ไปร่วมสร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (๔)


 

Lesson Study 

 

เช้าวันที่สอง  คุณครูปาด - ศีลวัต ได้มาบอกเล่าถึงรูปแบบของการนำ PLC ที่เป็นกระบวนการของการพัฒนาครูที่ทางโรงเรียนเพลินพัฒนานำมาวิธีการพัฒนาครูด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางของญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนอีกทีหนึ่ง เพื่อให้ผู้บริหารและคุณครูได้ทำความรู้จักกับกระบวนการทำงานที่เอื้อให้งาน KM – QA – QC – R&D – การพัฒนาครู ที่เนียนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน  

 

ช่วงการ AAR

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าคุณครูหลายท่านพูดถึงเรื่องการพัฒนาครูที่เริ่มจากการพัฒนาตน ที่เรียกกันว่าจิตตปัญญา หรือจิตตศึกษา เช่น

 

คุณครูชำเลือง  มาเข้าร่วมวงเป็นครั้งแรก ได้ข้อที่จะไปพัฒนาตน และพัฒนาครูเกินร้อย ได้เข้าใจบทบาทของตัวเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อนครู  คุยกับพี่จรรยาเรื่องคุณธรรม อยากนำจิตตปัญญาไปควบคุมชั้นเรียน จะเปลี่ยนความรู้สึกของตัวเอง และเพื่อนครูให้สอนให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำมากขึ้น จะเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนใจคนอย่างไร ถ้ามีอุดมการณ์เดียวกันก็จะง่าย ตั้งใจจะไปทำทุกอย่างที่ได้เรียนรู้

 

คุณครูจรรยา ปัญหาการพัฒนาคนอยู่ที่ใจ พัฒนาจิตของเด็ก และเพื่อนครู การพัฒนาคนต้องมีเทคนิค อยากใช้จิตตปัญญาเป็นตัวปลดล๊อคให้คนเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ

 

ศน. ปวีณา อยากใช้จิตตปัญญาเพื่อการทลายกำแพงครู  ให้คุณครูได้เรียนรู้เอง เกิดปัญญาด้วยตนเอง  PBL เห็นขั้นตอนจากลำหลายมาก เห็นจุดบรรจบที่เพลินพัฒนา เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี อยากได้รายละเอียดอีกมาก

 

ในช่วงเข้ากลุ่มย่อย ที่ทำ PLC ได้เห็นกระบวนการ เห็นเทคนิคของครูใหม่ ที่ให้เกียรติครู  ได้บรรยากาศของมิตรภาพ  ครูใหม่สามารถเก็บทุกเม็ดที่ออกจากปากครูกลับมาเป็นประเด็นได้หมด  ได้เรียนรู้วิธีการชวนคุยด้วยการตั้งคำถาม...รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้อยู่กลุ่มครูใหม่

 

 

คุณครูปาด  เราต้องช่วยกันต้องผ่าทางตันด้วย PLC ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเรียนรู้ สร้างความร่วมมือ  ครู ต้องเผชิญกับตัวตนแน่นอน  ต้องสละตัวเองเพื่อคนอื่น  ต้องมีกัลยาณมิตร ผู้บริหาร และทีมทั้งหมดต้องเข้าใจตรงกัน เห็นคุณค่าร่วมกัน งานนี้ทุกฝ่ายต้องรับว่าเป็นงานของตัว  ผู้บริหารต้องช่วยจัดโครงสร้างเวลา และตารางการทำงานให้เหมาะสม  ผู้บริหารระดับกลางที่พร้อมเปลี่ยนแปลง ครูที่มีคุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ต้องการตำแหน่งหน้าที่คือกำลังที่สำคัญที่สุด

 

 

คุณหมอประเสริฐ  กล่าวปิดเป็นคนสุดท้ายว่า IQ เด็กไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 70-90 ซึ่งคือระดับเชาวน์ปัญญาของกลุ่ม Down Normal...ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ถ้าครูมีบันไดที่ถูกต้องเด็กจะเดินขึ้นบันได  แต่ถ้าบันไดผิดขั้นเขาจะเดินลง  PBLที่ดีเกิดจาก PLC ที่ดี เรื่องนี้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก

 

 

หมายเลขบันทึก: 470607เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท