ประเภทของสหกรณ์ ในประเทศไทย



ประเภทของสหกรณ์

ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 33 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542ได้กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์ประมง
3. สหกรณ์นิคม
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์บริการ
6. สหกรณ์ออมทรัพย์
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

1. สหกรณ์การเกษตร
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจในลักษณะอเนกประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม โดยใช้หลักการสหกรณ์ และวิธีการสหกรณ์ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกใช้วิถึชีวิตตามค่านิยมสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
2. สหกรณ์ประมง
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น ในหมู่ประชาชน ที่มีอาชีพทางการประมง ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงทางทะเล น้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อยหรือประมงภูเขา รวมไปถึงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ด้วย
3. สหกรณ์นิคม
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่เกษตรที่อยู่ในเขตนิคมสหกรณ์ มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร การจัดสร้างปัจจัยพื้นที่ฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ ไปกับการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งกิจกรรมให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกการดำเนินการสหกรณ์ประเภทนี้ มีลักษณะเช่นเดียวกับสหกรณ์การเกษตรทั่วไป เพียงแต่มีแดนดำเนินงานอยู่ในบริเวณเขตพื้นที่จัดนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511
4. สหกรณ์ร้านค้า
สหกรณ์ร้านค้า ส่วนให้มักเรียกชื่อว่า ร้านสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้บริโภครวมกัน เพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค และ รวบรวมผลิตผลผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายแก่สมาชิกและส่งเสริมความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น
5. สหกรณ์บริการ
สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ของกลุ่มคนที่มีความสมัครจะทำกิจการหรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริการร่วมกันมีหลายรูปแบบและเป็นการบริการที่แตกต่างไปจากสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ
6. สหกรณ์ออมทรัพย์
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในกลุ่มประชาชนที่มีเงินได้รายเดือน หรือรายได้ที่แน่นอน ในสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ ที่มีเงินได้รายเดือน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการ ประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นของประชาฃนที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกับสหกรณ์ออมทรัพย์ แตกต่างกันที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คุณสมบัติของสมาชิกไม่ได้เป็นผู้มีเงินได้รายเดือนและทำงานให้องค์กร อาจจะตั้งขึ้นในชุมชน หรือกลุ่มคนที่มีวงค์สัมพันธ์เดียวกัน ตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.2548 กำหนดว่า "สมาชิก สหกรณ์อาจประกอบด้วยบุคคลทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จะจัดตั้ง โดยให้กำหนดคุณสมบัติไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์" เพื่อให้เกิด ความชัดเจน จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับท้องที่ดำเนินงาน และกรอบคุณสมบัติสมาชิก สำหรับสหกรณ์ที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วหรือขอจดทะเบียนสหกรณ์ใหม่ในระดับปฐมภูมิ


หมายเลขบันทึก: 580262เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2014 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2014 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ เป็นบทความที่ให้ความรู้ดีค่ะ

สวัสดีค่ะน้องวัลลภ...ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบcomment ...แวะมาอ่านเรื่องราวดีๆ มีประโยชน์มากๆของสหกรณ์ไทยนะคะ...

ขอบคุณพี่ Pojana Yeamnaiyana Ed.D. มากครับที่สละเวลาอ่านเรื่องราวสหกรณ์ ผมเองก็ไม่ค่อยได้เขียนลงบ่อยนักครับ เพราะต้องใช้เวลาทำมาหาเลี้ยงครอบครัว 3 -4 เดือน ที่ผ่านมาเศรษฐกิจครอบครัวผมไม่ค่อยดีครับ ค้าขายก็ได้น้อยลงมาก ๆ จึงต้องวิ่งหาตลาดขายขนม ให้พอกับค่าใช้จ่าย ดีนะที่มีสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นที่พึ่ง เพราะลูกสาวคนเล็กเรียน ป.โท ยังไม่จบครับ มีเวลาจะพยายามนำเรื่องราวสหกรณ์ ทั้งที่เป็นประสบการณ์และ วิชาการมาลงไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้บ้าง กราบขอพระคุณอีกครั้งครับ

...เป็นกำลังใจนะคะน้องวัลลภ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท