ยุ้งข้าว...หายไปไหน


สมัยก่อนถึงตอนจดจำสิ่งต่างๆ ได้ ในหมู่บ้านที่อาศัย และใกล้เคียงที่มีอาชีพทำนา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว จะใช้วิธีสร้างที่เก็บเมล็ดข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง

ณ วันนี้ ยุ้งข้าว หรือ ยุ้งฉาง จะไม่มีบทบาทสำคัญเท่าที่ควร ใครล่ะจะช่วยตามหายุ้งข้าวกลับคืนให้ชาวนา...

 

คำสำคัญ (Tags): #ชาวนา#ยุ้งข้าว
หมายเลขบันทึก: 451128เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ขอนำภาพจากไฟล์อัลบั้มของอาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ มายืนยันต่อคุณครูสุนันทาว่ายุ้งข้าวยังไม่หายไปไหน เพียงแต่ยุคนี้ชาวนาไม่นิยมเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

ยุ้งข้าว เป็นสิ่งแสดงฐานะของชาวนาได้ด้วย บ้านไหนมียุ้งข้าวหลังใหญ่ แสดงว่าบ้านนั้นมีนาเยอะ ได้ข้าวมาก การมียุ้งเก็บข้าวช่วยให้ชาวนามีทางเลือกได้ เช่นช่วงไหนข้าวราคาไม่ดี ราคาถูก ชาวนาก็จะไม่ขาย เก็บไว้ก่อน เมื่อใดข้าวราคาดี ข้าวขึ้นราคา ก็ขายช่วงนั้น

ปัจจุบันเกี่ยวเสร็จ จำเป็นต้องขายทันที เพราะไม่มีที่เก็บ ถึงข้าวราคาถูกก็ต้องขาย เลยไม่ทราบว่า การไม่มียุ้งข้าว เป็นเรื่องดีหรือไม่ดีกันแน่ หรือว่าชาวนาไทยเรารอโอกาสไม่ได้(รอข้าวขึ้นราคา)

ทั้งๆที่มีทางเลือกดีๆจากคนรุ่นเก่า ที่ได้ทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง และดีด้วย แต่ก็ถูกทอดทิ้งไป

อย่างในภาพยุ้งข้าวบ้านอาจารย์วิรัตน์นั้น คงใช้เก็บข้าวปลูก พันธุ์ข้าว อย่างเดียวแล้วมั้ง

ขอบคุณคุณครูที่ชวนคิด

               Large_ricemilk
                   Large_img_5140
ยุ้งข้าว ที่ไม่ได้ใช้แล้ว แต่เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นการรำลึกถึง "พ่อ" ของอาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ บ้านตาลิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

ขอบพระคุณพระอาจารย์พระมหาแล อาสโย ขำสุข เป็นอย่างสูง

ที่นำภาพมาให้หวลนึกถึงวิถีชีวิตชาวนาดั้งเดิม

ความจริงที่บ้าน (ภูมิลำเนา) ก็ยังทำนาเหมือนกันค่ะ

เป็นจุดเริ่มต้นที่อยากให้ทุกคนโดยเฉพาะคนไทยที่รับประทานข้าวอาหารมื้อหลัก

อยากให้ทุกคนที่ไม่ใช่ชาวนา หรือชาวนาโดยแท้จริง ได้อนุรักษ์ความเป็นวิถีดั้งเดิมไว้ให้ยั่งยืน

แล้วมันจะส่งผลดีต่อเยาวชนรุ่นต่อๆ ไป ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวัน

  • ใช่ค่ะเดิมที่บ้านก็มียุ้งข้าว
  • แต่พ่เดี๋ยวนี้ระบบการทำนาเปลี่ยน
  • ยุ้งข้าวไม่จำเป็น ถูกปล่อยผุพัง
  • จนกระทั่งถูกรื้อทิ้ง
  • เสียดายนะคะ

ผมจำได้การการวัดข้าวในยุ้ง สังเกตุไหมครับ กระดานที่ประตูจะมีตัวเลขอยู่ โยมพ่อใช้ให้ไปนับบ่อย ๆ บอกว่าข้าวมีปริมาณเท่าไร ไม่ต้องขึ้นไปดู

ที่บ้านเกิด เมืองพล ขอนแก่น ก็มีพอมียุ้งข้าว ไว้เป็นที่ระลึกว่า พ่อแม่เราเป็นชาวนา แต่ตอนนี้ก็ไม่มีข้าวให้เก็บแล้ว เพราะให้คนอื่นทำนาแทน

มันกลายเป็น silo ขนาดใหญ่ของรัฐแทน

เห็นว่าเงินภาษีไปกองอยู่ที่นั่นจนเน่าแล้ว


         ยุ้งข้าวบ้านโยมพ่อ ที่บ้านเนินตาโพ ต.หนองกลับ อำเภอหนองบัว นครสวรรค์

                    
                     
                     ยุ้งข้าวยุคนี้ใช้เก็บพันธุ์ข้าวปลูก,ข้าวโพด,ถั่วลิสง ฯลฯ

                               ลานนวดข้าวของ : ชาวบ้านอำเภอหนองบัว

                       
                       วาดภาพโดย : เสวก ใยอินทร์
ภาพจาก.. http://www.gotoknow.org/blog/pknongbur/281711?page=3

การไม่มีลานนวดข้าวคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยุ้งข้าวต้องยุติบทบาทไป
เมื่อใช้รถเกี่ยว ความจำเป็นในการใช้ลานนวดข้าว ก็ไม่มีอีกต่อไป

ต่อไปชาวนาก็ไม่รู้จักลานนวดข้าว
ที่จริงการใช้รถเกี่ยว ก็สามารถมีลานไว้ตากข้าวได้
เพราะลานนั้นนอกจากจะใช้นวดข้าวแล้ว ยังใช้ตากข้าวได้อีกด้วย

นำลิงก์เรื่องยุ้งข้าวมาเพิ่มเติมให้คุณครู 

                       

การฝัดข้าวด้วยสีฝัดข้าว กระด้ง วัฒนธรรมการลงแขก - เอาแรง การขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง และเทคโนโลยีพอเพียง ของชุนบ้านตาลินและชุมชนเกษตรกรหนองบัว อำเภอหนองบัว นครสวรค์ และชาวนาโดยทั่วไปในภาคกลางและภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย บางแห่ง เช่น ภาคเหนือและภาคใต้ อาจมีวิธีการและใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป
ภาพประกอบวาดโดย : ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ กรกฎาคม ๒๕๕๒

ที่มาภาพและข้อมูล http://www.gotoknow.org/blog/civil-learning/233623?page=1

อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน
วิถีข้าวคนอมลองและยั้งเมิน

ที่มา http://www.gotoknow.org/blog/maikhlahan/451700

  • ตามมาอ่าน
  • ที่บ้านผมไม่ได้แยกยุ้งข้าว
  • ยังใช้ยุ้งเดียว
  • เนื่องจากข้าวไม่มาก
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ

ยุ้งข้าวในแต่ท้องถิ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สมัยก่อนเคยเห็นคนภาคอีสานจะใช้มูลกระบือ (ขี้ควาย) ทากับไม้ไผ่ที่สานเพื่อทำเป็นฝาผนังยุ้งข้าว

ไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือเปล่า เพราะจำได้เลือนลางและไม่มีภาพยืนยันค่ะ

รวมรายการมาฝากคุณครูต้นเทียน กับเครือข่ายคุณครูและเครือข่ายโรงเรียนทุกท่านนะครับ เอาไว้อ่านและอาจจะใช้เป็นสื่อเผยแพร่ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายของทุกท่านนะครับ จะแวะมาเป็นกำลังใจเสมอๆนะครับ

ที่บ้านมียุ้งอยู่ครับแต่ก็ไม่ได้ใช้เหมือนกัน ทุกวันนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมยุ้งข้าวจึงเลือนหายไปจากชาวนา วิถีชีวิตชาวนาเปลี่ยน ทำเพื่อบริโภคลดน้อยลง ส่วนใหญ่ทำเพื่อขาย ความจำเป็นเรืื่องยุ้งน้อยลงไป ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้เพราะผมลองเอาเวลาส่วนหนึ่งไปทำนาดูถึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ครับ

เจริญพรคุณครูสุนันทา

  • ช่วงนี้งานยุ่งมากม้ยครับครู
  • อาตมาขออนูญาตประสานงานเบื้องต้นทางบล็อกนี้ เพื่อจะขอแจ้งข่าวว่าจะเข้าไปที่โรงเรียนหนองบัวจะขอทำงานวิจัย สัมภาษณ์เครือข่ายครู
  • กำหนดวันเวลา จะขอนัดอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าก่อนปีใหม่นี้
  • อาตมาไม่ทราบว่าช่วงนี้คุณครูมีภาระกิจหรือไม่
  • เบอร์โทรอาตมา 08-5049-2901 

นมัสการพระอธิการโชคชัย

ช่วงนี้ไม่ยุ่งค่ะ แต่ก็ไม่ว่างค่ะ

หนองบัวยินดีต้อนรับค่ะ ยังไงติดต่อได้เลยนะคะ

เจริญพร ขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้...สาธุ

สวัสดีปีใหม่ 2555

ในสมัยก่อนบ้านไหนมียุ้งฉางใหญ่แสดงถึงคนมีฐานะดี มีที่นาเยอะ ถ้าใครได้เป็นเขยบ้านนี้จะสะบายไปตลอดชาติ (พ่อแม่บอก แต่ลูกบอกว่า"ถ้าเป็นเขยบ้านนี้จะทำงานหนัก"ขี้เกียจทำ 555 ) ใครมีที่นาเยอะนับว่ามีบุญ ไม่ต้องทำก็มีข้าวกิน ( ให้คนอื่นทำแล้วแบ่งข้าวให้เรากิน) เป็นชาวนาไม่เห็นคุณค่าชาวนาก็ลองไปอยู่ กทม.ดูชักตั้ง ข้าวถุง 5 กก.180 บาท ตกกิโลละ 36 บาทไม่ทำงานก็ไม่มีกิน แต่อยู่บ้าน มีข้าวเต็มยุ้งเติมฉางที่เหลือก็ให้เป็ดให้ไก่ โคตรมีความสุข "บ้านไม่ได้เช่าข้าวไม่ได้ซื้อกิน" ถ้าไม่ขี้เกียจไม่อดตาย จริงปล่าว

เคยได้คุยกับคนสิงคโปค์ เขาอิจฉาคนไทยมากๆ ที่สามารถปลูกข้าวทำนาได้ มีวันหยุดเยอะ เขาอยู่แต่ในกล่อง(Condo) ไม่ทำงานก็ไม่มีกินทุกอย่างแข่งขันกันหมด ดูภายนอกดูดีแต่ภายในต้องแข่งๆ เรามีบุญแล้วที่เกิดเป็นชาวนา ผมก็ชาวนา(แต่เป็นชาวนายุกต์ปรับปรุงใหม่)

ที่บ้านยังใช้ยุ้งข้าวเก็บข้างเปลือกแต่มันเก่ามากปลวกกินพื้นไม้ ปีนี้ (ปลาย 54) จึงบรรจุใส่ถุงปุ๋ยเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน เวลานำไปสีที่โรงสีให้ความรู้สึกที่ไม่ดี จึงอยากจะสร้างยุ้งข้าวขึ้นมาใหม่ ใครมีแบบดีๆมั้งๆช่วยแนะนำทีให้ออกในแนวอนุรักษ์ หรือใครที่ต้องการขายยุ้งข้าวเก่าก็ลองแนะนำมาครับ เดี๋ยวสร้างเสร็จจะส่งรูปมาให้ดูครับ (ใต้ถุนจะนำเกวียนเก่าไปจอดไว้ครับ)

เจริญสุขสวัสดี คุณครูIco48ต้นเทียน

• ก่อนอื่นอาตมา ขอสวัสดีปีใหม่ ปี 2555 ให้คุณครูต้นเทียน รวยเงิน รวยทอง รวยสุขภาพ ตลอดปีใหม่นี้ตลอดไป..เทอญ.

• และในโอกาส วันที่ 16 มกราคม 55 ศกนี้ ขอคารวะจิตวิญญาณความเป็นครูใน “วันครู” ด้วย

• ในวันอังคาร ที่ 17 มกราคม 55 อาตจะขออนุญาตไปพบที่โรงเรียนเพื่อขอสัมภาษณ์คุณครูเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่อง “บทเรียนจากกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์เครือข่ายครู: กรณีศึกษากระบวนการเรียนรู้เวทีคนหนองบัว ในเว็บบล็อก GotoKnow.org”

• ขอนุโมทนา.. ขอบคุณคุณครูล่วงหน้ามานะโอกาสนี้ด้วย...

ขอสอบถามครับว่า ยุ้งข้าวหรือเล้าข้าวเก่า ถ้าไม่ใช้แล้ว จะนำมาทำบ้านได้ไหม ตามความเชื่อคนโบราณ ถ้าไม่ได้มีวิธีแก้เคล็ดหรือไม่อย่างไร ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลด้วยครับ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ขี้ควายผสมดินเหนียวและแกลบผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วทาเล้าข้าว เป็นการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวและดูดซับความชื้นของข้าวเปลือกได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาเลย เป็นองค์ความรู้ที่น่ายกย่องจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท