อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก


หนังสือรวมบทความ : อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก โดย : วินทร์ ลียววาริณสำนักพิมพ์ 113 พิมพ์ครั้งแรก 2551

http://www.winbookclub.com/shoppingdetial.php?prod...

นอกจากจะเป็นนักเขียนชั้นเยี่ยมและแหวกแนวที่สุดคนหนึ่งในพุทธศักราชนี้แล้ว วินทร์ เลียววาริณ ยังเขียนบทความเสริมกำลังเอาไว้มากมาอีกด้วย ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (มีนาคม ๒๕๕๕) เขาได้ออกหนังสือชุดเสริมกำลังใจไปแล้ว ๗ เล่มด้วยกัน

ผมชอบการเขียนบทความของคุณวินทร์ตรงที่ไม่ค่อยจะสรุปของเรื่องมากนัก หลาย ๆ เรื่องทิ้งท้ายไว้ให้ผู้อ่านสรุปเอาเอง ซึ่งนับว่าดี เพราะประสบการณ์ของแต่ละคนทำให้การมองสิ่ง ๆ นั้นต่างกันออกไป นอกจากนี้วินทร์ยังชอบที่หยิบยกเรื่องราวต่าง ๆ เช่นชีวิตของบุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ มาเป็นแบบอย่างให้กับผู้อ่านได้เรียนรู้ชีวิตและเหตุการณ์เหล่านั้นเพื่อนนำมาปรับใช้กับตนเอง และสามารถสร้างเสริมกำลังให้กับตนเองได้อีกดด้วย และที่สำคัญ ในหนังสือชุดเสริมกำลังใจนี้จะมีรูปภาพสวย ๆ อยู่มากมาย หลายภาพมาจากฝีมือของนักเขียนเอง ทำให้อ่านแล้วเพลินตาเพลินใจไม่มีเบื่อเลย

อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก หนังสือเสริมกำลังใจชุดที่ ๔ ที่เนื้อหาก็เน้นหนักไปกับการเสริมกำลังใจ มีบทความทั้งหมด 48 บทความ นักเขียนได้อธิบายภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมอง ตามชื่อหนังสือ ดังในคำนำตอนหนึ่งว่า

“เมื่อเปลี่ยนมุมมอง เราจะเห็นอะไรหลายอย่างต่างไป เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่าทำได้ และไม่มีทางทำได้เมื่อมองโลกด้วยมุมมองเดิม ๆ และเมื่อกล้าเปลี่ยนมุมมอง ด้วยทัศนคติที่ดี อาทิตย์ก็ขึ้นทางทิศตะวันตกได้ และแต่ละวันใหม่ก็ไม่มีวันเหมือนเดิม”

บทความหนึ่งที่ผมชอบมากในหนังสือ อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก คือเรื่อง “รูบนกำแพงกั้นน้ำ” ซึ่งผมเองได้อ่านหนังสือเล่มนี้ช่วงที่น้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๔ และเป็นช่วงที่น้ำท่วมไปเกือบทั่วกรุงเทพ พอดิบพอดี ซึ่งช่วงนั้นคนกำลังทะเลาะกันเรื่องแนวกั้นน้ำที่ทำให้คนอยู่อีกด้านที่ต้องรับน้ำต้องเสียหาย บางคนสร้างแนวในขณะบางคนทำลาย ซึ่งล้วนแต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเองและชุมชนทั้งนั้น ซึ่งก็ว่ากันไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องสุดวิสัยอันเกิดจาภัยธรรมชาติ (ผนวกกับบุคคลด้วย) ไหนจะเรื่องการเรียกร้องความช่วยเหลือ สารพัน ภาพในช่วงน้ำท่วมใหญ่จึงมีสองภาพคือ ความขัดแย้ง และ ความเอื้ออารี

รูบนกำแพงกั้นน้ำ พูดถึงประเทศเนเธอแลนด์ ที่ว่ากันว่ามีระบบป้องกันน้ำดีเยี่ยมที่สุดในโลก อันเป็นผลพวงมาจากว่าประเทศนี้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ด้วยความที่ต้องต่อสู้กับธรรมชาติตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ของเนเธอแลนด์ทำให้ประเทศนี้เกิดวัฒนธรรมการปูลกจิตสำนึกสาธารณส่วยรวมแก่ประชาชนทุกคนทุกเพศทุกวัย เมื่อเห็น “รูรั้ว” บนกำแพงกั้นน้ำ หรือะไรก็ช่างที่จะทำให้เกิดภัยพิบัติ ประชาชนทุกคนก็จะเข้าช่วยเหลือดูแลทันที เพราะนี่คือหน้าที่ของทุกคน ในเมือง ฮาร์เล็ม เมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งของประเทศ ปรากฏตำนานเด็กชายวัย ๘ ขวบ เสี่ยงชีวิตใช้นิ้วของตนเองอุดรูรั่วของกำแพงกั้นน้ำที่กำลังจะเริ่มแตกร้าวจนอาจทำให้น้ำท่วมเมือง จนกลายเป็นตำนาน Hans Beinker บ้างก็ว่าเรื่องนี้แต่งขึ้น บ้างก็ว่าเรื่องนี้มีเค้าโครงเรื่องจริง

จะเป็นแต่งหรือเรื่องจริงนั้นไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือ นี่คือจิตวิญญาณของการรู้หน้าที่ของตัวเอง รู้ว่าอะไรคือเรื่องส่วนรวม

วาทิน ศานติ์ สันติ

๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕

หมายเลขบันทึก: 483846เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2012 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2016 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท