งานเสวนา “ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ (กระดูก) อย่างไร 2557


โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทย ทำอย่างไรให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหานี้

เนื่องจากมีกิจกรรมรัดตัวเลยเขียนบันทึกนี้ช้า 555 ผู้เขียนเข้าร่วมกิจกรรมงานเสวนา “ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ (กระดูก) อย่างไรในวันที่ 1 พค. 2557 กับคุณหมอสุขจันทร์ พงษ์ประไพ มีอาจารย์ดร.รพีพร ขวัญเชื้อ หรืออาจารย์หนึ่งจากม.วลัยลักษณ์  กล้วยไข่ บังวอญ่า พี่อ้อมนักกายภาพบำบัดและสมาชิกอีกหลายท่าน 

พี่อ้อมและสาวสวยยืมภาพมาจากบังวอญ่า ทำไมบังถ่ายได้ภาพแต่คนสวยๆ 5555

นอกจากนี้ยังมีคุณดวงใจ อดิเรกสาร  คุณพัชระ  จ่าเจริญ ได้เล่าเรื่องการดูแลคุณแม่หกล้มกระดูกสะโพกหัก  นอกจากนี้ยังมีต้นแขนหักอีกด้วย  ตอนที่คุณแม่คุณพัชระ หกล้มคุณพัชระเล่าว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสำคัญ นอกจากนี้ยังไม่ได้พาแม่ไปหาคุณหมอทันทีเพราะคิดว่าคุณแม่เป็นไม่มาก รออยู่หลายวัน จึงไปหาคุณหมอพบว่ากระดูกที่สะโพกหัก คุณพัชระเล่าได้ละเอียดมาก แถมให้ข้อคิดดีๆหลายอย่าง

ก่อนทำกิจกรรมนั้น ผู้เขียน กล้วยไข่และอาจารย์หนึ่ง คิดว่าคนมาไม่มากเท่าไร เลยจัดทีนั่งเป็นแบบครึ่งวงกลม   แต่ผิดคาด มีสมาชิกมาเรื่อยๆ  จนล้นห้องประชุม สมาชิกส่วนใหญ่มาจากสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจาก สมาคมแพทย์สตรีฯ และ จากศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 16 สวนลุมพินี ชมรมผู้สูงอายุ บ่อนไก่  เป็นต้น

เนื่องจากมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากบางคนไม่ถนัดกับการนั่งพื้น ต้องนั่งเก้าอี้แทนด้วย

คุณหมอสุขจันทร์ นำประเด็นโดยเล่าเรื่องที่มาที่ไปของโครงการ นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน การป้องกันแก้ไข ยังให้คุณดวงใจและคุณพัชระเล่าเรื่องประสบการณ์จากเหตุการณ์จริงให้ฟังด้วย 

อาจารย์หนึ่งเล่าเรื่องการทำโครงการของมหาวิทยาลัยและทำโครงการป้องกันโรคกระดูกพรุนกับพนักงาน รวมลงไปถึงการป้องกันโรคกระดูกพรุนกับโรงเรียนโดยให้โรงเรียนและนักเรียนคิดโครงการต่างๆ เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน อ่านที่นี่นะครับ (ในภาพอาจารย์หนึ่งช่วยดูแลกิจกรรมกลุ่ม)

ผู้เขียนเองเล่าเรื่องการทำกิจกรรมกับนักเรียนและชุมชนเรื่องการปลูกผักเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เช่นกวางตุ้ง คะน้า ได้ลองถามผู้ที่เข้าร่วมเสวนาว่าผัดชนิดใดมีแคลเซียมสูง  ใครตอบได้จะได้เมล็ดผักเช่น ดอกชมจันทร์ แค ถั่วพูและฟักข้าวเป็นของรางวัล ได้ผลผู้เข้าร่วมเสวนายกมือกันเต็มห้องประชุม

ส่วนบังวอญ่าเล่าเรื่องการทำงานที่โรงพยาบาลกับเรื่องโรคกระดูกพรุน การเลิกดื่มกาแฟ มาดื่มน้ำธัญพืชแทน นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องการละหมาดที่ได้ออกกำลังกายลงน้ำหนักเท้า  น่าจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้(น่าทำวิจัยนะครับ)

ในช่วงท้ายๆ ดูเหมือนว่าเวลาผ่านไปไวมาก คุณหมอสุขจันทร์ให้แบ่งกล่มแล้วระดมความคิดกันว่า “ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ (กระดูก) อย่างไร ได้ประเด็นออกมาครบเลย

สมาชิกช่วยกันสรุปกิจกรรม

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบพื้นฐานว่า เสี่ยงต่อการหกล้มหรือไม่  ให้ดำเนิการโดยการให้ 1.ลุกนั่ง 10 ครั้ง 2.ยืนขาเดียว และ3.การเดินต่อปลายเท้า  ซึ่งผู้สนใจสามารถตรวจสอบและทำได้เอง อยากให้สมาชิกลองทดสอบพื้นฐานดูว่าตนเองเเสี่ยงต่อการหกล้มหรือไม่ครับ...  ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน...

ปล.ขอบคุณคุณหมอสุขจันทร์ที่เชิญเข้าร่วมกิจกรรม ได้ความรู้ดีๆเพิ่มขึ้น ตั้งใจว่าจะนำเอาความรู้ไปช่วยผู้อื่นป้องกันโรคกระดูกพรุนต่อไปครับ...


อ่านเพิ่มเติมได้ที่

บันทึกคุณหมอสุขจันทร์ พงษ์ประไพ

http://www.gotoknow.org/posts/567246

บันทึกบังวอญ่าครับ

http://www.gotoknow.org/posts/567529


หมายเลขบันทึก: 568432เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

การพลัดตกหกล้ม ทำให้กระดูกหักได้บ่อย

ที่ รพ จะมีการดูแล ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้ม หรือ ตกจากเตียง

ผู้ป่วยที่ตกหกล้ม อันตรายมากค่ะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุค่ะ

อาจารย์สบายดีนะค่ะ ทำงานไม่หยุด ช่วยชาติทุกจุดของประเทศไทย ( ดร.ขจิต ฝอยทอง )

สอนนักเรียน ดูแลสุขภาพ องค์ความรู้มากมาย  สุดยอดๆๆ  คุณแม่ที่บ้านก็ชอบกินผักจิ๋มน้ำพริกค่ะ โดยฌฉพาะผักรอบ บ้าน ดอกแค ผักบุ้ง มะเขือพวง ๆๆๆ

ขอบคุณพี่เแก้วมากครับ

ผู้สูงอายุ

คนป่วย มักมีอาการกระดูกหักที่สะโพกครับ

ขอบคุณพี่แก้วที่มาต่อยอดความรู้

ขอบคุณ ผอ วาส มากครับ

ตอนนี้งานยุ่งๆครับ เดินทางตลอด 

ดีใจที่ช่วยสอนนักเรียนกินผัก 

ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

ต่อไปต้องกินผักเยอะๆๆแล้วสิคะแต่บ้านพี่ไม่มีที่ให้ปลูกผักไว้กินเองต้องไปซื้อจากตลาดยิ่งน่ากลัวยาฆ่าแมลงที่ฉีดผักติดมาเป็นของแถมเร่งให้ตายเร็วขึ้น555

พี่ครูกายครับ

ผักปลูกใส่กระถางก็ได้

แล้วจะเอารูปไปฝากครับ

เรียนอาจารย์  ขจิต  อาทิตย์นี้อยู่ภูเก็ต

ทราบข่าวว่าปลายเดือนนี้อาจารย์จะเข้าภูเก็ต

มาทำธุระที่ไหนครับ

29 พค ไปอบรม classstart ให้อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 40 ท่านครับบัง

30-31 พค อยู่ที่กระบี่

บังอยู่ภูเก็ตถึงวันไหนครับ

หน้าหนาวที่แล้วก็ปลูกคะน้าค่ะ   ฟักข้าวพี่เพาะให้ต้นเล็ก   รอย้ายมาปลูกที่บ้านค่ะ   

ชมจันทร์ปลูกเกิดแล้วตายแล้วค่ะ  ไม่รู้เป็นไร   เก็บได้  ๓  ดอก  ยังไม่ทันพอกินเลย  อิ อิ

ไปเกือบทุกที่แล้วยังเหลือสมุทรปราการนะคะ อ.ขจิต 555

ขอแก้ไขหน่อยนะคะ

การทดสอบพื้นฐานว่า เป็นโรคกระดุกพรุนหรือไม่โดยการให้ 1.ลุกนั่ง 10 ครั้ง 2.ยืนขาเดียว และ3.การเดินต่อปลายเท้า

การทดสอบนี้เพื่อดูว่าโอกาสสี่ยงต่อการหกล้มมีมากน้อยแค่ไหนค่ะ ไม่ใช่ทดสอบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนนะคะ

ขอบคุณคุณหมอธิรัมภา

ต้องการเมล็ดต้นชมจันทร์เพิ่มไหมครับ

แต่ต้องรอกลับไปไร่ก่อนครับ

ขอบคุณคุณ tuknarak มากครับ

จริงด้วยครับ

เย้ๆๆ

ขอบคุณคุณหมอสุขจันทร์มากครับ

แก้ไขโดยไวแล้วครับ

555

จริงด้วยเสี่ยงต่อการหกล้มหรือไม่

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาช่วยแก้ไขข้อมูล

  • ขยันสุดๆ ค่ะผู้ชายคนนี้
  • ผู้สูงอายุคงได้รับแรงกายพลังใจไปเยอะจากกิจกรรมนี้
  • ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุนะคะ
  • คิดถึงจังคร๊าบบบ อาจารย์ ดร.ขจิต ^^

ขอบคุณพี่เหมียว

ไม่ได้ข่าวเลย

งานยุ่งไหม

กิจกรรมนี้เป็นของคุณหมอสุขจันทร์

ผมไปช่วยในประเด็นการปลูกผักและกินผักป้องกันโรคกระดูกพรุนครับ

ยุ่ง ยุ๊งงงง ยุงง สุดๆ ครับ การบ้านเยอะมว๊ากกกกกกกกกก ^^"

สู้ๆๆครับพี่เหมียว

เฮ้อโตแล้วยังมีการบ้านอีก 555

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากนะครับ

เรื่องสุขภาพ สำคัญมากๆ

...“ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ (กระดูก) อย่างไร?" ...คงต้องมีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย ตลอดจนการดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือ และการป้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยภายในบ้าน สถานที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนในชุมชน ตามความแตกต่างของวัย (วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ)  เพศ และร่างกาย(ความพิการทางร่างกาย) นะคะ...

กิจกรรมน่าสนใจ ได้ประโยชน์มากครับ

พี่เหมียวสู้ตาย พี่เหมียวไว้ลาย สู้ๆ 555

ขอบคุณพี่ พ แจ่มจำรัส

เป็นเรื่องสำคัญมาก

แต่เราไม่ค่อนได้ตระหนักกันนะครับ

ขอบคุณพี่ ดร พจนาที่มาเขียนต่อยอด

ครบต้องให้ทุกๆฝ่ายทราบถึงปัญหาก่อนนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณคุณหมอสุข

ที่เข้ามาอ่าน

* ดีจังค่ะที่ช่วยกันรณรงค์เพื่อสุขภาวะดีๆเช่นนี้

* พี่ใหญ่เพิ่งถูกชักชวนให้ไปวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก จากบริษัทขายยาต่างชาติแห่งหนึ่งที่ SCB Plaza...ปรากว่า ค่าความหนาแน่นฯ อยู่ที่คนอายุ 30 ปีลงมา...เขาเลยอดขายยาเสริมกระดูกให้เรา......

แม้ในผู้ไม่เป็นโรคกระดูกพรุนการล้มก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากผิดท่าหรือโดนจุดสำคัญ

การลดความเสี่ยงต่อการหกล้มจึงเป็นวิธีป้องกันอันตรายที่ดีที่สุด

ซึ่งสามารถทำให้มีให้เป็นได้ด้วยการบริหารอย่างถูกวิธีซึ่งไม่ยากเลยแม้ในกลุ่มของผู้สูงวัยครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

ที่จุดประกายให้ผมต้องหันมาดูแลกระดูกบ้างแล้ว

เพราะก้มเงย โก้งโค้ง ถ่ายภาพบ่อยมาก

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

เย้ๆดีใจพี่ใหญ่กระดูกแข็งแรง

เขาเลยไม่ได้ขายยาเลยนะครับ 555

ขอบคุณพี่ rojfiness มากครับ

ที่มาเพิ่มประเด็นให้ 

ใช่ครับ การหกล้มก็เป็นอันตรายแล้วครับ

ขอบคุณลุงชาติ

ดูแลสุภาพดีๆ

ผมจะได้อ่านเรื่องที่ลุงชาติเขียนต่อไปนน

555

เรียน อ.ขจิต

จากฝาก แสดงว่า ผู้อาวุโส ท่านแข็งแรง นั่งพื้นได้ เก่งนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาชมภาพกิจกรรม

-งานรัดตัว..ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

-จัดบรรยากาศการเรียนรู้ได้น่าอบอุ่นนะครับ

-มีตัวอย่างแสดงให้เห็นชัดเจน..

-วันนี้มีผลไม้ป่า..มาเพิ่มวิตามินซี...ให้กับร่างกายครับ ฮ่า ๆ 

ขอบคุณอาจารย์ เพชรากรมากครับ

ผู้อาวุโสนั่งเก้าอี้

บางคนบ่นเหมื่อนเหมืนกันครับ

ขอบคุณคุณเพชร

ตามไปอ่านแล้ว

น่ากินมาก

ที่บ้านผมเรียกว่าตะค้อ

เป็นไม้ที่น่าปลูกมาก ลูกแก่แล้วอร่อยดี

เห็นแล้วเปรี้ยวปากครับ

พลังเยอะจริงๆ ครับ...
การงาน มักนำพาคามชื่นบานมาสู่เรา-ใช่ไหมครับ

ไฟเจิดจ้าทุกคนชื่นชมค่ะ

"กำลังมีปัญหาเหมือนกัน..เดินๆ..เกิดปวด..ตะโพกเดินไม่ได้ซ้ะเฉยๆงั้นแหละ"..ต้องยืนบิด..ซักเป้ป..ฉึงจะเดินต่อไปได้...อิฉัน..เป็นอะไรไปแล้วนี่..๕๕๕...  

มีภาพงานปั้นดินครั้งนี้มาฝากจ้ะ..คงลงเรือลำเดียวกัน..เมื่อยามแก่..อิอิ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท