ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระดูกอย่างไร


กามนิตหนุ่มนามอาจารย์ ขจิต ที่ผันตัวเองมาเป็น มะกะโท ก็ มาเติมให้เห็นว่า กระดูกพรุนเป็นภัย เงียบ จึงต้องรู้และเข้าใจในการบริโภค อาหาร ผักที่เป็นการเสริมสร้างกระดูก ในผักแต่ละชนิด ที่มีแคล เซี่ยมสูง เช่น ใบยอ ใบมะกรูด ใบชะพลู กวางตุ้ง ถั่วพลูคะน้า แล้วนำเมล็ดผักมาแจกจ่ายนำไปปลูก

คุณหมอ สุขจันทร์ ผู้รักษาผู้ป่วย คุณพัชระผู้ดูแลผู้ป่วย


มูลนิธิโรคกระดูกพรุน ได้เชิญชวนเข้าร่วมเสวนา เรื่อง"ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกระดูก

อย่างไร" เป็นโจทย์ที่ผู้เขียนสนใจด้วยว่าเรื่องกระดูกในชุมชน ยังขาดความรู้เรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น

อยู่ทั่วไปที่ยังขาดการทำความเข้าใน การส่งเสริมป้องกันและรักษา ในฐานะคนทำงานชุมชน จึงไม่รั้งรอ

ที่หาความรู้สู่ชุมชน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งในวงเสวนามีพี่น้องผองเพื่อนชาว G2K ที่

คุ้นหน้าหลายท่าน

เจ้าภาพ อาจารย์ สุขจันทร์ 

อาจารย์ขจิต ผู้ร่วมเสวนา พบกันมากครั้ง 

กล้วยไข่ก็พบกันมากครั้ง 

แต่อาจารย์หนึ่ง พบกันในวันนี้ ทั้งๆที่ทักทายกันมาในG2K หลายครั้ง กลุ่มเป้าหมายในการคุยกันมาจาก

หลายชุมชน และหลายหน่วยงาน

มีทั้งชมรมแพทย์สตรี  

นักกายภาพ จากรพวิชัยยุทธ

พยาบาล

อสม 

 พ่อค้า

ผู้สูงอายุ จากชุมชนบ่อนไก่  

ศูนย์ 16 ลุมพินี

บ้านศูนย์สุขภาพ 

ผู้ดูแลผู้ป่วยและมีประสบการณ์ป่วย 


บรรยากาศแห่งการเรียนรู้


        ในตอนบ่ายที่อบอุ่นจนเย็นฉ่ำจากเครื่องทำความเย็น ที่เย็นจน หนูกล้วยไข่ หนาวสั่น อาจารย์ สุข

จันทร์เริ่มเวทีแบบง่ายๆเป็นกันเอง โดยการตั้งโจทย์ ในการพูดคุยว่า"ทำอย่างไรให้กระดูกแข็งแรง และ

ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน" โดยมีจุดประสงค์ของการพูดคุยคือ "ต้องการให้ทุกคนมีกระดูกแข็งแรง" โดย

บอกว่า กระดูกที่สำคัญ คือกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก เมื่อหักแล้วยากแก่การรักษาฟื้นฟู แล้วส่ง

ต่อเวทีให้ คุณดวง  ผู้ซึ่งมีประสบการณ ดูแลคุณแม่วัย 73 ที่กระดูกหักจากการหกล้ม ต้องใส่ข้อเทียม 

 ผ่าตัดแล้วกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง จึงต้องระวังอย่างมากที่ต้องป้องกันไม่ให้ล้มซ้ำ 

แล้วอาจารย หมอสุขจันทร์ ก็ปรุปประเด็นความรู้นำสู่เรื่องของอาหาร และปัจจัยเสี่ยง

มอบเวที่ต่อ ให้คุณ พัชระได้เล่าประสบการณ์ตรงในการดูแลคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ของคุณ พัชระสุดยอดแห่ง

ความอดทนด้วยเป็นหลายโรค หกล้มจากการรดน้ำต้นไม้ และเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธี คุณพัชระ ใช้หลัก

ธรรมบำบัดเยียวยา ทั้งคุณแม่และตัวคุณพัชระเอง  เรื่องราว รายละเอียดในการดูแล น่าถอดบทเรียนใน

การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยกระดูก 


อาจารย์ จาก ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช กับ มะกะโท อาขารย์ขจิต 

ส่วนอาจารย์หนึ่ง ซึ่งฟังอยู่นานก็สานต่อด้วยการเล่าถึงการเข้ามาสู่งานวิจัยในเรื่องกระดูกพรุน โดยเริ่ม

สงสัยจากนักศึกษาวัยรุ่น ก็พบว่าปัจจัยเรื่องอาหารส่งผลกระทบต่อกระดูกทุกกลุ่มวัย

ส่วน กามนิตหนุ่มนามอาจารย์ ขจิต ที่ผันตัวเองมาเป็น มะกะโท ก็ มาเติมให้เห็นว่า กระดูกพรุนเป็นภัย

เงียบ จึงต้องรู้และเข้าใจในการบริโภค อาหาร ผักที่เป็นการเสริมสร้างกระดูก ในผักแต่ละชนิด ที่มีแคล

เซี่ยมสูง เช่น ใบยอ ใบมะกรูด ใบชะพลู  กวางตุ้ง ถั่วพลูคะน้า

แล้วนำเมล็ดผักมาแจกจ่ายนำไปปลูก

สรุปการบริโภคที่ส่งผลผลในการสร้างเสริมกระดูก ที่ดีที่สุดคือ นม เต้าหู้ทอด ผักใบเขียวทุกชนิด ปลา

เล็กปลาน้อย  และการออกกำลังกาย 

สว่นปปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงคือ บุหรี น้ำอัดลม กาแฟ 

เมื่อทุกคนในวงเสวนา มีความรู้ ก็นำความรู้มาคุยกันให้ลึกในแต่ละกลุ่ม โดยการแบ่งกลุ่มคุยกันสาม

กลุ่ม มานำเสนอ เติมเต็มความรู้ แล้วอาจารย์ก็เพิ่มเติมความรู้ ในการช่วยตัวเองให้มีกระดูกแข็งแรง ใน

การใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น หากเข่าเสื่อม ให้เดินขึ้นบันได ช่วยได้ แต่การเดินลงไม่บันไดไม่เหมาะกับเข่า

เสื่อม การรับแสงแดดก่อนสิบโมงเช้าและหลัง ห้าโมงเย็น จะได้รับวิตามิน ในการดูดซึมแคลเซี่ยมส่วน

การออกกำลังกายสำหรับคนเข่าเสื่อม คือให้ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักที่ ขา การยกน้ำหนัก และ

ออกแรงโดยการใช้ยางยืด


สุดท้ายอาจารย์สุขจันทร์ก็ได้ให้เครื่องมือในการตรวจสุขภาพที่เป็นลางบอกเหตุที่จะหกล้ม  คือ การดู

กล้ามเนื้อตะโพก โดยการนั่งและยืน 10 ครั้ง  ยืนขาเดียว 1 -10  ครั้ง เดินต่อส้นเท้า 10 ครั้ง ผู้เขียนได้

ความรู้ ได้เข้าใจและได้เครื่องมือในการใช้และไปให้ความรู้ชุมชนในเบื้องต้น ส่วน ชุมชนมีส่วนร่วมใน

การส่งเสริมกระดูกอย่างไร ในมุมมองของคนทำงานชุมชน โปรดอ่านต่อ....


ชุมชน บ่อนไก่และชุมชนสวนลุม ส่งเสริมโรคกระดูก

สองสาวสวย นักกายฯ จาก รพ วิชัยยุทธ์

หมายเลขบันทึก: 567529เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

บังครับ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระดูกพรุนมากเลย

กำลังอยู่กรุงเทพฯ

แล้วจะรีบเขียนบันทึกนะครับ

-สวัสดีครับ

-ตามมเยี่ยมชมกิจกรรม

-ภารกิจของท่านมากเหลือเกิน

-แต่แม้ภารกิจจะมากเพียงใด..เสียงหัวเราะ.ก็ช่วยดับความเหนื่อยได้นะครับ..

-เสวนาแบบนี้..ผมชอบ  ๆครับ..

-อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะครับท่าน สว.ฮ่า ๆ 

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสุขภาวะดีๆค่ะ...

ร่วมเรียน  แลกเปลี่ยน  ความรู้  สู่การปฏิบัติ  นะคะ

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต หากมีเวลา พบกันที่ค่ายบ้านครูมะเดื่อครับ

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต จะอ่านบันทึกกระดูก จะได้เติมความรู้จากท่านครับ

เรียนคุณเพชร บรรยาการการเรียนรู้แบบกันเอง

เป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยในการเรียนรู้ร่วมกัน

เรียนพี่ใหญ่ บรรยาศและสถานที่เหมาะแก่การเรียนรู้สุขภาว ในอาคารเรียนรู้สุขภาวะ

เรียนคุณหมอเปิ้น ทัวร์มิตรภาพ ผ่านเพชรบุรี อยากแวะหาแต่ หาเบอร์ไม่เจอ

คุณวอญ่าทำ AAR ได้ดีมากทีเดียว คงมีเรื่องเล่าต่อเนื่องสำหรับกิจกรรมในชุมชนที่พัทลุงนะคะ จะคอยติดตามค่ะ

เรียนคุณหมอ สุขจันทร์ 

ขอบคุณที่ชื่นชม

มีเวลา จะเขียนต่อในมุมองของชุมชน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท