มนุษย์ที่ข้ามชาติ


คนไร้สัญชาติย่อมหมายถึงบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับว่ามีสัญชาติของรัฐใดเลย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีกฎหมายของรัฐใดเลยที่ยอมรับให้สัญชาติแก่บุคคล ดังกล่าวบุคคลดังกล่าวนี้จึงเป็นคนไร้สัญชาติ ทั้งในทางกฎหมายและข้อเท็จจริง

กรณีแรกนี้ก็คือไม่มีรัฐใดเลยที่อาจให้ความคุ้มครองแก่บุคคลนี้ในฐานะคนชาติ ตัวอย่างของกรณีนี้ในประเทศไทย ก็คือ (1.) บุคคลที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ความสัมพันธ์กับ รัฐใดเลย อาทิชาวเขาดั้งเดิมที่ติดแผ่นดินอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนที่รัฐไทยรับรอง (2.) คนต่างด้าวในประเทศไทยซึ่งถูกรัฐเจ้าของสัญชาติถอนสัญชาติที่ มีอยู่ (3.) บุคคลที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนใด ๆ เลย

ประการที่สอง คนไร้สัญชาติย่อมอาจหมายถึงบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติของรัฐ ใดรัฐหนึ่ง ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของรัฐนั้น ๆแต่รัฐดังกล่าวปฏิเสธที่จะให้ความ คุ้มครองแก่บุคคลนั้นในฐานะ "รัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคล" ดังนั้น โดยการพิจารณา ข้อกฎหมายบุคคลนี้จึงไม่ไร้สัญชาติ แต่โดยข้อเท็จจริง บุคคลดังกล่าวนี้จึงมีสถานะ "เสมือนไร้สัญชาติ" กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวนี้จึงเป็น "คนไร้สัญชาติในทางข้อเท็จจริง" แต่มิใช้ "ในทางกฎหมาย"ผลของกรณีที่สองนี้ก็คือ บุคคลย่อมตกอยู่ในสภาพของ บุคคลที่ "ไม่มีรัฐใดเลยที่อาจให้ความคุ้มครองแก่บุคคลนี้ในฐานะคนชาติ" เช่นกันกับกรณีแรกแต่อย่างไรก็ตามรวมถึงกรณีที่ หากรัฐเจ้าของสัญชาติของคนไร้สัญชาติในความหมายที่สองใช้อำนาจที่ตนมีตามกฎหมายของตนเพิกถอนสัญชาติของบุคคลดังกล่าว บุคคลดังกล่าวก็จะตกเป็น "คนไร้สัญชาติในความหมายแรก" กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวก็จะตกเป็น "คนไร้สัญชาติทั้งในทางกฎหมายและข้อเท็จจริง"[1]

ในยุคปัจจุบันที่รัฐทุกรัฐขีดเส้นแบ่งพื้นที่แบ่งมนุษย์ แบ่งวัฒนธรรม ออกเป็นส่วนๆแล้วแยกประชาชนที่เคยไปมาหาสู่กันเป็นพี่เป็นน้องกันด้วยพรหม แดนเดียวกันของวัฒนธรรม แต่วันหนึ่งรัฐแต่รัฐก็ออกกฎหมายขีดเส้นแบ่งให้ประชาชนอยู่ ภายใต้การคุ้มครองของตนเพื่อการเอื้อประโยชน์ของสิทธิและสวัสดิการต่างๆ แก่ประชาชนพลเมืองของตน แต่ยังคงมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งบนผืนแผ่นดินนี้ที่ดำเนินวิถีชีวิตมานมมาน แต่ต้องตกสำรวจไม่มีสถานะใดๆ เลยในรัฐไทย อิทธิพลความคิดด้านสิทธิมนุษยชนสิทธิชุมชนผลพวงจากกระแสโลกาภิวัฒน์ผลักดัน ให้รัฐสร้างกลไกใหม่ๆ เพื่อแก้ ปัญหาสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองและคนไทยแต่ไร้สัญชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากดำรงชีวิตบนผื่นแผ่นดินไทยมา นมนาน ให้มีสถานะที่ชัดเจนเพื่อให้ได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายที่เท่าเทียม แต่กลไกหนึ่งของระบบราชการที่ต้องกำหนดสถานภาพประชาชนกลับไม่ทำงาน หรือทำงานอย่างล่าช้าและไม่เท่า เทียม เพราะในยามที่มีคนต่างด้าวผู้มากด้วยอิทธิพล เงินทองและ ผลประโยชน์ เข้ามาระบบราชการสามารถทำงาน ให้ทันที ได้สถานภาพทุกประการไปง่ายๆ แต่ประชาชนที่ดำรงชีวิตบนแผ่นดินไทยมานานกลับยังคงตกสำรวจอยู่ไม่ มีสถานะ ไม่มีสิทธิ ไม่มีเสรีภาพ ไม่มีความเสมอภาค ไม่มีการคุ้มครองใดๆ จากกฎหมายและพลเมืองอื่นๆ

ในวันนี้ของประเทศไทย ปัญหาสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ยังคงร้ายแรงอยู่มากในสังคมไทย ก็คือ “ปัญหาความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย” ขอให้สังเกตว่า จำนวนคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติยังมีจำนวนมหาศาล แม้ว่าประเทศไทยจะได้ยอมรับปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 ซึ่งยอมรับในข้อ15 ว่า “บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะกระทำมิได้หรือแม้ว่า ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางแพ่ง ค.ศ.1966 ซึ่งข้อ 14 ยอมรับว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ.” ก็ตาม[2]

ปัญหา ของคนไร้สัญชาติส่วนใหญ่ คือ ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทยใดเลย และ/หรือยังไม่มีสถานะบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายไทยอีกด้วย กรณีของบุคคลบนพื้นที่ราบสูงบางคนซึ่งมีจำนวนไม่น้อยไม่มีเอกสารรับรองความ เป็นบุคคลตามกฎหมาย จึงไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐใดเลยในโลกหรือโดยองค์การระหว่างประเทศ เลยในโลก พวกเขาตกเป็นคนไร้รัฐมิใช่เป็นเพียงคนไร้สัญชาติ ไม่มีรัฐใดเลยให้ความคุ้มครองในฐานะของรัฐเจ้าของสัญชาติ หรือแม้เพียงแค่รัฐเจ้าของภูมิลำเนา เป็นคนเข้าเมืองที่ผิดกฎหมายของประเทศ

กรณีตัวอย่างของน้องดนัย ยื่อบ๊อนั้น น้องดนัยเกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มารดาชื่อนางหมี่ยื่มยื่อบ๊อ เป็นชาวอาข่าดั้งเดิม ได้รับสัญชาติไทยในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 มีบิดาชื่อนายอาบู เป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาร์เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีหนังสือเดินทางไม่มีการตรวจลงตราแต่อย่างใด

ซึ่งการได้มาซึ่งสัญชาติ บุคคลนั้นจะต้องมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐนั้นอย่างใกล้ชิด เช่นได้ตามหลักการสืบสายโลหิต คือได้มาจากบิดามารดา หรือได้ตามหลักดินแดน คือเกิดในรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่ในกรณีนี้ น้องดนัยเกิดในประเทศไทย จึงน่าจะได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน แต่สูติบัตรของน้องดนัยระบุว่าไม่ได้สัญชาติไทย เนื่องจากถูกพระราชบัญญัติสัญชาติดักเอาไว้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ ม.7 ทวิ วางหลักว่า

"ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดา ของผู้นั้นเป็น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราช อาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่า ด้วยคนเข้าเมือง"[3]

ซึ่งตัวน้องดนัยนั้นยังไม่ได้รับสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติอื่น เพราะ ขณะที่น้องดนัยเกิดนั้น บิดามารดาของน้องดนัยยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ดังนั้น น้องดนัยจึงถูกสันนิษฐานว่าเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย

จึงเห็นได้ว่า แม้น้องดนัยจะเกิดที่ประเทศไทยแต่น้องดนัยกลับไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนที่มีจุดเกาะเกี่ยว น้องดนัยจึงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

ซึ่งตามแนวคิดทางกฎหมาย โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ในกรณี น้องดนัย มีดังต่อไปนี้[4]

1.เด็กชายดนัย ยื่อบ๊อย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยการเกิดโดยผล ของมาตรา๗ (๑) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕

2.เด็กชายดนัยยื่อบ๊อย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยการเกิด โดยผลของมาตรา ๗ (๒) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ทั้งนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงชัดต่อไปว่า บุคคลทั้งสองไม่ ตกอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นของการมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยการเกิดโดย ผลของกฎหมาย๒ ประการที่มีผลในขณะที่เกิด กล่าวคือ (๑)บุตร ทั้งสองของนางหมี่ยึ่มย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๓๕ และ (๒) บุตรทั้งสองของนางหมี่ยึ่มย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๘ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘

3.เด็กชายดนัยมีสิทธิในการรับรองสถานะคนสัญชาติไทยอย่างแน่นอนทั้งนี้ เพราะเมื่อบุคคลทั้งสองมีข้อเท็จจริงที่ก่อตั้งสิทธิในสัญชาติไทยทั้งโดย หลักสืบสายโลหิตและโดยหลักดินแดนโดยการเกิดโดยผลของมาตรา๗ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วนั้นและก็ไม่มีข้อเท็จจริงว่า บุคคลทั้งสองเสียสัญชาติไทยไปด้วยเหตุใดๆ

4.แม้จะมีการบันทึกรายการสถานะบุคคลตามกฎหมายในทะเบียนราษฎรของรัฐ ไทยอย่างผิดพลาดในเอกสารบางส่วนที่ช่วงเวลาที่ผ่านสำนักทะเบียนอำเภอฝางก็ ย่อมมีหน้าที่พัฒนาการรับรองสิทธิในสถานะคนสัญชาติไทยโดยการเกิดให้แก่นายอา ดื่อและเด็กชายดนัยตลอดจนการบันทึกการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดไปแล้วโดยไม่ชัก ช้า ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ ประกอบกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทยโดยเฉพาะ (๑) ข้อ ๖ และข้อ ๑๕ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.๑๙๔๘/พ.ศ.๒๔๙๑(๒) ข้อ ๗ แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙/พ.ศ.๒๕๓๒ และ (๓) ข้อ๑๖ และข้อ ๒๔ แห่งกติกาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง/พลเมืองและสิทธิทางการเมืองค.ศ. ๑๙๖๖/พ.ศ.๒๕๐๙


[1] สิทธิมนุษยชน บทที่ 4 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย

สืบค้นทาง http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/human_rights/25.html

[2] บทความเชิงวิชาการ เรื่อง ปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ โดย นางสาววรรณนิศา สกุลณี วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

สืบค้นทาง http://sd-group1.blogspot.com/2013/01/53242421.html

[3] มนุษย์ที่ข้ามชาติ : ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้ความเป็นมนุษย์หรือ?โดย Jidapa Rattananakin วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2556

สืบค้นทาง http://www.gotoknow.org/posts/566841

[4] ขอช่วยอ่านความเห็นทางกฎหมายเพื่อนายอำเภอฝางในกรณีบุตรของนางหมี่ยึ่ม ยื่อบ๊อ หน่อยนะคะ โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร วันที่ 28 กันยายน 2013 เวลา 18:50 น.

สืบค้นทาง https://th-th.facebook.com/notes/พันธุ์ทิพย์-กาญจนะจิตรา-สายสุนทร

หมายเลขบันทึก: 568430เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท