Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

เสด็จพระองค์หญิงร่วมการสัมมนารับมือน้ำท่วม


ผศ.ดร.เกศินี  ประทุมสุวรรณ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้นำ  อาจารย์ญาณภัทร  ยอดแก้ว, และพระครูปลัดวีระนนท์ วีรนันโท เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการว่าด้วยการจัดการน้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 1 " ถดถอย คอยที่ หรือมีส่วนร่วม ทางเลือกที่ไม่ง่าย" จัดโดยนิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ รุ่นที่ 1 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในฐานะนิสิตปริญญาเอก ได้เสด็จเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย

 

 
 

 โดยมีนายสุพจน์ โตวิจักษณ์กุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาการ เลขาธิการสำนักนโยบายและบริการจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ เป็นผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “แผนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา"

นายสุพจน์ กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมทำให้เราสูญเสียรายได้ของประเทศจำนวนมาก โดยเรามีหัวข้อหลักที่จะสัมมนาคือ ภัยน้ำท่วม น้ำแล้ง แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนต้องเสร็จในเดือนส.ค.นี้ และระยะยั่งยืนจะใช้ได้ 1-5 ปี ปีที่แล้วเกิดวิกฤติน้ำท่วมมาก เพราะน้ำไม่มีที่เก็บ เขื่อนก็เต็ม แก้มลิงก็ไม่มีพื้นที่เก็บ พอน้ำมาถึงก็ทำอะไรไม่ได้ เราก็สู้ทำพนังกั้นน้ำ แต่ก็พังหมดทุกที่ ปีนี้เราจะไม่ทำอย่างนั้นอีกแล้ว โดยเราจะต้องหาพื้นที่เก็บให้น้ำคือ น้ำต้องมีที่เก็บ ในป่า ในเขื่อน ในแก้มลิง น้ำส่วนเกินต้องมีที่ไป คลองต่างๆ ต้องได้รับการขุดลอกคูคลอง มีฟลัดเวย์ พื้นที่เศรษฐกิจต้องได้รับการป้องกัน ประชาชนต้องได้รับความช่วยเหลือ  ถ้าเราคุมน้ำอยู่เราจะไม่มีน้ำท่วมในปีนี้ แต่หากเกิดฝนตกคาดไม่ถึงเราจะมีฟลัดเวยชั่วคราวทีี่รองรับการไหลของน้ำ  และหากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์รับน้ำได้ 45% ก็ไม่มีปัญหา แต่ปีนี้มีกระแสข่าวว่าจะเกิดภัยแล้ง ซึ่งหากเรามีน้ำในเขื่อนน้อย เกิดภัยแล้งเราก็ต้องชดเชยประชาชนตามระเบียบ แต่การชดเชยภัยแล้งยังน้อยกว่าน้ำท่วม


นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า ขอให้สิงหาคมเร่งดำเนินการให้เสร็จปัญหาน้ำท่วมจะหมดไปเราจึงทุ่มงบ 9,000ล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมวิภาวดีเราทำคั้นกั้น 2 ทาง แต่พูดตามความจริง มันแก้ไขไม่ได้มาก เพราะช่วยได้แค่ 40 ล้านลบซม. ในขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลประมาณ 3,800 ล้านลบซม. การทำคั้นวิภาวดีเลยเป็นแค่น้ำจิ้ม แต่ถ้าเราทำในภาพรวมได้ทั้งหมดภายในสิงหาคมปัญหาต่างๆจะหมดไป เราต้องทำพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ การทำระบบเตือนภัย การทำแผนเผชิญเหตุ พื้นที่แก้มลิงจะใช้พื้นทีิ่จ.นครสวรรค์ และใต้นครสวรรค์ได้ 5000 ล้านลบซม. โดยต้องลงพื้นที่ไปคุยกับประชาชนในพื้นที่ การแก้ปัญหายั่งยืนคื รัฐบาลพยายามสร้าง อ่างเก็บน้ำ หรือการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นรับน้ำได้ 1000ลบซม. เขื่อนเล็กเขื่อนน้อย เก็บได้ 300 ล้านลบซม. หรือการสร้างเขื่อนยมบนยมล่าง แต่ไม่เท่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เราวิเคราะห์ดูว่าป่าสักทองมีอยู่เท่าไหร่ สำคัญคือประชาชนได้รับค่าตอบแทนไม่สมเหตุสมผล ก็ต้องไปหาทางว่าจะเลือกทางไหน 

 

อย่างไรก็ตามตอนนี้เราใช้พื้นที่อ.บางบาล จ.พระนครศณีอยุธยา เป็นพื้นที่แก้มลิง แต่ต้องสร้างสิทธิพิเศษตามทฤษฎีใหม่ให้กับพื้นที่บางบาลด้วย เราจึงต้องทำฟลัดเวย์ช่วย ซึ่งจะเป็นส่วนยั่งยืนในอนาคต การเตือนภัย การประชาสัมพันธ์ ซึ่งต้องยอมรับว่าประชาสัมพันธ์อ่อนมาก แต่เราจะเริ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่อง 11 และช่อง 5 การตั้งซีซีทีวีที่คลองบางโฉมศรี  นายสุพจน์ กล่าว อีกว่าสรุปแนวทางที่เราต้องทำเร่งด่วนในพื้นที่ปิดล้อมด้านตะวันตก คือการปรับปรุงคั้นปิดล้อมน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา - ริมคลองพระยาบันลือ(ฝั่งใต้) -ริมแม่น้ำท่าจีน ดำเนินการโดยกทม. อบต. อบจ. ทร.การซ่อมแซมประตูน้ำและติดตั้งสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม เช่นคลองมหาสวัสดิ์  คลองพระพิมล ปรับปรุงคลองระบายน้ำภายในคันปิดล้อม โดยเฉพาะคลองแนวเหนือใต้ทั้งในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่กทม.ให้สามารถระบายน้ำไปยังพื้นที่แก้มลิงสนามชัย- มหาชัยใต้ การจัดทำ street canal โดยใช้ถถนนพุทธมณฑลสาย 5 และวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก รวมทั้งปรับรุงคลองที่ต่อเนื่อง ปรับปรุงทางน้ำหลากหรือฟลัดเวย์  นอกคั้นปิดล้อมตั้งแต่พื้นที่ชลประทานเจ้าเจิดบางยี่หนไปทางบางเลน นครปฐม สมุทรสาคร ลงอ่าวไทย โดยการขุดลอกคลอง

 

ต่อมาเวลา 10.30 น ได้มีการอภิปรายต่อในหัวข้อ"การจัดการน้ำ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทางเลือกที่ไม่ง่าย" โดยมีวิทยากรคือ นายธันวา  จิตต์สงวน รองอธิการบดีม.เกษตรฯ นายธันวา กล่าวว่า น้ำสมควรจะท่วมหรือไม่ เป็นบททดสอบคนไทยว่าเก่งแค่ไหนเพราะคนไทยขี้โม้ ขี้คุย ขี้อิจฉา ขี้เกียจ คนไทยชอบใช้วาทกรรม เช่นเรื่องนี้มีคนรับผิดชอบขัดเจนแต่ไม่เกี่ยวกับผม เราต้องจัดการเรื่องน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และส่วนใหญ่เน้นมาตรการก่อสร้าง เช่น ระบบระบายน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย นอกจากนี้เรามีสามเหลี่ยมที่ต้องทำ คือ รัฐบาลที่ประชาชนเชื่อถือได้ เราต้องมีกลไกที่มีระสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ตนคิดว่าเรายึดรัฐบาลมากเกินไปเราควรยึดแนววิชาการ ประโยชน์ของประเทศชาติให้มาก มุมที่ 3 คือประชาชน หรืออำนาจของประชาชน คือประชาชนต้องมีความรู้ รัฐบาลต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริง

 

ปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก หัวข้อหลักที่จะสัมมนาคือ ภัยน้ำท่วม น้ำแล้ง แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนต้องเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ ในช่วงบ่ายมีการอภิปรายต่อในหัวข้อ "การจัดการน้ำ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทางเลือกที่ไม่ง่าย" โดยมี กิตติ  สิงหาปัด ผู้ประกาศข่าว ในรายการข่าว 3 มิติ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ด้านอาจารย์ประเชิญ คนเทศ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญลุ่มน้ำท่าจีน กล่าวว่า แผนฟลัดเวย์เร่งด่วนที่รัฐบาลที่ผันน้ำจากลุ่มเจ้าพระยามายังแม่น้ำท่าจีน ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย เพราะรัฐบาลต้องการแค่แก้ไขความขัดแย้งของมวลชนระหว่างพื้นที่ กทม. นนทบุรี และปทุมธานี  แต่เอาความขัดแย้งมาให้ชาวนครปฐมเอง ซึ่งจากการศึกษาสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ มีความเป็นไปได้ที่น้ำจะตีโอบเข้าท่วมเมืองนครปฐม โดยมีปริมาณน้ำฝนและพายุเป็นตัวแปร เนื่องจากตลิ่งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าตลิ่งฝั่งตะวันออก  อีกทั้งปัจจุบันแม่น้ำท่าจีนมีความสามารถระบายน้ำได้ต่ำกว่า 300 ลบ.ม. แต่ กยน.กลับคิดจะผันน้ำจากเจ้าพระยามายังแม่น้ำท่าจีน ด้วยความความเร็ว 500 ลบ.ม. ซึ่งมันอันตรายมาก หากรัฐบาลเดินหน้าปิดล้อมพื้นที่ด้านฝั่งตะวันตกสำเร็จ เพราะถ้ารัฐบาลเอาน้ำไม่อยู่ตามแผนที่วางไว้ จ.นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร โดนน้ำท่วมสูงกว่าปีที่แล้วแน่นอน

 

 

นอกจากนี้ ยังต้องเปิดพื้นที่ให้ภาครัฐภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ มาปรึกษาหารือกันบนพื้นฐานของความเข้าใจ และตระหนักในปัญหาร่วมกัน ตลอดจนนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างรอบด้าน ซึ่งจากการหารือกว่า 6 ชั่วโมง สรุปแนวทางการจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ดังนี้ คือ ระบบบริหารจัดการน้ำต้องยึดหลักการระบบลุ่มน้ำ โดยใช้องค์ความรู้แบบสหวิทยาการ มอง “คน” เป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมถึงบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยต้องเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อให้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง และทั่วถึง เพื่อป้องกันความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ กลไกของรัฐต้องเข้าร่วมพื้นที่สาธารณะให้มากที่สุด เพื่อรวบรวมและนำเสนอข้อมูล เพื่อการวางแผนการจัดการน้ำอย่างรอบด้านสมดุล มีระบบการเตือนภัยที่น่าเชื่อถือ และในระยะยาว ต้องสร้างกระบวนการจัดการความรู้ในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำให้กับทุกภาค ส่วน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรักษาสายน้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

ในส่วนของการเคลื่อนไหวของชาวนครปฐมกับฟลัดเวย์ นั้นจะมีการจัดเวทีสาธารณะ “คนนครปฐมคิดอย่างไร กับ ฟลัดเวย์” โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมเป็นเจ้าภาพหลัก‏ งานนี้จะมีขึ้น ในวันที่ 10 เมษายน นี้ ณ มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม 

 

ไปร่วมแสดงพลังคนนครปฐม. คนรักถิ่นฐานลุ่มน้ำท่าจีนกันนะคะ..

สำรองที่นั่งที่ ศิริวรรณ ริ้วสุขสันต์ โทร. 086 0944903

 

ผู้สนใจ สามารถติดตาม เรื่องราวการสัมมนาวิชาการว่าด้วยการจัดการน้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 1"ถดถอย คอยที่ หรือมีส่วนร่วม ทางเลือกที่ไม่ง่าย"

ตามลิงค์นี้คะ  http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=wZSbNsl7LLQ#!

 

 

หมายเลขบันทึก: 484347เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท