที่สาม พวกเราไปร่วมกันจัดกิจกรรมที่โรงเรียนใน ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ. สงขลา ที่นี่เราได้เรียนรู้ถึงความเป็นอยู่ และความขาดแคลนของชุมชนอย่างแท้จริง เป็นข้อมูลหรือสิ่งสะท้อนอย่างดีที่ทำให้เราได้คำตอบข้อนึงที่ว่า เมื่อไรที่เราคิดจะทำอะไร เราได้ถามผู้ที่จะมีผลได้ผลเสียกับสิ่งที่เราคิดจะทำเพื่อพวกเขาเหล่านั้นรึยัง นอกจากนี้เราได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า และการประยุกต์ใช้ในสิ่งที่มี แทนสิ่งที่ต้องการได้ในสถานการณ์ตรงหน้าได้ นอกจากนี้พวกเรายังได้มีโอกาสเปิดโลกความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนที่มีคุณประโยชน์นานับประการ ที่เป็นเสมือนกำแพงกั้นน้ำทะเลเมื่อยามเกิดซึนามิ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ำและพิชนานาชนิด นับเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่การเรียนรู้และพัฒนาตนเองและองค์กรเป็นอย่างยิ่ง

โปรดคลิกเพื่อดูข่าวโครงการ



ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

ตอน : กรณีศึกษา CSR คณะแพทยศาสตร์ มอ. ที่บ้านชะแล้

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557


เปมิกา สิทธิจันทร์

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2557 รุ่น 2 ร่วมทำกิจกรรม CSR

CSR หมายถึงอะไร ทำไมต้องทำ ทำเพื่ออะไร แล้วเราจะทำบทบาทได้อย่างไร ฉงนอยู่ในใจ

Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและ
สิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

และได้คำตอบจากการ ……

สรุปภาพรวมของงาน CSR เพื่อประโยชน์ต่องาน และความร่วมมือ/การขยายผลในอนาคต
(ขอเอาสรุปที่เขียนในกลุ่ม 3 มาสรุปในงานของตนเอง )

ภาพรวมของงาน

เวทีนี้ ขอเป็นเวทีที่แสดงสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้สัมผัส สิ่งที่ได้เรียนรู้ นอกห้องเรียน/ห้องประชุมในสิ่งที่เป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา เพื่อก่อให้เกิดแง่มุมหนึ่งของการได้คิด และเริ่มที่จะทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ให้เป็นแรงขับเคลื่อนองค์กรก้าวไปสู่ข้างหน้าได้อย่างองอาจ สมกับเป็นลูกพระราชบิดา

เริ่มจากที่เราเลือกสถานที่ที่เป็นการเปิดพิธี เราไม่มีเวลาเตรียมฐาน จึงไม่ได้เตรียมฐานเหมือนฐาน
อื่น ๆ ซึ่งสามารถเตรียมฐานได้เลยในขณะที่มีพิธีเปิด ทำให้เกิดความติดขัดในช่วงแรก เราไม่สามารถทำตามแผนที่เตรียมไว้ได้ อีกทั้งได้รับแจ้งว่า ต้องลดเวลาลงจาก 20 นาทีเป็น 15 นาทีต่อกลุ่ม เพิ่มความตึงเครียดให้กับวิทยากรและทีมงานแต่ด้วยความสามารถของทีมที่มีบุคลากรอยู่หลากหลายสาขา
(Value Diversity )จึงมีการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ลดขั้นตอน ผนวกกิจกรรมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เรามีผู้นำ เป็นหัวหน้าพยาบาล และพี่ ๆ พยาบาลในทีมงาน ซึ่งเขาได้แสดงบทบาทของอาชีพที่ต้องมีการตัดสินใจเร่งด่วน เด็ดขาด เรามีอาจารย์กายภาพบำบัด ให้การสอนแนะวิธีการทำข้อสอบ ให้แง่คิด
เรามีเจ้าหน้าที่ธุรการที่คอยเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้น้อง ๆ ส่วนตัววิทยากร มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ จึงทำให้ฐานการแปรงฟันบรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี

รายงานของฐานการแปรงฟัน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ

กิจกรรมที่ 1กิจกรรมการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลรักษาช่องปาก ซึ่งแจกชุดทดสอบให้เพียง 1 ชุดให้เด็ก 1 คนอ่านให้เพื่อนฟัง และช่วยกันตอบคำถาม 10 ข้อ ทำให้ทราบว่า การอ่านหนังสือของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนชะแล้ ควรได้รับการปรับปรุงเมื่อเทียบกับเด็กนักเรียนในเมือง ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ควรอ่านหนังสือได้ถูกต้อง คล่อง ชัดเจน และจากการได้ฟัง
ผู้บริหารโรงเรียนกล่าวจากประโยคหนึ่งที่ว่า ทุกวันศุกร์ช่วงบ่าย จะมีการประชุมครูในโรงเรียน ทำให้ฉุกคิดว่า แล้วนักเรียนไปไหน กลับบ้าน หรือไปที่ไหนต่อ... (ในช่วงเริ่มทำกิจกรรม เหลือบไปเห็นนักเรียนแอบซ่อนอยู่ในห้องน้ำ แถวอาคารเรียนไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรม อาจจะรอดูเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมก่อน เด็กๆ คงยังตื่นกลัว สงสัยว่าพวกเรามาทำอะไรกัน) ย้อนคิดในสมัยเรียน ไม่มีการประชุมครูในเวลาที่เป็นเวลาเรียนของนักเรียน การเรียนการสอนเป็นไปตามเวลาปกติ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ไม่มีการสอนพิเศษ คุณครูไม่ต้องเน้นทำผลงานมากมาย และในสิ่งที่เราเห็น หาคิดในแง่บวกอาจไม่ใช่ต้นเหตุ/ปัญหา เพียงแต่เรายังไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจบริบทของโรงเรียน บริบทของครู หรือคิดในแง่ไม่บวก อาจจะเป็นปัญหาของการศึกษาไทยที่ไม่เท่าเทียมกัน และปัญหาอื่นๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขก่อน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแปรงฟัน โดยการให้เด็กในกลุ่มเลือกตัวแทน 2 คน คนหนึ่งแปรงฟัน อีกคนหนึ่งช่วยอำนวยความสะดวก เด็กที่เป็นตัวแทนในกลุ่มที่ 1 และ 2 ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่กล้าที่จะแสดงออก ยิ่งกลุ่มที่ 2 เป็นเด็กผู้หญิงที่รักสวยรักงาม ไม่กล้าแปรงฟันให้เพื่อนเห็น ทำให้เรียนรู้วิธีการแปรงฟันได้เพียงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มที่ 3-5 เริ่มที่จะสนุก ให้ความร่วมมือ รับฟังการเสนอแนะได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะกลุ่มที่ 5 ที่สามารถทำข้อสอบได้คะแนนเต็ม ร่วมถึงการทำกิจกรรมการแปรงฟัน


ประโยชน์ต่องาน และความร่วมมือ/การขยายผลในอนาคต

จากการทำกิจกรรมฐานการแปรงฟันฯเราได้นำศักยภาพของคนกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นคนในองค์กรคณะแพทย์ 8K's + 5 K's ให้กระเด้งออกมาดังนี้

  • 1.ช่วงของการเดินทาง มีโอกาสเรียนรู้ชีวิต ประสบการณ์การทำงานของผู้ร่วมเดินทาง มีการพูดคุยอย่างเปิดใจ เป็นกันเอง อารมณ์ดี มีความสุข สนุกสนาน เฮฮาในการเดินทาง ------>ทุนแห่ง
    ความสุข
    (Happiness Capital)/ ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)
  • 2.เป็นการเรียนรู้นอกสถานที่ ที่หลุดจากสภาพแวดล้อมเดิม จากห้องเรียน/ห้องประชุม เปลี่ยนบรรยากาศ สร้างความแปลกใหม่ ตื่นตา ตื่นใจ กระตุ้นการตื่นตัว พร้อมที่จะเรียนรู้การทำงานนอกสถานที่ พร้อมที่จะนำเอาความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดี ที่มีอยู่ไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น/สังคม----->ทุนมนุษย์(Human Capital)/ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ(Talented Capital)/
    ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)
  • 3.ช่วงแรกของการทำกิจกรรม เต็มไปด้วยปัญหาต่าง ๆ การจัดสถานที่ ที่ยังไม่ได้จัดและเวลาที่
    ลดลง แต่เวลาเริ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ ต้องเผชิญวิกฤตให้เป็นโอกาส เกิดความคิดสร้างสรรค์ ณ ขณะนั้น ทำให้เกิดแนวคิด/วิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรคได้ทันท่วงทีการมีศิลปะการพูด สื่อสารตรงใจ ได้ผลตามเป้าหมาย (แทนที่การทะเลาะ โกรธเคืองหมางใจกัน-จากหนังสือ Crucial conversation)ก่อให้เกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานในครั้งต่อไป
  • ------->ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital)/ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)/ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)ซึ่งนำผลให้เกิดการสร้างคุณค่าใหม่ Value Creation
  • 4.ในการทำกิจกรรม มีการเตรียมสื่อการสอน Video เพลง หุ่นจำลองรูปฟันต่าง ๆ และแผ่นพับ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของฟัน และการแปรงฟันที่ถูกวิธี ------->ทุนทาง IT (Digital Capital)
  • 5.เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น ที่เน้นในเรื่องการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน ความรักและความผูกพัน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ การทำงานเป็นทีมกับคนหลากหลายสาขาอาชีพ เป็นการประสานงาน แบ่งปันความรู้ การช่วยเหลือและการร่วมมือที่มาจากคนหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ------>ทุนทางสังคม (Social Capital)/ ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) /ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)ซึ่งนำผลให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added/ การสร้างคุณค่าจากความหลากหลายจากการที่ไม่เคยทราบผลการดำเนินงานร่วมกันของชาวบ้าน
    ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและเราเองในคณะแพทย์ ต่างตำแหน่ง ต่างหน้าที่ ต่างวัย ที่สำคัญคือ การไม่เคยทำงานด้วยความใกล้ชิดอย่างนี้มาก่อน เกิดเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์กัน การแบ่งปันกันและการดูแล (Learn Share and Care) เพื่อสืบสานรักษาวัฒนธรรมในองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นในคนรุ่นๆ ต่อไป
  • 6.และช่วงสรุปผล เราได้มีการนำผลการดำเนินงานในกิจกรรมการแปรงฟันฯ มาสรุปเป็นรายงาน
    เพื่อประโยชน์ในการออกหน่วยการสอนแปรงฟันในครั้งต่อ ๆ ไปในการขอความร่วมมือ/การขยายผล
    ในอนาคต และด้วยการสนับสนุนของทันตแพทย์หญิงฉลอง เอื้องสุวรรณ หัวหน้าฝ่าย
    ทันตกรรม
    ที่มีแนวความคิดในการรณรงค์ปลูกฝังให้เด็กเยาวชนมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี เพื่อให้เด็กรักษาสุขภาพฟันในช่องปากด้วยตนเอง ริเริ่มมอบหมายให้บุคลากรทำสื่อการสอน สร้างกลยุทธวิธีต่าง ๆในการจัดทำโครงการดังกล่าวแก่เด็กในชุมชน ซึ่งการออกฐานการแปรงฟันในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบโครงการฯ ซึ่งทำให้ทราบว่า ฝ่ายทันตกรรมควรไปติดต่อเพื่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานใดบ้าง และจะมีการขยายผลในอนาคตเพื่อให้ทราบว่า สิ่งที่ได้รณรงค์มีผลเป็นอย่างไร อะไรเป็นปัญหา/อุปสรรค อะไรคือแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและถูกต้อง เพื่อที่จะนำศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการสร้างสังคมแห่งการรักษาสุขภาพที่ยั่งยืน ------>ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) จะดีแค่ไหน หากเด็กไทยมีวินัยในการรักษาสุขภาพฟันในช่องปากที่ยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัย 2R's –Reality มองความจริงที่เป็นอยู่ และ Relevance พัฒนาให้ตรงประเด็น เพื่อให้เกิด 3 V ที่สร้างมูลค่าอย่างมากมายให้กับองค์กร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท