Lesson Study ดีแน่นอน


มีหลายเรื่องที่ผมได้เรียนรู้ใหม่ เรื่องที่ขอกล่าวไว้ในกระทู้นี้คือ Lesson Study ที่คุณครูปราชญ์ (ครูเพื่อศิษย์จากโรงเรียนเพลินพัฒนา) นำมาแชร์

วันที่ 26-27 พ.ย. 2554 เวที PLC 2nd

ผมแปลกใจมากๆ เมื่อเปิดประตูห้อง "เพิ่มพูนทรัพย์" แล้วเห็นครูเพื่อศิษย์ที่มาวันนี้มีเพียง ไม่ถึง 30 คน หรือถ้ารวมกับทีมจากมหาสารคามเราอีก 10 ก็ประมาณ ไม่เกิน 40 คน ซึ่งภาพในใจผมคิดว่าน่าจะ 60 ขึ้นไป จึงเกิดความกังวลขึ้นในใจเล็กน้อย แต่พอพบว่าเวที PLC ครั้งนี้ มีส่วนของการ training แบบ KM ไม่ใช่การมา ลลปรร. เพื่อสกัดความรู้ฝึกลึก (Tacit knowledge, TK) เพียงอย่างเดียว ก็ทำให้ผมเริ่มกลับมามั่นใจอีกครั้งหนึ่ง

มีหลายเรื่องที่ผมได้เรียนรู้ใหม่ เรื่องที่ขอกล่าวไว้ในกระทู้นี้คือ Lesson Study ที่คุณครูปราชญ์ (ครูเพื่อศิษย์จากโรงเรียนเพลินพัฒนา) นำมาแชร์

ผมสงสัยว่าทำไมคุณครูไม่แปลเป็นคำภาษาไทย เพราะโดยปกติเราคนไทยมักจะต้องแปลคำเทศมาเป็นคำไทย ก่อนที่ใจจะยอมรับเรียนรู้ แสดงว่าครูปราชญ์ได้ข้ามจุดนั้นไปแล้ว ข้ามข้อจำกัดทางภาษา ไม่จำเป็นอะไรที่มันจะเป็นภาษาอะไร เรียกว่าอะไร แต่สิ่งที่เรากล่าวถึง และรู้ตรงกันว่านั้นว่า Lesson Study

แต่ถ้าให้พูดว่ามันหมายถึงอะไร ได้ยินครูปราชญ์พูดคำสำคัญว่า "วิธีการของ Lesson Study คือ วิธีที่พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนของเพื่อนครูด้วยการพัฒนาการเรียนรู้ของเพื่อนครู"

ผมจำประเด็นได้ 4 คำ ที่เป็นลักษณะสำคัญของ Lesson Study ได้แก่ ครูร่วมมือและช่วยเหลือกัน ครูมีเป้าหมายและหลักการเดียวกัน ปะทะหน้างาน และ เป็นวงจร

1) ร่วมมือช่วยเหลือกัน คือ ครูร่วมมือกันในทุกขั้นตอน ร่วมเตรียม ร่วมคิด ร่วมนิเทศ ร่วมสังเกต ร่วมสาธิต ร่วมแนะนำ ร่วมถอดบทเรียน ร่วมพัฒนา เป็นต้น แน่นอนว่าต้องทำวง KM กันบ่อยๆ ระหว่างครู และที่สำคัญที่สุด คือ ครูแต่ละคนจะต้อง "เปิดห้องเรียน" ของตน นั่นคือการ "เปิดใจ" ยอมรับทุกเรื่องที่จะผ่านเข้ามา ดังนั้น "ขนาดของใจ" ที่ยังไม่พร้อม ต้องใช้ KM inside (หรือจิตตปัญญาวิถีพุทธ) มาช่วย เพราะ หากครูไม่สามารถลดอัตตาตัวตนของตนได้แล้ว "การนิเทศตัวเอง" การยอมรับผู้อื่น "การเปิดห้องเรียน" ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบรรยายการของครูหลายโรงเรียนที่ความขัดแย้งสูงมาก

2) มีเป้าหมายและหลักการเดียวกัน สิ่งนี้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ครูติดต่อสื่อสารกัน ด้วยความเข้าใจและเปิดใจ นั่นคือ เวทีตามข้อ 1) ต้องสำเร็จก่อน แต่บางครั้ง ครูที่มีเป้าหมายและหลักการเดียวกันมารวมกัน จะเกิดเวทีตามข้อ 1) ได้ง่ายมาก ผมได้ยินครูปราชญ์ บอกว่า "ตอนนี้เราหลังชนฝาแล้ว วิธีการบริหารจัดการแบบให้คุณให้โทษ ใช้ไม่ได้แล้ว ถึงเวลาแล้วว่าพวกเราจะต้องมาทำอะไรสักอย่างที่มากกว่านั้น" แน่นอนว่าเป้าหมายและหลักการเดียวกัน วิธีการที่ดีมากๆ คือ การจัดเวที PLC แบบนี้บ่อยๆ แทรกทั้ง Training, Learning, Doing, หรือรณรงค์ ให้เกิดเป็นค่านิยม แต่อย่างหลังต้องใช้เงินเยอะ  ผมเสนอว่า สิ่งแรกที่เราต้องสร้างคือ "ฟา" (Facilitator) หรือ "คุณอำนวย" ที่ "ถึงจุด" ไว ชัด แม่น มั่นคง เสียสละ สร้างคนกลุ่มนี้ให้ได้ แล้วให้ ฟา ทำงาน ถึงคนที่มีอุดมการณ์มาทำงาน จากกลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยขยายต่อไป  อย่างไรก็แล้วแต่ จะทำได้ต้อง มีเครือข่ายที่ดี ผมเองคงยังเป็นอะไรไม่ได้ตามที่เขียนมาสักอย่าง แต่ก็กำลังเรียนรู้ที่จะเป็นแบบนั้นครับ 

3) การประทะหน้างาน หมายถึง การเรียนรู้จากการทำงานจริงๆ การสอนจริง ห้องเรียนจริงๆ หรือเรียนรู้จากการทำงาน ผมว่าไม่ค่อยต่างกับ R2R (Routine to Research) ข้อนี้คงไม่ต้องพรรณาเยอะ เพราะทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่า สาเหตุที่การปฏิรูปการศึกษาล้มเพราะ หัวข้อนำมาทำปริญญานิพนธ์ หรือที่นำมาวิจัย ไม่ได้นำปัญหาจริง ปัญหาหน้างาน มาทำ แต่เป็นปัญหาทางความคิด ซึ่งโดยมากจะทำเพื่อให้จบ เพื่อใบปริญญา ที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ ทำเพื่อเงิน และที่น่าสงสารประเทศมากๆ ก็คือ พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ว่าพวกเขาทำอะไรอยู่ ผมว่าสิ่งสี้เกิดไม่อย่างถ้าข้อ 1) และ ข้อ 2) เกิดได้

4) ต้องครบเป็นวงจร ข้อนี้ยิ่งไม่ต้องอธิบาย ในทางฟิสิกส์ที่ผมเรียนนั้น การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่หรือแบบที่ไม่หมุนนั้น ต้องใช้พลังงานมาก แต่การเคลื่อนที่แบบหมุนนั้นใช้พลังงานน้อยกว่ามาก ล้อรถยนต์ กังหัน อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราอยากให้มันเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก หรืออยากให้มันเปลี่ยนไปอย่างมีพลวัต ยังยืนก็ต้องทำให้มีการ "หมุนไป" หรือทำให้มันเป็น "วงจร" ในข้อนี้ถ้าทำตามข้อ 3) เดี๋ยวมันก็หมุนไปเองนั่นแหละครับ

ต้องเตรียมสอนนิดหน่อย วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ครับ

อ.ต๋อย

หมายเลขบันทึก: 469647เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 06:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับอาจารย์  นำประเด็น Lesson study มานำเสนอเนื้อหา   ผมชอบตรงนี้มากเลยครับ นำหลักฟิสิกส์ มาใช้กับ"ครบวงจร"   การเปลี่ยนแปลงโยไม่ต้องใช้พลังงานมาก ต้องให้มันหมุนไป    หลักคิดตรงนี้ ดีมากเลยครับ   นำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท