R2R ไปทำไม ?...(1)


วันนี้เป็นวันที่ผมมีความสุขอีกวันครับ...

พวกเราชาวหมออนามัยทุกแห่งในอำเภอได้มาเล่าสู่กันฟังในเรื่องการทำวิจัย และ R2R

มีหลายคนหลายทีมที่ทำเสร็จแล้ว

มีหลายคนหลายทีมที่กำลังตั้งคำถามและพัฒนาต่อ

จึงจัดการนำเสนอให้พวกเราฟังกันเอง

เป็นเวทีเล็ก ๆ ง่าย ๆ ไม่เป็นทางการ แต่มีความสุขครับ

ผม และพี่ ๆ หมอออนามัยเดียวกันที่ผ่านการวิจัยมา...ก็คอยเป็นพี่เลี้ยงให้น้องที่ไม่มีประสบการณ์ (เพราะปีนี้ ไม่มีงบประมาณเชิญอาจารย์...เป็น R2R แบบพอเพียง) 

ผมว่า เป็นบรรยากาศที่เกื้อกูลและเกิดการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างยิ่ง

ต้องขอขอบคุณทีมงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่ทำให้เราพบปะกันทางวิชาการบ้าง

เพราะต่างคนต่างก้มหาทำงานจนมองหาอะไรไม่เจอแล้ว

 

ผมขอนำเสนอก่อนครับ เพื่อสร้างบรรยากาศให้น้อง ๆ คุ้นเคยเวที ถึงแม้ไม่มาแข่งขัน แต่คนที่ไม่ผ่านเวที ย่อมตื่นเต้นเป็นธรรมดา รวมถึงผมด้วย ทุกครั้งบนเวทียังตื่นเต้นตลอด

ผมเล่าถึงว่า ผมกำลังวิจัย และ R2R จำนวน 3 เรื่อง ในปีนี้ ผมเล่าปากเปล่าผ่านไมค์

  1. วิจัย ด.ญ. แม่ : พลวัตครอบครัวหลายวัย อยู่ในช่วงเก็บข้อมูลอยู่ อาจารย์หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ท่านใจดีหาทุนให้ผม และเดือน กรกฎาคม ท่านบอกว่า อยากให้ผมมาพูดในเวทีศุกร์เสวนาที่กระทรวงสาธารณสุขครับ
  2. R2R เรื่อง ความแตกต่างของการวัดความดันโลหิตระหว่างแขนสองข้างในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง...ผมขอขอบคุณ อ.โอ๋ ...กัลยาณมิตรในบ้านเรานี้แหละผม ท่านเขียนไว้ว่า หน่วยบริการปฐมภูมิในประเทศอังกฤษ เขามีการวัด BP ทั้งแขนสองข้าง เพื่อดูค่าความแตกต่าง  และสามารถทำนายโรคและการตายได้
  3. R2R เรื่อง การประเมินปัญหาและการให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างครบถ้วน...ผมได้แรงบันดาลใจจากโมเดล BATHE technique เพราะแต่ก่อนเราทบทวนว่า ทีมเราถามผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าใช้โมเดลนี้ เพียง 3 นาที ผู้ป่วยจะเป็นอย่างไง...รออ่านผลต่อนะครับ

 

ต่อมา...มีน้องพยาบาล มานำเสนอเรื่อง รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใช้การเรียนรู้จากฐานชุมชน (CBL)

และใช้โมเดล CCM (โมเดลการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง)

ผมคุ้นเคยกับโมเดลนี้ผ่านบล็อกอาจารย์หมอ ป. (กัลยาณมิตรบ้านผมอีกท่าน)

ผมและทีมแนะนำให้น้องเข้าใจถึงการวิจัยเชิงปฏิบัติ และการนำเสนอ

น้องตั้งใจมาก...รับฟัง...จดทุกเม็ด...ตามีประกาย

คน ๆ อื่นก็ดูตั้งใจในการแลกเปลี่ยนกัน

 

และอีกหนึ่งคนในภาคเช้า...

เป็นน้องนักวิชาการสาธารณสุข...เรื่องการประเมินท่าทางในการทำงานของแรงงานทอหมวกไหมพรม

ใช้โมเดลการดูการบาดเจ็ดการเสี่ยงของท่าทาง โดยใช้ RULA

น้องอาจจะไม่เป๊ะ...แต่เจ๋งครับ

เห็นความพยายามของน้อง...ในการช่วยเหลือสุขภาพของแรงงาน

ทุกคนมีแววที่จะเป็นนักบริการ

และนักวิชาการที่ดีในอนาคต

ทดแทนผม...ที่กำลังจะเก่าและแก่ไปตามวัยในที่สุด

 

แต่จะแก่อย่างไง...ผมขอให้มีโอกาสได้ทำสิ่งที่มีความสุขบ้าง

โดยเฉพาะแนวคิด R2R เท่าที่มีบ้างติดตัว

กลับคืนให้น้อง ๆ ต่อไป

 

R2R สำหรับผม เป็นการฝึกกระบวนความคิดกับตนเองและทีม

คิดอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามหลักวิธีวิทยา

ทำให้ผู้ทำ R2R ได้สังเกต ตั้งคำถาม รวบรวม เรียนรู้ และใช้ชีวิตด้วย

เหมือนการหว่านเมล็ดพืชลงดิน ให้งอกงาม เบิกบานและออกดอกออกผล

ต้นไม้ต่อชีวิตต้นไม้ และต่อฤดูกาลหนึ่งสู่ฤดูกาลหนึ่งต่อไป

 

ผมยิ้มอย่างมีความสุข...นั่งทานข้าวเที่ยง...และเขียนบันทึก

และรอฟัง R2R ภาคบ่ายต่อไปครับ....

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 484340เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีจังค่ะมีทีมงานที่เข้มแข็ง

 

 

- R2R ...เป็นการฝึกกระบวนความคิดของเราและทีม....

คิดอย่างเป็นระบบ....และ....ถูกต้อง.....ตามหลักวิธีวิทยา...ระเบียบวิธีวิจัย....ทำงาน ประจำ....ให้เป็นงานวิจัย .... เก็บข้อมูลในงานประจำ ... มีปัญหาอะไร .... อยากเห็นอะไร .... ที่จะไปถึง?... จะวัดว่าที่ไปถึงเป้าหมาย..ที่มีการวัด/ตัวชีื้...+ ตัววัด(KPI) .... วัดจากอะไร .... ตัวชี้วัดนั้น ... เที่ยงตรง + แม่นยำหรือไม่? ..... ถ้าตัวชี้วัดนั้น .... ไม่ตรง...ผลการวัด...ออกมา...ไม่น่าเชื่อถือ..ไม่เป็นที่ยอมรับ...ไม่มีประโยชน์...ทำไปเสี่ยเวลา...ไม่ตอบโจทย์ของสังคม...ไม่เกิดผลประโยชน์....(เรียกว่าไม่เกิด (Impact) .... ไม่เกิดผลกระทบเชิงกว้างต่อ... สังคมได้จริง (ผลปลอมๆๆนะคะ)

แม้ว่าจะไม่เข้าใจการทำงานที่เกี่ยวกับหมอ

แต่มาเป็นกำลังใจในการทำงานนะค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายกันค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึง
  • ขอบคุณค่ะ

                                 

สวัสดีค่ะน้องทิมดาบ ชื่นชมนะคะ คิดถึง R2R แล้วคิดถึงพี่แก้ว น้องทิมดาบและน้องอุ้มบุญ เป็นแรงบันดาลใจที่ดีค่ะ

ย้อนกลับมาอ่าน หลังจากอ่าน R2R ภาค 2 ค่ะน้องหมอ

 

การทำ R2R ได้สังเกต ตั้งคำถาม รวบรวม เรียนรู้ และใช้ชีวิตด้วย

เหมือนการหว่านเมล็ดพืชลงดิน ให้งอกงาม เบิกบานและออกดอกออกผล

 ** ดีใจที่ได้เรีบนรู้เรื่อง R2R ค่ะ

ชื่นชมทำงานควบคู่ไปกับวิจัย นำผลวิจัยมาพัฒนางานค่ะ ทั้งสามเรื่องเป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องวัด BP สองข้าง คงต้องตามไปอ่านบ้างแล้ว และดีใจค่ะ ที่คุณหมออดิเรกอ่านบทความ CCM

แวะมาเอากำลังใจ แนวคิด

ก่อนที่จะเริ่มลงมือ

 

R2R 

routine  to  research

research  to  routine

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท