คำประกาศเจตนารมณ์ คนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง


คำประกาศเจตนารมณ์ เครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและเครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง เพื่อดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จังหวัดพัทลุง อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง ความสงบร่มเย็น อยู่ดีกินดี มีความยั่งยืน และสามารถจัดการตนเองได้



คำประกาศเจตนารมณ์ เครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและเครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง


เพื่อดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

จังหวัดพัทลุง อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง ความสงบร่มเย็น อยู่ดีกินดี มีความยั่งยืน และสามารถจัดการตนเองได้

"ด้วยตระหนักถึงความมั่นคงในการดำรงชีพของคนในรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ซึ่งกำลังถูกถาโถมด้วย

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และท้าทาย ทั้งในทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง และที่

สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก อันนำไปสู่การกัดกร่อนรากฐานสำคัญของ

การดำรงชีพของคนในพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา อันประกอบด้วย มิติต่างๆ ดังนี้"


มิติทางสังคม และวัฒนธรรม ด้วยตระหนักถึงความมั่นคงในการดำรงชีพของคนรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา

ที่อยู่บนฐานสำคัญวิถี เขา ป่า นา เล ที่เชื่อมโยงกันด้วยวัฒนธรรมเครือญาติ เป็นสำคัญ หากแต่ ปัจจุบัน

วิถีเขา ป่า นา เล และวิถีเครือญาติเหล่านี้ กำลังถูกท้าทายด้วยปัญหา ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการศึกษา และปัญหาสุขภาพ


ในขณะที่ มิติทางเศรษฐกิจระดับชุมชน ด้วยตระหนักถึงความสำคัญ ของการดำรงชีพของคนรอบลุ่ม

ทะเลสาบสงขลา ซึ่งวางอยู่บนภาคการผลิต การกระจาย และการบริโภค ในระดับชุมชนที่อิงอาศัยอยู่กับ

ทั้งทรัพยากรธรรมชาติบนในทะเลสาบสงขลาเป็นสำคัญ อีกทั้งวางอยู่บนฐานการผลิตภาคเกษตรกรรม

เป็นสำคัญ ซึ่งกำลังถูกท้าทายด้วยระบบการผลิต การกระจาย และการบริโภคแบบสมัยใหม่ ในระดับมหภาค และการขาดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการทรัพยากรทั้งระบบ


อีกทั้ง ในมิติทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยตะหนักถึงปัญหาการมีส่วนร่วมทางการ

เมืองของภาคประชาชน ในการมีส่วนร่วมทั้งทางการเมือง และการพัฒนาของคนรอบลุ่มทะเลสาบ

สงขลา ซึ่งกำลังถูกเพิกเฉย และละทิ้งทั้งจากการปกครองส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น


เครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และสมาคมคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง จึงก่อเกิดขึ้นเพื่อผลักดันให้

เกิดการแก้ไขปัญหาการดำรงชีพของคนพัทลุงและคนในพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ทั้งในมิติทาง

สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้วยเครือข่ายองค์กร 19 เครือข่ายหลัก ดังนี้


1. เครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง


2. เครือข่ายสมาคมรักษ์ทะเลไทย


3. เครือข่ายสตรีประมงพื้นบ้านภาคใต้


4. เครือข่ายสมาคมท่องเที่ยวและชุมชนจังหวัดพัทลุง


5. เครือข่ายสมาพันธ์ชาวประมงรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา


6. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดพัทลุง


7. เครือข่ายงดเหล้าจังหวัดพัทลุง


8. เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้


9. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)


10. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


11. สภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


12. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง


13. วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ


14. โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ซึ่งสนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
15. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง


16. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


17. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


18. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน


19. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดพัทลุง


โดยมีข้อเสนอของคนรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา เพื่อพัฒนาพื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา

โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง ใน 7 ประเด็นหลัก ดังนี้


1) การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบโดยยึดลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และลุ่มน้ำย่อย

ในจังหวัดพัทลุงเป็นหัวใจสำคัญ อันประกอบด้วย การจัดการทะเลน้อย การจัดการป่า การจัดการที่ดิน

และการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก ในลุ่มน้ำ โดยยึดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และชุมชน เป็นสำคัญ


2) การพัฒนาศักยภาพของคนสู่ความมั่นคงของชีวิตคนเมืองลุง โดยให้สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไก

สำคัญในการขับเคลื่อนงาน รวมทั้ง เชื่อมโยงกองทุนสวัสดิการชุนชนสู่บำนาญประชาชน ในระดับ

จังหวัด ต้องการให้ อบจ. และจังหวัดผลักดันให้ “สวัสดิการ" เป็นวาระจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรม

และเครื่องมือในการทำงาน ในขณะที่ ระดับประเทศ ทั้งรัฐ และสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารของรัฐ มี

ส่วนร่วมในการสนับสนุน “สวัสดิการ"


3) การพัฒนาภาคการเกษตรปลอดภัย และเกษตรที่เป็นธรรม โดยยึดเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น

แนวทาง และเสนอให้พัฒนา และคุ้มครองระบบเกษตรกรรายย่อย ให้อยู่บนฐานการผลิตของตนเอง ทำ

เกษตรอินทรีย์ เน้นเพื่อบริโภคของตนเอง และแลกเปลี่ยนในครัวเรือน เป็นสำคัญ อีกทั้ง ควรสนับสนุน

ให้สร้างวงจรเศรษฐกิจภายในชุมชน และส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลผลิตในชุมชน รวมทั้ง การ

ส่งเสริมให้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และกฎหมายเพื่อจำกัดการถือครองที่ดิน


4) การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เสนอให้มีการจัดการเชิงรุก โดยอาศัยภาคประชาชนเป็นกลไกสำคัญใน

การจัดการ ไม่เน้นการนั่งรอจากหน่วยงานรัฐ เพียงอย่างเดียว หากแต่ ทั้งจังหวัด หน่วยงานของรัฐ อาทิ

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยควรให้การสนับสนุนในทุกช่องทาง


5) การพัฒนาสภาองค์กรชุมชน และประชาธิปไตยชุมชน สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสภาชุมชนให้

ครอบคลุมทั้งจังหวัด และพัฒนาศักยภาพของสภาองค์กรชุมชน อีกทั้ง หน่วยงานในจังหวัดต้อง

สนับสนุนกิจกรรม และยกระดับสภาองค์กร เป็นศูนย์เรียนรู้ รวมถึง ใช้กลไกสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกในการเคลื่อนงาน


6) การพัฒนาคุณภาพชีวิต อันประกอบด้วย การพัฒนาสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง การพัฒนาระบบ

สุขภาพให้มีคุณภาพการรักษาที่ดี และเน้นการส่งเสริมการป้องกันโรคเพิ่มมากขึ้น การเข้าถึงบริการ

อาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงาน การพัฒนาระบบการศึกษา การจัดการระบบการบริโภคให้มีอาหารบริโภคที่

ปลอดภัย โดยทุกกระบวนการต้องเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน และการสนับสนุนจากทั้ง

ภาคจังหวัด และนโยบายของรัฐ


จึงขอประกาศเพื่อทราบโดยทั่วกัน
เครือข่ายคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พัทลุง


หมายเลขบันทึก: 579141เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2014 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

รับทราบตามประกาศจ้ะ.....พรุ่งนี้ถึงเมืองสามอ่าวกี่โมงจ๊ะลุงวอ

ยังไม่ได้จองตั๋วรถไฟ  ไม่ทราบเต็มหรือไม่

_สวัสดีครับลุง...

_รับทราบ/ร่วมให้กำลังแรงใจชาวพัทลุงครับ..

_สำเร็จไปอีกขั้น..นะครับท่าน..

_ด้วยความระลึกถึงครับ

เครือข่าย  หนาแน่น  ร่วมงานกันหนาแน่นนะคะ   บังว่างเมื่อไหน  ก็มาเมืองเพชร  นะคะ   ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์ ดรพจนามาเยี่ยม

ขอบคุณ คุณวอญ่าที่แนะนำให้มาเขียนบันทึกใน gotoknow

ขอบคุณ   คุณเพชร ภาคประชาชนคิดการใหญ่ รักษาทรัพยากรไว้ให้ลูกหลาน

เรียนคุณหมอเปิ้น ที่ต้องยกเลิกการเดินทางเพราะมีงานด่วน

เกษียณแล้งนึกว่าจะว่าง  แต่งานชุมชน ไม่ว่าง

ขอบคุณในความกรุณา 

โอกาสหน้าจะแวะเยือน

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า  ผู้เฒ่า    มาชมกิจกรรมดีๆค่ะ

มาชื่นชมการทำงาน

มีเครือข่ายมากเลยนะครับ

ชื่นชมๆครับ

เรียนคุณ เพชร  เครือข่าย ภาคประชาสังคม  หลายเครือข่าย รวมตัวตัวกัน

ผลักดัน ข้อเสนอต่อผู้ว่า  

เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารของพัทลุง

ขอบคุณ หมอเปิ้น มิตรภาพจากบ้านลาด จะถือโอกาสแวะเยี่ยมในโอกาสต่อไป

ต้องขออภัย 25 ตค. ติดงานที่ต้องจัดการด้วยตนเอง

ขอบคุณ ครูทิพย์ ที่ชื่นชม อาสาสมัคร ชุมชน (ทสม)

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต

วันนี้ไปเก็บข้อมูลการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา 

กลุ่มขาหุ้นไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงงาน แต่คัดค้านการใช้ถ่านหิน ที่เป็นพลังงานมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

ขอกำลังใจครับ

ขอบคุณมากครับ เป็นการพัฒนาที่ก้าวไกลไปมากเลย ขอชื่นชมครับท่านวอญ่าฯ

ขอบคุณมากท่านเขียว อาสาสมัครทรัพยากร กับอาสาเกตร ทำงานคู่กันในพื้นที่

สวัสดีค่ะ นำชามาฝากค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท