มีคำถามมากมายต่อพลเอกสนธิ


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์นี้ครับ

http://archive.naewna.com/allnews.asp?ID=97

มีคำถามมากมายต่อพลเอกสนธิ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
สัปดาห์ที่ผ่านมา การเมืองในประเทศต้องใช้คำว่า “เร่งรีบ” คณะกรรมาธิการของท่านประธานสนธิก็รีบส่งมติหรือข้อเสนอแนะของกรรมาธิการโดยเลือกข้อเสนองานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้ามอบให้สภาฯไปถกเถียงกันต่อไป

คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังงงกับแนวคิดและพฤติกรรมที่สับสนและไม่เข้าใจของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งผมเองก็ไม่เข้าใจเช่นกัน

ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญก็เร่งรีบอย่างที่เห็นกัน ไม่ทราบว่าเพื่ออะไร? หรือเพื่อใคร? จึงต้องขอให้คนไทยตั้งสติให้ดีว่า.. นักการเมืองเสียงข้างมากจะนำประเทศของเราไปที่ไหน? และอนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร?

มีหลายเรื่องที่ท่านผู้อ่านคงจะต้องจับประเด็นให้ดีในสัปดาห์นี้

เรื่องแรก ก็คือ การบังคับให้ธุรกิจใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ปทุมธานีนครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ในวันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป จะเกิดอะไรขึ้น?

ผมไม่ขัดข้องเรื่องยกระดับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่ควรทำเพราะการเมืองและไม่ควรทำโดยไม่มีนโยบายมารองรับศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ว่าจะแข็งแกร่งอย่างที่ควรจะเป็น

จึงควรจะมีการทำวิจัยผลกระทบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และหานโยบายรัฐบาลเสริมที่จำเป็น เช่น

* ชนิดของธุรกิจไทยที่อยู่รอดได้ดีคืออะไร?

* คาดว่าธุรกิจบริการบางอย่าง เช่น โรงแรมอาจจะมีปัญหามาก

* จังหวัดใกล้เคียง เช่น อยุธยา ซึ่งยังไม่ได้รับ 300 บาท ก็จะขาดแคลนแรงงานเพราะแรงงานเคลื่อนย้ายไปจังหวัดใกล้เคียงที่ได้ 300 บาท

แต่รัฐบาลมีเวลาศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอีกแค่ 7 – 8 เดือน เพราะว่าในเดือนมกราคม ปี 2556 จะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั้งประเทศจะมีผลกระทบต่อหลายเรื่องและอาจจะสร้างปัญหามากมาย

สัปดาห์นี้ผมขอรายงานว่า..ผมกำลังจะผลักดันการร่วมมือกันทางวิชาการครั้งใหญ่ของ 4 หน่วยงานที่สนใจเรื่องแรงงาน คือ

- คุณอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในนามกระทรวงแรงงาน

- ผมในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

- รศ.ดร.พิภพ อุดร ในนามของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ

- มูลนิธินิคม จันทรวิทุร โดย ดร.โชคชัย สุทธาเวศ

่บรรยากาศการประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ กับคุณอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในนามกระทรวงแรงงาน ,ผมในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ,รศ.ดร.พิภพ อุดร สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธินิคม จันทรวิทุร โดย ดร.โชคชัย สุทธาเวศ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555



บรรยากาศ โครงการ พัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 8 มีการจัดกิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนา อบต.ช่องสะเดาและชุมชนชุกโดน จังหวัดกาญจนบุรี หัวข้อ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนและหัวข้อ สร้างโมเดล “ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี” นำโดย คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,คุณสมภพ พวงจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,ตัวแทนจากพลังงานจังหวัด , คุณนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี ,ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ,ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี และคุณวสันต์ สุนจิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านช่องสะเดา ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน นำโดย คุณบำเพ็ญ รัตนากร ประธานชุมชน เมื่อวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2555





เราทั้ง 4 หน่วยงานได้ผนึกกำลังกันที่จะทำวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี เพื่อมองอนาคตเรื่องแรงงานในประเทศไทยและแรงงานไทย ทั้งเรื่องคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพในการแข่งขัน ผลกระทบต่อการจ้างงานจากนโยบายการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และมองไปถึงการปรับตัวของแรงงานไทยเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015

ผมภูมิใจมากที่คุณอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กรุณาตอบรับเป็นหนึ่งใน 4 ของหน่วยงานที่จะทำเรื่องนี้ เพราะลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก็คงจะทำคนเดียวไม่ได้

งานที่ 2 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมและ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเป็นแขกของวิทยาลัยนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เราตกลงจะร่วมมือกันทำงานวิจัยให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเรื่องนวัตกรรมต่อความอยู่รอดของประเทศ ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยเฉพาะ ASEAN และ GMS

ผมภูมิใจที่เห็นวิทยาลัยนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีบทบาทสูงในการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้แก่ธุรกิจบริการและหน่วยราชการอย่างเป็นรูปธรรม

“ทุนทางนวัตกรรม” เป็นเรื่องที่ผมเน้นมากในทฤษฎี 5K’s เพราะเป็นทุนที่เกิดอยู่ในตัวของคนไทย ถ้าคนไทยมีกรอบความคิดที่จะทำอะไรใหม่ๆ จากการคิดสร้างสรรค์และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ประเทศไทยก็อยู่ได้อย่างสบายและเมื่อนั้นค่าจ้างขั้นต่ำ300 บาท ก็จะไม่เกิดปัญหา

และในอนาคตเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน 2015 ทุนทางนวัตกรรมของประเทศไทย ของคนไทยจะต้องพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับทุนทางวัฒนธรรม ทั้ง 2 ทุนเป็นทุนที่สำคัญและอยู่ในทฤษฎี 5K’s: ทุนใหม่อีก 5 ประการสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกไร้พรมแดน

และงานสุดท้ายที่จะรายงานให้ท่านผู้อ่านทราบในครั้งนี้ คือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ. รุ่นที่ 8

ปีนี้เรามีการทำงานเชิงรุกมากขึ้น ต้องขอขอบคุณทีมงาน HR ของ กฟผ.ด้วย เช่น ในการเรียนช่วงที่ 2 เราได้ลงพื้นที่ไปศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนที่เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี

ชุมชนสำคัญอย่างไรในความหมายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย?

1. ในอดีต กฟผ.จะเน้นเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้า แต่อาจจะปรึกษาหารือและชี้แจงกับชุมชนยังไม่พอเพียง จึงต้องปรับตัวรองรับความเข้าใจของชุมชนมากขึ้นในปัจจุบัน

อย่างที่เราไปดูกรณีศึกษาที่เขื่อนท่าทุ่งนาในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่าการบริหารชุมชนหลังจากการสร้างเขื่อนแล้วทำได้ดี ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการสร้างเขื่อนได้รับการแก้ไขและป้องกันอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านก็พอใจ ซึ่งอาจจะเป็นกรณีศึกษาที่จะนำไปใช้ในการคุยกับชุมชนที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต

เพียงแต่บางครั้งในอดีตช่วงแรกๆ เราเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนน้อยเกินไป จึงทำให้ชาวบ้านอาจจะรู้สึกเจ็บปวดบ้าง อย่างเช่น กรณีการสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งบทเรียนราคาแพงที่จะต้องนำมาพิจารณาแก้ไข

ดังนั้นการสร้างชุมชนสัมพันธ์จึงไม่ใช่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งใน กฟผ. แต่เป็นหน้าที่สำคัญของทุกๆคนในองค์กรและมีการพัฒนาทักษะความเข้าใจของพนักงาน กฟผ.ในทุกระดับ

นอกจากนั้นในระดับนโยบายจะต้องให้นักวิชาการ กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Energy Regulator Commission) ได้ช่วยกันอธิบายถึงความจำเป็นในการเตรียมไฟฟ้าให้พร้อมในอนาคต ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของ กฟผ.ฝ่ายเดียว

ในระดับปฏิบัติ การพัฒนาพนักงานของการไฟฟ้าในอนาคตจะต้อง..

* พัฒนาเรื่องชุมชนสัมพันธ์ทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกลางและระดับล่างอย่างสม่ำเสมอ

* จะต้องให้พนักงานทุกคนทำงานชุมชนให้เป็นทีมเดียวกันและต่อเนื่อง

* ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงต้องปรับทัศนคติ (Mindset) ให้พร้อมที่จะดูแลชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีความจริงใจมากที่สุด

ถือว่าเป็นนโยบายเร่งด่วน และผมมั่นใจว่าลูกศิษย์ กฟผ. รุ่นที่ 8 ที่ผมฝึกอยู่ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้เพราะเรามีโอกาสได้มารับฟังความจริงจากคนที่อยู่ในชุมชน สร้างความเข้าใจและปรับวิธีการคิดของวิศวกรที่เคยทำแต่สร้างโรงไฟฟ้าฯให้หันมาสร้างความเข้าใจกับชุมชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 484341เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท