ฝืนบ้าง..สร้างสุข


วันก่อนมีเหตุการณ์กระตุ้นให้มาเขียน gotoknow อีกครั้ง
บทเรียนอย่างแรง จาก 'การทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน'
ในเวลาไม่กี่นาที ที่ออกไปโทรศัพท์นอกห้องตรวจ
ทำให้คนไข้เกือบถึงแก่ชีวิต
...
เป็นเหตุการณ์เตือนใจถึงอันตรายของ 'ตัวดึงความสนใจจากสิ่งตรงหน้า - distraction'
เหตุใดเราจึง โดนดึงความสนใจง่ายดายนัก 
เมื่อมีเสียงโทรศัพท์ อีเมล์ เราก็รีบรับทันทีแบบไม่ต้องคิด
โดยเฉพาะภาวะของอารมณ์สองขั้ว คือ
เครียด งานที่ใช้กำลังความคิดมาก หรือ
เบื่อ งานที่จำเจทำซ้ำๆ จนประมาท
เราต้องการอะไรสักอย่าง ดึงออกไป ช่วงสั้นๆ 
แต่ความผ่อนคลายช่วงสั้นๆ ด้วย distraction 
มีผลให้เราหลุดจากสิ่งสำคัญ คือสติ..ครั้งแล้วครั้งเล่า

##
แรงบันดาลใจมากจาก 12 rules to live by ในบล็อก Zenhabit และบทความอาจารย์ภิญโญ 'อำนาจของนิสัย'
ข้าพเจ้า กำหนดไว้เป็นปณิธานสำหรับตนเอง ไว้ตามช่วงเวลาดังนี้

หนึ่ง: ก่อนเข้านอน (ไม่เกิน 4 ทุ่มครึ่ง)
เขียนสิ่งที่จะทำพรุ่งนี้ ใน wunderlist  ใน iphone โดยแบ่งเป็นงาน 
     - 'inbox'  หมายถึง งานวิชาการที่ต้องใช้เวลา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้เสร็จเดี๋ยวนี้ 
     - 'Do now' คือ งานที่ใช้เวลาทำไม่นานก็เสร็จ เช่น โทรหา อีเมล์  ส่งงาน ฯลฯ

สอง: ตี 5 ถึง 7 โมงเช้า : ช่วงสร้างสรรค์ I

->  A. ทำงาน 'inbox' ใน wunderlist
    B. ตรวจสอบนัดพบปะ ใน  Ccal  ซึ่งเชื่อมกับ google calendar
    C. ตรวจสอบความก้าวหน้าในโครงการต่างๆ ใน Tom's planner

สาม:  8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น : ช่วงเผชิญทุกสิ่ง
-> พยายามทำ 'Do now' ที่อยู่ใน wunderlist    แต๋ก็ เตรียมรับกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาแทรกแซง ได้ตลอดเวลา

สี่ : 5 โมงเย็นถึง 2 ทุ่มครึ่ง : ช่วงผ่อนคลายตามใจตนเอง <ขณะเขียนนี้คะ :>
->ออกกำลังกาย, อ่านหนังสือที่ชอบ, Reflection, เข้า gotoknow, ดูข่าว, โทรศัพท์คุยกับคนในครอบครัว ฯลฯ

ห้า : 2 ทุ่มครึ่งถึง 4 ทุ่ม : ช่วงสร้างสรรค์ II
-> ทำสิ่งที่อยู่ใน 'inbox' ต่ออีกหน่อย

 ** วินัยระหว่างวัน
1. ตั้งค่ามือถือใน iphone เป็น no disturb (สามารถรับโทรศัพท์คนสนิท และโทรศัพท์ฉุกเฉินที่โทรซ้ำสองครั้งได้)
    ในช่วง  5 โมงเย็นไปจนถึง 7 โมงเช้า และระหว่างตรวจผู้ป่วย 
2. การเปิด email และ facebook เฉพาะช่วงพักเที่ยง 
    โดยปิดการเตือนใน iphone ออก และลาก icon ออกจากหน้าแรก เพื่อไม่ให้เกิด 'cue' ของอุปนิสัยเปิดเช็คบ่อยๆ
3. งดดื่มกาแฟหลังบ่ายสอง

###

ตอนแรกอาจต้องฝืน แต่เชื่อว่าหากเป็นอัตโนมัติแล้ว
จะช่วยให้ไม่ต้องกังวล รู้สึกระแวงว่ามีอะไรต้องทำ แล้วลืมอะไรไปบ้าง

เพื่อมีที่ว่างในจิตใจพอ เปิดรับความไม่แน่นอน...และ ยิ้มให้กับโลกนี้มากขึ้น
..เรียนรู้ที่จะ Get comfortable being uncomfortable


###
Update วันที่สามของวินัยใหม่
- งดดื่มกาแฟช่วงเย็นได้ โดยกลับมาไปวิ่งออกกำลังทันที แทนที่จะต้มกาแฟทันทีอย่างแต่ก่อน
- เพื่อเลี่ยงการเข้า FB และ email หลังเที่ยง
   ทำให้ต้องเรียนรู้การใช้ Photostream ในการนำรูปจากมือถือ iphone มาใส่ pc

รูปแรกที่ใช้ photostream สำเร็จเป็นของขวัญสุดพิเศษ จาก ท่านอาจารย์ wasawat :)

###

update 10 ก.ค. 2556

ครบรอบ 7 วันของการงดกาแฟหลังบ่ายสอง
พฤติกรรมที่ทำมากว่า 10 ปี..ชัยชนะเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่..
การออกกำลังและกาแฟให้ผลคล้ายกันคือสมองโล่ง
แต่ สิ่งที่กาแฟให้ไม่ได้ คือ..ความภาคภูมิใจ..ความมั่นใจที่จะเติบโต..ไร้ข้อจำกัด

มาร่วมร้องเพลงนี้ดังๆ ด้วยกันคะ :)

หมายเลขบันทึก: 541204เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ตอนนี้ก็ ๕ โมงเย็นแล้ว ... ผมก็โทรไปหาไม่ได้สิครับ คุณหมอบางเวลา 555

คุณหมอครับ ไม่ต้องรับกาแฟ หลังบ่ายสอง ทำไมครับ

คุณมะเดื่อต้องงดกาแฟทุกเวลาแล้วจ้ะ  ...  

สวัสดีค่ะคุณหมอ...เป็นกำลังใจให้สำเร็จสมดังปณิธานที่ตั้งไว้...ฝืนบ้าง...สร้างสุขนะคะ

 

วันเสาร์อาทิตย์ยังมีคะ อาจารย์ ;)


เรียนอาจารย์ชยันต์  เหตุผลในการหยุดดื่มกาแฟหลังบ่ายสอง
เนื่องจากใกล้เวลาเข้านอนคะ ไม่อยากกระตุ้นมันอีก และกาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายขาดน้ำกลางคืนคะ
หยุดมาได้สองวัน โดยเมื่อเกิด cue (ง่วง สมองตื้อ) ทดแทน routine จากดื่มกาแฟ เป็นออกกำลังกาย หรือลุกขึ้นเดินไปมา  ก็พบว่า หายง่วง เป็น reward ได้เหมือนกันคะ

ขออนุญาตนำภาพว่า เราสามารถปรับพฤติกรรมได้เสมอ..หากตั้งใจจริง


source:http://www.4hourlife.com/2012/12/26/the-golden-rule-of-habit-change-how-to-become-a-habit-master/


ได้เวลาโทร.หาน้องหมอปแล้ว  คิดถึงนะคะ

kunrapee จะไม่เข้า FB ในช่วงเวลาทำงานค่ะ (๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.)

ขอบคุณสำหรับการให้เกียรติในครั้งนี้ครับ คุณหมอบางเวลา ;)...

คุณหมอ ป.ผมแวะมาเยี่ยมให้กำลังใจครับ...

วินัยและกำลังใจสูงยิ่งนะคะ  ชื่นชมค่ะ


ส่งแรงใจให้เสมอครับอาจารย์หมอ ป. ทั้งในโลกแห่งความจริงและจินตนาการครับ

เป็นประสบการณ์การปรับนิสัย (Habituation) ถ้าตามโมเดลของกิจกรรมบำบัด การพัฒนานิสัยเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างการสร้างเจตจำนงค์และการสร้างความสามารถ ส่วนความไวของการวอกแวก (Distractibility) เกิดจากความล้าทางความคิด แนะนำให้คลิกที่ http://www.gotoknow.org/posts/540953 เพื่อจัดการได้ระดับหนึ่ง บวกกับที่คุณหมอได้วางแผนแก้ไขด้วยสติอีกระดับหนึ่ง ที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอนะครับ ขอบคุณมากครับ

...ความไวของการวอกแวก (Distractibility) เกิดจากความล้าทางความคิด

ขอบคุณมากคะ เข้าไปดู ชอบแนวคิดของรายการ “ชีวิตของคน ๆ หนึ่งหรือกลุ่มคนที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น"

เรื่อง Habit เป็นทางแก้ของสิ่งที่ยาแก้ไม่ได้ เป็นการเติมเต็มที่สำคัญมากคะ

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. ที่ได้แวะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการความล้า ขอให้คุณหมอมีความสุขมากๆนะครับผม

อ่านเรื่องของคุณหมอแล้วมีความสุข

ดีจังเลยครับ

ได้ฝึกตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท