มาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยทางรังสี


มาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยทางรังสีซึ่งทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศจัดพิมพ์ขึ้นในปี 2014

ก่อนจะมาเป็นเอกสารฉบับนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานการป้องกันรังสีเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 หลังจากการริเริ่มล่วงหน้ามาเป็นเวลาสิบปี และได้จัดพิมพ์ IAEA Safety Series No. 9 โดยอ้างอิงกับthe recommendations of the International Commission on Radiological Protection (ICRP) ซึ่งมีการทบทวนครั้งแรกในปี 1973 และทบทวนครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1982โดยในครั้งนี้เริ่มมีการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ คือIAEA, ILO, OECD/NEA และ WHO และยังคงใช้ชื่อ IAEA Safety Series No. 9

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 มีการจัดพิมพ์มาตรฐานฉบับใหม่โดยอ้างอิงกับthe recommendations of the International Commission on Radiological Protection (ICRP) Publication 60 ใช้ชื่อว่าInternational Basic Safety Standards for Protection against Ionizing Radiation and for the Safety of Radiation Sources, IAEA Safety Series No. 115 และได้รับการสนับสนุนจาก FAO, IAEA, ILO, OECD/NEA, PAHO และ WHO

การทบทวนIAEA Safety Series No. 115 เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ในขณะนั้นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการป้องกันรังสีจากหน่วยงาน ICRP และ UNSCEAR จนกระทั่ง ICRP ได้จัดพิมพ์ The 2007 Recommendations of the International Commission on Radiological Protection,Publication 103 ทบวงการฯ จึงมีการปรับปรุงและจัดพิมพ์รายงานฉบับชั่วคราวขึ้นในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งคณะกรรมการปรับปรุงฯ ได้บันทึกไว้ว่า ICRP อาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าขีดจำกัดสำหรับเลนส์ตา จึงเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกร่วมให้ความเห็นในเรื่องนี้ภายในวันที่ 7 กรกฏาคม 2011 และมีการสรุปร่วมกันยอมรับค่าใหม่นี้ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2011 กล่าวคือค่าขีดจำกัดสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีกำหนดให้ปริมาณรังสีสมมูลที่เลนส์ตาไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปี และในแต่ละปีต้องไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต เปลี่ยนแปลงจากเดิมกำหนดค่าขีดจำกัดสำหรับเสนส์ตาไว้ที่ 150 มิลลิซีเวิร์ต

ส่วนชื่อของเอกสารฉบับใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งเรียงตามลำดับของ Safety Series เพื่อรองรับแนวทางใหม่ในการกำหนดหมวดหมู่เอกสารดังรูปที่ 1 และมีรายชื่อองค์การระหว่างประเทศที่ร่วมสนับสนุนดังแสดงไว้ตั้งแต่ต้น

ทั้งนี้เอกสารของทบวงการฯ ในอนาคตก็จะมีการจัดหมวดหมู่ตามนี้

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อและการจัดลำดับให้เห็นชัดเจนขึ้น กล่าวคือแสดงให้เห็นว่ามาตรฐานที่ปรากฎภายในเล่มนี้เป็นข้อกำหนด (Requirement) นั่นคือสิ่งที่ต้องทำ มิใช่เป็นเพียงข้อแนะนำ ในส่วนความรับผิดชอบของรัฐ และบุคลากรกลุ่มต่าง ๆ ก็มีระบุอยู่มิได้เปลี่ยนแปลง

มีการจัดแบ่งลักษณะการได้รับรังสีออกเป็น 3 ประเภท คือ การได้รับรังสีที่วางแผนไว้ก่อน (planned exposure) การได้รับรังสีในสถานะการณ์ฉุกเฉิน (emergency exposure) และการได้รับรังสีจากแหล่งที่มีอยู่แล้ว (existing exposure) กลุ่มการได้รับรังสีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ จากอาชีพ (occupational) จากการแพทย์ (Medical) และประชาชนทั่วไป (public)

ในส่วนหลักการป้องกันรังสี (Principles of radiation protection) ยังคงมี 3 หลักการเดิม คือ justification, optimization and dose limits และยังคงใช้หลักของ dose limits และ dose constraints สำหรับการได้รับรังสีที่วางแผนไว้ก่อน ส่วนการได้รับรังสีในสถานะการณ์ฉุกเฉินและการได้รับรังสีจากแหล่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้ reference levels

รายละเอียดนั้นมีแจกแจงอยู่ครบถ้วนในข้อกำหนดทั้ง 52 ข้อ และ รายการกำหนดทั้ง 4 รายการ (schedule I, II, III and IV) และเอกสารแนบท้าย Annex

หมายเลขบันทึก: 579137เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท