คันหน้าตัว คันอะไร ตรงไหนกัน


คันหน้าตัวหากไม่คลุกคลีกับผู้สูงอายุ ย่อมยากที่จะเข้าใจ ว่าคันตรงไหน

ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากหัวหน้าศูนย์คุณภาพ ให้ไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ อำเภอยิ้ม ร่วมกับหน่วยงานในอำเภอ ที่วัดหัวเตย ตำบลดอนทราย ร่วมกับน้องๆพยาบาล

วัดหัวเตยเป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอปากพะยูน เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมของจังหวัดพัทลุง มีหน่วยงานในอำเภอมากันพร้อมเพรียง ชาวบ้านมากันพร้อมพักตร์ อสม. อบต อปพร. ที่น่ารัก ก็มากันถ้วนหน้า

หน่วยแพทย์ วันนี้ไม่มีแพทย์ หัวหน้าฝ่ายการและพยาบาลช่วยกันตรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ วัดความดัน ตรวจสุขภาพ ผู้รับบริการ ส่วนมาก เป็นผู้สูงอายุ มาด้วย ปวดหัว ตัวร้อน ปวดท้อง เข็ด / เหน็ด/ เมื่อย /ยอก/ และคัน

ผู้สูงอายุรายหนึ่ง มาด้วยโรค" คัน" ท่านบอกว่า"คันที่หน้าตัว" คำว่าคันที่หน้าตัว หากไม่ใช่คนที่คลุกคลีกับผู้สูงอายุ ย่อมยากที่จะเข้าใจ ว่า คันที่ตรงใหน ผู้สูงอายุ บางคน ใช้คำว่า"คันในร่มผ้า"

โชคดีที่ตอนนั่งกันมาในรถ ผู้เขียนได้หยิบยก ภาษาถิ่นมาคุยกัน เช่น ตกท้องช้าง *ช้างท้อง* ข้องเชิง* แล้วได้คุยให้ฟังถึงคำว่า คันหน้าตัว วันนี้จึงไม่มีมั่ว คันหน้าตัวทั้งคนซักประวัติ คนตรวจ และคนจ่ายยา จึงเข้าใจภาษาร่วมกัน มิเช่นอาจเป็นเรื่องเป็นราว เป็นความไม่เข้าใจในการสื่อสารถึงกัน ดังเช่นที่คุณหมอกับคนไข้สาว ที่มาตรวจรักษาอาการคัน ในเพลง "เคย" ของหลง ลงลาย ดังเนื้อร้องนี้

"คุณหมอคนหนึ่งเพิ่งสำเร็จด้านวิชาการ

บรรจุทำงานในโรงพยาบาลแถวๆปักษ์ใต้

วันหนึ่งสาวน้อยเดินมากับแม่คงไม่สบาย

คุณหมอทักทายแล้วเชิญข้างในตรวจดูอาการ

"สวัสดีครับเป็นอะไรมากไปหรือเปล่า"

สาวน้อยจึงเล่าว่าที่หัวเข่าของหนูมันคัน

หมอหนุ่มสงสัยจึงก้มลงไปตรวจดูอาการ

แล้วถามสั้นๆว่าเคยคันหรือเปล่า

เคยคันไหม้มันทิ่มแทงใจแม่สาวบ้านนา

จึงวิ่งออกมาบอกกับมารดาท่าทางร้อนเร่า

หมอนี้อุบาทว์ชาติชั่วหลบบ้านหวาเรา

นุ้ยคันหัวเขาแต่มันกลับถามถึงความคันเคย

คุณหมอไม่รู้ว่าเคยปักษ์ใต้มีหลายนิยาม

หนึ่งเคยได้ทำหรือได้เป็นผ่านมาล่วงเลย

สองคือกะปิใส่อาหารก็เรียกว่าเคย

อีกหนึ่งเฉลยรู้ไหมเอ่ยเคยคืออะไร"

"คันหน้าตัว คันในร่มผ้า คันเคย คันปิ๊ คือคันที่เดียวกัน"

*ตกท้องช้าง= นั่งผ้าถุงห้อยลงเห็นโป๊

*ช้างท้อง= หูน้ำหนวก

*ข้องเชิง=เชือกพันขา

(ขอบคุณเนื้อเพลงเคย ของหลง ลงลาย)

หมายเลขบันทึก: 483849เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2012 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2015 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สรุปว่า...หาที่คันพบนะคะ

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า เนื้อเพลงน่าคิดตาม .. อารมณ์ของคนแต่ง ช่างเปรียบเทียบ แถมยังมีคำที่แปลคล้ายทางเหนือ " ตกท้องช้าง" ทางบ้านนู๋เรียกว่า " เต้ยคางจ้าง"= นั่งผ้าถุงห้อยคล้ายกับคางของช้างคือปากช้างที่แหลมห้อยลงมาค่ะ มองเห็นภาพไหม อิอิ

 

- สรุปแล้ว....บัง...ต้อง...แปลภาษา...ให้...น้องหมอ...ให้ตรง...ข้อเท็จจริง...ด้วยนะคะ

 

- ขอบคุณเรื่องเล่า ดีๆๆ เช่นนี้ค่ะ

  • หวัดดีท่านวอญ่า
  • คุณมะเดื่อพอจะเข้าใจจ้ะว่า "เคย" ในสำเนียงใต้มีหลายความหมาย
  • นึกถึงเพลง ๆ หนึ่ง ที่ดังโต่งเพราะคันที่หนึ่ง แต่ไปเกาอีกที่หนึ่งเลยอ่ะ 
  • เพลงไีร รู้ไหมจ๊ะ.....อิ อิ....!!

๕ ๕ ๕ พี่บัง ...

เคย กะปิ

ปิ๊ เคย

หลานตัวดี พูดสระ อิว ไม่ได้ เลยออกเสียง

ลูกหิ ข้าว

เรียกชื่ออา เป็น อาปิ๊

ได้ฮากัน

ตอนนี้อยู่ทับปุด คิดถึงพี่บังเลย

เพื่อนชาวปัดตะลุง ถามเพื่อน คนอื่นว่า เคยดำ นาไหม ฮา สรุปว่าคุณยายคันตรงไหน 555

รู้จักแต่เคยที่แปลว่ากะปิค่ะ สงสารคุณหมอในเนื้อเพลงนั้นจัง

สวัสดีครับคุณ หมอ พาษา พาสื่อ มีอีกเรื่องหนึ่งคื"ปดฟาด"จะได้นำมาบันทึกเรียนรู้กันต่อไป

สวัสดีครับครูรินดา คางช้างกับท้องช้างความห้อยย้อย คือกัน มีความหมายเดียวกัน ที่นั่งไม่ระวัง(เป็นกริยามารยาทของคนโบราณที่รักนวลสงวนตัว)

หุหุภาษาใต้นี่นะ เมื่อก่อนก็งงค่ะขนาดเป็นคนใต้เองก็ยังสับสนเลยเพราะแต่ละจังหวัดก็พูดไม่เหมือนกัน

แหะๆเกือบไม่ได้มาเสวนากับบังแล้วถ้าช้าไปอีกนิด ตอนที่ระเบิดขับมอเตอร์ไซต์ไปกับลูกชายไปซื้อของในเซเว่นที่รวมมิตร ดีที่ไม่ตรงเวลาที่เขาจะระเบิดไม่งั้นม่องเท่งซี้เบ้งไปแล้ว ยังใจหายวาบอยู่เลยนะคะนี่ ที่รวมมิตรนี่รอดมาสองครั้งแล้ว บ้านน้าชายสองคนก็อยู่ใกล้ๆแถวนั้นแต่เป็นถนนตัดเข้าไปจากรวมมิตรเลยแค่หูอื้อ ปีก่อนแถวบ้านคุณยายน่ะเกิดเหตุระเบิดไม่ห่างมากจนน้าสาวอีกคนต้องพายายย้ายไปอยู่ที่หาดใหญ่

สวัสดีครับคุณหมอเปิ้ล.... ผมมักได้รับเกียรติให้แปลภาษาใต้บ่อยมาก เพราะภาษาถิ่นดั้งเดิม เด็กใต้เองก็ไม่ไม่เคยได้ยิน ยิ่งคุยกับผู้สูงวัย ยิ่งต้องมีทักษะในการสื่อสารมากขึ้น

เรียกแปลกแต่จริง

การใช้ภาษาของคนไทยโบราณ

หรือคนแก่สมัยเก่าก็แบบนี้

งง....ตั้งนานกว่าจะรู้ 555

 

ครับ คุณหมอเปิ้ล แปลจากใต้เป็นกลาง ลางทีต้องใส่ภาษาอังกฤษเพิ่มให้หมอ ด้วย

สวัสดีครับคุณมะเดื่อ... ขอบคุณที่นำ"ต่ำเตีัย เลี้ยต้อย คอลายพร้อย ลูกเท่าแม่ขัน"มาฝาก ส่วนว่าเพลงนั้น ก็มีเพื่อนที่ทำงานดปิดให้ฟังแล้ว ลำพังเนื้อเพลง คงไม่เท่าไหร คนสาธารณสุขชินกับสิ่งนี้
และลีลาการเต้นเกินจะรับไหว

สวัสดีปู ตอเช้าเดินทางไปรับครูเมธาวดี ที่ ภูเก็ต ปูยังอยู่ที่พังงาเหลยม้าย จะได้แวะไปเยี่ยม

สวัสดีท่านอาจารย์ขจิต...... นอกจากคำว่าเคยดำไม่ อีกคำที่คนปัดตะลุง ชอบใช้อำ ที่คนจังหวัดอื่นๆ ไม่อาจเข้าถึงทางภาษา คือ โหมนักเลง.. เช่น"อย่าไปยุ่งกับน้องสาวนี้ต๊ะ เขาโหมนักเลงมาก่อน" มีนัยะว่าโหมเคยใหญ่ครับ... ฉะนั้นพบหญิงสาวโหมนักเลงมาก่อน ต้องห่างๆ

สวัสดีครับคุณดาวลูกไก่ ภาษาใต้ ภาษาถิ่น มีความสวยงาม ทุกที่ทุกแห่ง ผมติดใจในสำเนียง ภาษาของชาวเจ๊ะเห อ.ตากใบ นราธิวาส ฟังลื่นไหลเหมือนฟังดนตรี ส่วนพัทลุง สำเนียงดุ ห้วน สั้น ยิ่งเป็นคำผวน คนที่ผวนเป็นจะสนุก พระก็ยังใช้คำผวน เจ้าอาวาสวัดป่าลิไลย์ พระมหาดร.ทวี เล่าว่า เพื่อนที่เคยบวชด้วยกันมา แล้วสึกไปแต่งงาน ไม่สนุกกับการใช้ชีวิตคู่ จึงมาปรึกษาท่าน ท่านเองก็ไม่เคยใช้ชีวิตคู่ แต่ก็แนะเพื่อนไปว่า... เบ้าลวดๆ...... (บวชหล่าวๆ)

สวัสดีครับครูกาย นี้หากอยู่ไกล้ จะไปเลี้ยงข้าวเที่ยง ปลอบขวัญสักมื้อ ฟังแล้วหวาดเสียวแทน แต่ก็ต้องอยู่ท่านกลางความไม่ปลอดภัย เห็นใจจริงๆ เมื่อไหร่เหตุจะคลี่คลาย วัฒนธรรมสองศาสนา กลับมาเหมือนเดิม เวลามีประเพณีทางศาสนา ทั้งต้มทั้งแกงคั่วสมรม ขนมผลไม้เรามีให้ตลอดมา ลูกหลานก็ปรีดาชอบไปมาหาสู่เวลามีประเพณีและเทศกาลทางศาสนา

สวัสดีครูบอนนี่ ภาษา ถิ่นแต่แห่งแต่ละที่ มีความแตก เช่นเรื่องคำว่าตาย.... เรื่องคำว่ากิน..... แหลงกันได้หลายสิบคำ

คิดถึง BOO นานแล้วที่คดถึงสาวอันดามัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท