403.ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ไม่รักภาษาอังกฤษ (อย่างแรง)


ว่าด้วย Appreciative Inquiry ตอนที่ 403

หลายคนภาษาอังกฤษคือยาขมครับ..ไม่รู้เรื่อง หนามาก..อ่านไม่ได้..เลยไม่อ่าน ไม่สนใจ รอคนแปลอย่างเดียว..รอคนมาสอน..หาจากพี่กูเกิ้ล..ผมเจอความจริงดังนี้ครับ..

1. หนังสือบางสาขาเช่นจิตวิทยาบวก ผมอ่านครั้งแรกปี 97 โน่นครับ..กว่าจะมีคนแปล ก็เกือบสิบปีให้หลัง ตอนนี้มีอยู่เล่มเดียว แถมชื่อก็งงครับดูไม่เกี่ยวอย่างแรงคือ "ธุรกิจที่ดีงาม" เขียนโดยเจ้าของทฤษฎีเดอะ โฟลว (The Flow). พิมพ์โดยสวนเงินมีมา..ตอนนี้หมด..ไม่มีพิมพ์อีกครับ..

2. รอคนมาสอน..ไม่ต้องแล้วสาขาจิตวิทยาบวก (Positive Psychology)..ระยะแรกแทบไม่มีใครพูดถึง..ในสาขาจิตวิทยาพอมี แต่..ถ้าคุณไม่ตรงสาย..เช่นอยู่สายบริหารธุรกิจ..ปัจจุบันไม่เห็นครับ..(ผมสอนประกอบการทำ Appreciative Inquiry)..

3. หาจากพี่กูเกิ้ล..ก็ได้เนื้อหานิดๆ ครับ..แค่คำอธิบาย..บางครั้งก็งงอีกครับ..เพราะแปลมักไม่ใช่คนทำจริงๆครับ..และกว่าจะมีคำอธิบายชัดๆ..บางครั้งก็สิบปีให้หลังของการออกหนังสือดีๆ...ชัดมากๆก็กรณี The Flow นี่แหละครับ..ตอนนี้ดูเหมือนจะมีคำอธิบายมาในราวๆห้าปีหลัง..แต่ตัวอย่างการนำไปใช้ จนถึงกรณีศึกษา การวัดผล ไม่เห็นครับ..หรือผมยังหาไม่เจอเองก็ไม่รู้..อาจมีแล้ว แต่ก็เลิกตามแล้วครับ..เพราะเลิก "รอ" คนอื่นไปนานแล้ว..ทำกันเองซะเลย..เรามีเวิร์คช๊อปเรื่องนี้มากว่าสิบปีแล้วครับ...ใครเคยทำมาแล้ว.ก็มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ..ผมเองก็คลำทาง พัฒนาเอาเอง..

...

สรุป..การรออะไรจากคนอื่น..ทำให้เสียโอกาสดีๆ..

...

เอาหล่ะครับ..มาถึงตอนนี้แล้วครับ..ถ้าไม่รักภาษาอังกฤษ (อย่่างแรง) ทำไงครับ..

...

อย่าตกใจ..อย่าหันหน้าหนี..ทำอย่างนี้ครับ..

..

หนังสือดีๆ..คนเขียนมักกลัวคนอ่านไม่รู้เรื่อง จึงมักมีพวกกราฟ แผนภูมิ ตารางที่จะสรุปเนื้อหาทั้งหมดครับ..บางเล่มอ่านแค่นี้ พอไหวแล้วครับ..พอจะจินตนาการได้เลย..เราก็ดู อาจเปิดดิค หรือถามเพื่อที่เก่งอังกฤษ ว่าแปลว่าอะไร..แล้วลองจินตนาการว่ามันตรงกับชีวิตจริงตรงไหน..แล้วลองเอาไปใช้เลยก็ได้..ผมทำบ่อยกับหนังสือหนาๆ ที่ซับซ้อน..(ผมอ่านคล่องครับ แต่ผมก็ทำ) เพราะหลายครั้งอ่านไปเถอะ เนื่องจากหนา บางทีอ่านไปหมดก็จับประเด็นเอาไปใช้ยาก..ผมก็ทำอย่างน้ีครับ..เช่นหนังสือ The Flow: The Psychology of Optimal Experience นี่ก็ยากครับ..

ผมก็อ่านแค่แผนภูมิข้างล่าง..แล้วจินตนาการ แล้วเอาไปใช้..สองสามปีกลับมาอ่านละเอียด..เอ้อ ที่เราเข้าใจไม่หนีจากสิ่งที่ผู้เขียนเขียนไว้ครับ..กลับเข้าใจแล้วเอาไปใช้ได้มากกว่า...เรียกว่าอ่านหน้าเดียวก็เอาอยู่

หนังสือบางเล่มเด่นเรื่องตารางครับ..เช่นเรื่องฮอล์โมน หญิงชายกับพฤติกรรม (Gender Intelligence) นี่ ขนาดอ่านเนื้อหาก็ตาลายครับ..ดูข้อสรุปในตาราง..ใช้ได้เลยครับ..ตารางเดียวก็เอาอยู่..

ส่วนหนังสือในสาขาของผมเองครับ..Appreciative Inquiry นี่หยั่งกับมหากาฟย์ ยาวมากๆ..หนาหนึ่งนิ้ว..ดูตารางแผนภูมิข้างล่างนี้..อันเดียวอยู่ครับ..แปลสั้นๆไปคิดเอา เชื่อมกับสถานการณ์จริง แล้วลองเอาไปทำดู ปรับกระบวนการเอาเอง ทำได้ผลมามากต่อมาก..พอกลับไปดู ตรงแฮะ..

...

เชื่อมั่นในพลังของคุณเถอะครับ..เดาได้ครับ..คุณจะพบว่าเราได้อ่านอะไรที่มันล้ำหน้าไปนับสิบปี แถมทำเป็นด้วย..ไม่ต้องรอใครครับ..

...

และการทำแบบนี้ในสาขาความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)  เรียกว่าการคิดแบบโปรเจ็กชั่น (Projection) หรือการคิดแบบสร้างสมมติฐานล่วงหน้า (Assumption-แอสสัมชั่น) ประมาณว่า "เดา..แล้วตามพิสูจน์" วิธีการคิดอย่างนี้จะบ่มเพาะความเข้าใจ แถมทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความคิดรวบยอดขึ้นมากเองครับ..แต่จะดีขึ้นคือไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริง..ปัญหา สถานการณ์ที่เราเจอมาจริง แล้วเอาไปใช้เลย..จะแม่นและแตกฉานมากขึ้นครับ..

...

 

คุณล่ะ คิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 469651เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ชื่อบันทึก "ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ไม่รักภาษาอังกฤษ (อย่างแรง)" ตรงกับความต้องการที่อยากให้นักศึกษาเข้ามาศึกษามากค่ะ 
  • ขณะนี้ดิฉันกำลังอยู่ในกระบวนการ "พัฒาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ" ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี จาก 29 สาขาวิชา 8 คณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีค่ะ ซึ่งจากการวัด "Intrinsic Motivation in Studying English" พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษามีแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่ไม่น่าพอใจค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ประกอบด้าน "ความเชื่อในความสามารถของตน (Self-efficacy Belief) ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษค่ะ
  • การพัฒนาได้ดำเนินการโดยใช้สารสนเทศจากการวิจัย (R&D) ที่ตนเองได้ทำมาตั้งแต่ปี 2545 ค่ะ โดยการพัฒนาได้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนสอนภาษาดังภาพล่างค่ะ  

 

  • ขออนุญาตนำแนวคิดจากบันทึกนี้ไปให้นักศึกษาเรียนรู้ เพื่อประกอบการสร้างแรงจูงใจ และการเรียนรู้ยุทธวิธีต่างๆ ในการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
  • 

ยินดีเลยครับท่านอาจารย์..

ช่วยกันครับ..

ชอบ Model ของอาจารย์ครับ..ชัดดีเห็นขั้นตอน เห็นผลที่คาดหวังครับ

"แรง" ตั้งแต่ชื่อบันทึกแล้วแหละอาจารย์ ;)...

เล่มนี้แอบเห็นที่ซีเอ็ดฯ ครับอาจารย์ ;)...

สวัสดีครับท่านอาจารย์ Wasawat

ดีครับ อาจารย์ ถ้าเจอน่าเก็บไว้..

เทอมก่อนจะสั่งมาสอนนักศึกษา (เคยสั่งมาแล้ว 200 เล่ม..

เขาบอกไม่พิมพ์แล้ว..

ไปรวบรวมตามร้านดังก็ไม่พอครับ..

เทอมหน้าจะลองสั่งอีกรอบครับ..

ที่ขอนแก่นผมหาไม่เจอมาพักใหญ่แล้วครับ

กรุงเทพดังๆก็ไม่เจอ..

ถ้าเจอก็บอกเลยครับ..ผมว่ามันค้างสต๊อก ขายไม่ดี จนลืม เพราะชื่อไม่สื่อเลย..

ขอบคุณคะอาจารย์ ที่แนะนำเทคนิคการอ่านหนังสือวิชาการให้ได้ประโยชน์ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการ "เดาแล้วตามพิสูจน์"
..

".. ลองจินตนาการว่ามันตรงกับชีวิตจริงตรงไหน..แล้วลองเอาไปใช้เลยก็ได้"
  หากย้อนเวลากลับไปได้ เอาไปใช้สมัยเรียน คงไม่หลับคาหนังสือ :-)

 

หากผมเจอแล้ว ผมจะลองถามให้นะครับ

ซีเอ็ดฯ เค้าสามารถรวบรวมให้อาจารย์ได้ครับ ;)...

สวัสดีครับอาจารย์ปัทมา

ตอนเรียนผมก็หลับตะพึดตะพือเหมือนกัน

พึ่งมาทำอย่างนี้ตอนเรียนป.โทที่อเมริกาครับ..

เสียดายไม่ใช่หนังสือเรียน..เป็นหนังสือนอกเรื่องซะงั้น..

555

เรียนท่านอาจารย์

คุณยายมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงอยู่เสมอค่ะ

          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท