คิดถึงวิชาเกษตร


ข้าพเจ้าจำได้ว่าตอนเรียนมัธยมต้น 
มีวิชาเกษตร เดือนละคาบ
ยังจำได้ว่าบรรยากาศรดน้ำต้นบล็อคเคอรี่หลังเลิกเรียน
กับความอร่อยเหนือบรรยาย เมื่อได้กินบล็อคเคอรี่ผัด ที่ปลูกกับมือ
เป็นวิชาที่ปลอดโปร่ง แต่ "ไม่สำคัญ" ในความคิดข้าพเจ้าขณะนั้น
ไหนจะสู้ วิชาในห้อง อย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ได้
ไม่นาน พื้นที่แปลงเกษตรในโรงเรียน ก็ถูกแทนที่ด้วยตึกใหม่
เข้าใจว่า วิชาเกษตร ก็คงถุกแทนที่ด้วยวิชาคอมพิวเตอร์..เสียแล้ว
...

ผ่านมา 20 ปี
ข้าพเจ้ามาทำงานจน 4 โมงเย็นกะจะขึ้นรถไปสนามบินต่อ
พบว่า ลืมโทรศัพท์มือถือ ไว้ที่คอนโด ต้องขับรถกลับไปเอา
แต่ไม่วายลืมสายชาร์จคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคไว้ที่ทำงาน
มาถึงกรุงเทพ เจอคุณแท็กซี่ บ่นเรื่องรถติด ลามไปถึงเรื่องระดับชาติ  
จนลืมสังเกตอาคารที่พัก ขับเลยจนต้องไปติดที่ไฟแดงถัดไป
สิ่งที่เป็นปัจจัยร่วมกัน ทั้งตัวข้าพเจ้า และคนขับแท๊กซี่ ในขณะ ลืม
คือ ขณะนั้น
เราอยู่ใน "โลกเสมือน" (virtual)  ความเห็น,ความกังวล, อารมณ์ลบ ฯลฯ
จนหลุดจาก โลกปัจจุบันที่อยู่ตรงหน้า
...

วิชาการ ทฤษฎีจาก textbook ฝรั่ง ที่นำมาสอนใน "โลกเสมือนจริง" ห้องเรียน
ทำให้นักศึกษา ลืมสังเกตปรากฎการณ์ใน "โลกความเป็นจริง" หรือไม่ ?
###

ข้าพเจ้าประทับใจ ครูบาสุทธินันท์ เมื่อครั้งไปร่วมประชุม R2R
แม้ท่านไม่ได้จบสูง ตามระบบการศึกษา 
แต่วิธีเรียนรู้ จากการสังเกต ทดลอง บันทึก เปิดใจสร้างสรรค์
ทำให้ข้าพเจ้านับถือความเป็น "ปราชญ์จริง" ของท่าน
พร้อมๆ กับสะท้อนใจ "ปราชญ์เสมือนจริง" ในระบบศึกษาไทย
.
จนล่าสุด ได้พบกับ พยาบาลชาวแพร่คนเก่ง
ที่ท่านริเริ่มเรียนรู้การทำสวนพุทราแบบปลอดสารพิษ
ด้วยวิถีเกษตรผสมผสานด้วยตนเอง 
จากงานอดิเรก...ปลีกใจจากงานประจำที่มีกรอบมากมาย
กลายเป็นงานที่สร้างรายได้งาม
เป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรคนอื่นๆ ในชุมชน
.

คนมาเยี่ยมสวนรับประทานพุทรากรอบอร่อยและสะดวกใจ


แก้ปัญหาแมลงวันที่ชอบมาเจาะวางไข่ ด้วยนำพันธ์แมลงวันหมันมาเลี้ยงให้โตเป็นตัวเต็มวัย เพื่อไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ  ทำให้ลดการขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้ ส่งผลให้ปริมาณแมลงวันที่เจริญพันธ์ได้ค่อยๆลดลง...จนตอนนี้ใช้ร่วมกับการกางมุ้งก็ไม่ต้องพ่นยาแล้วคะ


ปุ๋ยก็เอามาจากน้ำเลี้ยงปลาดุก กับขี้ไก่ที่เลี้ยงไว้



....

ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางเกษตร 
แต่ประทับใจ วิถีเรียนรู้ ที่ "Authentic"
โดยมีธรรมชาติ เป็นครูที่เก่งที่สุด
เป็นไปได้ไหม ที่วิชานี้จะกลับมาสำคัญอีกครั้ง...ในศตวรรษที่ 21




หมายเลขบันทึก: 516772เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2013 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2013 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

เป็นไปได้มากค่ะอาจารย์หมอ ป.

ต่อไปอาหารจะหายาก  ต้องปลูก  ต้องเลี้ยงกินเอง

ที่บ้านอุดร  ฟักทองโตวันโตคืน  อัญชันปีนรั้วสูงแล้ว  เก็บกินเป็นผักบ่อย ๆ   ต้นแคเล็ก ๆ ขยันออกดอก    

ลุ้นรอเมื่อไหร่แคนาจะบาน  สงสัยฝนหน้า

ตะไคร้ไม่ได้ซื้อนานแล้ว  แกงอ่อม  ต้มยำ  อยากกินพริกสดเมื่อไหร่  เดินลงบันไดเก็บได้ทันที...

ปลูกพืชสวนครัว  รั้วกินได้  ไม้ยืนต้นกินดี....ชีวีมีสุข

เกษตรกรรมจงเจริญ......ไชโย้

I now see the future that way -- people will have to be more self-reliant, growing their own food, working for themselves, living their own lives with their own vocation.

The age of "salary-man" is coming to a close ;-)

เป็นได้ครับอาจารย์คุณหมอ ป. 

ที่พัทลุงมีเกษตร วิถีพุทธสวนลุงทูล วันหลังจะบันทึกมาแลกเปลี่ยน แต่ จันทร์นี้จะไปเชียงใหม่

คงได้แลกเปลี่ยนในเรื่องเกษตร

ชมภาพแล้วอยากชิมพุทราด้วย  กล่าวถึงคุณครูบาสุทธินันท์นานมากแล้วไม่ได้เยี่ยมชมบันทึกท่าน ไปแวะอ่านที่ไรชื่นชมมากกับการเกษตรที่เขียนเรียกรอยยิ้มให้กับบันทึกเสมอ

เป็นไปได้ค่ะปัจจุบันมีบ้างแล้วเราคนในเมืองไม่ค่อยได้เห็น โรงเรียนหลายๆจังหวัดให้นักเรียนทำเกษตรเป็นอาหารกลางวัน แต่ก็น่าเสียดายโรงเรียนที่ไม่มีพื้นที่ให้นักเรียนสอนได้ตอนเป็นนักเรียนทำกิจกรรมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่

น้องหมอป.เอ่ยถึง แมลงวันพันธุ์หมัน ก็พึ่งทราบว่ามีเป็นพันธุ์เฉพาะด้วย ทำให้พี่ดานึกได้ว่าลืมเขียนบันทึก การทำหมันหนู คงต้องตามเรื่องนี้อีกกครั้งเพื่อมาเขียนบันทึก  ขอบคุณมากค่ะ

สมัยเด็กประถมเคยทำแปลงเกษตรในชั้นเรียนเหมือนกัน ปัจจุบันพอทำเกษตรเอง เลยคิดเอาว่า หากใครได้ลองทำดูด้วยแรงกายของตัวเอง ก็คงจะได้ซึมซาบกลิ่นอายของความอยากรู้อยากเห็น อยากที่ได้ชมผลผลิตจากฝีมือของตนเอง แล้วทักษะต่างๆก็น่าจะตามมา นะ

เท่าที่เคยได้ยินกิจกรรม "ยุวเกษตรโรงเรียน" โดยเฉพาะในโครงการอาหารกลางวัน ได้สร้างโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องอย่างนี้ แล้วบ้างเหมือนกัน

แม้จะไม่ได้เป็นหลักสูตรในชั้นเรียนภาคบังคับ แต่ก็เป็นโลกจริงนอกห้องเรียน ที่เด็กๆจะเรียนรู้ทักษะเพื่อการเอาตัวรอดโดยเฉพาะการผลิตอาหารในเบื้องต้น..

ขอบคุณครับ

เห็นด้วยว่า อาหารต่อไปจะเป็นของมีค่าคะ เพราะที่ดินทำเกษตรถูกใช้ไปปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ระบบขนส่ง เสียมาก
ต่อไป ผู้ที่มีพืชพรรณธัญญาหารในบ้าน จึงจะเรียกว่า ฐานะมั่นคงตัวจริง..ยินดีกับพี่อ้อด้วยคะ

ขอบคุณคะ
เริ่มสบายใจ หลังจากอ่าน http://www.gotoknow.org/posts/516179
เมื่อวาง โทสะ ลง ก็ยังคงต้องจากลา...จากไปเพื่อเติบโต
เพื่อกลับมาสนองคุณแผ่นดินอย่างอิสระขึ้นคะ

ต่อไป ผมเชื่อว่า ผู้คนจะโหยหาวิชาเกษตรกรรม ครับ

อยากปลูกต้นไม้เหมือนกันครับ แต่ไม่มีที่กว้างๆ ตอนนี้เลยปลูกส้มจี๊ด 1 ต้น กับผักชี (4 ต้น)

ส้มจี๊ดมีลูกเล็กๆ 6 ลูกแล้ว ดีใจๆ ;)

ในวันนี้วิชาเกษตร มีเวลาเรียนน้อยลงเพราะกำหนดโดยโครงสร้างหลักสูตรระดับชาติ  เปิดเป็นวิชาเพิ่มเติมขึ้นมา แต่เด็กสายวิทย์ก็มาเรียนไม่ได้ เพราะไม่มีเวลาเรียนให้นะคะ  น่าสงสารวิชาที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตมากๆๆนะคะคุณหมอ. ป. ครูที่บรรจุมาสอนสายวิชาชีพ ทุกวันนี้ แทบจะไม่มีชั่วโมงสอน 

เราอยู่ในพื้นที่ tropical rainforest ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก แต่เรากลับขายพื้นที่เหล่านั้นไปซื้อสิ่งที่มีด้อยคุณค่ากว่า (รถ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ฯลฯ สิ่งของที่หมดมูลค่าเสื่อมราคาไปในเวลาอันสั้น)

หลังจากยางพาราราคาตก เดี๋ยวนี้หาซื้อที่ดินในภาคใต้ง่ายมากครับ

"เป็นไปได้ไหมที่วิชานี้ จะกลับมาสำคัญอีกครั้งใน...ในศตวรรษที่ 21"

ค่อยๆเป็นไปมังคะ อย่างน้อย..ตอนนี้ ผู้คนเริ่มลาออกจากงานทยอยออกนอกเมือง

หันมาปลูกพืชผักกันมากขึ้นแล้วค่ะอาจารย์

กลุ่มที่ทำเกษตรรุ่นใหม่นี้ จะมาพร้อมความเข้าใจในโทษภัยของการเกษตรภาคอุตสาหกรรมแล้ว

และเห็นคุณค่าของงานเกษตร...ไร้สารเคมี พร้อมเรียนรู้ สร้างสรรค์ผลิตผลขึ้นมาด้วยความภาคภูมิใจ


ไม่ได้ถามเด็กๆว่า หลักสูตรมัธยมยังมีให้เรียนหรือไม่

แต่น้องในหมู่บ้าน อยู่ม.๓ ขยันมากค่ะ เลิกเรียนมา เข็นรถเข็นมาตักน้ำที่หนองน้ำเที่ยวละหกปี๊บ

ลากพ่วงจักรยานไปรถผักในแปลงนา เอฟบอกว่า รถน้ำก๊อก ผักไม่สวย

เป็นที่ปรึกษามือขวาของแม่อ้อย ตะวันดินค่ะ:))

ดีใจ ที่เด็กๆชอบปลูกผักกัน  ขอบคุณมากค่ะ

เห็นวงจรชีวิตในวิถีเกษตรที่มีความสุขและยั่งยืนอย่างยิ่งค่ะ..ขอบคุณมากที่ช่วยกันรณรงค์เรื่องเช่นนี้


  • Thank you for the catching future concept
  • Some futurist predict the end of "cubical" era and flourishing of "Creativity"
  • More and more people including me feel no such a 'secured job' - the only thing make us feel secure is improving own value.


ตอนนี้คงกำลังเดินทาง ขอให้ถึงเชียงใหม่โดยสวัสดิภาพนะคะ

แวะมาทักทาย หวังว่าคุณหมอ ป. หลับฝันดีด้วยการนำ 1 ถึง อายุ แล้วย้อนกลับจาก อายุ ถึง 1 อย่าลืมพูดในใจหรือส่งเสียงว่า นอนหลับฝันดีๆๆ ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกการเกษตรพอเพียง

สวัสดีค่ะ คุณหมอ ป.   

โชคดีจังเลยนะคะ ที่ได้มีโอกาสแสวงหาทั้งในโลกเสมือนจริง และในโลกสังคมจริงๆ 

จึงมีภาพพุทรา ปลอดสารพิษมาให้ชม และผลึกความรู้มาแชร์ค่ะ 

เป็นกำลังใจให้ไม่ขึ้ลืม และมีพลังสร้างสรรค์ต่อไปนะคะ

ฝันดีค่ะ

ดีใจที่คุณหมอชอบครูภาษาอังกฤษ เอ้ย ชอบการเกษตร

เคยไปเรียนรู้กับพ่อครูบาฯช่วงหนึ่ง ได้ความรู้มากๆๆ

http://www.gotoknow.org/posts/257028

http://www.gotoknow.org/posts/245628

 ตอนนี้เลยมาทำเองที่บ้าน แต่กำลังโดนไล่ออกจากบ้านเพราะไม่มีเวลากลับบบ้านแงๆ

http://www.gotoknow.org/posts/401726

พ่อครูบาสุทธินันท์ เป็นสุดยอดปราชญ์ชาวบ้านที่น่านับถือท่านหนึ่งเลยค่ะ

พ่อครูสามารถพูดถึงเรื่องราวต่างๆ มากมาย เรียกว่า ฟังเพลินไม่เบื่อเลยค่ะ 

 ว่างๆ ไปนอนเล่นสวนป่าฯ บุรีรัมย์ดูสิคะ  รับรองจะติดใจ...


เรียนอาจารย์คุณหมอ ป. ลุง วอมาถึงเชียงใหม่แล้ ปฎิบัติ พันธกิจของ กทน.เสร็จสิ้นด้วยความเปรมปรีอิ่มหนำสำคาญ ด้วยการต้อนรับอย่างดียิ่งจาก พี่น้องชาวเชียงใหม่

 ขอบคุณคะ การเขียนของพี่ดาก็เหมือนกันคะ  ถ่ายทอดการเรียนรู้จากปฎิบัติ เขียนด้วยใจร่าเริง 

ยินดีกับรางวัลสุดคะนึงอีกครั้งและขออภัยที่กลับมาไม่ทันการมอบดอกไม้คะ


ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนเชียงใหม่คะ ในภาพเลยเห็นสามกัลยาณมิตรผู้พิชิตรางวัลสุดคะนึง :)))

ดีใจแทนพี่กานดาจริงๆ คะ


  • ขอบคุณคะ คุณสุธีวัฒน์ นักวิชาการเกษตรตัวจริงเสียงจริง ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมคะ
  • เด็กในเมืองกรุง เมืองใหญ่ น่าจะรื้อฟื้นวิชาเกษตร ในแง่พัฒนาทักษะการเรียนรู้จากโลกจริง ปรัชญาชีวิต ด้วยดีไหมคะ

คิดวิชาเกษตร...คิดถึงอาจารย์หมอ ป. และโกทูโนว์จังครับ

ตอน ม.ต้น วิชาเกษตรดาวไม่ได้ปลูกผัก แต่ได้ถอนต้นไมยราบออกจากสนามทุกสัปดาห์ค่ะ 555

แต่ถึงยังงั้นก็ชอบนะคะ....ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างนอกตำราค่ะ

ขอบคุณบันทึกที่ทำให้นึกถึงวัยเยานะคะ

-สวัสดีครับ..

-แวะมาสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการเกษตรครับ..

-เป็นคนหนึ่งที่ทำงานส่งเสริมการเกษตร และมีโอกาสได้ให้ความรู้กับน้องยุวเกษตรกรครับ..

-เห็นว่าสมัยนี้วิชาเกษตรจะห่างหายไปจากโรงเรียน โดยเฉพาะการศึกษาที่ไม่ค่อยจะสนับสนุนด้านวิชาชีพการเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี มีทุนเรียนฟรี มีพื้นที่ทำกิจกรรมมากมาย..แต่ไม่ได้รับความสนใจ....น่าเสียดาย...ครับ..

-มีโอกาสไ้ด้ไปเยี่ยมเกษตรกรในพื้นที่จะแนะนำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการเกษตร ครับ..

-ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ คุณหมอ..

ผมว่า การเกษตรสมัยนี้เรียนรู้ง่ายขึ้นนะ และไม่จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชบนดินด้วย

วิธีการปลูกแบบใหม่ที่ดูเหมือนเป็นกระแส..โดยเฉพาะคนในเมือง อย่างปลูกแบบไร้ดิน ในขวดพลาสติกดัดแปลง ถังเก่าๆ บนดาดฟ้าบ้าง และอีกหลายอย่าง

เหล่านี้..น่าจะเปนทางเลือกที่ผู้ใกล้ชิดน่าจะส่งเสริมสำหรับเด็กนักเรียนในเมือง ที่ไม่ค่อยมีเวลาและพื้นที่ในการทำแปลงเกษตร

อีกอย่างรูปแบบการปลูกพืชและเลี้ยงปลาร่วมกัน แบบในต่างประเทศที่เรียกว่า Aquaponics ก็ดูเหมือนน่าสนใจนะครับสำหรับคนเมืองที่พอมีกำลังทรัพย์..

อีกอย่าง..คือ..เราไม่ได้เน้นที่จำนวนผลผลิตนี่นา.... เราเพียงแค่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ในเด็กๆ เท่านั้น

ขอบคุณครับที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน.


ขอบคุณคะ ชื่นชมความคิดนอกกรอบสร้างสรรค์ของคุณสุธีวัฒน์คะ  โดยเฉพาะให้เด็กเรียนรู้จาก Aquapoincs 


ภาพจาก http://www.theinnovationdiaries.com/1355/aquaponics-systems/


ขอบคุณคะอาจารย์ชยันต์..ผู้คนจะโหยหาวิชาเกษตร..โหยหาที่จะเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ (ได้) อย่างแท้จริงคะ


ยินดีด้วยกับผลส้มจี๊ดคะ เริ่มต้นน้อยลูกก็ไม่เป็นไร ขอเพียงเริ่มต้นนะคะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ ป..."ทุกอย่างมีความเป็นไปได้"..แต่..กรุงเทพ..คงยากหน่อย..อิอิ.."คนชอบปลูกตึก"อิอิ..ลดไม่หวาดไหวด้วย"น้ำเงิน"...อ้ะะๆ...สติแตกกันไปเล้ย..Happy Baเจ้าค่ะ...ยายธี...

คนสาธารณสุขคงเหนื่อย และคร่ำเคร่งมากเกินไปจริงๆ ผมได้อ่านก็มีความสุขตามไปแบบเพลินดีเดียว หลังจากหมกมุ่นอยู่กับการทำงานช่วยกันให้ รพ.ผ่านการรับรองซ้ำครั้งที่สอง ....ขณะทำงานก็มีสุขดีนะ หากแต่เมื่อหันมามองงานอดิเรก ความสุขกลับมีมากกว่านะครับ คุณหมอ


ขอบคุณคะพี่ครูตูม เป็นวิชาพื้นฐานชีวิต เห็นคุณค่าของสินค้าเกษตร..นำไปสู่การถนอมอาหารให้นานๆ :))
รอวัน F2F ที่สันทรายนะคะ


ขอบคุณคะอาจารย์ พื้นที่ทำไร่ทำนาที่เชียงใหม่ ก็กลายเป็นดงบ้านจัดสรรเช่นกันคะ..ไม่แน่ใจว่าเพิ่มมูลค่าหรือเปล่า เพราะสร้างไว้กลางโต้งแดดจ้า ไร้มีต้นไม้ เห็นแล้วไม่น่ามีใครอยากอยู่คะ


ขอบคุณคะ นึกภาพคุณ tawandin พาเด็กๆ เรียนรู้ชีวิต เหมือนรายการทุ่งแสงตะวันเลย 

.

ผู้คนทะยอยลาออกจากเมือง มาทำเกษตร
นึกถึง คุณแหม่ม กับ ดร.ปริม ผู้เด็ดเดี่ยวทั้งสองท่านคะ

สำหรับตัวเอง เป็นภาพฝันไว้เช่นกัน
มีความสุขยิ่งนัก เมื่อได้ทดลอง เรียนรู้ธรรมชาติ 


ขอบคุณคะพี่ใหญ่ เป็นการเรียนรู้หาจุดสมดุล เพื่อเข้าสู่แนวทางชีวิต "สงบและเป็นประโยชน์ต่อสังคม" แบบที่พี่ใหญ่เป็น idol ขณะนี้คะ


ขอบคุณคะ ดร.ป๊อป ให้ความกระจ่าง วันนี้นอนไม่หลับ ลองประยุกต์เทคนิคนับของอาจารย์ พร้อมกับเปิดเพลงบรรเลง Zen (รู้สึก เพลงที่เป็น background ช่วยให้มีสมาธิในการนับมากขึ้นคะ)

  ชอบความเห็น  คุณ Bright Lilly เพราะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ปรารถนาดีแฝงในนั้นเสมอคะ


ขอบคุณคะ ได้กลับไปอ่านแล้วอยากมีบวบบ้าง แต่ก็กลัวเป็นแบบอาจารย์ ที่ไม่มีเวลาอยู่บ้านคะ 


ขอบคุณคะ รอธรรมะจัดสรร วันหนึ่งคงได้พบท่านครูบาตัวจริงเสียงจริง

ยินดีที่บทกลอนเล็ก ๆ สร้างความสบายใจให้คุณหมอบางเวลา ป. นะครับ ;)...

เรียนอาจารย์หมอ  ป. จากเหนื่อล่องลงใต้มาถึงสักชั่วโมงที่ผ่านมา

ไปเชียงใหม่ครานี้มีเรื่องเล่ามากมาย


  • สวัสดีคะคุณหมอดาว  ต้นไมยราพดอกสีชมพูฝอยน้อยๆ มีหนาม เห็นภาพความอดทนเลยคะ
  • เท่าที่สังเกตมา คุณหมอที่ชอบกิจกรรมนอกตำรา มักจะเก่งดีมีความสุข จริงไหมคะ


  • ขอบคุณที่เพิ่มข้อมูล เรื่องวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีคะ น่าคิดทีเดียว
  • ชะตาคล้ายกับการฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว :)
  • รากเหตุ..ตั้งสมมติฐานดังนี้คะ โจทย์คือมนุษย์ต้องการ "ไปให้สุดศักยภาพที่มี" - Maximal self potential
    สำหรับหลายคนคำว่า "พื้นฐาน/เบื้องต้น/ทั่วไป" ก็ไม่โดนใจแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องรายได้
    บางทีเราน่าจะปล่อยคนที่เขาอยากไปให้สุดก็ปล่อยให้สุดไป 
    เมื่อถึงที่สุดของเขาแล้ว ก็จะเริ่มคิดถึงสิ่งพื้นฐานเอง



ดีใจที่เดินทางปลอดภัยคะ คงได้อ่านบันทึกเกี่ยวกับเชียงใหม่เร็วๆ นี้คะ


Happy Ba คะ คุณยายธีช่างคิด  ปลูกตึกจนไม่มีที่ปลูกข้าว :)  แต่นั่นแหละคะ สักวันเราอาจเห็นไร่ นา บนดาดฟ้า เนื่องจาก อาหารมีค่าดั่งทอง นะคะ


   ขอแสดงความยินดีกับการผ่านรับรองคุณภาพคะ ระบบคอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญ
...บางทีก็คิดคะ  ความเครียดจากคนไข้ บางทีน้อยกว่าระบบ :)


ด้วยความยินดีและขอบคุณที่ฝากเรื่องจากการเยี่ยมบ้านใน GFGAP นะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท