หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมป์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด(ตามรอย 4 ...วัดสำคัญ)


....ทัศนะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเอาใจใส่ในโบราณสถานมาก....’ก็เป็นเพราะทรงมีพระราชดำริต่างไปจากทัศนะเดิมของคนไทย โดยมีพระราชดำริว่า โบราณสถานมีคุณค่า เป็นเครื่องประดับพระนคร สมควรที่คนไทยจะต้องช่วยกันดูแลรักษา.....’(สมชาติ จึงสิริอารักษ์ ,2555 หน้า 84-102)

ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าว่าด้วยการสร้างและบูรณะวัดวาอารามต่างๆในเชียงใหม่และลำพูนและลำปาง

ตามรอยหลวงโยนะการพิจิตรตอนที่ 4 นี้ จะเล่าถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยการสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆในเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสที่เป็นลูกหลาน และบุคคลอื่นที่เป็นลูกหลานของบุคคลร่วมสมัยกับหลวงโยนะการพิจิตร รวมทั้งนักวิชาการผู้ทำการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี หลวงโย ฯหรือพญาตะก่าหรือ หม่องปันโยได้ทิ้งอนุสรณ์ไว้ในเชียงใหม่ ลำปางและลำพูนและจังหวัดอื่น ๆที่ท่านผ่านไปมากมาย การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีทั้งที่เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมแบบพม่าและแบบพื้นเมืองด้วย

ในกรณีที่เป็นพระเจดีย์ มีผู้เรียกว่าเจดีย์พม่า หรือ ว่าที่เจดีย์พม่า ที่พบเห็นในเชียงใหม่หรือเมืองอื่น ๆในล้านนา ที่หลวงโย ฯไปสร้างหรือบูรณะปฏิลังขรณ์ขึ้นมาใหม่จะมีเอกลักษณ์ของการประดับเจดีย์ที่ไม่เหมือนเจดีย์พม่าในประเทศพม่า เป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นใหม่อย่างสวยงามอลังการผสมผสานกับศิลปะล้านนาจากเจดีย์เก่าที่เป็นทรากปรักหักพังแทบไม่ทิ้งเค้าเดิมไว้ให้ศึกษา อีกทั้งไม่ใช่เจดีย์เก่าที่พม่ามาสร้างไว้สมัยที่ครอบครองเชียงใหม่อย่างยาวนานเป็นเวลากว่า 200 ปี ในประเด็นนี้ ดร. ฮันส์ เพนธ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนิรุกติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาวิจัยความเป็นมาของล้านนาไทย และ สรุปว่า

       การยึดครองล้านนาของพม่า ดูเหมือนว่าจะไม่มีอิทธิพลหรือมีน้อยมากต่อศิลปกรรมล้านนา เท่าที่ทราบในภาคเหนือของไทยไม่มี        พระพุทธรูปเก่าแบบศิลปะพม่าและไม่มีวัดพม่าที่เก่าเช่นกัน......ส่วนวัดที่คนในปัจจุบันเรียกว่า วัดพม่า ดูเหมือนว่าสร้างขึ้นใหม่            หรือซ่อมหรือบูรณะขึ้นจากวัดเดิมของไทยยวน...ส่วนใหญ่สร้างหรือบูรณะโดยชาวพม่าที่เข้ามาค้าขายหรือทำป่าไม้ (ฮันส์ เพนธ์,….,หน้า 21)

ส่วน ดร. โชติมา จตุรวงศ์ สรุปลักษณะของเจดีย์พม่าที่หลวงโย ฯไปสร้างหรือบูรณะไว้ดังนี้

     1. เป็นเจดีย์ทรงระฆังตันไม่มีบัลลังค์ ยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรที่ทำด้วยโลหะปิดสีทอง

     2.องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่อาจย่อเก็จหรือไม่ย่อเก็จ ฐานขององค์เจดีย์แบ่งออกเป็นสามชั้น

     3.ที่มุมทั้งสี่ของฐานเจดีย์ชั้นล่างสุดประดับด้วยรูปปั้นสิงห์

     4.องค์เจดีย์ล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ยที่มีลักษณะคล้ายใบเสมาที่เรียกว่า เชนเดาง์ในภาษาพม่(โชติมา จตุรวงศ์,2550 ,41)

ดร.โชติมา จตุรวงค์ สรุปว่าแม้(ว่าที่)เจดีย์พม่าจะคงลักษณะอิทธิพลของเจดีย์แบบพม่า แต่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่าเจดีย์พม่าในรูปแบบที่พบเห็นในเชียงใหม่นี้ ไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศพม่า เช่นที่พุกาม มัณฑะเลย์ หรือเจดีย์มอญที่ย่างกุ้ง พะโค มะละแหม่ง โดยเฉพาะ การประดับพระเจดีย์ด้วยนรสิงห์ พบการประดับพระเจดีย์ด้วยนรสิงห์ที่วัดเจาง์จี วัดเล็กๆ ในเมืองมะละแหม่ง และที่เจดีย์เล็กๆใกล้วิหารพระมหามุนีในมัณฑะเลย์เท่านั้น เจดีย์พม่าในล้านนามีการผสมผสานกับศิลปะในท้องถิ่น เช่นการประดับที่ฐานทั้งสี่ด้วยฉัตร และการประดับราวบันไดด้วยตัวมอม (โชติมา จตุรวงศ์,2550 ,40)

     การทำงานสร้างหรือบูรณะเหล่านี้อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภทคือ สร้างโดยศรัทธาของท่านและครอบครัว เช่นการซื้อที่ดินสร้างวัดอุปคุต(พม่า) เพื่อเป็นที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาของชนชาวพม่าหรือพุทศาสนิกชนทั่วไปในเชียงใหม่ การทำเพื่อช่วยงานหรือถวายเจ้าหลวงหรือเจ้านายจากสยามเช่นถวายพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และในหลายกรณี เป็นศรัทธาหลักให้แก่ครูบาศรีวิชัย และครูบาเถิ้ม สองนักบุญคนสำคัญแห่งล้านนา การที่เจดีย์ วิหาร หรือศาสนาวัตถุอื่นใดมีศิลปะพม่าปะปนอยู่มิได้มีนัยยะหรือเจตนาอื่นใดนอกจากเพื่อให้ความสวยงาม และเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานพุทธศาสนา ช่างฝีมือที่ท่านได้มาก็เป็นพม่า ในยุคนั้นช่างไทยหรือล้านนาอาจหายากเพราะประชากรในเชียงใหม่ขณะนั้นมีประมาณ 40,000 คนเท่านั้น และมีหลายชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามารวมทั้งพ่อค้าจากพม่า เงี้ยว จีน และชาวตะวันตก อีกท่ั้งสิ่งที่บูรณะนั้นก็ทรุดโทรมจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม การบูรณะก็คือการสร้างขึ้นมาใหม่นั่นเอง ที่สำคัญการสร้างหรือบูรณะต่าง ๆกระทำโดยได้รับอนุญาตจากฝ่ายบ้านเมืองคือเจ้าหลวงหรือจากรัฐบาลสยามในช่วงหลัง ถึงแม้ว่าถาวรวัตถุเหล่านั้นจะมีศิลปะพม่าปะปน แต่ก็ไม่มีการทักท้วง หากแต่ให้การยอมรับในความสวยงาม กล่าวได้ว่านอกจากจะทำให้วัดวาอารามที่ชำรุดทรุดโทรมร่วงโรยไปตามกาลเวลา กลับมีชีวิตชีวาเป็นสถานที่อันเหมาะสมน่าศรัทธาที่จะใช้ในการประกอบศาสนกิจ การพิธี งานประเพณีต่าง ๆของพุทธศาสนิกชน แล้วยังมีคุณค่าในฐานะเป็นเครื่องประดับเมือง สมดังทัศนะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเอาใจใส่ในโบราณสถานมาก....’ก็เป็นเพราะทรงมีพระราชดำริต่างไปจากทัศนะเดิมของคนไทย โดยมีพระราชดำริว่า

โบราณสถานมีคุณค่า เป็นเครื่องประดับพระนคร สมควรที่คนไทยจะต้องช่วยกันดูแลรักษา.....’(สมชาติ จึงสิริอารักษ์ ,2555 หน้า 84-102)

       กาลเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่ หลวงโยนะการพิจิตรถึงแก่กรรม บางช่วงเวลาเกิดกระแสชาตินิยมรุนแรง ปลุกเร้าด้วยละครหรือภาพยนต์ ทำให้มีการทุบทำลายสิ่งที่แสดงถึงความเป็นพม่าลงไปหลายอย่างอย่างน่าสลดใจ ชื่อของท่านก็ถูกลืมหรือถูกลบล้างไปจากประวัติการบูรณะครั้งสำคัญของวัด แต่สิ่งที่ยังคงเหลืออยู่อีกมากมายกลายเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สร้างผลกำไรในเชิงเศรษฐกิจให้แก่บ้านเมืองเช่นทุกวันนี้

       วัดสำคัญที่บูรณะ

       มีหลักฐานชัดเจนว่า ในปีพ.ศ.2451 หลวงโยนะการพิจิตรได้บูรณะพระเจดีย์ กู่คำหลวง วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกามโดยใช้ช่างฝีมือชาวพม่า 5 คน นอกจากนั้นท่านยังได้บูรณะวัดเสาหิน วัดช้างค้ำ ย้ายวัดเกาะกลาง ท่านย้ายวัดไชยมงคล ป่ากล้วย ให้พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สร้างวัดป่าเปอะ สันนิษฐานว่าท่านอาจจะร่วมสร้างวัดผางยอยกับอูมินน้องชาย ท่านสร้าง/บูรณะ วัดชัยมงคล วัดหมื่นล้าน วัดเชียงยืน วัดศรีดอนไชย คุณอนันต์ ฤทธิเดช เคยเห็นชื่อของท่านที่ประตูวิหารเก่าวัดศรีดอนไชยว่าโยนะการพิจิตรเจ้าศรัทธาเป็นบานประตูไม้เขียนลายทองเป็นรูปเทวดาพื้นเมือง ทำให้ทราบว่านอกจากจะสร้างหรือบูรณะวัดแบบพม่าแล้วท่านยังสร้าง/บูรณะวัดแบบพื้นเมืองด้วย

       นอกจากนี้ท่านยังบูรณะวัดบุพผาราม วัดมหาวัน สร้างพระเจดีย์ในวัดเชตวัน สร้างกุฏิไม้สักให้วัดป้านปิงซึ่งถูกไฟไหม้หมดแล้วในปัจจุบัน ได้โดยเสด็จพระราชกุศลช่วยเจ้าหลวงบูรณะวัดดอกเอื้องและวัดศรีมุงเมือง ที่วัดทรายมูลหางดง มีแผ่นไม้จารึกว่า หลวงโยฯเป็นศรัทธาหลัก แต่ไม่ได้ระบุว่าท่านไปสร้างอะไร

1. เจดีย์เหลียม วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม สารภี จ. เชียงใหม่

2.พระเจดีย์วัดเสาหิน อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 

 3. พระเจดีย์วัดช้างค้ำ เวียงกุมกาม สารภี จ. เชียงใหม่

4.พระเจดีย์วัดหมื่นล้าน จังหวัดเชียงใหม่


 5.  วิหารวัดหมื่นล้านที่ช้างหลวงโยฯตกมันทำให้วิหารเสียหาย

หลวงโยฯจึงไปบูรณะวิหารให้วัด

 

 พระเจดีย์วัดไชยมงคลป่ากล้วย เชียงใหม่ที่หลวงโยฯสร้างถวาย

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

6.บน พระเจดีย์วัดบุพพาราม เชียงใหม่ปัจจุบัน

  ล่าง พระเจดีย์วัดบุพพารามเมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ (ไม่มีพระพุทธรูป)

  ภาพถ่ายพบที่บ้านนางแสงเพชร กระแสชัย หลานของหลงโย ฯ

7.พระเจดีย์วัดมหาวัน เชียงใหม่


8.วิหารวัดมหาวันเชียงใหม่ ที่นางแสงเพ็ชรเล่าไว้ว่าหลวงโยฯมาสร้าง/บูรณะ

มีดอกไม้หลายกลีบสัญลักษณ์ของหลวงโยฯเด่นอยู่ด้านหน้าวิหาร แทนชื่อนายปันโหย่

.พระเจดีย์วัดเชตวัน เชียงใหม่ ที่นางแสงเพ็ชร กระแสชัยเล่าไว้ว่าหลวงโยสร้างหรือบูรณะ ไว้ในหนังสือซ้อ-หงส์ แซ่แต่

นางประภาศรี อุปะโยคินเล่าเพิ่มเติมว่าเป็นการสร้างให้นางบัวจีน(ภรรยาคนที่ ๒)และบุตรธิดาที่เสียชีวิตอีก ๒ คน

วัดนี้มีเจดีย์สามองค์ อีกสององค์อยู่ขนาบสองข้างเจดีย์ประธาน  

10  ขวา เจดีย์วัดดอกเอื้องที่สร้างถวายพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ภาพเก่าจากบ้านนางแสงเพชร กระแสร์ชัย

      ซ้าย เจดีย์วัดดอกเอื้อง ปัจจุบีน

11.ภาพเก่าอุโบสถวัดดอกเอื้องเชียงใหม่ ที่หลวงโยฯสร้างสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์  ภาพจากบ้านนางแสงเพ็ชร กระแสชัย

  

   ซ้าย  เจดีย์วัดชัยมงคลเชียงใหม่ เมื่อครั้งสร้างเสร็จใหม่ ๆ           ขวา  เจดีย์วัดชัยมงคลปัจจุบัน                                                                                  

เจดีย์วัดผางยอย

เจดีย์วัดปา่เปอะ เชียงใหม่ซึ่งสร้างแบบเดียวกับโขงวัดมหาวัน

เจดีย์วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ ภาพก่อนการบูรณะ

เจดีย์วัดศรีมุงเมือง เชียงใหม่ ภาพก่อนการบูรณะ

      .                                                                                                               ...ยังมีตอนต่อไป...

เอกสารอ้างอิง

โชติมา จตุรวงศ์,  'ว่าที่วัดพม่าในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง'  (วารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 5 กันยายน 2550 ), 38-65

สมชาติ จึงสิริอารักษ์,  'ความเชื่อและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน' (วารสารเมืองโบราณ

            ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2555) 84-102

 ฮันส์ เพนธ์  ความเป็นมาของล้านนาไทย สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   .........

เรื่องและภาพ    นางศรีสุดา ธรรมพงษา

ผู้เขียนร่วม       ผศ.ดร.กัลยา ธรรมพงษา 

หมายเลขบันทึก: 579134เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีคนคิดได้สองมุมนะคะเรื่องที่ชางวต่างชาติมาสร้างหรือบูรณะวัดวาอารามอันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติ บ้างบอกว่าเป็นการแทรกซึมทางวัฒนธรรม (อย่างที่จีนจงใจทำเมื่อยึดครองธิเบต) บ้างว่าเป็นการแลกเปลี่ยนถ่ายเทซึ่งเป็นปกติของคนบ้านใกล้เรือนเคียง  สำหรับดิฉันอะไรที่ดูสวยงามทรงคุณค่าทำด้วยเจตนาดีก็ชอบทั้งนั้น

วัด เจดีย์ต่างๆ ในเชียงใหม่งดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ชอบมากเวลามาเที่ยว  เสียแต่ไม่สบอารมณ์ที่มีร้านค้าเข้าไปมากจนขาดความสงบ (บางที่) อยากให้ร้านค้าออกไปอยู่นอกวัดให้หมด

คิดถึงกรณีปราสาทเขาพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินแบบบ้องตื้นยกให้เขมรเพราะศิลปะวัฒนธรรมบนนั้นเป็นเขมรนี่สิคะที่เจ็บใจ

ขอบคุณความรู้ดีๆ นะคะ  ถ้าได้อ่านบันทึกนี้ก่อนไปเที่ยวก็คงดีมากเชียวค่ะอาจารย์

_สวัสดีครับ

_ข้อมูลพร้อมภาพ..อิ่มเอมใจครับ

_ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท