๑๓๒. ความแตกต่างของคำนิยาม คำว่า "เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน"


ความแตกต่างของคำนิยาม คำว่า "เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน"

 

 

ความแตกต่างของคำนิยาม คำว่า "เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน"

               

               มีใครทราบบ้างหรือไม่ว่า คำ ๓ คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร? แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นและนิยมใช้กัน นั่นคือ คำว่า เงินเดือนมากกว่า ๒ คำหลัง...แต่มันมีที่มาที่ไปของคำทั้ง ๓ คำนี้

              คำว่า "เงินเดือน" เป็นคำนิยามของ บุคลากรที่ทำงานให้กับภาครัฐซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น "ข้าราชการ" สำหรับเงินที่ได้รับเป็นค่าตอบแทนของการทำงานในแต่ละเดือน จะใช้คำว่า "เงินเดือน"

              คำว่า "ค่าจ้าง" จะเป็นคำนิยามของ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งขึ้นอยู่กับคำนิยามที่ภาครัฐหรือส่วนราชการได้กำหนดไว้

              คำว่า "ค่าตอบแทน" จะเป็นคำนิยามของพนักงานราชการ ซึ่งสมัยก่อนไม่มีพนักงานราชการ แต่ปัจจุบันนับตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ภาครัฐได้กำหนดให้มีพนักงานราชการ จึงเป็นเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน ซึ่งจะเรียกว่า "ค่าตอบแทน"

              แต่มา ณ ปัจจุบัน ก็มีคนที่นำไปใช้ผิดกันหมด คือ จะพูดคำเดียวว่า "เงินเดือน" แต่ความเป็นจริงและถูกต้อง เราซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ควรที่จะใช้ให้ถูกต้องกับบุคลากรในแต่ละประเภท เพื่อที่อนาคตเด็กรุ่นต่อ ๆ ไปจะได้ไม่สับสนกับการใช้ความหมายของคำเหล่านี้...เพราะการสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องนั้น จะก่อให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดความเข้าใจตรงกันและถูกต้องในอนาคต เพราะไม่เช่นนั้น จะทำให้เด็กรุ่นหลัง เกิดความเข้าใจที่สับสน เช่น กับคำว่า อุดมศึกษา อ่านว่า อย่างไร?...คำที่ถูกต้อง จะอ่านว่า อุ-ดม-มะ-ศึก-ษา แต่อนุโลมให้อ่าน อุ-ดม-ศึก-ษา ได้ นี่เป็นตัวอย่างของการที่ได้รับการอนุโลมให้อ่าน แล้วก็เป็นปัญหาให้กับเด็กปัจจุบันว่า จะให้อ่านคำที่ถูกต้อง หรือคำที่อนุโลมกัน แล้วคำไหนมันผิด มันถูกกันล่ะ...ซึ่งเป็นประเด็นของปัญหาในเรื่องภาษาไทยในปัจจุบัน...ทำให้เด็กเกิดการสับสนได้...และก็ไม่ต้องการให้คำว่า "เงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน" เป็นเช่นกับคำว่า "อุดมศึกษา"...

             เพราะที่เห็นและใช้กันมาก ณ ปัจจุบัน นั่นคือ เงินเดือน แม้แต่ธนาคารจะให้ส่วนราชการรับรอง ต้องให้รับรองลูกจ้างว่าเป็นเงินเดือน จึงจะให้กู้เงิน ก็เป็นเรื่องน่าแปลกดีเหมือนกัน...สู้ความจริงก็คือ "ความจริง" นั่นแหล่ะดีที่สุด ก็เขาไม่ได้เป็นข้าราชการ เขาเป็นลูกจ้าง เขาก็ควรใช้คำว่า "ค่าจ้าง" แล้วพอมันเกิดเรื่องขึ้นมา อย่างไร เขาก็ไม่สามารถเป็นข้าราชการได้หรอก...เป็นเรื่องที่ทางธนาคารควรกลับไปคิดได้แล้วว่า ควรเลือกใช้คำไหน ถ้าคุณจะให้เขากู้เงิน ธนาคารจะเอา "ความจริง" หรือ กับคำ "โกหก" ที่ต้องให้ส่วนราชการรับรองไปว่า ลูกจ้าง ได้รับเงินเดือน...ซึ่งนิยามมันผิดไปจาก "ค่าจ้าง" ค่าจ้างก็คือค่าจ้าง ๆ ก็คือ เงินเดือน นั่นแหล่ะ...เพียงแต่นิยามมันไม่สามารถใช้คำว่า "เงินเดือน" ได้...บางครั้งก็น่าปวดหัวเอาเสียจริงกับการทำงานในยุคปัจจุบัน...

                มีผู้ใหญ่บางท่านบอกว่า...ใช้ ๆ ไปเถอะ "เงินเดือน" มันเหมือนกัน...แล้วมันจริงหรือ กับคำว่า "มันเหมือนกัน" ก็รู้อยู่ทั้งรู้ว่า "มันไม่เหมือนกัน" แล้วคนเราก็ยังจะดันทุรังใช้ไปกันอีกหรือ?...นี่แหล่ะหนอ..."ชีวิตของผู้ปฏิบัติ" ปฏิบัติถูกก็ว่าไม่ใช่ ปฏิบัติไม่ถูกก็ว่าใช่...ใครรู้ก็ช่วยบอกที่ว่า ควรปฏิบัติเช่นไร?...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 505265เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2013 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

"เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน" ....  3 คำ  นี้แตกต่างกัน ทั้งความหมาย...คุณค่า ... ความรู้สึก .... นะคะ (ในความคิดของหมอเปิ้น)

 

  • ค่ะ หมอเปิ้น Blank
  • เป็นคำที่แตกต่างกัน แต่ทำอย่างไรได้ ในเมื่อในยุคนี้มีให้เลือกเป็นได้กับคำ ๓ คำนี้ หากเราต้องการเป็นข้าราชการก็ต้องสอบให้ได้ ไม่ได้ก็ต้องเป็นลูกจ้าง หรือถ้าเลือกไม่ได้จริง ๆ กับสมัยนี้ พนักงานราชการก็สามารถเป็นได้
  • เป็นเพราะระบบข้าราชการไทยเรา เป็นระบบศักดินากันมาก่อนกระมังค่ะ จึงทำให้คนเราชอบคิดไปเองกับความแตกต่าง
  • แต่สำหรับผู้เขียนทำงานบุคคล จึงไม่ค่อยจะนึกถึงว่าแตกต่างกันมากหรอกค่ะ เพียงแต่ต่างกันในเรื่อง สิทธิประโยชน์ มากกว่า สำหรับภาระงานนั้นจะแตกต่างกันไปตามหน้าที่และบทบาทที่ได้รับมากกว่า สำหรับคุณค่าของความเป็นคนก็ยังคงเท่าเทียมกันค่ะ ถ้าคนเราอยู่ร่วมกันในสังคม ก็ควรให้เกียรติซึ่งกันและกันมากกว่า
  • มันต่างกันแค่ความเป็นประเภทบุคลากรเองค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาและขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยนะคะ

ดีค่ะ ทำให้เข้าใจมากขึ้น จะได้ใช้ถูก

-สวัสดีครับ..

-แวะมาอ่านคำนิยาม..ของ 3 คำนี้...

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ..

-มาชวนอาจารย์ไปเที่ยวงานกล้วยไข่ครับ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท