บทคัดย่อ : ความชุกของการตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกในตำบลเชียงพิณ


"การตรวจพบเซลล์ผิดปกติในระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง สามารถป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะต่อไปได้ ดังนั้น สตรีที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกคน"

ศรีวรรณ  มโนสัมฤทธิ์.  2553.  ความชุกของการตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกในตำบลเชียงพิณ.

โครงการวิจัยในสถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี สนับสนุนทุนวิจัยโดยสปสช.

คณะกรรมการที่ปรึกษางานวิจัย  :  รศ. ดร. ดุษฎี  อายุวัฒน์, พญ. อาภาพรรณ  นเรนทร์พิทักษ์, นพ. ปราโมทย์  ศรีแก้ว

บทคัดย่อ 

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) แบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการตรวจพบ เซลล์ผิดปกติของปากมดลูก (abnormal papsmear) และ ศึกษาภูมิหลังของสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูก  ที่มาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกในปี  พ.ศ. 2548 - 2552 วิเคราะห์ข้อมูลจากทะเบียนการตรวจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสถานีอนามัยเชียงพิณและโรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้โปรแกรม SPSS  version 11.5  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ภูมิหลังของผู้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูก (abnormal papsmear) เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช และความครบถ้วนของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเครื่องมือ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ข้อมูลที่ได้ นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าความชุกของการตรวจพบเซลล์ผิดปกติต่อ 1,000 ประชากร ตามหลักการทางระบาดวิทยา

ผลการวิจัย พบว่า จำนวนสตรีที่มีภูมิลำเนาในตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปี 2548 - 2552 มีทั้งหมด 3,029 ราย เมื่อวิเคราะห์ความชุกรายปี พบว่า ความชุกของการตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกของตำบลเชียงพิณ ในช่วงเวลาดังกล่าว เท่า กับ  9.73, 8.8, 8.55, 8.6 และ 10.28 ตามลำดับ สรุป ความชุกของการตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูก ในตำบลเชียงพิณ ณ ต้นปี 2553 มีค่าเท่ากับ 10.28 ต่อ 1,000 ประชากร และสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปกมดลูก ตั้งแต่ปี 2548 - 2552  มีทั้งหมด 30  คน  ยังอาศัยอยู่ในตำบลเชียงพิณ  25 คน (ไปทำงานต่างประเทศ 2 คน ย้ายภูมิลำเนา 2 คนและเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูก 1 คน)

 

ผลการวิเคราะห์ภูมิหลังของสตรีที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูก พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง  31 - 40 ปี ร้อยละ 30 อายุเฉลี่ยที่ตรวจพบความผิดปกติ 37.96 ปี (SD =  11.82, max = 60, min = 17, )  มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 84  เป็นครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 68  มีรายได้ของครอบครัวต่อ เดือนมากกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 96  อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรก 20 ปี  (SD = 2.9, max= 28,  min =  14 ) มีประจำเดือนครั้งแรกอายุมากกว่า 12 ปี ร้อยละ 88 ใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิดร้อยละ 56  ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้ฮอร์โมน 6.19  ปี (SD = 7.17, max = 30,  min = 1 ) มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งร้อยละ 28  ข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 64 มีภาวะอ้วนร้อยละ 28  มีโรคประจำตัวร้อยละ 36 จำนวนคู่นอนมากกว่า 1 คนร้อยละ  36 และจากผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกตินั้น พบ ASC-US 26.67 %, CIS 3.33 %, L-SIL 43.33 % และ H-SIL 26.67 %   ปัจจุบันสตรีกลุ่มนี้ได้รับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ พบว่าผลการตรวจ  ปกติ ร้อยละ 76 และยังตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกอยู่ ร้อยละ 24  จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การตรวจพบเซลล์ผิดปกติในระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกในระยะต่อไปได้

 

เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์...

หมายเลขบันทึก: 470609เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ขอบคุณค่ะคุณลุงวอญ่าที่มาให้กำลังใจ
  • เป็นงานวิจัยเมื่อปีก่อนค่ะ พอเปลี่ยนงานก็เลยห่างหาย
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ..ด้วยความเคารพ...^_^

เห็นภาพการลงชุชนแล้ว...สุขใจไปด้วยครับ

...

ผมยังอยู่ที่จีน

กำลังเตรียมตัวกลับ คิดถึงเมืองไทยมากเลยทีเดียว

อากาศเย็นลงทุกวัน..

..

รักษาสุขภาพนะครับ

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์พนัส
  • เมืองไทยก็อากาศเย็น ๆ หนาวมากยามค่ำคืน
  • ดูแลสุขภาพเช่นกันค่ะ...^_^
  • สวัสดีค่ะท่านมหา เหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์
  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...^_^
  • เป็นงานวิชาการที่มีประโยชน์กับสตรีไทยอย่างมากเลยค่ะ
  • ปีใหม่นี้ ขอให้สุขภาพแข็งแรงพร้อมลุยงานที่สร้างสรรค์เพื่อมวลชนต่อไปอย่างมีความสุขค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบอ่านงาน/งานวิจัยประเภท "เชิงพรรณนา" มาก เพราะไม่ค่อยสันทัด หรือรู้เรื่องเชิงสถิติเท่าไหร่  งานประเภทนี้มีเรื่องราว มีชีวิต มีสีสันมาก ยิ่งแปลงตัวเลขมาสู่การพรรณาได้ ยิ่งท้าทายต่อการอ่าน และเรียนรู้เป็นที่สุด..

ขอบคุณครับ

  • พี่ครับเยี่ยมมากๆๆ
  • รออ่านเรื่องอื่นๆอีกครับ
  • สบายดีไหมครับ
  • ไม่ค่อยได้ข่าวพี่เลย

ตามท่านอาจารย์ขจิตมา "ยอน" อยากอ่านงานบันทึกใหม่ เพราะเปลี่ยนงานใหม่หมายถึงประสบการณ์ใหม่ ที่น่าแลกเปลี่ยน

  • สวัสดีค่ะท่าน ดร. ขจิต, คุณลุงวอญ่า อ. แผ่นดิน อ.ศิลา

ยังระลึกถึงทุกท่านอยู่เสมอค่ะ

แม้ไม่ได้เข้ามาเขียนก็เข้ามาอ่านอยู่เป็นประจำ...

ช่วงนี้ก็สบายดีตามอัตภาพค่ะ และกำลังเป็นไม้หลักเลนอยู่ ..อิ อิ

ตั้งหลักได้แล้วจะเข้ามาเล่าสู่กันฟังนะคะ

  • ขอบคุณทุกท่านที่ยังคิดถึงกันอยู่ค่ะ..

นำลีลาวดีหน้าบ้านมาฝากคร่า...^_^

 

 

เรียนคุณ สีตะวัน

ไปนอนอุดรสามคืน และไปเยี่ยม รพ.อุดรด้วย

นึกถึงคุณสีตะวันอยากตามถามหาแต่เกรงใจ

ไปจัดงานเกษียณให้ลูกจ้างเมื่อวันที่ 8 กยที่ผ่านมา

รมต.วิทยามาเปิดงานให้

นึกขึ้นได้ว่า สีตะวันอยู่อุดร แต่ไม่ไ้เจอ

โทรหาเจ้าเดย์(อะดเย์อะเดย์) บล็อกเกอร์ทำงานอยู่สนามบิน เคยร่วมเวทีถอดบทเรียนมาด้วยกันกับหนานเกียรติ

เจ้าเดย์ติดงานมาไม่ได้

ตัดสินไปหาทหารพรานหญิง(ทพญ) ธิรัมภาที่ สระไคร คนรพ.บอกท่านพักอยู่อุดร ติดต่อไม่ได้

ลุงวอไม่มีวาสนาได้เจอบล็อกเกอร์ชาวอุดร

โอกาสหน้ามาใหม่คงได้เสวนากับชาว กทน.ที่อุดร

สวัสดีค่ะคุณลุงวอญ่า

หากได้ทราบข่าวล่วงหน้า น่าจะได้พบกันค่ะ 4-7 ก.ย. ไปประชุมวิชาการที่สุราษฏร์ สวนทางกันพอดี เพิ่งกลับมาถึงเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ค่ะ

วาสนาหาใช่ฟ้ากำหนด โอกาสหน้ามาใหม่ คงได้ต้อนรับท่านผู้เฒ่าแห่งลุ่มน้ำตาปี ดีใจที่ยังคิดถึงกันไม่เสื่อมคลาย

ยังระลึกถึงชาว กทน เสมอ ๆ ด้วยความเคารพค่ะ

สีตะวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท