ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discriminay=tion against Women) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการในที่นี้จะยกตัวอย่างปัญกาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมา ดังนี้

1.ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

2. ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน

3. ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี[1]

ในส่วนเรื่องของปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่มีความเชื่อมต่อกับสังคมโลก มีกรณีตัวอย่างดังนี้

ปัญหาเรื่องชาวโรฮิงญา ชาวโรฮิงญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า[2]ซึ่งเมื่อพิจารณาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ข้อ 13 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการ เคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใด รวมทั้งประเทศของตนเอง และสิทธิที่จะกลับสู่ประเทศตน

เช่นนี้ การกระทำของประเทศพม่าที่มีการบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยถ้าจะมีการเคลื่อนย้ายต้องจ่ายเงินจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญา

ข้อ 15 (1) ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง

(2) บุคคลใดจะถูกเพิกถอนสัญชาติ ของตนตามอำเภอใจ หรือถูกปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของตนไม่ได้

เช่นนี้ การกระทำของประเทศพม่าที่ไม่ให้ชาวโรฮิงญามีสิทธิในการได้รับสัญชาติพม่า ทั้งที่อยู่อาศัยในประเทศพม่ามาเป็นเวลายาวนาน เพราะเหตุจากความคิดที่ว่าชาวโรฮิงญาไม่ใช่ชนชาติเดียวกับตน และประเทศบังลาเทศก็ไม่ยอมรับเนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก เป็นภาระที่ยากแก่การดูแลและรับรองสิทธิต่างๆให้ ทำให้ชาวโรฮิงญากลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสัญชาติ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 15

ข้อ 16 (1) บรรดาชายและหญิงที่มีอายุครบ บริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและก่อร่างสร้างครอบครัวโดยปราศจากการจำกัดใด อันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา ต่างย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส

(2) การสมรสจะกระทำโดยความยินยอม อย่างอิสระและเต็มที่ของผู้ที่จะเป็นคู่สมรสเท่านั้น

เช่นนี้การกระทำของประเทศพม่าที่ห้ามชาวโรฮิงญาแต่งงานโดยไม่ได้รับความยินยอมเพราะไม่ต้องการให่มีประชากรชาวโรฮิงญาเพิ่มขึ้นจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 16[3]

จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้เกิดความตระหนักว่าทุกคนควรให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น มิเช่นนั้นแล้วก็จะมีเหตูการณ์ตาทตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้ยกตัวอย่างมาเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังไปเรื่อยๆ


[1] https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha-siththi-mnusy-chn-ni-prathes-laea-naewthang-kaekhi-payha-laea-phathna

[2] http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=588 เมษายน 2557

[3] http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf8 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 568421เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 04:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 04:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท