คนต่างด้าวในประเทศไทย


           คนต่างด้าวจากรัฐเพื่อนบ้านมักแห่กันอพยพเข้ามาอาศัยพักผิงในประเทศทย จากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจในประเทศ ความขัดแย้งภายในประเทศ สงครามกลางเมือง หรือแม้แต่ ความอดยาก ในที่สุดปัจจุบันไทยจึงเสมือนเป็นแหล่งรองรับ คนต่างด้าวที่หลั่งหลกันเข้ามาทำงานในไทย ถูกกฎหมายบ้างผิดกฎหมายบ้าง ซึ่งหากพิจารณาถึงกฎเกณฑ์ที่มีนั้นจะพบว่า คนต่างด้าว ไม่สามารถจะประกอบอาชีพในไทยได้เนื่องมาด้วยสาเหตุที่ว่าเพื่อรักษา ระบบเศรษฐกิจและอัตรางานไว้เพื่อให้พลเมืองของรัฐ จึงเกิดเป็นปัญหาถกเถียงกันว่า การที่รัฐจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของคนต่างด้าวจะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวหรือไม่

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 43 ได้บัญญัติไว้ว่า

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน[1]

และปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 23 ก็วางหลักไว้ว่า

1) ทุกคนมีสิทธิในการทํางาน ในการเลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออํานวยต่อการทำงานและในการคุ้มครองต่อการว่างงาน[2]

           จากบทบัญญัติข้างต้นจะเห็นได้ว่า โดยหลัก ห้ามมิให้มีการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้นในการเลือกปฏิบัติจากหลายสาเหตุ ทำให้สรุปได้ว่า แม้จะวางหลักถึงการห้ามจัดแต่เมื่อมีเหตุอันสมควร สิทธิในการประกอบอาชีพก็สามารถถูกจำกัดได้

           

          สาเหตุที่มาของการจำกัดนั้น รัฐมองว่าหากไม่มีการกำหนดข้อบังคับถึงอาชีพไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสภาพสังคมของไทยเป็นวงกว้างแน่แท้ เพราะรัฐคำนึงว่าหากคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานพลเมือง นอกจากจะทำให้คนในรัฐตกงานแล้ว ยังทำให้คนต่างด้าวครอบงำระบบเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน งานในระดับล่างส่วนใหญ่ก็มิใช่คนไทยที่เป็นคนทำอีกต่อไปแล้ว เพราะในที่สุด ผู้ประกอบกิจการก็คำนึงถึงต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ราคาถูกกว่าคนไทย ประกอบกับการที่คนไทยมักจะไม่เลือกทำงานในระดับล่างจนทำให้ เป็นปัญหาถึงขั้นที่ไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานระดับล่าง ข้าพเจ้าจึงมองว่างานที่ถูกจำกัดในบางประเภทอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อไทย หากเราลดปริมาณอาชีพที่ถูกจำกัดต่อคนต่างด้าว นอกจากจะช่วยให้ไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานน้อยลงแล้วยังช่วยให้คนต่างด้าวมีสิทธิในการเลือกประกอบอาชีพมากขึ้น

          

          อาชีพที่ถูกจำกัด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกำหนดอาชีพต้องห้ามของคนต่างด้าวไว้ดังนี้

“(๑) งานกรรมกร ยกเว้นงานกรรมกรในเรือประมงตาม (๒) งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำตาม (๑) ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งชาติอื่น และคนต่างด้าวที่ได้รับการกำหนดสถานะให้เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

(๒) งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา งานควบคุมดูแลฟาร์ม หรืองานกรรมกรในเรือประมงทางทะเล

(๓) งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น

(๔) งานแกะสลักไม้

(๕) งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกลยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ

(๖) งานขายของหน้าร้าน

(๗) งานขายทอดตลาด

(๘) งานควบคุม ตรวจสอบ หรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้นงานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว

(๙) งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย

(๑๐) งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย

(๑๑) งานทอผ้าด้วยมือ

(๑๒) งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่

(๑๓) งานทำกระดาษสาด้วยมือ

(๑๔) งานทำเครื่องเขิน

(๑๕) งานทำเครื่องดนตรีไทย

(๑๖) งานทำเครื่องถม

(๑๗) งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก

(๑๘) งานทำเครื่องลงหิน

(๑๙) งานทำตุ๊กตาไทย

(๒๐) งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม

(๒๑) งานทำบาตร

(๒๒) งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ

(๒๓) งานทำพระพุทธรูป

(๒๔) งานทำมีด

(๒๕) งานทำร่มกระดาษหรือผ้า

(๒๖) งานทำรองเท้า

(๒๗) งานทำหมวก

(๒๘) งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

(๒๙) งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ ไม่รวมงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ

(๓๐) งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ

(๓๑) งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย

(๓๒) งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา

(๓๓) งานมวนบุหรี่ด้วยมือ

(๓๔) งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว

(๓๕) งานเร่ขายสินค้า

(๓๖) งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ

(๓๗) งานสาวหรือบิดเกลียวไหมด้วยมือ

(๓๘) งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ

(๓๙) งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้น

(ก) งานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ

(ข) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฎหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย”[3]

นายภัทรภณ  อุทัย


[1] รัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550

http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

[2]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

http://www.l3nr.org/posts/367042

[3]อาชีพที่ถูกจำกัด

http://www.oknation.net/blog/NVC/2011/02/26/entry-...

หมายเลขบันทึก: 568428เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 05:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท