ครอบครัวข้ามชาติ


ในสังคมโลกปัจจุบันที่เปิดกว้างทางความคิด และเสรีภาพในการแสดงออก การเดินทางและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทุกคนเข้าหากันได้ง่ายขึ้น แม้จะอยู่กันคนละประเทศ มีสัญชาติที่ต่างกัน จึงเป็นเหตุให้มีโอกาสใกล้ชิด สนิทสนมกัน จากการเพื่อนคุย คนร่วมงาน เจ้านายลูกจ้าง และอาจพัฒนากลายเป็นความสัมพันธ์ฉันคนรัก และเมื่อตัดสินที่จะสมรสกันแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาตามมาให้แกคู่สมรสของตน หรือภายหน้าอาจจะมีบุตรด้วยกัน แต่เมื่อเราปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือด้วยความไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร แน่นอนมันย่อมมีปัญหาตามมา

มนุษย์ข้ามชาติ[1]คือ คนทีมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม

ครอบครัวข้ามชาติ คือครอบครัวที่มีสมาชิกข้ามชาติจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่งและสร้างครอบครัวขึ้นและต่อมาอาจมีบุตรทำให้ครอบครัวนี้เกี่ยวข้องกับหลายประเทศซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้

กรณีที่เป็นตัวอย่างของการศึกษาเรื่องครอบครัวข้ามชาตินี้ คือ กรณีของครอบครัวเจดีย์ทอง

เรื่องราวของครอบครัวเจดีย์ทองมีจุดเริ่มต้นจากการที่นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ซึ่งเป็นแรงงานสัญชาติไทยและนางสาวแพทริเซีย ซึ่งเป็นแรงงานสัญชาติมาเลเซีย เดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวันและได้พบรักกันขณะไปทำงาน ต่อมานายอาทิตย์ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยก่อน ระหว่างทางกลับมาเลเซียนางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมนายอาทิตย์และตัดสินใจอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนมีบุตรด้วยกัน 3 คน แต่ละคนเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักตามปกติ ซึ่งการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางของนาวสาวเเพทริเซียนั้นมีกำหนดเวลาไว้ชัดเจนเเละนางสาวแพทริเซียก็อยู่ในประเทศไทยเลยกำหนดเวลาดังกล่าวเเล้ว

ต่อมานางสาวเเพทริเซียต้องการอยู่ในประเทศไทยอย่าถาวรจึงไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เพื่อให้รัฐบันทึกตนเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยใช้ชื่อ อัญชลีเจดีย์ทอง จากการกระทำดังกล่าวทำให้นางสาวเเพทริเซียเป็นผู้มี 2 สถานะ คือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไร้รัฐด้วย[2]

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ก็คือเมื่อสามีหรือภรรยาที่เดินทางตามคู่รักตนเข้ามาในประเทศไทย โดยที่ไม่ได้ไม่ได้ทำวีซ่าคู่สมรส(Spouse Visa (K3))[3]แต่ทำท่องเที่ยหรืออย่างอื่นแทน ที่ทำให้อยู่ในประเทศคู่รักของตนได้ไม่ถาวร และเมื่อวีซ่าหมดอายุก็ไม่ได้สนใจจะไปทำเรื่องต่อ หรืออีกกรณีหนึ่งเป็นการที่อยู่ประเทศใกล้เคียงกันเดินทางไปมาหากันได้สะดวก เช่น ประเทศลาวเมียนมาร์และกัมพูชา จึงเดินทางเข้ามาอยุ่ด้วยกันเป็นแรงงานต่างด้าว คนเหล่านี้เมื่ออยู่กินกันไปและมีบุตรธิดาด้วยกัน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีปัญหาทางสถานะบุคคล และทำให้ไม่ได้รับสิทธิทางสวัสดิการที่ดีที่สุดที่เด็กควรจะได้รับ เช่น กรณีศึกษาของครอบครัวเจดีย์ทอง

จากกรณีศึกษาจะพบว่าปัญหาต่างๆ เกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประสบปัญหาทางสถานะบุคคล ถ้าเกิดว่าเราศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร อาจจะเกิดปัญหาน้อยลง หรือหาเจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องได้ทำงานตรวจสอบข้อมูลของผู้ประสบปัญหาให้แน่ชัดกว่านี้ก่อนที่จะบันทึกข้อมูลอะไรลง คงจะไม่ต้องมาคอยแก้ไขความผิดพลาดอันเกิดจากความไม่รอบคอบของตนเองทีหลัง อาจจะด้วยปัญหาทางการสื่อสารที่ใช้กันคนละภาษาก็ตามที แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เราก็ควรที่จะเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาได้รับสิทธิอย่างที่เขาควรจะได้รับ


[1] มนุษย์ข้ามชาติ http://www.l3nr.org/posts/535656

[2] เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน, รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, 25 เมษายน 255

[3] usvisa4thai . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.usvisa4thai.com/spouse.html.(วันที่สือค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568422เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 04:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 04:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท