หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ได้มาซึ่ง…ระบบบำบัดน้ำเสีย…ย่อส่วน…อย่างง่ายๆ


กระบวน การหมักที่รับรู้ได้จากฟองอากาศที่ปุดขึ้น สมดุลกรด-ด่างที่ให้ค่าเคมีน้ำเป็นกลาง (pH 7) สม่ำเสมอ คราบไขมันบนผิวน้ำที่ไม่มีให้เห็น ตะกอนลอกขึ้นมาก็เปลี่ยนตัวเองเป็นดิน แอมโมเนียในน้ำตรวจแล้วพบต่ำ ไนไตรท์ก็ต่ำ อย่างนี้แปลว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้นครบอยู่แล้วในน้ำเสีย ลอยวัสดุมีรูพรุนลงไปในน้ำก็เหมือนไปช่วยปรับสมดุลของจำนวนจุลินทรีย์ซินะ ผลที่เกิดขึ้นบอกให้รู้ว่า เจ้าวัสดุมีรูพรุนนี่ร้ายเหลือเหมือนกัน แค่วางเฉยๆก็ช่วยปรับสภาพระบบบำบัดตรงนี้ให้เลยง่ายๆ

ไม่รู้จักเจ้าคราบสีขาวที่เห็นเจนตา รู้แต่ว่าคราบที่เห็นหนานั้นเป็นความเข้มข้นของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง  เห็นแล้วขัดตาคนรักความสะอาด 

จะรังเกียจมันก็ควรรู้จักคุณสมบัติมันกันหน่อย  ชวนมารู้จักความเข้ากันได้ที่ทำให้สรุปว่ามันเป็นจุลินทรีย์แน่แล้ว  เพื่อเปิดมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับมัน

ความเป็นจุลินทรีย์เข้มข้น อยู่ที่คุณสมบัติเกี่ยวกับการย่อยสลาย การปรับความเป็นกรดด่างให้สมดุล การจัดการกลิ่นเหม็น และส่วนประกอบที่มันมี ดังนี้

-ย่อยสลายสารอินทรีย์ อินทรีย์วัตถุและเศษสิ่งปฏิกูลต่างๆในน้ำ ที่เป็นต้นเหตุของน้ำเสียได้

-ช่วยย่อยปริมาณขี้เลน เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสียได้

-ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่าง (PH) ในดินและน้ำให้สมดุล

-ย่อยสลายกากไขมัน คราบไขมันผิวน้ำและฟอสเฟตได้

-กำจัดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียได้ดี

-สร้างไรแดงขนาดเล็ก เพื่อกำจัดสาหร่ายน้ำตามระบบธรรมชาติได้ และ

-มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจนอยู่

จุลินทรีย์เหล่านี้มีคุณสมบัติหลากหลาย และมีมากกว่า 80 ชนิด ไม่มีพิษ มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมสูงมาก หลักๆมี 6 กลุ่ม

กลุ่มแรกเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำงานดีในที่มีออกซิเจน ต้านความร้อนได้ดี มีรูปร่างเป็นเส้นใย ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีอณูเล็กลง  พวกนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในพวกรา

กลุ่ม 2 สังเคราะห์แสงและสร้างสารอินทรีย์ เพิ่มประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ให้ดิน ช่วยสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันกับจุลินทรีย์อีกตัว ในการสังเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในดิน พวกนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้ จัดการกับไนโตรเจนได้เหมือนพืช

กลุ่ม 3 ย่อยสลายโดยการหมัก เปลี่ยนสภาพดินเข้าสู่วงจรการย่อยสลายแบบหมักและแบบสังเคราะห์ ช่วยบำบัดมลพิษในน้ำเสียได้ พวกนี้เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกรา ราหมักและยีสต์

กลุ่ม 4 ช่วยจัดการกับธาตุไนโตรเจนในดิน และผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งกรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และกรดไขมัน พวกนี้มีทั้งสาหร่ายและแบคทีเรีย

กลุ่ม 5 เป็นพวกที่สร้างกรดน้ำนม ทำให้ต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษได้ ทำงานได้โดยไม่ต้องการอากาศหายใจ เปลี่ยนดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินดี ต้านโรค ช่วยย่อยสลายเปลือกของเมล็ดพันธุ์พืช พวกนี้เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง และรูปกลม ที่คุ้นๆคือ กลุ่มแลคโตแบซิลลัส

กลุ่ม 6 ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์  ย่อยสลายกากไขมัน ย่อยสลายฟอสเฟต ย่อยสลายสารอินทรีย์และคราบไขมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำงานได้ในสภาวะที่มีอากาศน้อย

เวลาผลิตน้ำหมักชีวภาพ  มักจะเห็นบริเวณผิวด้านบนของน้ำหมักเป็นแผ่นสีขาวๆ หน้าตาเหมือนเจ้าคราบขาวๆที่เห็น ได้คำอธิบายมาจากผู้คุ้นเคยว่า เจ้าพวกนี้แหละคือ ราเส้นใย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พวกที่ต้องการอากาศ 

เมื่อไรที่มีออกซิเจนน้อย พวกนี้โตไม่ดี มันจึงมักจะมาอยู่กันที่บริเวณผิวหน้าของน้ำหมักชีวภาพ หรือบนพื้นผิวภาชนะที่มีน้ำตาลติดอยู่ เพื่อหาอากาศหายใจ

ชัดขึ้นว่า คราบขาวๆมากมายที่เกิดขึ้นปากท่อและในน้ำคือเจ้าราเส้นใย  แอลจีสีเขียวไม่เกิดให้เห็นเป็นฝีมือของเจ้าไรแดงนั่นละ  กลิ่นเหม็นรำคาญเป็นผลของการหมักเพื่อบำบัดสิ่งเป็นพิษในน้ำ

กระบวนการหมักที่รับรู้ได้จากฟองอากาศที่ปุดขึ้น  สมดุลกรด-ด่างที่ให้ค่าเคมีน้ำเป็นกลาง (pH 7) สม่ำเสมอ คราบไขมันบนผิวน้ำที่ไม่มีให้เห็น  ตะกอนลอกขึ้นมาก็เปลี่ยนตัวเองเป็นดิน แอมโมเนียในน้ำตรวจแล้วพบต่ำ ไนไตรท์ก็ต่ำ

อย่างนี้แปลว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้นครบอยู่แล้วในน้ำเสีย ลอยวัสดุมีรูพรุนลงไปในน้ำก็เหมือนไปช่วยปรับสมดุลของจำนวนจุลินทรีย์ซินะ

ผลที่เกิดขึ้นบอกให้รู้ว่า เจ้าวัสดุมีรูพรุนนี่ร้ายเหลือเหมือนกัน แค่วางเฉยๆก็ช่วยปรับสภาพระบบบำบัดตรงนี้ให้เลยง่ายๆ

ได้ระบบบำบัดน้ำเสียย่อส่วนเกิดขึ้นมา จำลองครบส่วนให้ทั้งภาคใช้ออกซิเจนและไม่ใช้มาให้  ก็เหลืองานตามวัดประสิทธิภาพการบำบัดอีกหน่อย งานที่เข้ามายุ่งเกี่ยวอยู่ตรงนี้ก็จะจบลงไปอีกขั้นหนึ่ง

28 พฤศจิกายน 2554

หมายเลขบันทึก: 469649เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this great summary.

Years ago, I read about an experiment in cleaning dam water using baled straws. The method was simple: put a few bales of straw to filter water in the flow channel. The results were surprisingly good. The water came out clear, less micro-organisms, less toxic substances. The researchers concluded that there are some 'good' compounds in (wheat) straws and filtering structure in the bales.

Your experiments with 'porous' materials may have nailed it on the head. And for some applications, rice straws (in bales) may work just as well.

For me, straws cost money, sand banks and trenches cost labor. So, instead of jogging, I spent time digging ;-)

[I did not wear out my shoes. But you should have seen my hands...]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท