ฮักนะเชียงยืน 6


ชาวบ้านรู้ดีว่าสารเคมีนั้นดี หรือไม่ดีอย่างไร หรืออาจรู้ดีกว่าฮักนะเชียงยืนในหลายๆครั้ง

ฟันเฟืองตัวเเรกเริ่มทำงาน

 

         เส้นทางของการทำโครงการที่ยึดหลักแบบเด็กๆที่ว่า "ก่อนที่เราจะถ่ายทอดให้เขารู้นั้น เราจะต้องรู้ก่อน" การศึกษาที่เป็นการค้นหาคำตอบเริ่มขึ้นด้วยเเรงพยายามของฮักนะเชียงยืนทุกๆคน เมื่อเราไม่รู้เราจะไม่สามารถบอกเขาได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร  เป็นมาอย่างไร ถึงต้องศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาโครงการที่มีค่ายกิจกรรมเป็นหลักในการพัฒนาแบบเด็กเยาวชน  ถ้าศึกษาในอินเตอร์เน็ตนั้นสิ่งที่ได้อาจไม่เพียงพอ หรืออาจไม่ครอบคลุม จึงต้องมีการลงเข้าไปสัมผัสจริง จากผู้รู้จริง  ณ  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  นับได้ว่าเป็นการเดินตามทางตนเองโดยมองผู้รู้เป็นหลัก เพราะถ้าไม่รู้จะไม่สามารถทำได้เลย เหมือนกับสามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขาที่มีผู้ให้ทุน  ผู้รู้ เเละผู้ทำงาน ซึ่งตอนนั้นผู้ให้ทุน คือ ทางมูลนิธิกองทุนไทย  ผู้รู้ คือ เเหล่งเรียนรู้ต่างๆ เเละผู้ทำ คือ ฮักนะเชียงยืน  การที่เราจะยกภูเขาปัญหาขึ้นได้เราต้องมีผู้ให้ทุน   ผู้รู้  เเละผู้ทำงาน "เราจะขาดผู้รู้ไม่ได้" ผู้รู้จึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะคอยส่งเสริมให้ผู้ทำงานดำเนินงานได้อย่างราบรื่นขึ้นไปอีกขั้น

         การเข้าศึกษาในครั้งเเรกเป็นการศึกษาในเรื่องของดิน เเละชั้นต่างๆของดินซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดความรู้จากกลุ่มฮักนะเชียงยืนให้ลงที่กลุ่มเยาวชนในรูปแบบของกิจกรรมที่ได้วางทิศทางกันไว้  ณ ครั้งนั้นสิ่งที่ได้รับ เป็นความรู้ในประเด็นของดิน ชั้นของดินซึ่งตรงตามเป้าประสงค์อีกกรอบหนึ่งที่ได้ตั้งเป้าไว้ เมื่อครั้งที่เดินทางประกอบด้วยฮักนะเชียงยืน เเละน้องๆกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในชุมชนที่จะพัฒนา โดยมีการให้เด็กๆเหล่านี้มาเรียนรู้ไปพร้อมกันกับฮักนะเชียงยืน เพราะดินนี้เป็นดินของชุมชน  เป็นดินที่ควรเก็บรักษาให้อุดมสมบูรณ์เหมือนเช่นอดีตของเรา "เราจะเรียนรู้" ไปพร้อมกัน เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน" เด็กคนนึงพูดกับตนเองยู่เนืองๆ   

         ความรู้ไม่ได้อยู่เพียงเเค่ในหนังสือ  ความรู้ไม่ได้อยู่เพียงในตัวอักษร เเต่อีกความรู้ที่สำคัญ คือ การไปพบกับความรู้นั้นด้วยตนเอง  การสำผัสกับความรู้นั้นด้วยตนเอง การไปศึกษา สอบถามความรู้นั้นด้วยตนเอง จะทำให้ตนเองมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งๆนั้นเป็นอย่างไร เหมือนกับการที่เราจะเดินทางไปกรุงเทพมหานคร ถ้าเราไม่เคยเดินทางไป ถ้าเรามัวดูเเต่เเผนที่ เราจะเดินทางไปได้อย่างลำบากเพราะเราไม่ได้เห็นภาพนั้น เเต่เราเห็นเพียงเเผนผัง  เห็นเพียงตำเเหน่ง เเล้วเห็นเพียงตัวหนังสือ ฉะนั้นเเล้วการเข้าไปเห็นภาพนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่าง "พอดี" ...

 

 

         เมื่อในการเรียนรู้ในครั้งเเรก เมื่อไปลองวิเคราะห์ทบทวนดูอีกทีจากการระดมสมองเเล้วเป็นประเด็นข้อมูลที่ถือว่ายังไม่ตรงกับเป้าหมายของกิจกรรมโดยตรง จึงต้องมีการไปเรียนรู้ครั้งที่สองซึ่งเป็นการเจาะเป้าประเด็นตรงไปที่สารเคมีในดิน เพื่อมีเป้าหามยในครั้งนั้นว่าจะตรวจสารเคมีในดินเพื่อจะคืนข้อมูลจากการตรวจดินนี้ให้ชุมชนได้รับรู้อย่างเข้าใจ  ถ้าลองศึกษาดูอย่างจริงๆเเล้วเราจะพบว่า ส่วนใหญ่สารเคมีที่ในชุมชนได้ใช้นั้นบางสารเป็นสารเคมีที่กฏหมายห้ามให้ใช้ เเต่ชาวบ้านก็เเสวงหามาใช้เพราะไม่มีทางเลืกที่ดีกว่านี้ สารเคมีส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ ออร์กาโนฟอสเฟต หรือ ออร์การ์โนฟอสฟอรัส ที่ทางเกษตรกรได้ใช้กัน ซึ่งเป็นสารชนิดที่ถือว่าสามารถตกค้างในดินได้เป็น 10 ปีเลยทีเดียว ถ้าสารเคมีชนิดนี้ตกค้างในเกษตรกรจะเป็นอันตรายในระยะสะสมเเละเฉียบพลัน หากไม่ป้องกันให้ดีจะทำให้สารเคมีนี้เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เเล้วนอกจากที่จะอยู่ในดินที่เพาะปลูกเเล้ว จะอยู่ในผล  อยู่ในถุงพลาสติกคลุมราก (ขยะมีพิษ) อยู่ในอากาศ  อยู่ในน้ำ  อยู่ในพืชผัก  อยู่ในหญ้า  ผู้ในผู้บริโภค อยู่ในตัวเกษตรกร ซึ่งจะเห็นได้ว่าสารเคมีอยู่ในทุกๆสิ่งซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป อนาคตอาจมีผู้คนเเละสัตว์เป็นโรคต่างๆมากขึ้นก็อาจเป็นได้  จากการศึกษาผลเลือดพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกมีอัตราเสี่ยงน้อยกว่าผู้บริโภค ผู้บริโภคผลลิตนี้กลับกลายเป็นผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า ทำให้เป็นข้อสังเกตุได้อีกข้อว่า "ถ้ากินผลผลิตนี้เข้าไปเรื่อยๆจะเสี่ยงต่อชีวิตมากกว่าคนที่กินน้อย" เกษตรกรที่ปลูกบางครั้งก็นำผลผลิตนี้ส่งออกขาย บางครั้งจะมีนายทุนเข้ามาติดต่อรับซื้อเพื่อเร่ขายตามหมู่บ้าน  เหตุที่ชาวบ้านต้องต้องขายเพราะ ชาวบ้านปลูกผลนี้เพื่อเอาเพียงเมล็ดออกขายให้บริษัทของตนเองที่ทำสัญญา สิ่งที่เหลือจากเมล็ด คือ เนื้อซึ่งเนื้อของผลนี้ถ้าปล่อยไว้จะทำให้สูญเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ชาวบ้านหลายบ้านจึงเลือกที่จะนำผลนี้ออกขายลูกละ 5 บาท ถึง 10 บาท คนทั่วไปมองว่าผลผลิตเช่นนี้ถูก เเล้วลูกใหญ่ จะซื้อตามท้องตลาดทั่วไป ฉะนั้นจึงไม่ใช่เป็นปัญหาเพียงปัญหาของชุมชนเดียวเเต่กับกลายเป็นปัญหาในระดับอำเภอที่เกิดเพียงชุมชนเล็กๆ

         จากการที่ฮักนะเชียงยืนที่ศึกษาชั้นของดินเเล้วนั้นพบว่า ดินตัวอย่างของชาวบ้านที่ได้เก็บมานั้นมีการแปรผลออกมา คือ ดินตัวอย่างจากการวุ่มเก็บนี้ 30 ตัวอย่าง มีค่าสารอินทรีย์ในดินนั้นนั้นต่ำมาก เพราะดินชาวบ้านส่วนใหญ่นั้นใช้สารเคมีในปริมาณมากทำให้สารอินทรีย์ในดินนั้นถูกลดลงจึงทำให้น้อยลงในทุกขณะ ชาวบ้านใช้สารเเทนมูลสัตว์ จึงทำให้การเเปรผลออกมานั้นพบได้อย่างชัดเจน

         ชาวบ้านรู้ดีว่าสารเคมีนั้นดี หรือไม่ดีอย่างไร หรืออาจรู้ดีกว่าฮักนะเชียงยืนในหลายๆครั้ง เเต่ยังต้องทำเพราะเป็นวิถีชีวิต เป็นอาชีพ  เป็นรายได้  เป็นสิ่งที่จะทำให้อยู่ได้พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว สิ่งที่ฮักนะเชียงยืนทำได้จึงเป็นเพียงการย้ำเตือน  คอยเฝ้าระวังให้เด็กในชุมชนตลอดทั้งชาวบ้านป้องกันตัวเองจากการใช้สารเคมีนี้เพิ่มากยิ่งขึ้น "อยากให้ชาวบ้านป้องกันมากยิ่งขึ้น" เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อตัวของเขาเองเเละคนในครอบครัว  สิ่งที่ได้กำหนดการทำงานไว้ที่นำมาซึ่งการศึกษาต่างๆ ได้เเก่ ศึกษาดิน  สารเคมี  สารเคมีในดิน  ผลตรวจเลือด  ผลตรวจดิน เเละการสอบถามจากชาวบ้านในชุมชน เป็นเพียงข้อศึกษาในระยะเริ่มต้นที่ต้องปรับอยู่ตลอดเวลาเพื่อความเหมาะสม...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555740เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2013 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2013 12:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท