ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_11 : โรงเรียนหนองแวงเหนือ


วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 วันเดียวกับที่เราไปเยี่ยมโรงเรียนเชียงเครือวิทยาคมในภาคเช้า (อ่านบันทึกที่นี่) ตอนบ่ายทีมขับเคลื่อน PLC อีสาน ไปเยี่ยมโรงเรียนบ้านหนองแวงเหนือ ตั้งอยู่ที่ ต.ภูปอ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 

 

 

บรรยาการศการนิเทศ ยังอยู่ในรูปแบบทางการเหมือนเมื่อเช้านี้  ท่าน ผอ.นิคม บุญทิพย์ และครูทุกคน(ดูข้อมูลพื้นฐานที่นี่) มารวมกันที่ห้องประชุม อย่างเป็นทางการ ฝากงานเด็กๆ ให้ทำกันเองตลอดช่วงบ่ายวันนั้น..... จึงเป็นเป็นอีกวันหนึ่งที่เราเองเป็นสาเหตุในการ "พรากครูออกจากนักเรียน"  ต้องกราบขออภัยด้วยครับ  ผมตั้งใจว่ากิจกรรมแบบนี้จะต้องน้อยลงเรื่อยๆ และเหลือไว้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น 

 

 

 

 

เมื่อ แรกเจอ ผอ.นิคม บุคลิกที่ยิ้มแย้มของท่าน ทำให้เผมคิดว่าท่านต้อง ใช้กระบวนการเชิงราบในการบริหารงานเป็นแน่ และทึกทักไปด้วยว่า ครูไม่น่าเกร็งเกรงนัก แต่พอคุยไปได้สักพักหนึ่ง ท่าน ผอ.นิคมเองท่าน "เซนส์" เร็วกว่าผม ท่านเป็นคนชวนผมออกมาสำรวจเดินสำรวจโรงเรียน ท่านบอกว่าครูอาจจะกล้าคุยมากขึ้น...  ก่อนที่จะออกเดินสำรวจโรงเรียนกับท่าน ผม "จับ" ได้ว่า

  • มีครูนำ กิจกรรมที่เราทำ "มองเด็ก" "มองตนเอง" และ "มองหากัลยาณมิตร" เปลี่ยนคำถามใหม่ เพื่อคำตอบใหม่สู่การพัฒนานักรียน ที่เราแลกเปลี่ยนกันเมื่อวันที่ 15-17 มิถุนายน (อ่านบันทึกที่นี่ครับ) มาทดลองใช้จริงท่านหนึ่งคือ ครูภัทราภรณ์ งอกศิลป์ อาจารย์รุ่นใหม่ ท่านบอกว่าได้ทดลองนำมาพาให้เด็กฝึกคิดบ้างแล้ว (จะติดตามต่อไป)ครับ

 

  • เมื่อ ถามถึงการเรียนการสอนเรื่องโครงงาน ได้รับคำตอบทันทีว่า ท่านอาจาาย์จตุพิตร บรรณสาร กำลังทำโครงงานภาษาไทย และมีอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ คือ อ.สุนัน ผลรักษา กำลังสอนนักเรียนในแนวโครงงานอยู่ แต่ผมเข้าใจว่ายังไม่มีการนำการจัดการเรียนการสอนบนฐานปัญหาหรือการสอนผ่าน โครงงานแบบบูรณาการมาใช้อย่างจริงจัง .... ฝากท่าน ผอ.นิคม เอาจริงจังเรื่องนี้จะทำให้ไปได้เร็วครับ

 

ผม เดินสำรวจโรงเรียนคร่าวๆ ด้วยเวลาที่จำกัด  แต่อย่างไรผมก็จะไม่พลาดที่จะ "คุยกับนักเรียน" การคุยสนทนากันจะทำให้เรารู้ "ปัญญา" ของคู่สนทนาได้ จึงถือเป็นเครื่องมือทักษะการคิดที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด 

 

 

 

ได้คุยกับเด็ก ป.1-3 ที่นั่งทำงานรวมกันอยู่ (ที่ครฝากเนื่องจากสาเหตุที่เรามาพรากครูไป) ในห้องที่มีอุปกรณ์จักรเย็บผ้าหลายตัว สอบถามพบว่า เด็กๆ สามารถใช้จักเย็บผ้าได้คล่องทุกคน ...สิ่งนี้ดีมาก ถือเป็นกิจกรรมฐานในการต่อยอดสู่การเรียนรู้แบบ PBL ได้ต่อไปหลายหลากแน่ เพราะคนเราย่อมใส่เสื้อผ้า และหลาายคนก็กำลัง "บ้า" ยี่ห้อของเสื้อผ้าด้วย  และที่สำคัญประเทศไทยเราเป็นแหล่งส่งออกเสื้อผ้าแบรนด์เนมหลายยี่ห้อ 

 

 

 

 

 

ผม ตั้งคำถาม พร้อมตั้ง "รางวัลเป็นเงิน 20 บาท" สำหรับผู้ตอบได้ วิธีการนี้น่าจะดี แต่ได้ผลสำหรับการดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ที่ที่มีพื้นฐานแตกต่างหลากหลาย  ก่อนถามผมตรวจสอบความเชื่อของเด็กเรื่อง นรก สวรรค์ แล้วเริ่มเล่านิทานว่า  มีชายคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุจากการขับรถมอเตอร์ไซด์ ตายคาที วิญญาณของเขากำลังเดินไปตามทางแห่งหนึ่ง สักพักหนึ่งไปพบทางแยก  ด้านหนึ่งเป็น"ทางไปสวรรค์" ด้านหนึ่งเขียนว่า เป็น"ทางไปนรก" ข้างๆ ทางแยกนั้น มีชายสองคนกำลังนั่งเล่นหมากรุกอยู่ คนหนึ่งเป็นคนชอบพูดโกหก อีกคนหนึ่งจะพูดแต่ความจริง  ชายที่ตายต้องการจะไปสวรรค์ เขาจะถามชายสองคนนี้อย่างไรจึงจะไปสวรรค์ได้ถูกต้อง โดยมีข้อแม้ว่า ถามได้เพียง 2 คำถามเท่านั้น..... ผมไม่ได้เฉลยปัญหานี้ ผมบอกเด็กว่า ผมจะกลับในอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ใครสามารถหาคำตอบได้ ให้รีบมาตอบเพื่อรับรางวัล.... น่าเสียดายที่ไม่มีใครกลับมาตอบเลย ....

 

 

ได้ มีโอกาสคุยกับเด็ก ม.3 ด้วยครับ นักเรียนประมาณ 10 คน กำลังทำเขียน Mind Map เรื่องห่วงโซ่อาหาร  สิ่งที่ผมเห็นคือการเด็กๆ ได้ฝึกคิดวิะเคราะห์กันอย่างสนุก แต่ผมมีข้อคิดเห็น 2 ประการสำหรับงานของพวกเขา ได้แก่ 

  •  Mind Map ของเด็ก เหมือนในหนังสือมาก โดยเฉพาะชื่อสัตว์แต่ละประเภทที่พวกเขาเขียนลงในกระดาษก็เป็น สัตว์ชนิดเดียวกับที่อยู่ในหนังสือ เช่น  เหยี่ยวกินงู งูกินกบ  ฯลฯ  ผมเสนอว่า เราควรนำกระบวนการคิดของเด็กๆ ให้อยู่บนฐานของชีวิตใกล้ตัวของพวกเขาก่อน เช่น กำหนดโจทย์ให้ทำห่วงโซ่อาหารของชุมชนหรือหมู่บ้านเป็นต้น  (เรียนชีวิตมากกว่าเรียนวิชานั่นเองครับ)
  • สิ่งที่น่าจะเพิ่ม เติมให้กับเด็กๆ การ ฝึกคิดเชื่อมโยง โดยเฉพาะ คิดเชื่อมโยงแบบ "สืบสาวเหตุปัจจัย" และการเชื่อมโยงแบบมิติดเวลา ฯลฯ 

 กลับ จากเดินสำรวจโรงเรียน กลับมาเจอบรรยากาศการพูดคุยที่เป็นกันเอง อาจเป็นเพราะมีการจัดเก้าอี้ให้นั่งใกล้กันมากขึ้นก็ได้นะครับ สื่งนี้ดูเหมือนไม่เกี่ยว แต่จากประสบการณ์แล้ว เกี่ยวข้องกับฐานใจ แน่นอนครับ 

 

ครู สิทธิชัย และ ครูรุจินันท์ เล่าให้ฟังถึงเด็ก 2 คนที่มีปัญหาติดใจท่านทั้งสองมาก เด็กคนหนึ่งที่ชอบหนีเรียน และเด็กอีกคนสมาธิสั้น และเราก็ติดอยู่กับเรื่องนี้เป็นชั่วโมง แต่ก็คุ้มค่าทีเดียวครับ 

ความจริงเด็กที่ชอบหนีเรียน จะมาเข้าเรียนก่อนจะหนีออกไป คุยกับครูสิทธิชัยว่า "ครูครับ ให้ผมไปตัดหญ้าที่สนามฟุตบอล แทนการเรียนได้ไหมครับ"  และเขาก็ตัดหญ้าอย่างมีความสุข ขณะที่เพื่อนนักเรียนหนังสือ (อย่างมีความสุขหรือเปล่า...ไม่เน่ใจ) ด้วยการที่เขาชอบทำมากกว่าชอบ "นั่งเรียนในห้อง" เขาจึงไม่ได้ "ฝึกอ่าน" นั่นคือเหตุผลที่เขา "อ่านไม่ออก"  ผมเสนอว่า เราควรเปลี่ยนคำถามจาก ทำไมนักเรียนคนนี้อ่านไม่ออก ทำไมถึงอยากตัดหญ้าที่สนามฟุตบอล เป็น ทำอย่างไรเขาถึงจะอยากอ่านออก และทำอย่างไรการตัดหญ้าที่เขาชอบจะทำให้อยากอ่านหนังสือ  ผม เสนอวิธีการและท้าทายให้ท่านลองมอบหมายให้เขารับผิดชอบดูแล ซ่อมแซม แกะประกอบเครื่องตัดหญ้านั้น และเครื่องจักรอื่นๆ ในโรงเรียนด้วย  ไม่แน่ว่าเขาจะอยากอ่านคู่มือออกก็เป็นได้....ซึ่งจะสำเร็จก็ต่อเมื่อเขามี ครูเพื่อศิษย์คอยกระตุ้นแรงบันดาลใจด้วยคำถามเท่านั้น 

 

ข้อเสนอแนะสำหรับโรงเรียนหนองแวงเหนือ

  • จัด ให้มีการเรียนการสอนบนฐานปัญหาหรือการสอนผ่านโครงงาน PBL โดยที่ฝ่ายบริหารต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ทั้งการพัฒนาและนำหลักสูตรท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญ พัฒนาครู ให้รู้และเข้าใจ และที่สำคัญลงมือทำ 
  • เราต้องไม่ติดกับดัก หรือ ติดร่อง "รั้งรวม" คือ การจัดการเวลาและศัยกภาพอย่างไม่ "คุ้มค่า" เช่น มัวแต่ติดอยู่กับปัญหาของเด็กส่วนน้อยที่อ่านไม่ออก จนทำให้เด็กส่วนใหญ่ไปไม่ถึง "ทักษะในศตวรรษที่ 21" ที่นักเรียนเรียนรู้เองเป็น ซึ่งความจริงปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก สามารถแก้ไขด้วยวิธีอื่นจะคุ้มค่าเบาแรงกว่า เช่น การร่วมมือกันระหว่าง 5 โรงเรียน ที่อยู่ใกล้กัน แล้วแยกเด็กที่มีปัญหาคล้ายกันมาเพื่อกำหนดวิธีการอย่างเหมาะสม วิธีนี้ประหยัดทรัพยากรถึง 5 เท่า  วิธีนี้มีการการทดลองแล้วว่าได้ผล เราเรียกว่า PLC ระหว่างโรงเรียนนั่นเอง 

ผมรู้สึกว่าครู "รู้แล้ว" ว่าต้องทำอะไรอย่างไร ในยุคนี้ แต่ภาระงานที่มากล้น กับพลังใจที่อ่อนล้าเต็มที ทำให้ครูหลายท่าน "ไม่สามารถลงมือทำได้" 

 สุด ท้ายขอนำภาพคลิปชาร์ทเมื่อคราวเราไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ ตักสิลา เมื่อวันที่ 15-17 มิถุนายน มาไว้ให้ ผู้อ่านทั่วไปรู้ถึงความทุกข์ของครูหนองแวงเหนือนะครับ 

 

 

 

 

 

มีหมีเยอะ ผอ. ต้องเป็นกระทิง

มีกระทิงเยอะ ผอ. ต้องเป็นหมี 

มีหนูเยอะ ผอ. ต้องเป็นทั้งหมีและกระทิง 

แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผอ. ต้องมีนกอินทรีย์และหนูอยู่ในตัวนะครับ.....

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 545332เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้บริบทของโรงเรียนครบเลยครับ

รอดูอาจารย์ดำเนินการต่อ

ครูสนใจโรงเรียนและนักเรียนเป็นรายบุคคลดี

จะพัฒนาการศึกษาได้ง่ายกว่าครับ

ขอบคุณท่าน อ.ขจิต มีกำลังใจเพิ่มขึ้น และมั่นใจว่ามาถูกทางครับ

ขาดครูไป 1คนตลอดโครงการเลย สำหรับโรงเรียนนี้ ทำงานที่นี่มา ปีกว่าๆแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท