เด็กยุคศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างไร


วันเด็กปีนี้ น้องต้นไม้ถามแม่ว่า แม่มี GPS มั้ย แม่ถามต่อว่า น้องรู้จัก GPS จากไหนครับ
น้องต้นไม้บอกว่า ดูจากเรื่องบาร์บี้คริสต์มาส

แล้วแม่ก็หยิบโทรศัพท์มือถือ HTC Desire S เครื่องเก่งที่เป็นเหมือนเลขาฯ ของแม่ขึ้นมา แล้วเปิด GPS ให้น้องดูว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ที่ไหนของหาดใหญ่

พอก่อนนอนแม่ก็เปิด GPS ผ่าน iPad ให้น้องดูอีกครั้งว่าเราดูจาก iPad ก็ได้ด้วยนะ
แล้วน้องต้นไม้ก็ใช้นิ้วเล็กๆ ปัดหน้าจอ iPad ที่เคยเป็นของพ่อกับแม่ไปมาได้อย่างคล่องแคล่ว

อีกไม่กี่วันแม่ต้องเดินทางไปนครนายก น้องต้นไม้ก็คงจะ Skype คุยกับแม่แบบเห็นหน้าเห็นตากันอีก และเมื่อลูกเริ่มเขียนเป็นคำได้ แม่จะสอนให้ลูกบล็อกทุกวันผ่าน GotoKnow แห่งนี้

...............................................

ลูกเป็นเด็กยุค Social Media เป็นเด็กที่ชอบเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และสามารถเรียนได้ด้วยตนเองเพียงแค่ผ่านการแนะนำและการสอนจากพ่อแม่เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น

แม่มานั่งอ่านหนังสือ 21st Century Skills - Rethinking How Students Learn ที่อาจารย์หมอวิจารณ์แนะนำไว้ แล้วก็ทำให้แม่มั่นใจว่า ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนแปลงของการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่แล้ว!

พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ จะต้องมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพราะอนาคตการศึกษาเรียนรู้ของเด็กยุคนี้จะไม่เหมือนกับปัจจุบันที่เน้นแต่การสอนเป็นหลัก

แม่คิดว่าเด็กยุคลูกจะเป็นเด็กที่อยากรับความรู้ใหม่ๆ ท้าทายๆ เมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียนแม่ก็อยากให้ครูของลูกได้ช่วยแม่ดูแลลูกอย่างที่ลูกอยากเป็นและพร้อมจะเป็น

แล้วถ้าอย่างนั้น ครูของลูกจะต้องเป็นครูแบบไหน? แล้วห้องเรียนของลูกจะเป็นแบบไหน? แม่ยังไม่รู้ และแม่กำลังพยายามหาคำตอบ

แต่ที่แม่มั่นใจมากที่สุดคือ การปิดกั้นสื่อ Social media ไม่ใช่หนทางออก! เพราะสื่อเหล่านี้นำพาความรู้เปิดโลกกว้างให้ลูกได้เป็นอย่างดี และแม่คิดว่าลูกชอบต่อ Legos และต่อได้เก่งเพราะจากการดู YouTube ด้วยนั่นเอง

ประเทศไทยต้องกล้าที่จะทำอะไรสักอย่างแล้วสำหรับการศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

อย่างน้อยแม่กับพ่อได้เริ่มต้นแล้วที่จะทำอะไรสักอย่างสำหรับทักษะการเรียนรู้ 21st Century ของเด็กยุคน้องต้นไม้ เพราะพ่อกับแม่กำลังทำ ClassStart.org ให้เป็นระบบสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อ 21st Century Skills ได้อย่างเต็มที่

และไม่เพียงเท่านี้ ตายายลุงป้าน้าอาใน GotoKnow.org แห่งนี้ก็ได้เริ่มต้นแล้วเช่นกัน คือ การค้นหาและสร้าง "ครูเพื่อศิษย์" นั่นเองจ้ะ

พ่อแม่รักลูก ขอให้ลูกแข็งแรงและเป็นเด็กที่น่ารักของพ่อแม่และเป็นหน่อเนื้อดีๆ ที่สร้างสรรค์สังคมไทยต่อไปนะจ้ะ

สุขสันต์วันเด็กจ้ะ :)

"สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"


หมายเลขบันทึก: 474655เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2012 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เรื่อง 21st Century Skills - Rethinking How Students Learn นี้ ต่างประเทศพูดกันมาหลายปี แต่เมืองไทยยังเิ่พิ่งเริ่มต้นพูดถึงกันบ้าง แต่ยังไม่เข้าถึง "โรงเรียน" อย่างจริงจัง

ขอบคุณครับ อาจารย์จัน ;)...

กำลังทำ ClassStart.org ให้เป็นระบบสนุนการเรียนรู้เพื่อ 21st Century Skills ได้อย่างเต็มที่

..

ประทับใจค่ะ

นี่คือการสร้างมรดกไว้สำหรับทั้งน้องต้นไม้ และประเทศเรา

เรื่องเล่าจากครอบครัวอาจารย์สร้างแรงบันดาลใจให้อยาก (และกล้า) จะเขียนเรื่องนี้คะ

I am looking from a stand point (at the bottom of a well) and wonder:

What should parents of 21st C children do?

For most parents out there 'in real wild world', their children will be talking different languages (socially modified Thai - SMT, English - like PSE, ...) ; their children will teaching them technologies, social networking and new trends; ...

(while children remain dependent on their parents much longer - many children may demand even more.)

Parents from lower educational backgrounds (than their children) will have a lot to learn but little time to learn.

What and how should we do to ease the majority (87+% ?) of parents into the 21st C?

ต้องขอบคุณสิ่งที่ครอบครัวปิยะวัฒน์กำลังสร้าง ส่งเสริม และร่วมเป็นแบบอย่างค่ะ

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจ

  • การศึกษาไม่ว่าระดับไหนต้องปรับเปลี่ยนมาก ๆ เลยแหล่ะค่ะ
  • ไม่ใช่ว่าเราวิ่งตาม แต่เราควรรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • ไม่ว่าพ่อ แม่ ครูที่โรงเรียน แต่จะนานเพียงไหนนั้นไม่รู้
  • ถ้าเลือกโรงเรียนได้ พ่อ แม่ ก็จะเลือกโรงเรียนที่ดีสำหรับลูก ๆ ถึงแม้ว่ามันจะแพงนิดหนึ่ง แต่พอกำลังพ่อ แม่ได้ ก็ควรเลือก เพราะเป็นเหมือนพื้นฐานเสริมให้กับลูก ๆ ตั้งแต่เด็กเลยละค่ะ
  • สำหรับเจ้าฟ้าคราม หลานของย่า ก็กำลังเล็ง ๆ โรงเรียนที่ย่าอยากให้หนูเป็นและมองถึงอนาคตข้างหน้าแล้ว ถ้ามีโอกาส ย่าก็จะทำค่ะ ถ้าขืนปล่อย ๆ ไป ไม่อยากเห็นภาพที่ต้องมาเป็นปัญหาทางด้านสังคมเลยค่ะ
  • ชื่นชมอาจารย์ที่พยายามสอนลูกให้ทันและตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงค่ะ

มากราบสวัสดี วันครูเพื่อศิษย์ Blogger ชาว G2K ตั้ง แต่ ครูวิจารณ์ ครูประพนธ์ ครูธวัชชัย ครูจันทวรรณ และ ครูชาว G2K ทุกทุกท่าน

 

กราบสวัสดีคุณครูทุกท่านด้วยค่ะ

คุณ SR มีคำถามที่ตรงใจมากเลยค่ะ แน่นอนค่ะในศตวรรษที่ 21 นี้ Digital Divide ระหว่างพ่อแม่และลูกจะสูงขึ้นอย่างมาก

เทคโนโลยีมาเร็วไปเร็วตามไม่ทัน แต่ถ้าเราทำให้ทุกฝ่ายรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองได้รู้ในหน้าที่ของเครื่องมือ ให้ความร่วมมือในการเตรียมการเรียนรู้ของบุตรหลานน่าจะเป็นสิ่งที่ดีและท้าทายค่ะ

ในหนังสือเล่มนี้ได้แนะนำไว้ดีมากค่ะว่า โรงเรียนต้องสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในหลากหลายระดับ ทั้งครู ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน และโยงใยกัน

ครู เรา สังคม ต้องร่วมกันฝึกและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กในอนาคตเรา การสอนแบบเดิมไม่ใช่คำตอบ

ออกแบบให้เด็กฝึกและสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยตนเอง (เป็นความท้าทายของทั้งเด็ก และเรา)

นำภาพขึ้นได้ยากกว่าเดิมครับ

ไม่ทราบเป็นเพราะเหตุใด

สวัสดีค่ะ Ico48 แวะมาชื่นชมและเป็นกำลังใจค่ะ...

ขอบคุณมากครับ ดร.จันทวรรณ ที่สร้างระบบการเรียนรู้แก่คนไทยทุกเพศวัย โดยเฉพาะการพัฒนาสื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและลูกศิษย์ ผมได้นำหลักการไปประยุกต์ใช้ในระบบ E-learning ของม.มหิดล เลยยังไม่มีโอกาสได้ใช้ ClassStart.org มากนัก

  • นับเป็นครอบครัวที่สนับสนุนการพัฒนาเด็ก ตามคำขวัญวันเด็กแห่งชาติปี่ 2555 ด้าน  "ใส่ใจเทคโนโลยี"  จริงๆค่ะ
  • น้องต้นไม้ก็คงจะเติบโตขึ้นพร้อมกับความสนใจและทักษะด้านเทคโนโลยีตามที่พ่อแม่บ่มเพาะ ในขณะเดียวกับการมีจิตสำนึกรักและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ตามที่มีชื่อว่า "น้องต้นไม้" นะคะ 

ขอบคุณบันทึกที่งดงามมากครับ

ผมมาจับตามอง จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่มีพลังมหาศาลในอนาคตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท