618. VAK Learning System


ดูหนังเรื่อง Cloud Atlas มาหลายรอบครับ หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องาวของการเวียนว่ายตายเกิดของคนกลุ่มหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาประมาณ 500-600 ปี ตัั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงโลกอนาคตเมื่อสามร้อยปีข้างหน้า ทั้งหมดเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง ตัวละครสำคัญคนหนึ่งคือซอนมี่ ผู้หญิงที่ต้อยต่ำ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์สังเคราะห์คอยทำงานรับใช้ เมื่อหมดอายุก็จะถูกทำลายทิ้ง แต่ต่อมาชีวิตพลิกผันกลับกลายมาเป็นศาสดาของโลกอนาคต ในเรื่องประโยคที่ซอนมี่พูดล้วนแล้วแต่มีความหมายลึกซึ้ง ประโยคที่ผมชอบที่สุดคือ

                   

 

คำคมแรกนี่ทำให้ผมได้คิดในหลายๆเรื่อง เรื่องนี้เตือนให้เราได้มีสติ อย่าทำอะไรพลาดเหมือนเดิม เพราะทุกครั้งที่คุณเจอกับคนๆ หนึ่งไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม นั่นเป็นโอกาสของคุณที่จะสร้างกรรมดีร่วมกัน ที่ทำให้ในชาติภพต่อๆไป ชีวิตจะยกระดับความดีขึ้นไปเรื่อยๆ

 

่ส่วนอีกคำคมหนึ่งที่ผมชอบคือ

 

"Knowledge is a mirror. I was finally able to see what I was. And what I could be."

 "ความรู้เปรียบประดุจกระจกเงา ความรู้ทำให้ข้าๆได้ค้นพบว่าข้าๆคือใคร และข้าๆจะเป็นอะไรได้บ้าง"

 

นี่ชัดมากๆครับ เช่น ล่าสุดผมได้เรียนรู้ อะไรบางอย่าง แล้วก็เป็นอย่างที่ซอนมี่พูดไว้ เราจะเห็นตัวเอง ว่าเราเป็นใคร และจะรู้ว่าเราทำอะไร จะเป็นอะไรได้บ้าง น่าทึ่งครับ

 เรื่องอะไรครับ เรื่องระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า VAK ครับ ที่นักวิทยาศาสตร์ บอกว่ามนุษย์มีวิธีการรับรู้ข้อมูลอยู่สามแบบ ตามความถนัดของสมอง VAK เป็นคำย่อของ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก  

                                 

ระบบการเรียนรู้คนไม่เหมือนกันครับ และอาจก่อปัญหาได้.. ตรงนี้ทำให้ผมค้นพบเลยว่าทำไมผมจึงเรียนไม่รู้เรื่องตั้งแต่เด็กๆ ก็พอทดสอบมาแล้วผมเป็นกลุ่ม Visual ครับ เห็นด้วยภาพ คิดอะไรต้องเป็น Concept ..เขียน เป็น Mind Map ตอนทำปริญญาเอกนี่ ทำ Mind Map เป็นเล่มใหญ่ (สมุดทำบัญชีเล่มใหญ่ๆ).. ตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ถ้าครูพูด พูดๆ วิชาไหนวิชานั้นฟังไม่รู้เรื่อง จำได้ครับตั้งแต่เด็กจนโตชั้นเรียนของผมมักเป็นแบบ Audio คือครูพูดๆ ตำราก็มีแต่ตัวอักษรไม่ค่อยมีภาพ ตายหยังเขียด โชคดีค้นพบวิธีการเรียนรู้ของตนเอง โดยเฉพาะตอนโตหัดทำ Mind Map จนคล่อง พอเรียนเอกนี่เร็วมากๆ และก็เริ่มเห็นอะไรบางอย่างครับ ว่านี่มันเกี่ยวกับการสื่อสาร เคยเจอผู้ร่วมชั้นเรียนครับเป็น Kinesthetic คือใช้ความรู้สึกนี่ผมกับเธอจูนกันไม่ติดเลยครับ ... ที่สำคัญล่าสุดไปเรียนกับอาจารย์ที่เป็น Audio ..ถึงขั้นเบลอ จับความไม่ได้ ต้องวิ่งไปถามคนอื่น ถามคนข้างๆ ให้อธิบายให้ แล้วค่อยมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม เอ๊อ..พอไปได้..

แล้วเริ่มมองมาถึงการเลี้ยงดูเด็กๆ.. มีครั้งหนึ่งแม่กับลูกเกิดทะเลาะกัน ทะเลาะจนแม่เหนื่อย มาถามผมทำไงดี เลยลองให้ไปทดสอบดูว่าลูกมีการเรียนรู้ระบบใด VA หรือ K ทดสอบง่ายๆคือ ดูตรงตา.. ลองบอกให้เขาถึงอะไรที่ทำเมื่อวาน ลองสังเกตที่ตา ถ้าเวลานึกตากรอกขึ้นไปด้านบน นี่เลยเป็น V ถ้ากรอกตาไปในแนวระนาบ จะเป็น A ถ้ากรอกด้านล่างจะเป็น K ชัดครับ

ทำไมถึงทะเลาะกันเป็นชั่วโมง ก็เพราะแม่เป็น Audio ลูกเป็น Visual...ลูกมันงงครับ แม่พูดๆๆๆๆ ส่วนลูกคิดเป็นภาพ การรับข้อมูลที่ทำให้ไม่มองเห็นภาพนี่ผมว่าถ้ามองจากทฤษฎีนี้ มึนส์ครับ แล้วทำไง เลยแนะนำให้เวลาลูกดื้อ ให้ลองให้นึกถึงภาพแม่ตอนใจดี กับแม่ตอนโกรธ ...คนเป็นพ่อเลยลองเอาไปทำดู พอลูกดื้อก็เริ่มทักลูก... “..ลูกจำได้ไหมเวลาแม่จะโกรธ จะเป็นอย่างไร"... ลูกหยุด.. หยุดจริงๆ ไม่ต้องทะเลาะกันอีก.. ทอลองสองสามครั้งได้ผล ลูกหยุดจริงๆ.. คราวนี้พาแม่มาดู คุณแม่ถึงกับประหลาดใจ เอาจริงแฮะ ตอนหลังสถานการณ์ในบ้านเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ผมเห็นเลยคล้ายๆกับครู Audio ของผมที่เคยสอนผม คำสอนดียังไงก็งงครับ ไม่รู้เรื่องจริงๆ... อาจารย์ท่านหนึ่งที่มาสอน MBA ประจำ ที่หลายคนว่าเก่งลึกซึ้งมากๆ แต่พอผมเรียนด้วยผมมึนส์ ขยาดไม่สามารถนั่งเรียนนานๆได้ เพราะดีมาก แต่ท่านเป็น Audio ครับไม่มีภาพ พูดทั้งวัน แต่สังเกตครับลูกศิษย์ที่เป็น Audio จะเข้าใจท่านมากๆ .. ผมใช้เวลาหลายปีกว่าจะค่อยๆซึมซาบ ค่อยๆเชื่อมโยงเข้ากับของจริง ภาพจริงๆที่ผมเห็น...อ๊อ..เป็นจังซี่ (ภาษาอิสานแปลว่า อย่างนี้นี่เอง) แต่นานมากครับ เข้าชั้นเรียนท่านทีไรนี่โง่ไปเลย..

วกกลับไปเรื่องการศึกษาเท่าที่ประเมินครู และตำราส่วนใหญ่เหมือนเขียนและสอนโดยคน Audio ครับ ไม่ค่อยมีภาพ มีแต่ขั้นตอนโดยละเอียด คนเข้าใจจริงๆ น่าจะเป็นพวก Audio ถ้าไม่ปรับปรุงตำราให้มีความหลากหลาย มีสื่อครอบคลุมให้พวก Visual กับ Kinesthetic แล้ว ผมว่าจะสกัดคนอีกสองกลุ่มออกไปโดยไม่รู้ตัว

คำถามคือแล้วอะไรล่ะที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับคนทั้งสามกลุ่ม แนะนำสั้นๆ ครับ ลองใช้ Appreciative Inquiry, Dialogue, World Cafe ครับ สามเครื่องมือนี้ ตั้งแต่ทำมาค้นพบว่าในกระบวนการไม่ว่าคุณจะเป็นใครใน VAK จะสามารถมีส่วนร่วมได้หมดครับ เป็นกระบวนการที่เหมาะกับคนสามกลุ่มจริงๆ และเรียนรู้ได้หมดครับ

VAK เป็นกระจกที่ดีมาก ช่วยให้ผมมองอะไรแบบที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน ตอนนี้พยายามฝึกและค้นหากระบวนการที่จะทำให้คนรอบตัวที่เป็น VAK เรียนรู้และสื่อสารกันได้ดีมากขึ้นครับ.. ตอนนี้ยังรู้น้อยนัก

 

สุดท้ายขอบคุณ Sonmi และผู้สร้างหนัง Cloud Atlas ครับที่นำข้อคิดดีๆมาให้

 

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

                  

 

Reference:

คำคมของ Sonmi ได้มาจาก http://en.wikiquote.org/wiki/Cloud_Atlas_(film)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VAK Learning System ได้ที่นี่ http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/styles/vakt.html มีแบบประเมินด้วยครับ

Pictures:

The first picture retrieved Nov 8, 2013 from http://www.gotoknow.org/posts/555741

The second picture retrieved Nov 8, 2013 from ://www.ilblogdellamente.com/vak-visivo-auditivo-cinestetico/

The third picture retrieved Nov 8, 2013 from http://noobnim.in.th/cloud-atlas/

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555741เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2013 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2014 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
พราว สุขพูลผลเจริญ MBA KKU (ID: 555740492-5)

เรื่องระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า VAK

Class สุดท้ายที่อ.ภิญโญเข้ามาสอนวิชา Business Creative ในหัวข้อเรื่องระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า VAK ทำให้ได้เรียนรู้ว่าตัวเองเป็นคนเรียนรู้แบบไหน จากที่ทำแบบทดสอบใน Class ตัวของพราวจะมีระบบการเรียนรู้เป็นแบบ Auditory คือ A แต่ถ้ามาวิเคราะห์กันจริงจังว่าจะเห็นว่าการเรียนรู้ของตัวเองส่วนใหญ่ จะผสมระหว่าง A และ K (Kinesthetic) ดังเห็นตัวอย่างจาก การเรียนรู้การถักโครเชต์ของตัวเอง เริ่มจากมีความสนใจเลยไปซื้อหนังสือพร้อมกับอุปกรณ์ นำกลับบ้านเพื่อจะศึกษาวิธีการถักด้วยตัวเอง เพราะหนังสือทุกเล่มจะมีรูปและคำอธิบายในการสอนถักโครเชต์พื้นฐาน (โดยที่ไม่สนใจว่าร้านที่ไปซื้ออุปกรณ์จะมีบริการสอนถักโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายก็ตาม)

พออ่านแล้วลองทำตาม กลับทำไม่ได้เหมือนรูป ทำเท่าไรก็ไม่ได้ วันรุ่งขึ้นเลยกลับไปร้านที่ซื้ออุปกรณ์มา
โดยอาจารย์เริ่มสอนตั้งแต่วิธีการจับเข็มถัก เริ่มต้นด้วยโซ่ ตามด้วยลายต่างๆ
ตามลำดับความยาก ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง พราวทำได้ทุกลายแล้ว

อ.เลยให้กลับไปทำที่บ้าน แล้วก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ เผื่อมีอะไรติดขัดหรือทำไม่ได้ขึ้นมาระหว่างการถัก อีก 2 วันถัดมา เกิดทำไม่ได้เพราะไม่เข้าใจลายที่เขียนบอกให้ต่อสี อ่านเองก็ไม่เข้าใจ (ทำยังไงดีนะ) คิดออกว่าอ.ให้เบอร์ไว้ โทรไปถามดีกว่า อ.อธิบายได้ดีมาก ระหว่างอ.อธิบาย เราก้อทำตามไปด้วย อ๋อ!!! แค่นี้เอง(คิดในใจ) หลังจากนั้นก็ทำตามแบบเรื่อยๆ จนตุ๊กตาออกมาสำเร็จ ใช้เวลาทั้งหมด 5 วันสำหรับตุ๊กตาโครเชต์ตัวแรกในชีวิต

สรุปได้ว่ารูปภาพประกอบวิธีการถักโครเชต์เบื้องต้นที่อยู่ในหนังสือ ไม่สามารถทำให้พราวเข้าใจวิธีการถักเลย พออ่านตามก็เหมือนจะเข้าใจแต่ก็ทำไม่ได้ แต่พอได้เรียนรู้จากอ.ที่พูดไปด้วย และฝึกทำตามไปพร้อมๆกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดและทำให้เรียนรู้ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

จากที่ได้เรียนในเรื่องVAK แล้วคิดว่าตัวเองเป็นการเรียนรู้แบบ VISUAL เมื่อเทียบระหว่างการที่จะทำอะไรก็ตาม อย่างการที่จขับรถไปที่ไหนสักแห่ง จะสามารถเข้าใจการเดินทางโดยดู google map ไ้ดีกว่า เพียงอ่านวิธี เส้นทางเท่านั้น เพราะการดูภาพการเดินทางของgoogle map เข้าใจเห็นภาพทำให้นึกออกว่าจะเดินทางยังไง หรือการดูclip ทำอาหาร จะสามารถทำอาหารได้เข้าใจขั้นตอนมากกว่า เพียงแต่อ่านขั้นตอนเท่านั้น หรือในการทำงานที่ต้องกรอกฟอร์มวีซ่าต่างๆ การได้เห็น อ่านตามแบบจะสามารถเข้าใจในการกรอกฟอร์ม มากกว่าเพียงแค่ฟังคนอื่นแนะนำให้กรอก ทั้งนี้นั้นยังไงก็ตามการลงมือทำเองเป็นการยืนยันว่าเราสามารถเข้าใจถูกต้องดีที่สุด

นางสาว ปิรันญา ยีมิน MBA#KKU BBK 555740490-9

ขอบคุณค่ะ

นส.ปิยะทราวดี ฮมภิรมย์ ID : 555740489-4

HW :หัวข้อ เรื่องVAK

V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จากที่เข้าเรียน ในClass
รู้สึกได้ว่าV=Visual รับรู้ด้วยภาพนั้นคือตัวเองมากที่สุด

ที่ผ่านมา
ส่วนตัวสามารถจดจำเรื่องราว ทั้งส่วนตัวและสิ่งที่พบเจอ มาเป็นภาพ รับรู้สามารถสร้างภาพ
ด้วยจินตนาการ ได้เสมอ ...ในด้านการทำงาน ทำงานเป็น ส่วนกลาง ในด้าน งาน Marketing ยิ่งเพิ่มความชัดเจนให้แน่ใจว่า เราคือ Visual จริงๆ หลังจากที่ได้เรียนจบ Class
ในการทำงาน :ซึ่งต้องประสานงานกับ ทีม Marketing ทั่วประเทศ 77 จังหวัดมากกว่า 80 คนจะต้องใช้ การรับรู้ด้วยภาพ จริงๆ บวกกับประสบการณ์ , การสื่อสาร และจินตนาการ ทำให้ Get ในงานที่ทำ และต้องสามารถอธิบาย เป็นภาพ เป็นเรื่องราวให้ ผู้ร่วมงานคนอื่นเข้าใจและประสานงานได้ อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างในงาน เช่นการประสานงานการวางแผนการตลาด ในจัด Roadshow , Eventต่างๆ ,Layout , Booth ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสนใจ โดยใช้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
ซึ่งต้องเข้าใจด้วยการรับรู้ด้วยภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ อย่างจริงๆ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานมากที่สุด

****จึงคิดว่า ตัวเอง คือ มนุษย์ประเภท V=Visual รับรู้ด้วยภาพเพราะสามารถ

เข้าใจ ภาพ ทั้งในชีวิตส่วนตัวและเรื่องงานได้ดีกว่า การเขียน และ การรับรู้ด้วยความรู้สึก****

ตัวอย่าง สิ่งที่ใช่ ที่คิดว่า ตัวเอง คือ V=Visual ในการทำงาน สามารถ Get และเข้าใจได้ ดี มากกว่าการอธิบายด้วยอักษร

===================================================================

สำหรับงานอดิเรกหรือสิ่งที่สนใจ เช่น การอ่านหนังสือ ก็ชอบอ่าน หนังสือประเภทที่มี ภาพ มากกว่า

หรือการค้นหาจากอินเตอร์ที่มีภาพ มากกว่ามีตัวอักษรตัวอักษรเยอะๆ

การเรียนรู้วิธีต่างๆ จาก VDO มากกว่าการอ่านแบบที่มีอักษร เยอะๆ
เช่น

-วิธีการถักผมเปีย , ผ่านภาพถ่ายและ VDO

-วิธีการทำอาหาร , ทำขนม ผ่านภาพถ่าย และ VDO

-วิธีการฝึกโยคะ ตัวเอง , ผ่านภาพถ่าย และ VDO

-วิธีการลงโปรมแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง ผ่านวิธีบอกเป็นภาพ และ VDO เข้าใจมากกว่าการอ่าน

- วิธีการใช้ชีวิต ในทุกๆวัน เป็นสเตป มีการวางแผนล่วงหน้า และ เป็น แบบแผน เชื่อมโยงเรื่องราว

- อยู่กับวัน เวลา เตือนสติ ตัวเองตลอด ชอบบันทึกเรื่องราวผ่านปฎิทิน

- ชอบจดบันทึกเรื่องราว ด้วยรูปถ่าย มากกว่า เป็นข้อความ

และในบางครั้งก็ชอบเก็บเรื่องราวที่ประทับใจเป็นภาพ มากกว่าการเขียน เช่นกัน ค่ะ

ในภาพมองแล้วสามารถเข้าใจได้เลย ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องอธิบายก็สามารถเข้าใจ ความรู้สึก

ขอบคุณค่ะ

ปิยะทราวดี ฮมภิรมย์

ID : 555740489-4 Executive MBA KKU BKK

3 – มค. -57

นางสาว ชนกพร คำมูล MBA#KKU BBK 55574078-9

จากที่ได้เรียนในเรื่องVAK แล้วคิดว่าตัวเองเป็นการเรียนรู้แบบ K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

สังเกตได้เด่นชัดจากการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของตนเอง เนื่องจากเรียนมาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลเป็นแบบท่องจำมาโดยตลอด ทำให้สามารถเข้าสอบได้ แต่ไม่ได้มีความเข้าใจในเนื้อหา รวมไปถึงการนำไปใช้ พยายามที่จะเรียนพิเศษโดยเฉพาะช่วงเอนทรานซ์ ซึ่งจากการสอบ 2 ครั้ง ก็ได้คะแนนเท่าเดิม จนกระทั่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็เลือกเรียนในสาขาที่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ไม่ทันเพื่อน จนเรียนจบและเข้าทำงานที่สายการบินแห่งหนึ่ง รู้ตัวเลยว่าเราอ่อนภาษาอังกฤษมาก โดยเฉพาะหลักแกรมม่า จึงตัดสินใจไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย และโชคดีมากที่ได้พบอ.แอนดรู ซึ่งอ.มีวิธีการสอนที่แตกต่างจากประเทศไทยมาก โดยมีการให้เล่นเกมส์ ให้สนทนากันในคลาสตามหัวข้อต่างๆทุกวัน พาออกไปนอกสถานที่เพื่อทดลองใช้ภาษาอังกฤษจริงๆ ฝึกฟังสำเนียง และอีกมากมายที่เราไม่เคยได้รับจากการเรียนหนังสือที่เมืองไทย ทำให้เรารู้สึกสนุก อยากไปเรียน เพื่อนร่วมชั้นเรียนก็น่ารัก ช่วยกันเรียน จนทำให้เราได้ทักษะภาษาอังกฤษกลับมาครบทุกด้าน สามารถทำงานในบริษัทฝรั่งได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร มีเจ้านายและเพื่อนร่วมงานเป็นชาวต่างชาติ พูดคุย เขียนe-mail และเข้าประชุมกันเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เรารู้สึกภูมิใจมาก และคิดว่าอยากจะนำการศึกษาแนวนี้มาปรับใช้ในเมืองไทย เพื่อให้นักเรียนที่มีการเรียนรู้ต่างกัน สามารถเข้าใจตรงกันได้

นางสาว ชนกพร คำมูล MBA#KKU BBK 55574078-9

ขอบคุณค่ะ

นส.วรินทิรา บัวเอี่ยม MBA KKU BKK ID : 555740499-1

ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า “ VAK”

จากการทำ Work Shop ใน Class เรียนแล้ว ทำให้ได้รู้ว่าตัวเองมีระบบการเรียนรู้เป็นแบบ Auditory (A) โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้

Auditory (A) คือ การรับรู้ด้วยเสียง โดยจะต้องผ่านการฟัง อ่าน และมีการเขียน รวมทั้งความเข้าใจกับสิ่งๆนั้นก่อนที่จะนำมาถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นที่เข้ามาสอบถามหรือต้องการหาคำตอบ ขอยกตัวอย่างแบบ A คือ ด้วยตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนเองทำงานอยู่ คือ Marketing Coordinator Executive นั้นก่อนที่จะทำการขายสินค้าให้กับลูกค้าหรือต้องการอธิบายสินค้า ตัวเราจะต้องทำเข้าใจในตัวสินค้าก่อนว่า มีกระบวนการ ขั้นตอน อย่างไรบ้าง รวมทั้งสรรพคุณ ข้อดี ข้อเสีย และคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของสินค้าที่ลูกค้าเมื่อซื้อสินค้าไปแล้วมีอะไรบ้าง รวมทั้งจะต้องทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ เช่น Engineer , Production Planning, Logistic , Warehouse and Finance Accounting และสุดท้ายก็ คือ ลูกค้า ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้กล่าวม่าล้วนแล้วมีหน้าที่แตกต่างกันทั้งนั้น ซึ่งเราจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งคนกลางในการประสานงานให้กับหน่วยงาน เพราะจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากลูกค้ามาสื่อสารหรืออธิบายว่าลูกค้ามีความต้องการอะไรบ้าง แบบไหน จำนวนเท่าไหร่ รวมทั้งจะต้องจัดส่งสินค้าให้วันไหน หรือจ่ายค่าสินค้าอย่างไร ซึ่งตัวเรานี้จะต้องนำข้อมูลที่ได้ทำการคุยหรือเจรจาตกลงกับลูกค้ามาให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานและทำการส่งสินค้ารวมทั้งเก็บเงินชำระค่าสินค้าจากลูกค้าได้และทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและการบริการของเรา ซึ่ งสิ่งเหล่านี้และวิธีการต่าง ๆ คือ จากการที่เราได้รับการเรียนรู้ อบรม และผ่านการประเมินการทำงานมาแล้วทั้งสิ้น ตามกระบวนการและวิธีการปฎิบัติงาน ตามระเบียบและวัฒนธรรมขององค์กรนั่นเอง

นส. ปิยรัฐ ป้องประทุม 555740404-8 MBA KKU BKK

จากการเรียนรู้ เรื่อง VAK และมองดูตัวเอง มองว่าตัวเองมีระบบรับรู้ 2 แบบ คือ Visual กับ Kinesthetic คะ ต้องเห็นและทำควบคู่กันไปจึงจะเข้าใจดีเยี่ยม คะ

ในคลาสเรียนต่างๆ จะชอบและรู้สึกเข้าใจที่สุดคือช่วงเวลามีกิจกรรมทำ workshop ที่จะทำให้ระบบสมองและการรับรู้เข้าใจดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง คลาส ท่านอาจารย์ Victor ที่ อ. ให้โจทย์มา แล้วทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ตอนแรกไม่เข้าใจคะว่าจะเป็นไปได้อย่างไร พอลองทำ ก็เลยเข้าใจถึง จุดประสงค์ที่ทำ และ การใช้ความรู้ แชร์ข้อมูลซึ่งกันและกันคะ

นายกำพล โทวนิช รหัส 555740355-5

จากที่เรียนกับอาจารย์ในเรื่อง VAK ซึ่งแต่ละตัวย่อมาจาก V=Visual รับรู้ด้วยภาพ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก และผมก็กลับไปพินิจพิเคราะห์ในหัวสมองแล้ว ซึ่งผมคิดว่าในทุกๆคนจะมี 3 อย่างนี้รวมกันอยู่ในทุกๆคนแล้วเพราะบางครั้ง บางอย่างไม่สามารถรับรู้ได้จากตัวใดตัวหนึ่งอย่างเดียวต้องมีการรับรู้เป็นส่วนประสมกันเพื่อจะได้รับข้อมูลนั้นอย่างถูกต้อง ซึ่งในส่วนของผมนั้นผมคิดว่า V=Visual รับรู้ด้วยภาพ เป็นทักษะหลักของผม และ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง และ K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก เป็นทักษะรองลงมา โดยที่ผมคิดว่าผมรับรู้ด้วยภาพเป็นหลักเพราะว่าเวลาผมคิดอะไรจะเหมือนตามทฤษฎีที่อาจารย์บอก แต่ที่สำคัญคือ เวลาผมทำงานต่างๆ เช่นเวลาลงโปรแกรม Software ต่างๆ ถ้าผมนั่งอ่านวิธีการลงโปรแกรมจะทำให้ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ถ้าเปิดเข้าไปดูใน เวปไซด์ต่างๆ โดยใช้รูปหรือภาพเคลื่อนไหวจะทำให้เข้าใจอย่างรวดเร็ว

นางสาวธนาทิพย์ สีทาโส รหัส 555740364-4

"VAK"

จากการศึกษาระบบการเรียนรู้ "VAK" พบว่าการเรียนรู้ของตัวเองที่เด่นที่สุดคือ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ เมื่อมองกลับมาพิจารณากระบวนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบในตนเองก็พบว่าตัวเองมักจะสามารถเรียนรู้ ศึกษา หรือจดจำสิ่งต่างๆได้ดีจากการรับรู้ด้วยการมองมากที่สุด โดยสังเกตุตอนการอ่านหนังสือสอบ ทุกครั้งฉันมักจะวาดเป็นภาพประกอบ ทำ Mind Map ของตัวเอง รวมถึงการระบายสี ขี้เส้น ทำไฮไลท์ที่ตัวหนังสือ และเมื่อทำอย่างนี้แล้วทำให้ฉันสามารถจดจำได้ดี ตอนอยู่ในห้องสอบก็จะนึกภาพหน้ากระดาษที่จดลอยมาในหัวได้อย่างดีเลย หรือการดูหนัง หรือละครด้วยตัวเอง ก็จะสามารถจดจำเนื่อหาได้ดีกว่าตอนที่เพื่อนๆเล่าให้ฟัง ส่วนการเรียนรู้ของตัวเองที่ทำได้ดีในลำดับต่อมาคือ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง สำหรับวิชาที่ต้องการทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก ฉันก็มักจะอัดเทปการบรรยายของอาจารย์เอาไว้ เพราะฉันไม่สามารถจะเข้าใจได้ในครั้งเดียว ฉันมักจะนำมาเปิดซ้ำเพื่อเป็นการทบทวนบางทีอาจต้องฟังถึง 3 หรือ 4 ครั้งเลยทีเดียว แต่สำหรับการเรียนรู้อย่างสุดท้าย K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก ฉันว่าฉันทำได้ไม่ดีซักเท่าไหร่นัก ฉันไม่ชอบที่จะต้องลงมือทำอะไรมาก หรือถ้าต้องลงมือทำมักจะทำไม่เสร็จ แต่อย่างไรก็ตามฉันคิดว่าคนเราต้องพยายามพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเองให้ดีขึ้น ถ้าเรารู้ว่าเราด้อยในสิ่งไหน เราก็ควรที่จะปรับปรุง ฝึก และพัฒนาให้ดีขึ้น

ขอบคุณค่ะ

นางสาวธนาทิพย์ สีทาโส รหัส 555740364-4 MBA KKU #Young 10

น.ส.ผกากรอง วงศ์กาลตรัย รหัส 555740371-7

ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK

จากการเรียนรู้กับอ.ในคลาสเรียน เรื่องระบบการเรียนรู้ VAK V-Visual รับรู้ด้วยภาพ

A-Audio รับรู้ด้วยเสียง K-Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก จากการพิจารณาการเรียนรู้ทั้ง 3 แบบ คิดว่าตัวเองมีการเรียนรู้แบบ V-Visual รับรู้ด้วยภาพได้มากกว่าการรับรู้แบบอื่นๆ เพราะ ส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบงานเย็บปักถักร้อย ชอบงานDIY จึงมักจะจดจำรูปแบบ หรือไอเดียต่างๆที่ได้เห็น กลับมาทำเองที่บ้าน หรือเปิดดูวีธีทำตามอินเตอร์เน็ต เพื่อหาขั้นตอนการทำที่เป็นภาพ เพราะรู้สึกว่าการอ่านขั้นตอนการทำที่เป็นตัวหนังสือ ไม่ค่อยเข้าใจและเวลาอ่านหนังสือส่วนมากก็จะสรุปออกมาเป็น Mind Map เพื่อสรุปให้ตัวเองเข้าใจได้ง่ายขึ้นและจำได้ดีขึ้น การรับรู้ที่ดีในลำดับต่อมาคือ A-Audio รับรู้ด้วยเสียง แต่อาจจะต้องให้เวลาในการฟังซ้ำ 2 – 3 รอบ เพื่อให้เข้าใจ และลำดับความคิดเป็นแผนภาพ ซึ่งคิดว่าการรับรู้ในส่วนนี้การนำเอา Dialogue มาใช้ฝึกฝนให้เป็นผู้ฟัง น่าจะช่วยให้การรับรู้ในส่วนนี้พัฒนาขึ้นได้อีก

นางสาวจิราภา วงศ์กาลตรัย 555740357-1

ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK

จากที่ได้เรียนเรื่อง ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK คิดว่าตัวเองตรงกับการเรียนรู้แบบ V = Visual คือการรับรู้ด้วยภาพ เหตุผลที่คิดว่าตัวเองตรงกับการเรียนรู้แบบ V เพราะว่า มีเพื่อนที่ชอบมาเล่าเรื่องภาพยนตร์ให้ฟังบ่อยๆ ว่าเรื่องนั้น เรื่องนี้สนุก แต่เราก็ไม่ค่อยเชื่อเพื่อน เพราะเราจิตนาการตามได้ไม่สนุกเท่าที่เพื่อนบอก ทำให้เราพลาดดูภาพนตร์ดีๆ สนุกๆไปอย่างน่าเสียดาย จนเราเริ่มลองหาภาพยนตร์ที่เพื่อนบอกว่าสนุกมาดู ปรากฎว่า มันสนุกเหมือนที่เพื่อนบอกจริงๆ การที่เราได้ดูภาพประกอบกับคำบรรยายที่เพื่อนเคยบอกไว้ ทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และยังสมารถนำข้อคิดมาคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนได้อีกด้วย และอีกตัวอย่างนึงก็คือ เวลาอ่านหนังสือ มักจะไม่ค่อยเข้าใจเวลาอ่านหนังสือที่มีแต่ตัวอักษร ถ้าเล่มไหนที่มีรูปภาพ หรือการ์ตูนอธิบายร่วมด้วยจะทำให้เราอ่านได้นานขึ้น และเข้าใจมากขึ้น

ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK

ตัวย่อมาจาก

V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

หลังจากที่ได้เรียนใน Class แล้วคิดว่าตัวเองมีระบบการเรียนรู้แบบ Visual รับรู้ด้วยภาพ ซึ่งจะสังเกตุได้จาก ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือทำงาน จะต้องมีการวาดภาพ ออกมาคร่าวๆก่อน ว่าเนื้องานหรือเรื่องที่จะเรียนรู้เป็นแบบไหน อะไรบ้าง ?

งานที่ทำคือเป็นเซลล์จะต้องมีการเก็บข้อมูล ความต้องการของลูกค้าก่อน ซึ่งเรื่องราวที่คุยกันนั้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เรื่องของ Technology เรื่องของ Network และอุปกรณ์ เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ก่อนไปหาลูกค้าจะต้องเตรียมกระดาษ ปากกาไว้เพื่อวาดภาพระหว่างการสนทนาคร่าวๆและจดเรื่องราวต่างๆ ว่าสิ่งลูกค้าต้องการคืออะไร เพื่อที่จะทำความเข้าใจแล้วไปบอกรายละเอียดให้กับ Back office รับฟังเตรียมประสานต่อ ( ในบางครั้งถ้าจดเป็นตัวหนังสือยาวๆ เยอะๆ อ่านก็ไม่ออก อีกอย่างจดไม่ทันด้วย ^__^ ) การวาดภาพอุปกรณ์ทำให้เข้าใจมากขึ้นและเพื่อนร่วมทีมก็สามารถเข้าใจง่ายขึ้น

อีกเรื่องที่สามารถรู้ได้ว่าตัวเองเป็นคนที่มีระบบการเรียนรู้ด้วยภาพ คือ มักจะมีการวางแผนออกมาเป็นภาพ Process ของการดำเนินชีวิตว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไหร่ และจะไปทางไหน (บางทีจินตนาการออกมาเป็นภาพเพื่อให้เข้าใจ) ถ้าหากจดลงในหนังสือยาวๆมักจะไม่ค่อยกลับมาอ่าน ถ้าเป็นจินตนาการหรือรูปภาพจจะจำได้แม่น!เลยค่ะ

น.ส.รัตนาภรณ์ รุ่งเลิศสกุล MBA KKU Y-10_Weekday

จากการเรียนกับอาจารย์ในคลาส เรื่อง VAK

ดิฉันพบว่า การเรียนรู้ที่เด่นชัดของตัวเองอันดับหนึ่ง คือ V=Visual การรับรู้ด้วยภาพ เพราะทุกวันนี้ดิฉันได้เปิดร้านค้าออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสั่งซื้อเสื้อผ้าด้วยภาพ ใช้การสื่อสารด้วยภาพ พอเห็นแบบที่ส่งมาก็เป็นอันเข้าใจว่า รายละเอียดของเสื้อผ้าแตกต่างกันอย่างไร แล้วก็นำมาเขียนรายละเอียดเพื่อโฆษณาขายในอินเตอร์เน็ต เมื่อเห็นภาพดิฉันก็สามารถจินตนาการไปได้เรื่อยๆ ทำได้ดี จำได้แม่น ,การรับรู้ด้วยเสียง A=Audio ดิฉันจะไม่ค่อยเข้าใจการรับรู้ด้วยเสียงเท่าที่ควร เพราะ ไม่ชอบมีสมาธิในการฟังสักเท่าไหร่ ถ้ามีเพื่อนเล่าเหตุการณ์ที่เขาไปเจอมา ดิฉันจะไม่ค่อยตั้งใจฟัง จะฟังผ่านๆ ถ้าเป็นเรื่องที่ดิฉันไม่เคยเจอมาก่อน ก็จะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วงง ต้องมีการเล่าซ้ำหลายๆครั้ง ให้สมองได้จินตนาการตาม และ การรับรู้ด้วยความรู้สึก K=Kinesthetic ก็เหมือนๆกัน อย่างไรก็ตามดิฉันก็ควรที่จะปฏิบัติตัวใหม่เพื่อให้เกิดการรับรู้ทั้ง 3 อย่างได้สอดคล้อง และทำได้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กฤษณ์วัชร อรุณวัชรพันธ์ 555740383-0 MBA KKU BKK

เมื่อวันที่ 11 - 13 มกราคม ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ผมได้ประสบการณ์มากมายที่อยากจะมาแชร์ให้ฟังครับ ซึ่งผมขอยกตัวอย่าง 2 ที่ครับ คือ มหาวิทยาลัย ลี กวน ยู และสถานทูตไทยแห่งสิงคโปร์

***มหาวิทยาลัย ลี กวน ยู ผมได้ร่วมเข้าฟังอธิการบดีของมหาวิทยาลัยพูดถึงความเป็นมาของประเทศสิงคโปร์ ว่าสิงคโปร์ทำอะไรบ้าง และคิดจะทำอะไรต่อไปในอนาคต ในการเข้าฟังครั้งนี้ผมประทับใจอยู่สิ่งหนึ่งซึ่งผมให้เกิดความรู้สึก wow (ใน Theory U) คือประเทศนี้มีคนหลายเชื้อชาติ แต่ประเทศเค้าสามารถทำให้คนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกันและพร้อมที่จะพัฒนาประเทศ!!! ฟังดูแล้วผมขนลุกมากครับ ซึ่งเมื่อนำการศึกษาดูงานครั้งนี้มาสอดคล้องกับเรียนรู้ VAK ที่อาจารย์ภิญโญ ได้สอนไป ผมคิดว่าการเรียนรู้ผมในครั้งนี้คงเป็นแบบ A และ K กล่าวคือการเข้าฟังครั้งนี้ใช้เพียงสไลด์ไม่กี่หน้า อีกทั้งยังมีเพียงการถามตอบทั้งนั้น แต่บางคงอาจจะงงว่าทำไมผมมีการเรียนรู้แบบ K เนื่องจากการเรียนรู้จากการฟังทำให้ผมรู้สึกได้ว่าประเทศนี้น่าอยู่ น่าลงทุนทำธุรกิจ และน่าใช้ชีวิตอยู่

***สถานทูตไทยแห่งสิงคโปร์ ผมได้มีโอกาสพบท่านรองฝ่ายการพาณิชย์ซึ่งท่านดูแลและประสานงานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้สินค้าของไทยสามารถขายในประเทศสิงคโปร์ได้โดยหาช่องทางและคู่ค้าให้ ในการฟังครั้งนี้ท่านได้เปิดสไลด์ที่สามารถเห็นภาพการทำงานในสถานทูตได้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ผมสามารถเห็นโอกาสทางธุรกิจได้ง่ายออกมาเป็นภาพ นอกจากนี้ยังมีการถามตอบโดยเพื่อนๆที่ไปด้วยกันถามเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจในสิงคโปร์ของพวกเขา และท่านรองสามารถตอบคำถามได้อย่างเห็นภาพ จากการเรียนรู้ครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ผมเรียนรู้แบบ A V K ตามลำดับ จากการฟังและอธิบายของท่านรอง พร้อมกับการนำเสนอด้วยสไลด์ ทำให้ผมเห็นภาพและมีความรู้สึกว่า "โอกาสทางธุรกิจในสิงคโปร์ ผมสามารถทำได้"

การจากศึกษาดูงานครั้งนี้เมื่อนำมาสอดคล้องกับการเรียนรู้แบบ VAK ผมคิดว่าขั้นตอนการเรียนรู้ที่เหมาะสมของผมคือ

(A) ------------------> (V) --------------------> (K)

และเมื่อนำมาสอดคล้องกับแนวคิด Dialogue ของ Theory U คือ

(A) -----------------------------> (V) --------------------------------------> (K)

ห้อยแขวนจากการฟัง --------> การเปลี่ยนแปลงเมื่อเห็นภาพ --------> คาดว่าสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ด้วยความรู้สึก

****คาดไม่ถึงจริงๆ ว่าผมสามารถโยงเข้าหากันได้ครับ ^_^

จากการเรียน VAK Learning Style นั้น ผมได้ทราบถึงการเรียนรู้ 3 วิธี คือ การเรียนรู้ด้วยภาพ (Visual) การเรียนรู้ด้วยเสียง (Audio) และการเรียนรู้ด้วยความสัมผัส (Kinesthetic) ผมว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดว่า คุณต้องเรียนรู้วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่การเรียนรู้นั้นอาจจะมีการลำดับการเรียนรู้ เช่น ปกติในช่วงที่มีการสอบวิชาต่างๆ ผมเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ด้วยความสัมผัส โดยการลงมือทำจริงๆ มากกว่า เพราะจะได้คุ้นเคยกับสิ่งที่ทำมากกว่า จากนั้นเราก็จะเขียนสิ่งนั้นออกมาเป็น ภาพ เป็น Flow เพื่อให้เข้าใจง่ายในครั้งต่อไป และมีการทบทวนสิ่งต่างๆ ด้วยการฟังอีกครั้ง เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่าผมเรียนรู้ทั้ง 3 วิธี สิ่งช่วยหนุนกันให้เรียนรู้ได้ไวและเข้าใจง่าย ขอบคุณอาจารย์ที่สอนวิธีเรียนรู้อีกครั้ง ^ ^

เมื่อเปรียบเทียบประเภทสไตล์ในการเรียนรู้ตามการแบ่งลีลาการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual Learner)

2) ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner)

3) ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic Learner)

แต่หากนำสภาวะของบุคคลในขณะที่รับรู้ข้อมูลซึ่งมีอยู่ 3 สภาวะคือ สภาวะของจิตสำนึก (Conscious) จิตใต้สำนึก (Subconscious)และจิตไร้สำนึก (Unconscious)

เข้าไปร่วมพิจารณาด้วย แล้วนำองค์ประกอบทั้ง 2 ด้านคือ องค์ประกอบด้านช่องทางการรับข้อมูล (Perceptual pathways) กับองค์ประกอบด้านสภาวะของบุคคลขณะที่รับรู้ข้อมูล (States of consciousness) มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแบ่งลีลาการเรียนรู้ออกได้ถึง 6 แบบ

สรุปว่าประเภทการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับตนเองมากที่สุด คือ V-A-K หรือ V-K-A ซึ่งหมายถึง เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้อ่านและได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้อื่นฟัง เป็นเด็กดีที่ขยันเรียนหนังสือ และเรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้ลงมือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า และได้ตั้งคำถามถามไปเรื่อย ๆ โดยปกติจะชอบทำงานเป็นกลุ่ม แต่ก็ไม่ได้ทิ้งการเล่นกีฬาเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เป็นประจำ

นายสิทธิพงษ์ เอี่ยมอร่าม 555740378-3 Y10WD MBAKKU BKK

VAK คือ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

จากการเรียนในชั้นเรียนของ อ.ภิญโญ ทำให้ผมได้เข้าใจตัวเองยิ่งขึ้นว่า เรียนรู้ได้จาก Visual คือการเรียนรู้ด้วยภาพมากที่สุด ทำให้ผมสามารถจดจำเรื่องราวที่เรียนรู้ได้มากที่สุด และยิ่่งได้เรียนแบบผสมคือ V+A จะทำให้จดจำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และทั้งสุดท้าย K เข้ามาตามลำดับจะสามารถทำให้ทุกคนมีความจำในเรื่องราวต่างๆได้มากยิ่งขึ้น

V--------->A--------->K = Knowledge

พรพนา ธรรมจิตรสกุล 555740408-0 Y#10 MBAKKU

จากระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK ของ อ.ภิญโญ

V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

หลังจากที่ได้เรียนใน Class แล้วคิดว่าตัวเองมีระบบการเรียนรู้แบบ (Kinesthetic Learner) เนื่องจากปัจจุบันดิฉันรับผิดชอบงานดูแลลูกค้า และส่วนงานบ้างส่วนต้องโทรศัพท์ติดต่อลูกค้าเพื่อสอบถามรหัสร้าน7-Elevenที่ลูกค้าจะรับสินค้า การที่ลูกค้าจะแจ้งสถานที่รับสินค้า ลูกค้าต้องแจ้ง จังหวัด อำเภอ ตำบล ซอย และสถานที่ใกล้เคียง เมื่อลูกค้าได้แจ้งสถานที่หมดแล้ว ทางดิฉันก็นึกภาพตามสถานที่นั้น และทำการค้นหาข้อมูลไฟล์ร้าน7-Elevenพร้อมไปด้วย และเมื่อตรวจสอบข้อมูลแล้ว จะได้รหัสร้านและชื่อร้าน 7-Elevenที่ลูกค้าจะเลือกรับสินค้า แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการที่เราไม่นึกภาพตามสถานที่ที่ลูกค้าแจ้ง หรือไม่ค้นหาข้อมูลร้านทันที จะทำให้เรานึกภาพไม่ออกว่า สถานที่ร้าน7-Eleven สาขานั้นจะตั้งอยู่ตรงไหน เนื่องจากปัจจุบันร้าน7-Elevenมีจำนวนมาก ซึ่งบางร้านจะไม่ตั้งชื่อร้านตามสถานที่นั้น และเพื่อให้งานลุล่วงไปด้วยดี พร้อมกับตรวจสอบร้าน7-Elevenที่ถูกต้อง จึงต้องมีการติดต่อลูกค้าทุกรายที่มาเข้ามาใช้บริการ...สรุปได้ว่า คิดว่าตัวเองเป็น มีระบบการเรียนรู้แบบ (Kinesthetic Learner)คะ

รชาดา โพธิ์ศรี 555740452-7 MBA KKU BKK

จากการความรู้เรื่อง VAK กลับมาประเมินตนเอง พบว่าตนเองเป็นคนประเภท Kinesthetic ผสม Visualนิดๆคือเป็นคนที่สามารถเรียนรู้และจดจำได้เป็นอย่างดีผ่านการทำและเห็นภาพประกอบ ดังจะเห็นได้จากการที่ตนเองเป็นคนชอบวิชาที่มีการทดลอง ลงมือปฎิบัติจริงๆ หรือการทำWorkshop ซึ่งลักษณะนิสัยส่วนตัวจะเป็นคนพูดติดปากเสมอเวลาได้เรียนรู้อะไรใหม่ว่า “มาลองทำกันเถอะ” นอกจากนี้ยังชอบการจดบันทึกเป็นภาพด้วยซึ่งจะอ่านรู้เรื่องอยู่คนเดียว

หลายๆครั้งที่คิดอะไรแล้วลงมือทำเลย ผิดบ้างถูกบ้างแต่ขอให้ได้ทำ เหมือนชอบการศึกษาผ่านการปฎิบัติ เนื่องจากเป็นคนที่เชื่อมั่นตลอดเวลาว่าเราจะไม่มีวันพูดว่าทำไม่ได้ถ้าเรายังไม่ได้ลงมือทำ ที่เห็นได้ชัดๆคือ การลาออกมาช่วยสามีทำธุรกิจด้วยการเริ่มธุรกิจจากศูนย์โดยเริ่มก่อตั้งจดทะเบียนและหานายทุนเอง ออกแบบโลโก้ นามบัตรเอง ดูบัญชี ติดต่อลูกค้าเมืองนอก วางบิลเก็บเช็คเอง นอกจากนี้ยังมีแผนจะเปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย โดยแนวคิดธุรกิจนี้เกิดมาจากการค้นพบข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ที่สำคัญในจังหวัดราชบุรีในระหว่างการเก็บข้อมูลวิชาวิจัยในเทอมก่อน ว่าจังหวัดนี้มีสัดส่วนของประชากรเด็ก(รวมเด็กที่เข้ามาศึกษาจากจังหวัดใกล้เคียง)ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับจังหวัดโดยรอบ เนื่องจากตัวจังหวัดเองเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันตกอยู่แล้ว นอกจากนี้ผู้ปกครองของเด็กที่สนใจให้ลูกเรียนพิเศษ ยังมีรายได้ต่อครอบครัวค่อนข้างสูงและที่เรียนที่มีให้บริการอยู่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ปกครอง สำหรับการเริ่มธุรกิจใหม่นี้ก็เป็นการตอกย้ำถึงกระบวนการเรียนรู้ของตนเองว่าตนเองเป็น Kinesthetic อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตนเองตั้งใจจะทำการสอนเองด้วยส่วนหนึ่งจึงต้องเข้าไปเข้าร่วมอบรมครู ทำให้ค้นพบว่าตนเองชอบการเรียนรู้ผ่านการฝึกสอน โดยดูตัวอย่างการฝึกสอนจากครูต้นแบบ แล้วสามารถนำมาปรับใช้เป็นรูปแบบของตัวเองได้จนได้รับFeedbackที่ดีจากอาจารย์ผู้ประเมินการสอน

นายกฤช กล่อมสิงห์555740382-2 WE Y#10 MBAKKU

จากการเรียนรู้เรื่อง VAK Learning System ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มนึงที่ผมเคยอ่านมีชื่อเรื่องว่า "เปลี่ยนตัวเองใหม่ใน 5 นาที" เป็นหนังสือรูปภาพประกอบการอ่านที่ส่งต่อเทคนิกความรู้ในการปรับปรุงพฤติกรรมแย่ๆและความคิดด้านลบในชีวิตประจำวันของเราให้ดูดีขึ้น ลงไปในรูปแบบการวาดภาพและมีแบบทดสอบให้ผู้อ่านปฏิบัติตาม ซึ่งผมได้อ่านและลองปฏิบัติตามหนังสือทำให้ผมทราบว่าการรับรู้ที่เหมาะกับตัวเองคือ การรับรู้ด้วยภาพที่เรามองเห็น(Visual) เป็นการทำความเข้าใจที่ง่ายที่สุด และหลังจากนั้น หากมีการปฏิบัติหรือลงมือทำในสิ่งที่รับรู้มา(Kinesthetic) จะทำให้ผมรับรู้และเข้าใจได้ยิ่งกว่าแค่การมองเห็น ดั่งเช่น การอ่านหนังสือรูปภาพเรื่องนี้ ทำให้สิ่งเล็กๅน้อยๆในชีวิตประจำวันของผมถูกปรับปรุงได้อย่างง่ายดาย

นางสาวตติยา ธนเดชาพาณิชยกุล 555740361-0 Y-10(WD)

จากการเรียนกับอาจารย์ในClass เรื่อง VAK Learning System

จากการพิจารณาจากตัวเอง ดิฉันพบว่าในการเรียนรู้อะไรทุกครั้ง ในเรื่องของการทำงานนั้น ดิฉันคิดว่าตัวเองเป็นประเภท Visual และ Kinestheic เพราะ เมื่อดิฉันได้เรียนรู้อะไรที่เป็นงานใหม่ๆ เมื่อหัวหน้าสอนขั้นตอนวิธีทำงานนั้นดิฉันจะไม่สามารถจำได้เลย จนเวลาที่ลงมือทำจริงดิแันต้องกลัไปถามคนสอนว่ามันทำยังไงนะ ดิฉันจำไม่ได้เลย พี่เขาก็จะชอบตอบมาว่าพี่เคยพูดให้ฟัหมดเเล้วนะ แต่เมื่อดิฉันได้นำ Guide line มาดู ดิฉันสามารถทำตาม Guide line ได้ และก็จะจำขั้นตอนได้ด้วยการได้ลงมือทำ แต่ในบางครั้ง กรณีที่เป็นงานที่เคยทำอยู่แล้ว ได้เรียนรู้จนเข้าถึงตัวงานแล้ว ดิฉันก็เป็นคนประเภท Auditory คือ แค่หัวหน้าบอกว่าต้องการอะไรดิฉันก็สามารถทำมันอกมาตามในสิ่งที่หัวหน้าต้องการได้

ขอบคุณค่ะ

นางสาวปัทมา สืบสหการ ID:555740402-2

จากการเรียน และข้อมูลเพิ่มเติมจาก Blog Gogoknow ของท่านอาจารย์ ทำให้ได้เรียนรู้ "ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK" ที่ตัวย่อมาจาก

1. V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

2. A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

3. K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

เมื่ออ่านบทความจบ ทำให้คิดย้อนกลับมาตัวเอง พบว่าที่ผ่านมาถ้าพูดถึงในเรื่องของการทำงาน จะเป็นคน 2 ประเภท คือ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง และ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ ซึ่งอย่างเช่นเวลาเข้าประชุม เวลาฟังท่านอื่นๆพูดก็จะสามารถเข้่าใจได้ และพอที่จะตีความได้ แต่ได้พบอีกว่า หากการเอาคำพูดของคนเหล่านั้น มาทำความเข้าใจที่ได้จากการรับฟัง รับรู้ด้วยเสียง รวมกับการวาดแผนภูมิออกมา ให้เป็นขั้นตอน เป็น mind map เป็น process จะทำให้เห็นภาพและแสดงถึงความเข้าใจจากการรับรู้ด้วยเสียงได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดภาพดังกล่าวให้กับผู้ร่วมงานท่านอื่นฟังได้อีกด้วย

หรืออีกเรื่องหนึ่ง การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจาก DVD ก็รู็สึกว่า A= Audio รับรู้ด้วยเสียง และ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ ต้องใช้ควบคู่กับไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน ดิฉันจะเป็นคนที่ชอบย้ำในความถูกต้องว่าสิ่งได้รับรู้ด้วยเสียงนั้น เราเข้าใจถูกต้องโดยการขยายความจากการเขียนภาพ หรือ mind map ออกมา

นางสาวหฤทัย วาทีเพชร 555740379 -1 Young10#Week Day

จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนเรื่อง VAK

ทำให้รู้ว่าตัวเองเป็นคนที่เรียนรู้ได้ดีในแบบ V=Visual รับรู้ด้วยภาพ เพราะจะทำให้มองทุกอย่างแบบเป็นรูปเป็นร่าง ลำดับขั้นตอนในการทำทุกอย่าง เห็นภาพชัดเจน เช่น เวลาทำงานถ้าฟังจากพี่คนที่สอนงานอย่างเดียวจะไม่เข้าใจ ต้องมีการวาดแผนภาพออกมาจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและเร็วขึ้น แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดต้องมีการเรียนรู้แบบ A= Audio รับรู้ด้วยเสียง และ K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก ควบคู่ไปด้วย เพราะในบางเรื่องก็ต้องการทักษะในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปคะ

นางสาวปริศนา วิบูลย์ศิริ ID: 555740401-4 MBAKKU BKK

หลังจากที่ได้เรียนเรื่อง VAK ใน Class แล้ว ดิฉัน คิดว่าตัวเองมีระบบการเรียนรู้แบบ Visual คือการรับรู้ด้วยภาพ เนื่องจากเวลาที่คิดอะไรไม่ออก เวลานึกคิด จะกรอกตาขึ้นข้างบน และเวลารับคำสั่งจากเจ้านายที่ทำงาน ก็มักจะจดงานเป็น Mind Map และจะติดปากกาสีๆ หรือปากกาไฮไลท์ เพราะจะทำให้นึกออกได้ง่ายขึ้น ดิฉันเริ่มติดการจดเป็น Mind Map ตั้งแต่ตอนเรียน ป.ตรี วิชาแรกที่เริ่มใช้คือ ภาษาอังกฤษ ที่ดิฉันคิดว่าได้ผลก็เพราะว่าเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.1- ม.6 กลับใช้ Grammar ผิดมาตลอด จำผิดๆ ถูกๆ แต่พอลองจดเป็น Mind Map เท่านั้น ตอนนี้ใช้คล่องมากค่ะ

และคิดว่าตัวเองมีความสามารถในการรับรู้จากการฟัง Audio ได้น้อย เพราะฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา อย่างการฟังเพลง เป็นคนที่ร้องเพลงตั้งแต่ต้นจนจบไม่ได้ เต็มที่ก็ท่อน Hook จริงๆ ที่ร้องไม่จบก็เพราะว่าจำเนื้อเพลงไม่ได้นั้นเอง

ส่วนการรับรู้ด้วยความรู้สึกนั้น Kinesthetic คิดว่าตัวเองไม่มีเลยค่ะ -"-

นางสาวเพชรรัตน์ ชัชวาลย์ ID 555740347-4

จากการเรียนรู้เรื่อง VAK มีความคิดว่าตนเองมีการเรียนรู้แบบ Visual เพราะสังเกตว่าเมื่อเวลาที่นึกอะไรไม่ออก มักจะจำเรื่องราวเหล่านั้นด้วยภาพ เช่น การท่องจำศัพท์ภาษาอังกฤษ เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ศัพท์คำนั้นก็มักจะนึกถึงภาพ dictionary ที่เคยเปิด ก็จะทำให้สามารถจำศัพท์คำนั้นได้ ส่วนการเรียนรู้แบบ Audio คิดว่าตนเองทำได้ไม่ดี เช่น เมื่อวางสายจากการสนทนาทางโทรศัพท์มักจะลืมถึงเรื่องที่สนทนาต้องใช้เวลาในการนึกทบทวน และการเรียนรู้แบบ kinesthetic นั้นคิดว่าตนเองมีการเรียนรู้ในด้านนี้น้อยมาก

น.ส.วรางคณา จุ้ยเจริญ รหัส 555740377-5

จากการเข้าเรียนในชั้นเรียนพบว่าเป็นคนที่เรียนรู้ในแบบ Visual และ Audio โดยสังเกตง่ายๆ ได้จากการเรียนคือจะต้องมีการฟังและมีการแสดงภาพตัวอย่างให้ดู ซึ่งถ้าได้มีการรับรู้ในทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันแล้วก็จะทำให้สามารถรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะศึกษาได้ดีกว่าการรับรู้แบบ kinesthetic

นายริน เสือประสงค์ ID:555740376-7 YMBA10-WD

VAKเป็นคำย่อของV=Visualรับรู้ด้วยภาพA= Audioรับรู้ด้วยเสียงK=Kinestheticรับรู้ด้วยความรู้สึก

จากที่ได้เรียนใน class และลองวิเคราะห์ตัวเองในแบบ VAK พบว่าผมเป็นคนที่เรียนรู้แบบ Visual คือการรับรู้ด้วยภาพ โดยสังเกตได้จากการใช้ชีวิตประจำวันและชีวิตในการทำงาน เช่นเมื่อทำงานผมจะสามารถจดจำวิธีการทำงานต่างๆ ด้วยภาพได้ชัดเจนกว่าการอ่านคู่มือในการทำงานแบบที่ไม่มีภาพ เพราะที่บริษัทของผมนั้นจะมีคู่มือในการทำงานแบบทั้งที่มีภาพประกอบและแบบที่ไม่มีภาพประกอบ ซึ่งผมสามารถรู้ด้วยตัวเองเลยว่าการอ่านคู่มือการทำงานแบบที่มีภาพประกอบนั้นทำให้ผมเข้าใจถึง process ในการทำงานได้ชัดเจนที่สุด และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ การดูแผนที่เวลาไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือไปในที่ต่างๆ ที่ยังไม่เคยไป ซึ่งถ้าเป็นกาบรรยายการเดินทางไปสถานที่นั้นแบบเป็นตัวอักษรจะทำให้ยากต่อความเข้าใจและเกิดความสับสน แตกต่างกับการมองจากแผนที่จะทำให้เข้าใจได้ดีที่สุด

นางสาวภัทราพร นิลละออ 555740373-3

จากการที่ได้เรียน ในห้องเรียนในเรื่องของ

VAKเป็นคำย่อของV=Visualรับรู้ด้วยภาพA= Audioรับรู้ด้วยเสียงK=Kinestheticรับรู้ด้วยความรู้สึก

จึงได้ลองวิเคราะห์ตัวเองจากการเรียนในครั้งนี้และได้พบว่า ตนเองนั้นมีการรับรู้ด้วยภาพ

V=Visualรับรู้ด้วยภาพ และ A= Audioรับรู้ด้วยเสียง คือ โดยปกติเป็นคนที่ชอบเรียนทำอาหารจากการเปิด youtube และได้ลองสังเกตุุตัวเองว่ามีการจำขั้นตอนต่างๆได้ดีแม้ในการทำครั้งต่อไปจะไม่ได้เปิดดูอีกรอบก็ตาม เพราะการดูจาก youtube มีทั้งภาพและเสียงทำให้สามารถจดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งถ้ามีการรับรู้ 2 อย่างนี้พร้อมๆกันแล้วจะทำให้สามารถรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น

นางสาวภัทราพร นิลละออ MBA # YWD 10 ID 555740373-3

จากการเรียนรู้ "ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ VAK" ที่ตัวย่อมาจาก

1. V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

2. A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

3. K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

ทำให้ค้นพบตนเองว่า การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับตนเองคือ การเรียนรู้ด้วย K =Kinesthetic เป็นการเรียนรู้โดยใช้การรับรู้ด้วยความรู้สึก มีการเรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เห็นว่าสามารถทำได้จริง เนื่องจากตนเองเป็นคนสมาธิสั้น จำอะไรไม่ค่อยได้ การรับรู้ด้วยเสียง จึงไม่เหมาะสมกับตนเอง ชอบที่จะเรียนรู้ไปพร้อมกันและเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นก็ต้องลงมือปฏิบัติ ยกตัวอย่างงานที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นงานด้านการขายก็จะต้องเรียนรู้การขาย เรียนรู้รายละเอียดสินค้าและลงมือปฏิบัติการขายทันทีเพื่อให้เกิดความชำนาญ

นางสาวณยานุช คำแหงวงศ์ MBAKKU EX12 วิทยาเขตกรุงเทพ รหัสนักศึกษา 555740437-3

ระบบการเรียนรู้ VAK

เมื่ออ่านบทความจบได้กลับมาย้อนดูตัวเอง คิดว่าตัวเองอยู่ระบบการเรียนรู้แบบ A=Audio การเรียนรู้ด้วยเสียง และ V=Visual การเรียนรู้ด้วยภาพ เพราะดิฉันได้ทำงานอยู่ในธนาคารแห่งหนึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ ซึ่งในหน้าจอการทำการก่อมีการเปลี่ยนแปลงไปหมดเลย จึงมีวิทยากรมาสอนให้ความรู้ถึงวิธีการใช้งาน ซึ่งในการอธิบายครั้งนั้นถ้ามีแต่เสียงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้ไม่เข้าใจและจะนึกภาพตามไม่ออก จนวิทยากรท่านนั้นได้แสดงภาพประกอบจนถึงอธิบายขั้นตอนในการทำงานทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

น.ส. น้ำทิพย์ เศวตวาณิชกุล ID555740367-8 WD/10

ธนนรินทร์ ธัญฐิตเศรษฐ์ Y10 WD ID 555740363-6

หลังจากที่ได้มีโอกาสร่ำเรียนกระบวนวิชา VAK จากปรมาจารย์ ดร.ภิญโญ ข้าพเจ้าคิดว่า ตนเองเป็นพวก Visual กับ kinesthetic แต่ออกจะค่อนไปทาง Visual มากกว่า ในการปฏิบัติงานที่ Office หรือ เวลาที่มาเรียนหนังสือ ข้าพเจ้ามักจะพบกับการเรียนรู้ หรือสื่อสารไปในลักษณะของ Audio ซึ่งบ่อยครั้งข้าพเจ้าจะ งง มากและคิดตามไม่ทัน ทำได้แค่เพียงจดใส่กระดาษ หรือหนังสือให้มากที่สุด แล้วค่อยเอาไปทำความเข้าใจตอนหลัง โดยจะใช้วิธีการเขียนกรอบเรื่อง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวของ สุดท้ายภาพที่ออกมาจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กับ ต้นไม้ที่มีกิ่งก้าน สาขาแตกออกไป (ลำต้นคือหัวข้อ หรือประเด็นหลัก ส่วนกิ่งก้าน เป็นพวกหัวข้อย่อย หรือเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) และหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจจาก Audio โดยใช้ Visual สิ่งที่ทำต่อจากนั้นก็คือ kinestheticแต่กระนั้นก็ตาม ในบางครั้งหรือบางสถานการณ์ ข้าพเจ้าก็มักที่จะเรียนรู้แบบ kinesthetic ได้ดีกว่า Visual ยกตัวอย่างเช่น เวลาซื้อสินค้าที่ต้องมาประกอบเอง ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจรูปภาพวิธีการประกอบที่ให้มา (อาจจะเป็นเพราะคนวาดมันห่วย หรือผมดูไม่เข้าใจเอง) จนสุดท้ายต้องลองประกอบไปแบบผิดๆ ถูกๆ จนสำเร็จ จึงสรุปได้ว่า ข้าพเจ้านั้นเองถนัดที่จะเรียนรู้แบบ Visual แต่ในบางครั้งก็ถนัดที่จะเรียนรู้แบบ kinesthetic

ธนนรินทร์ ธัญฐิตเศรษฐ์ Y10 WDID 555740363-6

นางสาวศิริพร สีหายัก

VAK Learning System

จากการเรียนเรื่อง VAK Learning System

V = Visual การรับรู้ด้วยภาพ

A = Audio การรับรู้ด้วยเสียง

K = Kinesthetic การรับรู้ด้วยความรู้สึก

ทำให้รู้ว่าตนเองสามารถรับรู้ด้วยภาพดีที่สุด
เพราะหลายๆ ครั้งที่เรียนรู้ด้วยการฟังนั้น ต้องใช้จินตนาการเป็นอย่างมากในการฟังแล้วคิดประติดประต่อให้เป็นเรื่องราวเดียวกับที่ฟังอยู่ และทำให้เกิดความเข้าใจให้มากที่สุด ซึ่งการใช้จินตนาการนั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นคนวามคิดส่วนบุคคลที่คิดแล้วจินตนาการเอาเองตามที่ตนได้ยินได้ฟัง ทำให้การจินตนานั้นไม่ได้บ่งบอกว่าถูกต้องเสมอไป และเมื่อเราสามารถเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีแต่หลังจากนั้นก็มักจะลืมแต่แตกต่างจากการเรียนรู้โดยการดูรูปภาพประกอบนั้น ที่มีภาพประกอบที่ถูกต้องและชัดเจน ดิฉันยังคิดว่าเป็นการเพิ่มการจดจำได้เป็นอย่างดี เพราะทุกครั้งที่ต้องการรื้อฟื้นความจำเหล่านั้น มักจะนึกถึงภาพประกอบที่ได้ดูได้เห็นมา ทำให้สามารถนึกได้ว่าเรื่องราวต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง และจะอยู่ในความทรงจำได้เป็นเวลานาน

นางสาวศิริพร สีหายัก 555740349-0 YWD#10

เมื่อผมได้อ่านบทความจบ จึงได้รู้เกี่ยวกับ ระบบการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย V A K

V=Visual รับรู้ด้วยภาพ

A= Audio รับรู้ด้วยเสียง

K=Kinesthetic รับรู้ด้วยความรู้สึก

โดยส่วนตัวจากที่ผมได้ปฏิบัติงาน ซึ่งงานที่ผมปฏิบัตินั้นจะมีรูปแบบลักษณะ เป็นจำพวกงานระบบ (Systems)

ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจของตัวระบบมากที่สุด เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในการเรียนรู้

ผมจะเป็นคนที่มีลักษณะรับรู้ด้วยภาพ ( Visual ) เพราะสามารถทำให้เข้าใจเนื้องานได้เข้าใจมากกว่า

ซึ่งก่อนที่ผมจะปฏิบัติงานนั้น จะมีพี่ที่เป็นคนฝึกงานให้ 2 คน ซึ่งคนแรกนั้นจะมีวิธีการสอนงานเป็นแบบการเล่าราย

ละเอียดของงาน (สอนแบบ Audio) ว่าจะต้องปฏิบัติงานยังไงขั้นตอนการทำต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งผมเองนั้นกะเข้าใจบ้าง

ไม่เข้าใจบ้าง มีอาการมึนงงและมีการลืมอยู่บ่อยครั้งด้วย เนื่องจากผมคิดว่าบางทีการได้ยินหรือเล่ารายละเอียดเพียง

อย่างเดียวนั้น ไม่มีจุดสนใจที่จะกระตุ้นความจำให้ตัวเองออกมาได้ ซึ่งพี่ที่สอนงานคนแรก ทำให้ผม งง เอาเรื่องอยู่

บ่อยครั้ง ส่วนคนที่ 2 นั้นจะมีการอธิบายโดยการใช้ภาพ ในการสอน ประกอบด้วย ซึ่งเมื่อสอนไปแล้ว ก็จะมีการทำเป็น

Mapping เพื่อจำแนกขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน ซึ่งการสอนของพี่คนที่ 2 นั้น ทำให้ผมได้รู้ว่า ผมมีความเข้าใจ

ในการ เรียนรู้แบบ Visual คือต้องมีภาพประกอบ และ ตัว Mapping เพื่อให้เห็นโครงร่าง จึงจะสามารถเรียนรู้ได้เป็น

อย่างดี ซึ่งในปัจจุบันการเรียนรู้แบบนี้ก็ทำให้ผมนั้นยังไม่ลืมที่พี่เค้าสอนงานให้ตั้งแต่วันแรกเลย

ขอบคุณครับ

นายเสกสรร เผือกศรี ID 555740424-2 MBA KKU Bangkok

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท