“บูรงกากา Burung KaKa”.. ภาษา&เพลง..ฝึกเล่นดนตรี


ฝึกเล่นดนตรีเพลง “บูรงกากา.. Burung KaKa” ซึ่งเป็นเพลงที่รู้จักกันดีในภูมิภาคอาเชี่ยนที่ใช้ภาษา “บาฮาซา Bahasa” ได้แก่ มาเลย์ อินโดนีเชีย และไทย (ภาคใต้ตอนล่าง).... แม้ชีวิตมิได้หยุดนิ่ง การเรียนรู้ก็เป็นพลวัตร (dynamic) ตามกัน

บูรงกากา”.. ภาษา & เพลง..ฝึกเล่นดนตรี

ภาษาดนตรี..ท่วงทำนอง จังหวะและเสียงประกอบจากเครื่องเล่นแต่ละชิ้น ทำให้เพลงที่ใช้เต้น “รองเง็ง”และ “ตาลีกีปัส” ชวนฟังยิ่งนัก ด้วยเสียงไวโอลินเร่งเร้าสลับกับอ่อนหวานผ่อนหนักเบา..เป็นความรื่นเริงในวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ ..ถิ่นใต้ปลายด้ามขวาน ที่ร่ำรวยภาษา ศิลปวัฒนธรรม และการละเล่น แต่ทว่าสิ่งดีๆที่ควรค่าแก่การสืบสานเหล่านี้จะแผ่วเบาไปด้วยการถูกบดบังจากอะไรๆ..ที่เกิดขึ้นรายรอบด้าน :-(( 

 

“ครูพื้นที่” ได้มีโอกาสชื่นชมสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมๆกับการฝึกเรียนรู้  โดยมีพื้นฐานจากความชอบ อีกทั้งดนตรียังเป็นสื่อที่ดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในบริบทต่างๆ  ครั้นเมื่อมาใช้ชีวิตที่นี่..ซึ่งนอกจากจะเป็นถิ่นที่สื่อสารด้วยภาษาไทยแล้วยังใช้ภาษา “มลายูถิ่น” เป็นภาษาแม่ .. ภาษาแรกที่พูดได้และใช้ในชีวิตประจำวัน 

 

มีข้อสังเกตว่าเพลงบางเพลงใช้ภาษาร้องเป็น “มลายูกลาง” ฟังดูแล้วการออกเสียงอาจแตกต่างกันไปบ้างกับภาษามลายูิ่ท้องถิ่น แต่บางคำก็ต่างโดยสิ้นเชิง จึงได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษามลายูถิ่นในบริบทต่างๆไปด้วยทีละน้อย ๆ..ก็สนุกสนานตามประสา..บางครั้งเข้าข่ายประเภทตลกขบขัน เพราะทำให้ผิดความหมายด้วยการออกเสียงไม่ถูก.. ซะจริงๆเชียว

 

“ฝึกพูดอย่างไร คำบางคำก็ออกมาไม่เหมือนเจ้าของภาษา” เป็นสิ่งที่ได้ปรารภกับพ่อในช่วงที่กลับไปเยี่ยมบ้าน  ท่านรู้เรื่อง phonetic บ้างจึงให้ความเห็นว่า articulation ของเราไม่ได้ถูกฝึกมาให้ออกเสียงอย่างนั้นตั้งแต่เล็กๆ ก็เลยต้องพยายามมากหน่อย .. ได้ฟังแล้วอย่างนั้น ก็ยังมีความหวังว่า อีกไม่นานก็คงฝึกที่จะพูดโดยออกเสียงได้ถูกต้องหากฝึกบ่อยๆ การฝึกเล่นดนตรีและร้องเพลงด้วยภาษาถิ่น จึงเป็นช่องทางในการเรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับที่ใช้ได้ผลเมื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการฟังเพลง

 

เมื่อรักที่จะเรียนก็ต้องฝึกมาก ไม่ว่าจะเรียนรู้อะไร ..นั่นคืือความจริง...และเมื่อศิษย์พร้อม ครูก็จะบังเกิดทันที :-)) ครั้งนี้เลือกฝึกเล่นไวโอลินด้วยเพลงที่ร้องได้เมื่อครั้งวัยเด็ก ๆ “บูรงกากา.. Burung KaKa” (คลิ๊บวีดีโอที่ได้บันทึกไว้เมื่อช่่่วงปีใหม่'55..เป็นผลงานที่ฝึกเล่นครั้งแรก ร่วมกับเครื่องดนตรีอีกหนึ่งชิ้นและฝึกเล่นภายใน 2 ชั่วโมง  ...สำหรับผู้ที่เพิ่งฝึกเล่นไวโอลิน.. จึงเป็นช่วงเวลาที่สนุกดีจัง..ขอบคุณค่ะพ่อที่ช่วยสอน คลอ..ดนตรีนำทางให้  ส่วน improvise ก็ช่วยให้สนุกในขณะเล่นด้วย :-))  เพลงนี้เรียกได้ว่าเป็นเพลงที่ใช้ร้องในระดับอนุบาลเลยทีเดียว คล้ายๆกับเพลง "ช้าง"ที่ใครๆบ้านเราก็ร้องได้ เพลงบูรงกากา (เพลง "นก") รู้จักกันดีในภูมิภาคอาเชี่ยนแถบนี้ ที่ใช้ภาษา “บาฮาซา: Bahasa” ได้แก่ มาเลย์ อินโดนีเชีย และไทย (ภาคใต้ตอนล่าง) 

 

Burung kaka tua,       Hinggap di jendela,  
Nenek sudah tua,       Giginya tinggal dua,  

let-trum, let-trum, let-trum hoo la la  ( 3x) ..Burung kaka tua

บูรง ก่าก๊า ตูอา          ฮิงกับ ดิเจนเดอลา

แนแนะ ซูดะห์ ตูอา     กิกินยา ติงกัล ดูวา

(ภาษา ในเนื้อร้อง ใกล้เคียงกับภาษามลายูถิ่นที่ใช้ในพื้นที่แถบภาคใต้ตอนล่าง มีความหมายดังนี้  (Burung  นก), (Tua แก่),  (Hinggap เกาะ),  (Jendela หน้าต่าง),  (Nenke คุณยาย), (Ginginya ฟัน) ,  (Tinggal เหลืออยู่), (dua สอง)...ถ้าแปลไม่ถูกก็น้อมรับการแก้ไข..ค่ะ :-))


แม้ชีวิตมิได้หยุดนิ่ง การเรียนรู้ก็เป็นพลวัตร (dynamic) ตามกัน  หากคิดจะใฝ่หา ทำได้ด้วยการสร้างโอกาส โดยมีแรงผลักดันจากภายในตัวเอง ผนวกกับความสนุกและรักที่จะทำสิ่งนั้นๆ  อีกทั้งกระทำอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นผลแน่นอน…เอ๋..KM อยู่ตรงไหน.. มีแน่ๆ ??  (อ่านบันทึกเพิ่มเติมได้ที่นี่  http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/827)

 

 

..๕ เมษายน ๒๕๕๕

...pax vobiscum..

...(๕)

 

 

หมายเลขบันทึก: 484354เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ ตามมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ขอบคุณค่ะ

เพลงนี้เป็นเพลงที่ผมร้องได้ เพราะเป็นเพลงลูกเสือ ...และยังร้องเล่นคนเดียวขณะขับรถจนถึงวันนี้

บุรง ก่าก๋า ตูอา

The Im ยังเอาทำนองมาร้อง โดยจบลงที่

นกน้อยยัง คืนรัง เคียงเรือน

ขอบคุณค่ะ ..."คุณถาวร" คะ ..ตามเรียนรู้ ก็เชิญชวนร้องเพลงนี้เป็นภาษาถิ่นด้วยนะค่ะ "คนถางถาง"คะ ...เช่นกันค่ะ..สมัยเด็กๆร้องเพลงนี้ได้ แต่ไม่รู้ความหมาย ถูกสอนให้ร้องก็ร้อง...ว่าไงก็ว่ากัน แต่เมื่อได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของภาษาในเพลงดั้งเดิมที่ใช้ ก็ชื่นชมเพลงนี้มากขี้น เพราะความหมายน่ารักดีค่ะ :-))

เข้าไปอ่านใน web ของอาจารย์โอโหภาพและข้อมูลดีมาก มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ ชอบดูนกมากๆ

ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต ที่กรุณาแวะที่เยี่ยมชมที่เว็บ "บูรงตานี" จริงๆแล้วเป็นผลงานของทีมค่ะ แต่มีตัวเองเป็นพี่ใหญ่กว่าเพื่อน ก็เลยทำหน้าที่ซะทุกอย่างมากน้อยไปตามบริบท เช่น คุณกิจ คุณอำนวย คุณลิขิต และทุกๆอย่างที่สุดแล้วจะขาดเหลืออะไร "เริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลย เรียนรู้ร่วมกัน ผ่าฝันอุปสรรคนานา.. ฝ่ายหนึ่งเก็บข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลพื้นที่ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียนรู้การสร้างเว็บตามที่ design ร่วมกัน ใช้เวลา 4 ปี และเพิ่งเปิดรับสมาชิกและใช้งานจนมีอายุครบ 1 ขวบเมื่อไม่นานมานี้เองค่ะ.....an on going journal .:-))

เชียร์เรื่อง web ของอาจารย์ สามารถสร้างที่นี่ได้ด้วยครับ ใช้รหัสผ่านจาก gotoknow ได้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

http://portal.in.th/kha-ku/pages/4815/

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่ไปมอบดอกไม้ให้กันนะคะ

ชื่นชมอาจารย์จังเลย มีความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจจริง ความตั้งใจดี ทำจริง

เมื่อก่อนเคยอยู่ภาคใต้ตอนเป็นเด็กมากๆค่ะ จำได้ถึงการที่คุณแม่ฮัมเพลง บุรง กากา ฟังแล้วเย็นใจดีนะคะ

สวัสดีค่ะ "ดร. ยุวนุช, พี่นุช หรือ คุณนายดอกเตอร์" ขออนุญาตเรียกว่า คุณนุช นะค่ะ น่ารักดี ก่อนอื่นต้องขอบคุณ ที่แวะเข้าไปดูเว็บไซต์ "บูรงตานี" ผลงานสเกลเล็กๆ แต่สร้างมาด้วยความรักในหลากหลายมิติค่ะ เพียงแต่ คุณนุช แวะเข้ามาทักทายนี่ก็เป็นกำลังใจมากมายแล้วค่ะ แถมด้วยคำชมอีก ขอบคุณมากมายค่ะ

จริงๆโดยส่วนตัวได้แวะเวียนเข้ามาอ่านงานใน GTK เป็นครั้งคราวตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ก็เห็นข้อเขียนของคุณนุช มีภาพสวยๆและเรื่องราน่าอ่าน บางทีก็เรื่องเรียนที่ FR. คิดว่าทั้งคุณนุช และตัวเอง มีความชอบคล้ายๆกัน ..หนึ่งในนั้นคือ ธรรมชาติ ทำให้ ธรรม-ชาติจัดสรรมาเจอกันในฐานะ "คนใน" เพราะเป็น "คนนอก" มาซะนาน ก็มิอาจ comment งานของใคร ขอลองฝึกทำอะไรๆดูก่อน ได้รสชาติเป็นอย่างไร ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน ช่วงนี้ก็เลยเข้ามาเป็นสมาชิก GTK ค่ะ เลยเข้าไปให้ดอกไม้ในงานเขียนที่น่าอ่าน ชวนติดตามไปเที่ยวด้วย ..บังเอิญเคยแวะพัก transit เครื่องที่สนามบินนาิริตะก่อนไปนำเสนองานที่ชิคาโก ช่วงเดือนนี้เช่นกันเมื่อหลายปีก่อนโน้น เห็นดอกไม้สวยตั้งแต่บนเครื่อง ก่อนแตะรันเวย์ เลยคิดถึงเช่นกัน

คุณนุชค่ะ ดีจังเลย ที่ได้ฟังเพลงบุรง กา กา ที่คุณแม่ฮัมเพลงนี้ให้ฟังสมัยเด็กๆ .ทำนองและเนื้อร้องน่ารักจริงๆค่ะ สังเกตดูว่าเมื่อพบเจอเพื่อนต่างชาติไม่ว่าจะregion ไหน เรื่องราวสมัยเด็กก็จะถูกนำมาแลกเปลีียนไม่ว่าจะเป็นเพลงเด็กๆ นิทานอีสป หรือ จิตสาธารณะ girl guide ...คุยกันได้อรรถรสดีในทุกเื่รื่อง วัยเยาว์จึงมีความหมายมากนะค่ะ

เมื่อไหร่มีโอกาสลงมาทางใต้ ใกล้ๆถิ่นนี้คงได้มีโอกาสเจอกันบ้าง :-))

สิ่งหนึ่งที่นำเอาภาพการฝึกเล่นไวโอลิน เพลงบุรงกากามาเขียนในบล็อก ก็เพราะว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่นี่ (มอ. ปัตตานี) มากกว่า 90 % เป็นมุสลิม, ใช้ภาษาในชีวิตประจำวันเป็น มลายูถิ่น ต่างกันเลยกับครู ซึ่งไม่มีพื้นฐานภาษานี้เลย จึงใช้โอกาสนี้แสดงให้เห็นว่า ทุกอย่างฝึกกันได้ เรียนรู้กันได้ ครูก็มี mode ของการทำไม่เป็น/ไม่ได้ในบางเรื่องเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่นักศึกษา มักจะมองและส่งผ่านกันมาว่า อาจา่รย์น่ะ "สาวมั่น แถมเรียนจบ ดร. เป็น ผศ. อะไรๆที่เป็นเปลือกนอกเค้าก็จะเห็น ทำให้ช่องว่างที่เค้าสร้างยิ่งห่างมากกับเราในฐานะผู้สอน บรรยากาศเลยไม่น่าอภิรมย์ คิดหาวิธีว่าทำอย่างไรจะให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นผู้ชี้แนะ กล้าเข้ามาหา ปรึกษาอะไรๆ ต่างๆ เลยถือโอกาสทำอะไรที่เฟอะฟะไม่ได้เรื่องบ้างให้เห็นว่า นี่ไง.. คุณมีความรู้มากกว่าครู ที่ช่วยสอน ภาษามลายูถิ่นให้ครูได้ .ดนตรีที่เพิ่งฝึกเล่นก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ .เราร่วมเล่น ร้อง เพลงนี้อย่างสนุกสนานค่ะ คุณนุช เมื่อแรกนำไปใช้ในการทำกิจกรรม เด็กๆนักศึกษา ออกเสียงภาษามลายูถิ่น เข้ากับเพลงที่เล่น ฟังแล้วเพลิน สุขใจทั้งครูและเด็ก สร้างความเชื่อมั่นในตัวนักศึกษามากขึ้นด้วย ค่อยๆทำไปทีละน้อย ด้วยคาถา "รัก&เมตตา" ก็จะดีๆขึ้นไปค่ะ....พื้นที่แดนใต้แห่งนี้เคยเปี่ยมด้วยความรักของผู้คนถูกเปลีียนเป็นความชังที่แฝงไว้ในรูปแบบต่างๆ จะได้กลับมาเหมือนเดิมหรือใกล้ๆกับสภาพเดิม...เลยเล่าให้ฟังซะยืดยาวเลยนะค่ะ :-))...ถูกใจจริงๆ อิอิ..

บุรง ก่าก๋า ตูอา...


คนใกล้ตัวชอบร้องให้ฟังสมัยเป็นนักศึกษาค่ะ

แฮ่ม เราสองคนเป็นศิษย์เก่า มอ ออ ค่ะ

เขา เกิดที่ระนอง เรียนอนุบาลที่ยะลา ประถมต้นที่นราธิวาส มัธยมและเรียนตอนโตด้วยกันที่หาดใหญ่

ได้ยินภาษายาวีร์(สะกดอย่างไรไม่แน่ใจค่ะ)ก็จากคนนี้


อีกอย่างค่ะ เรียนไวโอลินตอนวัยรุ่น(สิบสี่เอ๊ยสี่ สิบ)ด้วยค่ะ สนุก ชอบแต่ยากมาก

แล้วจะแวะมาคุยอีกค่ะ


ครูอ้อยก็ร้องเพลงนี้ได้  ชอบมากตรงท่อน....เรซุม เรซุม เรซุม อูราลา

ใช่ไหมคะ

คุณหมอภูสุภาค่ะ...ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ.... และดีใจที่ มีอะไรที่ชอบคล้ายๆกัน ...เพลงบูรง กา กา นี้เป็นเพลงที่ร้องตั้งแต่เล็กๆเช่นกัน..และี่ที่บ้าน (ทั้งพี่และพ่อ) ก็เล่นดนตรีเพลงนี้ได้ ส่วนตัิวเองร้องได้ แต่ก็ไม่เคยสนใจเนื้อร้องที่ถูกต้อง และรู้สึกว่าเวลาร้องเพลงนี้้ก็จะีมักมีคำถามว่า ความหมายในเพลงคืออะไร?? พอมีโอกาสมาอยู่ ทำงานในที่ซึ่งใช้ภาษามลายูถิ่น (หลายคนอาจจะเรียกว่า "ยาวี" แต่เจ้าของภาษาบอกว่าไม่ใช่ ก็เลยเรียกันว่า มลายูถิ่น :-)) ) เลยหาโอกาส ร้องเพลงนี้ใ้ห้ถูกและจะได้รู้ความหมายให้ถูกต้องด้วย...กว่าจะเจอ และแกะออกมาได้ทีละคำ..และจากต้นฉบับเนื้อร้องมาก็ มีนัยะของความ น่ารักเปรียบเทียบคุณยาย และ นก ซึ่งเป็นสมาชิกของบ้าน รู้สึกว่าวิถีชีวิตในเอเชีย ไทย มาเลย์และอินโด คล้ายๆกัน.เรืองของความผูกพันกันครอบครัวขยาย ..เพลงนี้จึงเป็นมากกว่าเพลงในวัยเด็ก แต่กลับเป็นเพลงร่วมสมัย แถม inter ด้วย.. เวลามีเพื่อนในภูมิภาคนี้ และ เราร่วมร้องเพลงนี้ได้ ..จริงๆแล้วมีอีกสัก 2 เพลงในลิสต์ ที่จะฝึกร้องและเล่นไวโอลินเป็น ภาษาบาฮาซา (มลายูกลาง) เป็นเพลงพื้นบ้านน่ารักๆค่ะ เอาไว้.เผื่อมีโอกาสจะมาเล่าค่ะ...คุณหมอภุูสุภา.:-))

ส่วนฝีมือการเล่นไวโอลิน ที่ดูจะอ่อนหัด นั้นเป็นเพราะเสียดายโอกาส เมื่อก่อนพ่อสอนให้ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่อยากซ้อม แต่พอนึกอยากจะเรียนเองเมื่อไม่นานนี้ (สว :-)) แล้วก็ฝึกซ้อมใหม่ จะได้ให้พ่อมีงานยุ่งๆด้วยค่ะ ซึ่งพ่อว่า..ดี จะทำให้ท่านสมองไม่ฝ่อเร็ว อิอิ..(keep him busy) ก็เลยใช้โอกาสนี้.. ที่เล่นได้เท่านี้...ไม่อายที่จะใช้บริบทของตัวเอง สอนให้นักศึกษาเห็นว่า การเรียนรู้ เกิดขึ้นตลอดชีวิต และเป็นกระบวนการ

การเริ่มเรียนไวโอลินใหม่ เริ่มจาก Suzuki book 1 ค่ะ บางเพลงทีี่ฝึกเล่นเพลงอย่างเช่น Minuet I ของ ฺBach นึกถึงตอนไป conference ที่เมือง Leipzig เยอรมัน มีโอกาสเข้าไปที่โบสถ์ที่ Bach เค้าใช้ชีวิตที่นั้น ออร์แกนที่เล่นก็ยังอยู่ ตอนเข้าไปใน chamber ก็นึกถึง เพลง Minuet I และชิ้นอื่นๆ ของ Bach แหม ช่างจะเข้ากับบรรยากาศ พอมาได้เล่นเพลงของท่าน อืม. แต่ละโน๊ตแต่ละคันชัก ช่างจะอัจฉริยะจริงๆ นี่ขนาดว่าเล่นยังไม่ได้เรื่อง ไม่ถึงไหน อ่อนซ้อมอีกตะหาก ยังชอบมากเลยค่ะคุณหมอภูสุภา..:-))...คุณหมอคงสนุกกับช่วงชีวิตที่ห่างบ้านไปบ้างนะค่ะ อยู่ที่นั่นถ้ามีโอกาส...อดออมค่าขนมไว้.. มีจังหวะเหมาะให้แวะไปดูละครที่ theater บ้างนะค่ะ อย่างเช่น phantom of the opera..สุดยอดจริงๆ ทั้งฉากและดนตรีสดค่ะ ให้รางวัลกับชีวิตเป็นครั้งคราว หลังจากทำงานหนัก .. อิอิ :-))

คุณครูอ้อยค่ะ..ดีใจที่ร้องเพลงนี้ได้ เพลงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีิวิต ASEAN เช่นกันค่ะ เป็นเพลงพื้นบ้านของมาเลย์และอินโด จังหวะก็สนุกด้วย แต่ชอบรุมบ้ามากว่าวอลทซ์ ท่อนที่คุณครูอ้อยชอบเป็นท่อนที่สนุก มัจะะร้องกันได้...คุณครูอาจจะฝึกร้องแจมในกิจกรรม ASEAN ก็ได้ บูรณาการกับการเรียนรู้ภาษาบาฮาซา และอังกฤษได้นะค่ะ เพลงนี้เราใช้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนระดับประถม ในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลน หรือกิจกรรมดูนก เราสอนและให้น้องๆชั้นประถมที่โรงเรียนในปัตตานีร้อง ก็สนุกสนานกันทีเดียว :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท