อาเซียนเสรีกับการทำงานยุคใหม่ของเทศบาลนครพิษณุโลก


ผมดีใจที่มีผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่อง AEC อย่างจริงจัง พยายามแสวงหาโอกาส.. และลดความเสี่ยงให้กับคนไทยในท้องถิ่นและประเทศไทยของเรา

เช้าวันนี้ (วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555) ผมได้รับเชิญจาก ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีเทศบาลพิษณุโลก ให้บรรยาย เรื่อง อาเซียนเสรีกับการทำงานยุคใหม่ให้กับข้าราชการและบุคลากร 8 หน่วยงานของเทศบาลนครพิษณุโลก และโรงเรียนอีก 5 แห่ง รวมจำนวนเกือบ 400 คน บรรยากาศวันนี้คึกคักครับ ผมดีใจที่มีผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่อง AEC อย่างจริงจัง วันนี้ก็คงจะมีความรู้ ความคิดและกรณีศึกษาดี ๆ มาฝากทุก ๆ ท่านเช่นเคย และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเราครับ

..................................................................

ก่อนจะเข้าเรื่องสาระของการเรียนรู้ในวันนี้ ชมภาพบรรยากาศแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ของเมืองพิษณุโลกกันก่อนครับ

 

บรรยากาศในช่วงเช้าของงานวันนี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 478012เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

หลักสูตร : อาเซียนเสรีกับการทำงานยุคใหม่ของเทศบาลนครพิษณุโลก

10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี

  • Quotations

“The world is changing very fast and unpredictable  Michael Hammer

“Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources.”            

Michael Porter

“Low labor productivity prevents  Thailand’s strong competitiveness Michael Porter

คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร/ชุมชน/ประเทศชาติ   พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร  แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล

จีระ  หงส์ลดารมภ์

“Think Global – Act Local จีระ  หงส์ลดารมภ์

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (Fact)

“The Net worth of Microsoft is 5% physical assets, 95% human imagination”                                                                                                                      

  • วัตถุประสงค์วันนี้  คือ
  1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องอาเซียนเสรี
  2. เปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง
  3. สร้างแรงบันดาลใจ มองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ และสนุกกับการฟังในวันนี้
  4. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเองและค้นหาองค์กร(เทศบาล) ของเรา..ว่าจะปรับตัวกับการเปิดเสรีอาเซียนอย่างไร? ฟังและคิดไปด้วย ต้องพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันเหตุการณ์
  5. แสวงหาโอกาสใหม่ที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน / ชุมชน
  6. มองการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ สร้างเครือข่าย (Networks)
  7. ลดปัจจัยทางลบที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นในอนาคต
  8. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป
  9. แนะนำวิธีการถ่ายทอดให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นฝึกการเป็น Trainers
  • ผมขอขอบคุณ เทศบาลนครพิษณุโลก และโดยเฉพาะท่านนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก นายกฯเปรมฤดี ชามพูนทที่ให้เกียรติผมและคณะมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง/ความคิดเห็นในวันนี้ เรื่องการเปิดเสรีอาเซียน อาจจะดูยากสำหรับหลาย ๆ คน แต่ด้วยประสบการณ์ของผมที่ได้ทำงานร่วมกับ….  กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นบรรยายพิเศษ ให้แก่ผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 9 รุ่น (ประมาณ 1,800 คน) และการบรรยายให้กับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2 และที่อื่น ๆ ก็คงจะได้นำความรู้มาแบ่งปันกับทุกท่านที่นี่ เพื่อต่อยอดงานของท่าน สร้าง Value และ Value addded
  • กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ ที่มหาวิทยาลัยนครพนมผมบรรยายให้กับผู้นำท้องถิ่นเรื่องการปรับตัวเพื่อรองรับอาเซียนเสรี 2015 ผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์กว่า 52 คน ก็ได้ตอบรับว่า การเปิดเสรีอาเซียน – เป็นทั้งโอกาสและเป็นทั้งการคุกคาม
  • ดังนั้น ผู้นำท้องถิ่นทุก ๆ จังหวัดต้องเข้าใจและใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์กาฬสินธุ์โมเดล – มีผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มขายข้าวหอมมะลิไปที่เวียดนามแล้วโดยไม่ต้องผ่านทางลาว

(1)    ผมจะขอเริ่ม..10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ประเทศในอาเซียนมี 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์  บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า

การรวมตัวอาเซียนเริ่มที่ประเทศไทย.. เป็นผู้ริเริ่ม

—                                     จุดเริ่มต้นของอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 รมว.กต. อินโดนีเซีย (นายอาดัม มาลิก) มาเลเซีย (ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน) ฟิลิปปินส์ (นายนาซิโซ รามอส) สิงคโปร์ (นายเอส ราชารัตนัม) และไทย (พันเอก ถนัด คอมันตร์ ลงนาม ใน ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)

—                                     ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่

  • เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน
  •  สังคมและวัฒนธรรม
  •  ความมั่นคงทางการเมือง

—                                       และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน

—                                      

ในวันนี้อยากให้ผู้นำสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อยแต่ก็ไม่ละเลยเรื่องภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของเรา

  • เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร

 

            แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้

  ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป

 นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้

            ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์

            7 อาชีพแรกที่เปิดเสรีอาเซียน

  • แพทย์
  • พยาบาล
  • ทันตแพทย์
  • วิศวกร
  • สถาปัตยกรรม
  • การสำรวจ
  • นักบัญชี

                นอกจาก “อาเซียน” แล้วควรจะเข้าใน ..อาเซียน+6 มีอะไรบ้าง? ซึ่งหมายความว่า ประเทศสำคัญ ๆ ในโลกยังให้ความสนใจที่จะทำงานกับประเทศในอาเซียน

เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน

  • ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  • มีความมั่นใจว่าท้องถิ่นปรับตัวได้

ภูมิศาสตร์

  • จังหวัดพิษณุโลกตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างและอยู่ในเขตภาคกลางตอนบนสุดของประเทศไทย เรียกกันว่า "เหนือล่างกลางบน" ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

                เป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน"

                ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย – อินเดีย, ไทย – จีน มาแล้ว ซึ่งในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน

ในการปรับตัวของผู้นำท้องถิ่นในวันนี้

  • สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้
  •  โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร?

โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน

 

การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ - ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน

—          การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปยังชุมชนในแนวกว้าง รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย

—         แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี

—         ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน 

                 ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด

                การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือสร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว – ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วยและต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ“อาเซียน”เป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องกระตุ้นให้ชุมชนสนใจและเข้าใจเพื่อสร้างโอกาส

                การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของข้าราชการท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชน หรือ หลายๆ คนอาจเรียกว่า รากหญ้า ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นอยู่รอด และก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                        ทุนมนุษย์

Intellectual Capital                ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                         ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital                 ทุนแห่งความสุข

Social Capital                           ทุนทางสังคม

Sustainability Capital           ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                          ทุนทาง IT

Talented Capital                    ทุนทางความรู้ ทักษะ

 

 

—         5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

—          

—         Creativity Capital                   ทุนแห่งการสร้างสรรค์

—         Knowledge Capital              ทุนทางความรู้

—         Innovation Capital               ทุนทางนวัตกรรม

—         Emotional Capital                ทุนทางอารมณ์

—         Cultural  Capital     ทุนทางวัฒนธรรม

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s จะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่ประชาคมอาเซียน คือ

  • Standard มีมาตรฐาน
  • Quality มีคุณภาพ
  • Excellence มีความเป็นเลิศ
  • Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้
  • Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

คำถาม คือ จะทำอย่างไรจึงจะพัฒนาศักยภาพของทุนเหล่านี้ในท้องถิ่นได้?

การบริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                สรุป..ผมหวังว่าแนวคิดทั้ง10 ประเด็นที่นำเสนอในวันนี้..จะเป็นบันไดขั้นแรกที่เราจะสามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

                ถึงจะเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก แต่ผมรู้ว่า ทุกท่านในห้องนี้ มีสติปัญญา และหวังดี ถ้ามีแรงบันดาลใจ ร่วมมือกันทำงาน ใกล้ชิดกับประชาชนแล้วคงจะช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ก้าวไปสู่การเสรีอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง..

                   และผมจะช่วยกันเป็นแนวร่วมครับ

2 R’s

  • Reality      
  • Relevance    

4 L’s

  • Learning Methodology
  • Learning Environment
  • Learning Opportunities
  • Learning Communities

ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมโครงการฯ

สรุป 3 เรื่องที่ได้เรียนรู้ในช่วงเช้า

ความคิดเห็นที่ 1

ก่อนตะวัน ม่วงเนียม

เทศบาล 4

เข้าใจว่าเราต้องยกมาตรฐานความร่วมมือ

ศักยภาพของอาเซียนและการรวมตัวกัน

ความคิดเห็นที่ 2

ประภาพร กล่อมเกลา

กองงานประปา

รู้ว่าอาเซียนมี 10 ประเทศ มีอะไรบ้าง

รู้เรื่องการลงทุนระหว่างประเทศของอาเซียน

เรียนรู้ที่จะวิเคราะห์จังหวัดพิษณุโลกของเรา

ความคิดเห็นที่ 3

เราต้องเป็นที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพเพื่อให้เราเป็นคนที่โดดเด่นในเวทีอาเซียน

เราต้องสำรวจตัวเรา องค์กรของเราว่าเรามีจุดเด่นอย่างไร และยกมาตรฐานให้เป็นพิษณุโลกของเราที่ยอมรับในอาเซียน เช่น ขนมวงชื่อดังของพิษณุโลก อาจจะทำให้เป็น สองแควร์สวีท

............................................

บันทึกโดย วราพร ชูภักดี

ผู้ช่วยวิทยากร

WORKSHOP: แบ่งกลุ่มตามภารกิจงานของเทศบาล

  1. จากการเรียนรู้เกี่ยวกับ AEC ลองสำรวจค้นหาโอกาส  - ความเสี่ยง – จุดอ่อน-จุดแข็งของเทศบาลนครพิษณุโลก (โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของท่าน) คือ อะไร?

        (ใช้ตารางที่ 1)

  1. เสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) (แผน1 ปี)

        2.1 วิธีการพัฒนาลดความเสี่ยง ลดจุดอ่อน (ที่เป็นไปได้)

        2.2 วิธีการสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน/สร้างโอกาสให้แก่

              ประชาชนในภารกิจของเทศบาลฯ (ที่เป็นไปได้)        

3.    จะมีวิธีการวัดผลอย่างไร?

       (ข้อ 2 และ 3 ใช้ตารางที่ 2และ3) 

WORKSHOP: แบ่งกลุ่มตามภารกิจงานของเทศบาล

  1. จากการเรียนรู้เกี่ยวกับ AEC ลองสำรวจค้นหาโอกาส  - ความเสี่ยง – จุดอ่อน-จุดแข็งของเทศบาลนครพิษณุโลก (โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของท่าน) คือ อะไร?

        (ใช้ตารางที่ 1)

  2.   เสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) (แผน1 ปี)

        2.1 วิธีการพัฒนาลดความเสี่ยง ลดจุดอ่อน (ที่เป็นไปได้)

        2.2 วิธีการสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน/สร้างโอกาสให้แก่

              ประชาชนในภารกิจของเทศบาลฯ (ที่เป็นไปได้)        

  3.   จะมีวิธีการวัดผลอย่างไร?

       (ข้อ 2 และ 3 ใช้ตารางที่ 2และ3) 

นำเสนอ:กลุ่มที่ 1

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

  1. เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนล่าง
  2. เป็นจุดผ่าน (4 แยกอินโดจีน)
  3. ประชาการมีความรู้ดี
  4. มีความหลากหลายทางอาชีพ      

จุดอ่อน

  1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประเทศอาเซียน
  2. การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน
  3. โอกาส   ความเสี่ยง

โอกาส

1.         มีศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม

2.         มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

3.         แหล่งธรรมชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติ

4.         เป็นเมืองน่าอยู่ – เป็นแหล่งการศึกษา

5.         ภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.         ศูนย์กลางคมนาคมทั้งทางบกทางน้ำ ทางอากาศ (มีแม่น้ำน่าน)

7.         เมืองประวัติศาสตร์

ความเสี่ยง

1.         ความร่วมมือจากประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

2.         ภาวะมลพิษด้านต่าง ๆ เช่น ขยะ อากาศ

3.         ปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพเพิ่มขึ้น

4.         การใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอาเซียนในการสื่อสาร

5.         ค่านิยมในวัฒนธรรมต่างชาติ

 

ข้อ 2 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

          จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การพัฒนาภาษาที่ใช้ในการสื่อสาพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยเสนอ

1)      โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา

2)      โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ภาและการสื่อสาร      

ผู้เกี่ยวข้อง: สถานศึกษา / เทศบาล/ จังหวัด / ASEAN / นักเรียน /เยาวชน / ครู / ข้าราชการ / มัคคุเทศก์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

ระยะเวลา: ปีงบประมาณ 2555-2558

งบประมาณ: มากกว่าปีละ 200,000 บาท

การวัดผล: ผลการฝึกปฏิบัติจริงจาก..แบบสอบถาม /การสังเกต /การสัมภาษณ์

 

ข้อ 3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อสร้างโอกาสจากจุดแข็งของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

          จากจุดแข็งหรือโอกาสที่วิเคราะห์ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การพัฒนาภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร” โดยเสนอโครงการ

1)      ส่งเสริมทักษะความรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษาสู่สังคมอาเซียน   

2)      โครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ภาษาสู่สังคมอาเซียน          

ระยะเวลา: ปีงบประมาณ 2555-2558

ผู้เกี่ยวข้อง: สถานศึกษา / เทศบาล/ จังหวัด / ASEAN / นักเรียน /เยาวชน / ครู / ข้าราชการ / มัคคุเทศก์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

งบประมาณ 500,000 บาท/ปี แบบสอบถาม

การวัดผล: ผลการฝึกปฏิบัติจริงจาก..แบบสอบถาม /การสังเกต /การสัมภาษณ์

 

นำเสนอ:กลุ่มที่ 2

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

  1. มีสถานศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
  2. มีโรงพยาบาล
  3. มีบริการได้ครอบคลุม เพียงพอ เช่นโรงแรม ร้านค้า สถานบริการ ศูนย์การค้า
  4. มีการคมนาคมครบวงจร
  5. มีศาสนาที่เข้มแข็ง และมีศาสนสถานที่มีชื่อเสียง

จุดอ่อน

  1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประเทศอาเซียน
  2. การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน
  3. กลัวถูกแย่งงาน
  4. การจราจรติดขัด
  5. ค่าจ้างแรงงานไทยสูงอาจทำให้ถูกแย่งงาน
  6. มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม
  7. พื้นที่ตั้งเป็นลุ่มน้ำ

โอกาส

  1. เพิ่มศักยภาพของพื้นที่จังหวัดและของเทศบาล
  2. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง
  3. การกระจายสินค้าสู่ระดับอินเตอร์
  4. เป็นศูนย์กลางการคมนาคม
  5. ทำให้จังหวัดพิษณุโลกมีความเจริญและการพัฒนา

ความเสี่ยง

  1. อาชญากรรมอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
  2. ด้านสาธารณสุขและโรคติดต่อ
  3. การจราจรและอุบัติเหตุที่เพิ่มสูงขึ้น
  4. ปัญหายาเสพติด
  5. ความศูนย์เสียวัฒนธรรมไทย
  6. เป็นที่ลุ่มมีโอกาสเกิดอุทกภัย

ข้อ 2-3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อน ของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล) รองรับ AEC

          จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบ..

ð      เรื่องปัญหาการจราจร

            สามารถนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การขยายโครงข่ายการจราจรตามผังเมือง โดยเสนอ

  1. 1.                  โครงการสร้างจิตสำนึก ตระหนักถึงความสำคัญของผังเมือง (ระยะสั้น)
  2. 2.                  โครงการนำระบบ GPS มาใช้ในเพื่อลดปัญหาการจราจร (ระยะกลาง)
  3. 3.                  โครงการเชื่อมถนนต่อระหว่างซอยตันต่าง ๆ ให้เป็นโครงข่ายถนนผังเมือง (ระยะกลาง)
  4. 4.                  โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ

ð      เรื่องปัญหาการเกิดอุทกภัย

            สามารถนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม” โดยเสนอโครงการ

  1. 1.                  สร้างทางพร่องน้ำ (โครงการบูรณาการระยะยาว)
  2. 2.                  ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนว (ระสั้น – ระยะยาว)
  3. ปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ

นำเสนอ:กลุ่มที่ 2

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

  1. มีสถานศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
  2. มีโรงพยาบาล
  3. มีบริการได้ครอบคลุม เพียงพอ เช่นโรงแรม ร้านค้า สถานบริการ ศูนย์การค้า
  4. มีการคมนาคมครบวงจร
  5. มีศาสนาที่เข้มแข็ง และมีศาสนสถานที่มีชื่อเสียง

จุดอ่อน

  1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประเทศอาเซียน
  2. การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน
  3. กลัวถูกแย่งงาน
  4. การจราจรติดขัด
  5. ค่าจ้างแรงงานไทยสูงอาจทำให้ถูกแย่งงาน
  6. มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม
  7. พื้นที่ตั้งเป็นลุ่มน้ำ

โอกาส

  1. เพิ่มศักยภาพของพื้นที่จังหวัดและของเทศบาล
  2. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง
  3. การกระจายสินค้าสู่ระดับอินเตอร์
  4. เป็นศูนย์กลางการคมนาคม
  5. ทำให้จังหวัดพิษณุโลกมีความเจริญและการพัฒนา

ความเสี่ยง

  1. อาชญากรรมอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
  2. ด้านสาธารณสุขและโรคติดต่อ
  3. การจราจรและอุบัติเหตุที่เพิ่มสูงขึ้น
  4. ปัญหายาเสพติด
  5. ความศูนย์เสียวัฒนธรรมไทย
  6. เป็นที่ลุ่มมีโอกาสเกิดอุทกภัย

ข้อ 2 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อน ของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล) รองรับ AEC

          จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบ..

ð      เรื่องปัญหาการจราจร

            สามารถนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การขยายโครงข่ายการจราจรตามผังเมือง โดยเสนอ

  1. โครงการสร้างจิตสำนึก ตระหนักถึงความสำคัญของผังเมือง (ระยะสั้น)
  2. โครงการนำระบบ GPS มาใช้ในเพื่อลดปัญหาการจราจร (ระยะกลาง)
  3. โครงการเชื่อมถนนต่อระหว่างซอยตันต่าง ๆ ให้เป็นโครงข่ายถนนผังเมือง (ระยะกลาง)
  4. โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ

ð      เรื่องปัญหาการเกิดอุทกภัย

            สามารถนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม” โดยเสนอโครงการ

  1. สร้างทางพร่องน้ำ (โครงการบูรณาการระยะยาว)
  2. ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนว (ระสั้น – ระยะยาว)
  3. ปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ

นำเสนอ:กลุ่มที่ 4

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง

2. มีภูมิปัญญาและทรัพยากรมาก

3. มีทักษะการบริกา

4. แรงงานระดับฝีมือคุณภาพสูง

5. นโยบายขององค์กรสนับสนุนต่อการพัฒนาสู่อาเซียน

6. การมีส่วนร่วมของชุมชน

7. มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

8. เป็นศูนย์กลางด้านสาธารณสุขส่วนภูมิภาค

จุดอ่อน

1. ด้านการสื่อสาร

2. ระบบขนส่งมวลชน

3. ผังเมือง รวมถึงระบบการจราจร

4. มีประชากรแฝงเป็นจำนวนมาก

โอกาส

1. นโยบายของรัฐบาล และจังหวัดให้การสนับสนุนการพัฒนาสู่อาเซียน

2. เป็นศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน

3. โอกาสเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อย

4. มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ความเสี่ยง

1. ภูมิศาสตร์ คือแม่น้ำน่านผ่ากลางเมือง

2. สิ่งแวดล้อมถูกคุมคาม

3. อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำสูงกว่าประเทศในแถบอาเซียน

4. ภาวะแรงงานคืนถิ่น

5. ระบบการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

6. พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

ข้อ 2 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้” โดยเสนอ

1) โครงการการสื่อสารการบริการสาธารณสุขด้านภาษา

ผู้เกี่ยวข้อง: ผู้ให้บริการในสำนักงานสาธารณสุข จำนวน 100 คน

ระยะเวลา: 60 ชั่วโมง

งบประมาณ: มากกว่าปีละ 100,000 บาท

การวัดผล: สามารถสื่อสารได้ระดับพื้นฐาน

2) โครงการพัฒนาแพทย์แผนไทย

ผู้เกี่ยวข้อง: ผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยจำนวน 90 คน

ระยะเวลา: ปีงบประมาณ 2555-2557

งบประมาณ: มากกว่าปีละ 150,000 บาท

การวัดผล: ศูนย์สุขภาพเวชการไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อ 3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อสร้างโอกาสจากจุดแข็งของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดแข็งหรือโอกาสที่วิเคราะห์ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “ส่งเสริมการเรียนรู้ ลดรายจ่ายเพื่อเพิ่มรายได้” โดยเสนอโครงการ

1) สร้างความเข้าใจขยายเครือข่าย

ระยะเวลา: 1 ปี

ผู้เกี่ยวข้อง: เครือข่ายสมัชชา

งบประมาณ 200,000 บาท/ปี

การวัดผล: มีกลุ่มเครือข่ายบริการสุขภาพที่มีความรู้ด้านภาษา

นำเสนอ:กลุ่มที่ 5

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1.ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในชุมชนใหญ่ และมีความเจริญ

2.มีภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมและมีความสวยงาม

3.มีแหล่งเรียนรู้ทางประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย

4.ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนนโยบายการเตรียมบุคลากรสู่อาเซียน

จุดอ่อน

1.ครูและนักเรียนขาดทักษะด้านการสื่อสารภาษาสากลและภาษาอาเซียน

2.จำนวนบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในภาษาต่างประเทศมีน้อยไม่เพียงพอกับการจัดการศึกษาอาเซียน

3.สถาบันครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน

4.บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอและสื่อทางเทคโนโลยีไม่เพียงพอ

โอกาส

1.ได้เรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่างๆในอาเซียน

2.ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรชาวต่างชาติ มาให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางภาษา

ความเสี่ยง

1.เด็กมีค่านิยม และความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการแต่งกาย การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม

ข้อ 2-3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “พัฒนาการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน” โดยเสนอ

1) โครงการการอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

ผู้เกี่ยวข้อง: ครู นักเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง

ระยะเวลา: ตลอดปีการศึกษา

งบประมาณ: มากกว่าปีละ 200,000 บาท

การวัดผล: แบบประเมินความพึงพอใจ/ผลการปฏิบัติงาน

นำเสนอ:กลุ่มที่ 6

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีศูนย์ ICT เพื่อการเรียนรู้

2. มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและเป็นเจ้าของภาษาโดยตรงมาให้ความรู้นักเรียน

จุดอ่อน

1. บุคลากรทางการศึกษาขาดทักษะการสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศ

2. บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาต่างประเทศมีจำนวนน้อย

3. ขาดการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนในการไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษา และวัฒนธรรม

โอกาส

1. ผู้บริหารเทศบาลเห็นความสำคัญและสนับสนุนด้านการศึกษา

2. เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา

ความเสี่ยง

1. เกิดความผิดลาดในการถ่ายทอดภาษาต่างประเทศ

ข้อ 2 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก” โดยเสนอ

1) โครงการพัฒนาศูนย์ ICT

ผู้เกี่ยวข้อง: ประชาชน/นักเรียน/บุคลากรทางการศึกษา

ระยะเวลา: ตลอดปีการศึกษา

ข้อ 3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อสร้างโอกาสจากจุดแข็งของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดแข็งหรือโอกาสที่วิเคราะห์ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “ส่งเสริมการสอนภาษาในกลุ่มอาเซียนในโรงเรียน” โดยเสนอโครงการ

1) สอนภาษาในกลุ่มอาเซียนในโรงเรียน

ระยะเวลา: ตลอดปีการศึกษา

ผู้เกี่ยวข้อง: นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

นำเสนอ:กลุ่มที่ 7

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

จุดอ่อน

1. มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต

2. การสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศ

3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนน้อย

โอกาส

1. เปิดกว้างทางการศึกษาและภาษาในการสื่อสาร

2. แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และวิถีในการดำเนินชีวิต

3. การคมนาคมติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว

4. ส่งเสริมการลงทุน การค้า และการตลาดอย่างเสรี

ความเสี่ยง

1. เกิดการแข่งขันทางการศึกษาสูง

2. ทำให้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป

3. นักลงทุนอาจเคลื่อนย้ายการลงทุนไปต่างประเทศมากขึ้น

4. ต่างชาติเข้ามามีโอกาสตักตวงทรัพยากรมากขึ้น

ข้อ 2-3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 1. “พัฒนามาตรฐานด้านการศึกษาให้เท่าเทียมกับกลุ่มประเทศอาเซียน” โดยเสนอ

1. โครงการแลกเปลี่ยนการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน

2. จัดการศึกษาผ่านระบบ E-learning

3. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ 2. “การใช้ภาษาในกลุ่มอาเซียน ” โดยเสนอ

1. จัดตั้งศูนย์ภาษา

2. เพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร

3. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

นำเสนอ:กลุ่มที่ 8

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีความตั้งใจที่จะเข้าสู่ AEC

2. ผู้บริหารเทศบาลมีวิสัยทัศน์ที่จะนำท้องถิ่น เตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

จุดอ่อน

1. ภาษาอังกฤษอ่อนแอ

2. การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับ AEC

3. ไม่มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง

4. เทศบาลยังไม่มีแผนพัฒนา3ปี ที่เกี่ยวกับ AEC

โอกาส

1. มีภูมิศาสตร์เป็นเมืองสี่แยกอินโดจีน

2. เป็นเมืองท่องเที่ยว

ความเสี่ยง

1. ประชาชนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบ ถ้าเกิดการติดต่อ ค้าขาย คมนาคม ขึ้นมาจริงๆ เช่นระบบ logistic ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง

2. ระบบการค้าเสรี,ทุนนิยม

ข้อ 2-3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 1. “พัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารเพื่อเข้าสู่ AEC” โดยเสนอ

1. จัดอบรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ

2. E-learningภาษาที่ใช้ในอาเซียน

3. จัดประชาคมให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน

ผู้เกี่ยวข้อง: พนักงาน/ ประชาชนที่สนใจ

ระยะเวลา: งบประมาณปี 56 (ม.ค.-เม.ย.)

งบประมาณ: มากกว่าปีละ 500,000 บาท

การวัดผล: สอบวัดระดับการสื่อสารภาษา

นำเสนอ:กลุ่มที่ 9

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ

2. มีทรัพยากรบุคคลเพียงพอ

3. มีแหล่งเรียนรู้เพียงพอ

จุดอ่อน

1. บุคลากรขาดทักษะด้านการสื่อสาร

2. บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของประเทศในกลุ่มอาเซupo

โอกาส

1. รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้น

2. ระบบการคมนาคมขนส่งมีโครงข่ายกว้างมากขึ้น

3. ประชากรมีความสุข

ความเสี่ยง

1. ปัญหาทางสังคมมากขึ้น

2. ปัญหาเกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

ข้อ 2 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “การส่งเสริมด้านการสื่อสาร” โดยเสนอ

1) โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอาเซียน

ผู้เกี่ยวข้อง: บุคลากรของเทศบาลพิษณุโลก/วิทยากรเจ้าของภาษาอาเซียน

ระยะเวลา: ปีการศึกษา 2555

งบประมาณ: ปีละ 3,000,000 บาท

การวัดผล: แบบทดสอบ/แบบสังเกตพฤติกรรม/แบบประเมินความพึงพอใจ

ข้อ 3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อสร้างโอกาสจากจุดแข็งของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดแข็งหรือโอกาสที่วิเคราะห์ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “เมืองเกษตรปลอดสาร แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน” โดยเสนอโครงการ

1) โครงการชาวสองแคว แชร์ความสุข

ระยะเวลา: 1 เดือน

ผู้เกี่ยวข้อง: บุคลากรเทศบาลนครพิษณุโลก

งบประมาณ 5,000,000 บาท/ปี

การวัดผล: แบบประเมินความพึงพอใจ/แบบสังเกตพฤติกรรมปฏิบัติจริง

นำเสนอ:กลุ่มที่ 3

ข้อ 1 วิเคราะห์เทศบาลนครพิษณุโลกกับผลกระทบจาก AEC (ทั้งทางบวกและทางลบ)

จุดแข็ง

1. มีสถานศึกษา

2. มีโรงพยาบาล

3. มีสถานบริการ,โรงแรม,ร้านค้า,ศูนย์การค้า ได้ครอบคลุมเพียงพอ

4. การคมนาคมครบวงจร

5. มีศาสนาที่เข้มแข็ง ศาสนาวัตถุ

จุดอ่อน

1. ภาษาในการศึกษา

2. ถูกแย่งแรงงาน

3. การจราจรติดขัด

4. ค่าจ้างแรงงานไทยสูง

5. พื้นที่ตั้งเป็นลุ่มแม่น้ำ

โอกาส

1. เพิ่มศักยภาพของพื้นที่จังหวัด และเขตเทศบาล

2. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง

3. การกระจายสินค้าเข้าสู่ระดับอินเตอร์

ความเสี่ยง

1. อาชญากรรม

2. ด้านการสาธารณสุข โรคติดต่อ

3. เพิ่มอุบัติเหตุ การจราจร

4. ยาเสพติด

ข้อ 2-3 ร่างยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อลดความเสี่ยง และลดจุดอ่อนของจังหวัดพิษณุโลก (ในฐานะของหน่วยงานเทศบาล)รองรับ AEC

จากจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่พบกำหนดเป็น

1. ยุทธศาสตร์ “สร้างชุมชนให้แข้มแข็ง” โดยเสนอ โครงการการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน

2. ยุทธศาสตร์ “ขยายโครงข่ายการจราจรตามผังเมือง” โดยเสนอ โครงการสร้างจิตสำนึกตระหนักถึงความสำคัญของผังเมือง

3. ยุทธศาสตร์ “ระบบป้องกันน้ำท่วม” โดยเสนอ โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธภาพ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ขอร่วมรับรู้เรื่องใหม่ๆ เกี่ยวกับ ASEAN ด้วยคนนะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท