เพลงสอนไว้ "ป่าชายเลน" มีประโยชน์เช่นไร??


คุณค่าและประโยชน์ของป่าชายเลน ที่กลั่นกรองจากกระบวนการเรียนรู้ในกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ พี่ๆนักศึกษาได้สื่อสารออกมาเป็นบทเพลงฝากไว้สอนน้อง... เพลงนี้ถูกนำมาใช้จัดกิจรรมทุกครั้งเป็นระยะเวลานานถึง 8 ปี..มีคุณค่ามากมายในหลายมิติ..

เพลงป่าชายเลน

** เหล่าโกงกางหมู่แสม ปะปนเป เป็นป่าชายเลน

เหล่าโกงกาง ต้นลำพู มารวมอยู่เป็นป่าชายเลน

หนูๆ รู้บ้างไหม..ป่าชายเลนมีประโยชน์เช่นไร

หนูๆ ตอบได้ไหม  ถ้าตอบไม่ได้พี่จะบอกให้ฟัง

* ข้อ 1 เป็นแหล่ง อนุบาลสัตว์น้ำ  

ข้อ 2 เป็นแหล่งป้องกันคลื่นลม

ข้อ 3 ฟังให้ดี ข้อนี้จงตั้งใจฟัง

ป่าชายเลน ทำให้ทะเลมีความสมบูรณ์

หนูๆ ได้ฟังดังนี้ คงรู้ดีมีประโยชน์เช่นไร

หนูๆ อย่าคิดทำลาย ช่วยรักษาและอนุรักษ์มัน

ซ้ำ *, **

 อ่านบันทึกเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/bird-story/327

 

เช้าวันหนึ่งหนุ่มน้อยร่างสันทัดเผยรอยยิ้มน้อยๆซึ่งเห็นไม่บ่อยนัก ไอย์ แวะเข้ามาหาที่ห้องทำงาน  วางกระดาษลงบนโต๊ะ  พร้อมบอกว่า "ผมแต่งเพลงให้อาจารย์  2 เพลงครับ" :-)).. "ครูพื้นที่" กล่าวชื่นชมและร้องถาม....สองเพลงเชียวเหรอค่ะ?? พร้อมหยิบกระดาษชิ้นนั้นขึ้นมาดู ก็พบลายมือที่บรรจงเขียนตัวอักษรเป็นคำร้องพร้อมคอร์ดกีตาร์กำกับไว้

ภาพเก่าๆย้อนกลับไปถึงวันที่เราเริ่มกิจกรรม ได้ประดังขึ้นมาจากความทรงจำในความน่ารักของศิษย์ หลังจากที่ครั้งหนึ่งได้ประกาศเชิญชวนไว้ว่า เราจะไปร้องเพลงและเปิดหมวกในมอ.เพื่อหาเงินมาจัดกิจกรรมกันดีไหม๊....ใครมีฝีมือทางด้านดนตรีบ้าง??  ครั้งนั้นตั้งใจว่าจะเป็นการร่วมรณรงค์รักษ์ป่าชายเลน...ผู้คนจะได้รู้จัก รัก และเห็นคุณค่าของป่าชายเลนมากขึ้น  อีกทั้งเราเริ่มขอพื้นที่จากทางมหาวิทยาลัย ปรับปรุงเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนในมอ.ของเราด้วย ศิษย์ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆที่จัดต่อเนื่องกันมาตลอดเทอม สุดท้ายกลั่นกรองออกมาเป็นเนื้อร้องพร้อมจังหวะท่วงทำนอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงนี้  ถือเป็นเพลงประจำในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง...ต่อมาเราเผยแพร่เพลงนี้ออกไปเมื่อทำกิจกรรมเชิงอนุรักษ์


"ไอย์  เสกสรร เล่นกีตาร์โปร่งในบันทึกนี้โดยมีเพื่อนๆร่วมร้องเพลงด้วย  ขณะฝึกซ้อมซึ่งใช้เวลาไม่มากนัก...หากเพื่อน ร้องคร่อมจังหวะ หรือผิดคีย์ ไอย์ก็จะเล่นซ้ำๆจนทุกคนจับจังหวะได้  ในที่สุดทั้งครูและศิษย์ร่วมกันร้องเพลงต้นฉบับนี้ ขณะที่คุณสมศักดิ์ บัวทิพย์ และคุณจิตตนันท์ แก้วมณีสุขซึ่งทำงานที่พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเีรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี ได้ช่วยอัดเสียงจากเครื่องมือที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่วนคุณคณิศร รักจิตร ได้ช่วยแนะนำเรื่องการอัพโหลดไว้ใน youtube ... และแล้วในที่สุดเราก็ได้เพลงที่ร้องร่วมกันและเผยแพร่ออกไป... สื่อความหมายดีๆ


สื่อชิ้นนี้เราใช้ในการจัดกิจกรรม/อบรมครูเกี่ยวกับป่าชายเลน นก และอื่น ตลอดมา..ปัจจุบันเพลงนี้จึงเป็นที่รู้จักในโรงเรียนต่างๆทั้งมัธยมและประถมฯ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานีที่เราไปจัดกิจรรมทุกปีร่วมกับนักศึกษา ปีละไม่ต่ำกว่า 10 โรงเรียน หรือในพื้นที่ชายฝั่งที่เราจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในหมู่บ้านรอบอ่าวปัตตานีและใกล้เคียง ทั้งนักเรียนนอกระบบ โรงเรียนตาฎีกา หรือคุณครูที่ผ่านการอบรมก็นำไปใช้ในโรงเรียนของท่าน เด็กๆก็จะร้องเพลงนี้ได้..ไม่ยากนัก..นำมาฝากกัลยาณมิตร GotoKnow ทุกท่านค่ะ...ถ้าสนใจ...ลองฟังดูค่ะ..


ทุกครั้งที่ร้องเพลงนี้/ได้ยิน หรือใช้เพลงนี้ในการทำกิจกรรมตั้งแต่ปีแรก 2547 จนถึงปัจจุบัน ยังระลึกถึงศิลปินน้อยของเราเสมอ..."ไอย์ เสกสรร”  ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง.. ศิษย์รุ่นแรกที่เราเริ่มทำกิจกรรมพิพิธภัณฑ์สัญจรไปยังโรงเรียนต่างๆ..

โดยใช้นกและทรัพยากรชายฝั่งเป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติ...เชิญชวนเข้ามาศึกษาในแหล่งเรียนรู้ในมอ.ของเรา กล่าวได้ว่าเสียงเพลงนี้ได้ทำหน้าที่ แทนความรัก ความห่วงใยป่าชายเลนจากรุ่นพี่ ที่กลั่นกรองเป็นเนื้อร้องจากการฝึกปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ช่วยปลูกฝัง..จิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนได้เป็นอย่างดีตลอดมา..จวบจนทุกวันนี้..:-))


..๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕...

....pax vobiscum...

(๑๐)



หมายเลขบันทึก: 489310เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เสริมครับ เป็นแหล่งแมลงชอบอยู่ด้วย ทำให้มีนกมาก เพื่อมากินแมลง

คนถางทางค่ะ.. ขอบคุณค่ะ ใช่เลย..แมลงมากด้วยซิค่ะ ทั้งหิ่งห้อยและอื่นๆ เรากำลังเก็บรวบรวมชนิดแมลงในป่าชายเลนในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มอ.อยู่นะค่ะ มีนกประเภทกินแมลงมากมายมาอาศัย..รอเพิ่มในเพลงเวอร์ชั่นใหมนะค่ะ เผื่อว่าจะขอความอนุเคราะห์ " คนถางถาง" ช่วยแต่งให้ก็จะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ...:-))

นิเวศวัฒนธรรม...ที่ทรงพลังอย่างที่สุด
ดีใจที่ได้เห็นกระบวนการเรียนรู้ในแบบเช่นนี้
สื่อที่สร้างสรรค์ขึ้นมา สามารถเข้าสู่การรับรู้ได้ง่าย ตรึงใจ...
คิดถึงการเรียนการสอนในอดีต เคยร้องเพลงต่างๆ เป็นชุดบทเรียน เช่น "วันเข้าพรรษา โปรดจงได้จดจำ..เดือนแปด..."  หรือ "มาฆะมาฆะบูชา...รู้กันว่าวันเพ็ญเดือนสาม..."

ร้องได้ ก็เท่ากับว่ารู้บริบทของเรื่องนั้นพอสมควรแล้ว...
ที่เหลือ คือการค้นคว้า เสาะแสวงหาเพิ่มเติมจากสิ่งต่างๆ

..

ชื่นชมครับ

เรียนอาจารย์ขวัญ ไปค่ายลูกไม้ชายเลนที่ตราดมา 

"ฉันมีป่าชายเลน

 ที่พวกเราอาศัยหากิน

เด็กน้อยได้คอยวิ่งเล่น

ตามป่าเลนอันงดงาม

เดินจับปูคอยดูป่า

ตามประสาเด็กน้อยวัยเยาว์

พ่อแม่เคยบอกไว้ ป่าคือสายใยของพวกเรา

*ตั้งแต่เกืดมา ป่าให้คุณค่ามากมาย

ทั้งชีวิตที่อยู่ได้ ป่ามีความหมายกับพวกเราทุกคน

** เราขอสัญญา

 ด้วยพลังเยาวชนรุ่นใหม่

จะร่วมแรงร่วมใจ ช่วยรักษาให้หยุดจับร้อย จะคอยจับล้าน

ให้เป็นกฎเก็นฑ์ร่วมกันของชุมชน  (ซ้ำ***)

  • แวะมาขอบคุณและทักทายยามดึกจ้ะ
  • มีมังคุดสีทับทิมมาฝากด้วย
  • ฝันดีจ้ะ

ป่าชายเลนเป็นสวรรค์ในการออกไปชื่นชมธรรมชาติในชีวิตเรียบง่ายที่นี่ค่ะ

ขอให้กำลังใจกิจกรรมดีดีนี้ค่ะ

อาจารย์แผ่นดินค่ะ ขอบคุณค่ะ..ที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจ ในผลงานที่เกิดจากกระบวนการเรียนรุ้ของนักศึกษา :-)) ...เช่นกัน สงสัยอาจารย์กับพี่ เรียนหลักสูตรเดียวกันนะค่ะ ..เพราะดูจากเพลงที่อาจารย์ยังจำได้ตั้งแต่ครั้งกระโน้น เพลงที่พี่ร้องได้ตั้งแต่เด็กๆ จะเป็นเพลงเดียวกะ ที่อาจารย์เขียนใน ความเห็นค่ะ พี่จำได้หลายเพลงเชียวนะค่ะ ยังร้องให้นักศึกษาฟังเลย แล้วเค้าก็ทึ่งว่า สมัยก่อนผู้ใหญ่ใจดีเค้าช่างมีกุศลโลบายที่ดีในการเรียนรู้ ..แต่งเป็นเพลงทำให้สนุกและจำได้ ไม่ต้องท่องเนื้อหา เพราะเราร้องกันทุกวันที่โรงเรียนสมัยเรียนประถม จนทุกวันนี้ก็ยังร้องได้ ทั้งเพลงที่มีสาระเชิงประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เช่น เพลง"วันมาฆะ"..มาฆะ มาฆะบูชา เรารู้ก้นว่า วัญเพ็ญเดือนสาม คนไทยน้ำใจงาม วันเพ็ญเืดือนสามไปทำบุญกัน..จาตุรงคสันนิบาต วันประหลาดน่าอัศจรรย์...

เพลง "เมืองอู่ทอง"..เมืองอู่ทอง แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน โรคร้ายมากมายเหลือเกิน จึงชวนจึงเชิญ หาที่อยู่ใหม่...

หรือเพลง "หลุย ปาสเตอร์" ..หลุยปาสเตอร์ พบว่ามีจุิลินทรีย์ จึงคิดวิธีทำลายเชื้อโรคที่อันตราย โรคกลัวน้ำทำลายชีวิตคนมามากมาย คนรอดตายด้วยความคิด หลุยปาสเตอร์"

หรือเพลง "วิลเบอร์และออรวิล ไรท์." .. วิลเบอร์และออรวิล ไรท์..เกิดในอเมริกา สมปรารถนาคิดเรือบิน จนบินได้ ทำงานกันสองคน ไม่เถียงไม่บ่น.. พี่ยังร้องจบได้ทุกเพลงค่ะ...พอแค่นี้ก่อนนะค่ะ ประเดี๋ยวจะยาวไปค่ะ :-)) ..

จึงเห็นคุณค่า กับบทเพลงที่นักศึกษาแต่ง ด้วยเพราะผ่านกระบวนการเรียนรู้ จากการร่วมกิจกรรม จึงเป็น outcome ที่สุดยอดจริงๆ..เห็นเป็นเช่นนั้น คล้ายกับอาจารย์พนัสค่ะ

บังวอญ่า ค่ะ..ขอบคุณสำหรับเพลงความหมายดีๆ ที่ควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ดีๆ ที่ตราดนะค่ะ...เดินทางไกล ไปทั่วทิศ บ่มเพาะต้นกล้า ทั้ง SHA และ ไม้ชายเลนเลย นะค่ะ .. บ..บังผู้ใหญ่ใจดีของเรา :-))

ขอบคุณ คุณมะเืดื่อ และน้องปริม ด้วยค่ะ ที่เป็นกำลังใจตลอดมา...ช่วยบ่มเพาะต้นกล้า ที่ถึงแม้ "ฝักโกงกาง" โดยธรรมชาติพยายามที่จะงอกมาตั้งแต่อยู่บนต้น เตรียมความพร้อม ว่าเมื่อหล่นลงมาบนเลนจะได้ปักและโตได้ทันที แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เปอร์เซ็นต์การรอดก็ยังน้อยอยู่ เป็นเพราะคลื่นลมแรง พายุกระหน่ำ พัดพาออกไปจากฝั่ง แต่ก็ยังมีที่ฝักที่รอดพ้นภัยคุกคามเหล่านั้น สักวันโตเป็นต้นกล้า และอีกไม่นานต้นชายเลนนี้ก็จะทำหน้าที่ ที่สมบูรณ์ได้ในวันข้างหน้า เมื่อเค้าเติบใหญ่ หน้าที่ของเราคนรู่นก่อนก็ช่วยกันตรงนี้ละค่ะ ให้ไม้ชายเลนเหล่านัน้นยืนหยัดสู้คลื่นลม ได้อย่างทรนง แถมยังประโยชน์ให้กับเพื่อนสรรพสัตว์ และปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งได้อย่างดี :-))

ขอบคุณทุกท่านสำหรับดอกไม้ ที่มอบให้ไว้ จักเก็บไว้ชื่นชม :-))

เมื่อไม่นานมานี้ได้ไปชมป่าชายเลนแถวปราณบุรีค่ะ เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ทำไว้ให้คนไปเดินชมได้สะดวก เห็นโรงเรียนพาเด็กเล็กๆไปชมด้วย ได้ชมได้เรียนรู้จากการเห็นของจริงแล้วประทับใจ เข้าใจความสำคัญของป่าชายเลน เห็นชีวิตมากมายหลากหลายทั้งต้นไม้ กุ้ง หอย ปู ปลาที่อยู่ร่วมกันค่ะ

เพลงนี้น่าส่งเสริมให้เอาไปใช้คู่กับการเรียนรู้ในพื้นที่ป่าชายเลนทุกแห่งนะคะ คงทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กๆน่าสนุกและเกิดการจดจำได้ดียิ่งขึ้น

ขอบคุณค่ะ คุณนุช ที่ชอบและเห็นคุณค่าของเพลงนี้ ..ซึ่งที่นำมาเสนอไว้ที่ GotoKnow ก็เพื่อที่ จะเป็นประโยชน์หากใครจะเอาไปใช้กับน้องๆนักเรียนค่ะ จริงๆแล้วเพลงนี้เนื้่อร้องไม่ยากนัก สังเกตจากนักเรียนประถม ที่เราไปจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ ยังใข้ภาษามลายูถิ่นในการพูด ฉะนั้นการสื่อสารด้วยการเขียน และฝึกพูดภาษากลางก็ต้องเรียนรู้และทำต่อเนื่อง และประจักษ์พยานก็คือสอนแป๊บเดียวเด็กๆก็จะร้องได้ จึงเป็นกิจกรรมมี่ค่อนข้างจะบูรณาการในหลายๆสาระวิชา .. ภาพประกอบเพลงที่ใช้ก็เป็นกิจกรรมที่เราทำร่วมกับเด็กๆค่ะ คุณนุช สมัยแรกๆ ลงไปลุย โคลนเลน ช่วงทีน้ำขึ้น น้ำลงก็ได้เห็นของจริง ใช้ตระแกรงตักเลนร่อน กันเลยว่า มีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างในแนวน้ำขึ้ันน้ำลง วัดอุณหภูมิน้ำ ดินเป็นอย่างไร สัตว์พวกดอกไม้ทะเล (sea anemone) ฟองน้ำ ก็มี ต้นแสมเล็กๆใต้ต้นใหญ่ มีอัตราการเจริญอย่างไร?? สนุกสนานมากค่ะ เพราะเด็กๆตื่นเต้น ได้ดูและทำจริงๆ บางโรงเรียน กระโดดออกไปว่ายน้ำ เพระทนเห็นน้ำไม่ได้ เืดือดร้อนที่คุณครูที่นำนักเรียนมาให้เราจัดกิจกรรมให้ต้อง ดูให้ดี เห็นได้เลยว่า ปลูกฝังอะไรเค้าไว้ตั้งแต่ เล็กๆ ที่เค้ามีความสนใจ ใคร่รู้ อยากทำ อยากทดลง ไม่มีความกลัว สักวันหนึ่งก็คงจะเห็นผลค่ะ.ธรรมชาติทำให้คนอ่อนโยน/และเข้มแข็ง..แล้วแต่บริบทต่างๆที่ได้เห็น ได้เรียนรู้ ถ้าได้ผู้ชี้แนะก็เยี่ยมเลย..เราพร้อมที่จะำทำหน้าที่นั้นค่ะ :-))

  • ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปัน
  • ป่าชายเลย เป็นธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์
  • ขอชื่นชมครับ

คุณเขียวมรกตค่ะ ..ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ :-)) .ใช่ค่ะ.ป่าชายเลนมีประโยชน์มากมาย ควรค่าแก่การอนุกรักษ์ไว้ ขณะที่กำลังถูกคุกคามมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ลดจำนวนลงไป นอกจากจะีมีประโยชน์อย่างที่นักศึกษาได้กลั่นกรองเป็นเพลง หลังจากร่วมกิจกรรมเชิงอนุร้กษ์แล้ว มิติเรื่องประโยชน์ของพืชพรรณที่เป็นสมุนไพร จุลินทรีย์ในดิน น้ำ บริเวณป่าชายเลน หรือในมิติของการเตรียมพร้อมเรื่อง ภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น ก็เป็นโมเดลที่ สนใจศึกษากันมากขึ้นค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท