จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงตอนที่ 2 การเปรียบเทียบจุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงกับฉบับเก่า


จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงตอนที่ 2 การเปรียบเทียบจุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงกับฉบับเก่า

ท่านผู้อ่านที่รัก

                ในขณะที่หลักสูตรที่เราใช้อยู่เป็นหลักสูตรปีพุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน หลักสูตรฉบับนี้มีความชัดเจนขึ้นเพราะกำหนดกริยาไว้ให้เราในฐานะครูผู้สอนไว้อย่างชัดเจนแต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่เราที่เป็นครูผู้สอนสามารถกำหนดจุดประสงค์ทางการเรียนไว้ชัดเจนหรือไม่ ในวันนี้ผมจะได้นำเสนอจุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรุงของ Krathwohl และคณะมาให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้พิจารณากันครับ

                ในคราวที่แล้วผมได้พูดถึงความจำเป็น วิธีการ และประโยชน์ของจุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับเก่าไปแล้วนะครับ บันทึกนี้จะได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการศึกษาแบบเก่าเมื่อเทียบกับฉบับปรับปรุงดูนะครับ

                1. จุดประสงค์ทางการศึกษาแบบเก่า

                จุดประสงค์ทางการศึกษาแบบเก่าเป็น 1 มิติ กล่าวคือเป็นมิติของกระบวนการทางปัญญาแต่เพียงอย่างเดียว โครงสร้างของจุดประสงค์ทางการศึกษาแบบเก่ามีดังนี้

                1.0 ความรู้

                                1.10 ความรู้เรื่องเฉพาะ

                                                1.11 ความรู้เรื่องคำศัพท์หรือคำนิยาม

                                                1.12 ความรู้เรื่องข้อเท็จจริง

                                1.20 ความรู้เกี่ยวกับวิถีและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเฉพาะ

                                                1.21 ความรู้เกี่ยวกับประเพณี

                                                1.22 ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและลำดับขั้นตอนต่างๆ

                                                1.23 ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งชั้นและประเภท

                                                1.24 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์

                                                1.25 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ

                                1.30 ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสากลและเรื่องนามธรรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

                                                1.31 ความรู้เกี่ยวกับหลักการและความคิดรวบยอดทั่วไป

                                                1.32 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง

                2.0 ความเข้าใจ

                                2.1 การแปลความ

                                2.2 การตีความ

                                2.3 การขยายความ

                3.0 การประยุกต์ใช้

                4.0 การวิเคราะห์

                                4.1 การวิเคราะห์ธาตุหรือหลักการพื้นฐานหรือวิเคราะห์ความสำคัญ

                                4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

                                4.3 การวิเคราะห์หลักการที่เป็นโครงสร้าง

                5.0 การสังเคราะห์

                                5.1 สังเคราะห์ข้อความ

                                5.2 การผลิตแผนการหรือกลุ่มของการปฏิบัติที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

                                5.3 การผลิตความสัมพันธ์

                6.0 การประเมินค่า

                                6.1 ประเมินค่าโดยการอาศัยเกณฑ์ภายใน

                                6.2 ประเมินค่าโดยการอาศัยเกณฑ์ภายนอก

                2. จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุง

                จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงนี้ขยายความจาก 1 มิติเป็น 2 มิติ มิติแรกคือมิติด้านความรู้ มี 4 ลักษณะ และมิติกระบวนการทางปัญญามี 19 พฤติกรรม ดังนี้

                1. มิติด้านความรู้ มิติด้านความรู้มี 4 ลักษณะ ดังนี้

                                1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อที่จะคุ้นเคยวิชาที่เรียนหรือการแก้ไขปัญหา แบ่งแยกได้ 2 อย่างคือ

                                                1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับนิยามหรือความหมายหรือศัพท์

                                                1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดเฉพาะหรือความหมายเฉพาะสาขา

                                1.2 ความรู้ที่เป็นสังกัป เป็นความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกันในสาขาวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างกันนั้นอยู่ภายใต้โครงสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์นั้นทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม แบ่งแยกได้ 3 อย่างคือ

                                                1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการแบ่งชั้นต่างๆ

                                                1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับหลักการและหลักการที่เป็นนามธรรม

                                                1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี ตัวแบบ และโครงสร้าง

                                1.3 ความรู้ที่เป็นกระบวนการ เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับวิธีการที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง วิธีการแสวงหาความรู้ เกณฑ์ในการใช้ทักษะ วิธีการแก้ปัญหา เทคนิค และวิธีการต่างๆ แบ่งได้ 3 ลักษณะดังนี้

                                                1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับทักษะเฉพาะสาขาในการแก้ไขปัญหา

                                                1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการ

                                                1.3.3 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ที่จะใช้วิธีการใดในการแก้ไขปัญหา

                                1.4 ความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญา เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับตระหนักรู้ในตนเองเกี่ยวกับวิธีการแสวงหาคววามรู้ และความสติสัมปชัญญะ แบ่งแยกได้ 3 ลักษณะดังนี้

                                                1.4.1 ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีในการเรียนรู้

                                                1.4.2 ความรู้เกี่ยวกับภาระงาน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับบริบทและเงื่อนไขในงานเหล่านั้น

                                                1.4.3 การตระหนักรู้ในตนเอง

                2. มิติกระบวนการทางปัญญามี 19 ขั้น ดังนี้

                                1.0 จำ หมายถึงความสามารถในการเรียกคืนความรู้ที่เคยเรียนมาแล้ว มี 2 พฤติกรรม คือ

                                                1.1 บ่งชี้

                                                1.2 เรียกคืน

                                2.0 เข้าใจ ความสามารถในสร้างความหมายจากสิ่งที่เรียน ซึ่งนักเรียนจะทำอย่างนี้ได้ก็ต่อเมื่อนักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เก่าได้ มี 7 พฤติกรรม คือ

                                                2.1 ตีความ

                                                2.2 ยกตัวอย่าง

                                                2.3 จัดประเภท

                                                2.4 สรุปความ

                                                2.5 สรุปอ้างอิง

                                                2.6 เปรียบเทียบ

                                                2.7 อธิบาย

                                3.0 ประยุกต์ ความสามารถในปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้ มี 2 พฤติกรรม คือ

                                                3.1 แก้ไขปัญหาที่เคยพบมาก่อนได้

                                                3.2 แก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนได้

                                4.0 วิเคราะห์ ความสามารถในการแยกแยะชิ้นต่างๆออกเป็นส่วนๆ แล้วสำรวจดูว่าชิ้นต่างๆเหล่านั้นทำอย่างไรในองค์ประกอบใหญ่ มี 3 พฤติกรรมคือ

                                                4.1 แยกแยะแตกต่าง

                                                4.2 จัดวางองค์ประกอบ

                                                4.3 วิเคราะห์อคติและความคิดเห็น

                                5.0 ประเมินค่า ความสามารถในการประเมินโดยใช้เกณฑ์หรือมาตรฐาน มี 2 ลักษณะคือ

                                                5.1 หาความไม่สอดคล้องหรือหาข้อผิดภายในชิ้นงานที่กำหนด                                             

5.2 หาความไม่สอดคล้องหรือหาข้อผิดโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก

                                6.0 สร้างสรรค์ ความสามารถในการประกอบสร้างสิ่งใหม่ๆที่ไม่เหมือนใคร มี 3 ลักษณะ คือ.

                                                6.1 สร้างสมมติฐานอื่นๆโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนด

                                                6.2 วางแผนงานที่จะทำหรือปฏิบัติ

                                                6.3 ผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานต่างๆ

โปรดสังเกต มิติทางด้านกระบวนการทางปัญญานั้นมี 6 ขั้นเหมือนฉบับเก่า แต่มีข้อที่น่าสังเกต คือ ใช้กริยานำหน้าทั้งสิ้น และพฤติกรรมที่บ่งชี้ก็ง่ายต่อการวัดเป็นอย่างยิ่ง

หนังสืออ้างอิง

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. การปรับปรุงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.watpon.com/journal/bloom.pdf วันที่ค้นข้อมูลได้ 1 เมษายน 2555)

David R. Krathwohl. A Revision of Bloom’s Taxonomy: An Overview. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก www.unco.edu/cetl/sir/stating/Krathwohl.pdfใกล้เคียง วันที่ค้นข้อมูลได้ 1 เมษายน 2555

หมายเลขบันทึก: 484349เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท