ความเป็นบ้านและสาระสำคัญของชีวิต


คนเปรียบเหมือนบ้าน*

บ้าน
มีเสา หลังคา และพื้น
หน้าที่การงาน
เหมือนพื้นบ้าน หลังคาบ้าน
เสาบ้าน
เหมือนความดีงามของคน

เสา
ต้องใช้เสาดีๆ มีคุณภาพ
บ้านจึงจะมั่นคงแข็งแรง
อยู่ทนนาน

คน
ส่วนใหญ่ สนใจแต่จะมีหน้าที่การงาน
ให้คุณค่าเรื่องงานเป็นหลัก
มักนำงานมาอวดกัน
ข่มกันในทำนองว่า ใครใหญ่กว่าใคร
ฉันใหญ่เหนือแก แกต่ำต้อยกว่าฉัน 
หรือจะพูดว่าคนเราไปสนใจแค่เปลือก
โดยลืมแก่นไปเสียสิ้น

แก่นคืออะไร
แก่นก็คือเสา ถ้าเราไปสนใจแต่การงานใหญ่โต
แต่เสา(ธรรม)มันเล็กนิดเดียว
บ้าน(การงาน)หลังที่ใหญ่โตมโหฬารหลังนั้น
ก็ไม่สามารถจะรับน้ำหนักได้
มีแต่จะพังเสียหายเกิดโทษภัย

เสาสำคัญฉันใด
ธรรมก็สำคัญฉันนั้น
ด้วยประการฉะนี้.

.........................................................................................................................................................................................................................................
(
*)
โดย พระมหาแล อาสโย(ขำสุข) จาก เรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัว : Healthy Literacy Nong-Bua http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/toc

หมายเลขบันทึก: 439018เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 02:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

บ้าน วัด ฅน รวมกัน สร้างเสริมให้แผ่นดิน และ เมืองไทยสมบูรณ์ ครับ

ขอคารวะและขอขอบพระคุณอาจารย์หมอ JJ สำหรับดอกไม้กำลังใจ และแวะเข้ามามอบแนวคิดกับรูปถ่ายสิ่งอันเป็นมงคล ดูแล้วทั้งงดงาม สบายตา สบายใจ ได้ความสงบกายสงบใจนะครับ

สวัสดีค่ะ

คน...คนหนึ่งกว่าจะถูกหล่อมหลอมมาให้เป็นคนโดยสมบูรณ์  และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน...สังคมก็มีส่วนช่วยส่งเสริมนะคะ

ขอขอบคุณดอกไม้และการเข้ามาทักทายให้กำลังใจจากคุณอุ้มบุญครับ
มีความสุขหลายๆครับ

"คนเปรียบเหมือนร่ม ... "  

           " ร่ม ... แม้ไร้ชีวิต ไร้ความคิด ไร้จิตใจ ไม่ว่าร่มกระดาษราคาถูก

             ร่มผ้าแพรที่งดงาม มันก็ต่างทำหน้าที่ของมันเหมือนกันหมด

                      คือ... ปกป้องผู้ใช้มัน จากลมร้อน แดดและฝน

             ลองหันมาดูตัวของเราเองบ้าง (คน) เราเคยเป็นร่มให้ใครบ้างหรือไม่ ?

                     การปกป้องผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลเขา

             เพียงแต่...รู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีมิตรไมตรี ทำให้เขาสดชื่น

                            ท่านก็คือ... ร่มในใจได้แล้ว. 

สวัสดีครับพี่ครูคิมครับ

ให้ความคิดดีจังเลยละครับ เพราะเป็นบทสรุปที่ได้นัยเหมือนกับทฤษฎีสังคมวิทยาของเออมิล เดอร์ ไคม์เลยเชียวนะครับ

เขาบอกว่า หน่วยพื้นฐานที่สุดของสังคมนั้นก็คือคน คนมีหน้าที่ร่วมกันในการสร้างสังคม หลังจากนั้น ระบบสังคมก็จะหล่อหลอมและมีพลังยึดโยงคนไว้ให้อยู่ในภาวะสมดุล หากระบบสังคมมีอิทธิพลเหนือคนที่เป็นสมาชิกในสังคมมากไปปัจเจกก็จะไม่มีอิสรภาพในการคิดและแสดงออก ส่วนรวมเข้มแข็งแต่ปัจเจกอ่อนแอ ขาดความสร้างสรรค์และขาดโอกาสการพัฒนาความหลากหลายในสังคม สังคมจะขยายตัวอย่างซับซ้อนในขณะที่มีความผูกขาดและทางเลือกต่างๆไม่หลากหลายไปด้วย ก่อให้เกิดแรงกดดัน ปะทะต่อสู้ และล่มสลายไปเพื่อบังเกิดภาวะอย่างใหม่ที่เหมาะสมกว่าเดิม

ในอีกทางหนึ่ง หากระบบสังคมอ่อนแอ ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียพลังการยึดโยงกันและกัน สะท้อนไปสู่การเกิดปัญหาสังคมตามมาทุกระดับนับแต่ระดับบุคคลไปจนถึงความวุ่นวายในสังคม ซึ่งก็จะทำให้เกิดจัดระบบตนเองเพื่อก่อเกิดภาวะอย่างใหม่อีกเช่นเดียวกัน

ทฤษฎีและการเรียนรู้ที่คนได้จากประสบการณ์ชีวิตนั้น นอกจากเจ้าของประสบการณ์จะสามารถเข้าใจและลึกซึ้งในความจำเพาะตนของความรู้กรณีนั้นๆเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อพิจารณาจนสามารถเข้าถึงระบบวิธีคิดดีๆแล้ว ก็สามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับความเป็นสากลได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ ที่สำคัญคือเป็นความรู้ที่ส่งเสริมให้เกิด Active Citizen เพราะคนเข้าใจตนเองและนำตนเองออกมาจากภูมิปัญญาปฏิบัติของตนเองได้

หากมีใครพาคนที่ดำเนินชีวิตและทำการงานที่มีการเรียนรู้ตนเองไปด้วยได้ถอดบทเรียนและตกผลึกประสบการณ์ไปด้วยอยู่เสมอๆ เราก็จะสามารถสร้างความรู้และทฤษฎีที่มีบริบท สอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตและเงื่อนไขของสังคมไทย ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกลมกลืนกับความเป็นสากล ไม่มีข้อขัดแย้งกัน สามารถเห็นแง่มุมที่ส่งเสริมเกื้อหนุนกันและแง่มุมที่เป็นอิสระต่อกัน ไม่ต้องกระทำต่อกันในเชิงช่วงชิงโอกาสและพื้นที่การดำรงอยู่ที่ดีกว่ากันและเอารัดเอาเปรียบกันอีกด้วย ทำให้มีคนที่เก่งปฏิบัติและมีภูมิความรู้ติดกับสังคมที่แตกต่างหลากหลายไว้ในสังคมอยู่เสมอ เป็นทุนทางสังคมและทุนความเป็นพลเมืองของประชาชน ที่ทำให้คนเป็นปัจจัยในการแก้ปัญหาและพึ่งตนเองในการพัฒนาที่เข้มแข็งยั่งยืนได้อีกหลายอย่าง

กราบนมัสการท่านพระอธิการโชคชัยครับ
ในรูปนี่ก็คงเป็นกิจกรรมสร้างร่มและสร้างบ้านเลยนะครับ
เป็นงานบวชเณรสร้างลูกหลาน

ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจจากคุณแก้วและพี่ครูคิมนะครับ
อันที่จริงนี่ต้องขออาราธนาท่านพระอาจารย์มหาแลมาสนทนาเองเสียแล้วกระมังนะครับ

  • ชอบข้อความนี้จังเลยครับ

เสาสำคัญฉันใด
ธรรมก็สำคัญฉันนั้น
ด้วยประการฉะนี้.

  • ทั้งคนและบ้านสัมพันธ์กันนะครับ

วิธีที่ท่านพระมหาแลท่านพูดถึงความสำคัญของความรู้และหลักธรรมในบันทึกนี้ดีครับ ผมก็ชอบ ในเชิงทฤษฎีระบบสังคมนี่ บทปรารภสั้นๆบันทึกนี้สามารถเชื่อมโยงหลักคิดที่สะท้อนทรรศนะพื้นฐานต่อสังคม ๒ แนวทางที่เป็นกระบวนทัศน์สำคัญของการพิจารณาระบบสังคมได้พอดิบพอดีเลยครับ คือ 'เสา' นั้นเป็นชุดความคิดที่เน้นระบบที่เป็นกายภาพ วัตถุ กลไก แบบ Hard Structures, ส่วน 'ความรู้และธรรม' ก็เป็นวิธีคิด-วิธีมองที่เน้นระบบคิดและกระบวนการทางวัฒนธรรมซึ่งเป็น Soft Structure, เรียกว่ามีพื้นฐานที่ทำให้การดำเนินชีวิตบนวิธีคิดและความเชื่อสองชุด หรือคนละด้านของสิ่งเดียวกัน สามารถเข้าใจและเห็นหลักการเดียวกันได้   

ขอบคุณค่ะ..

เสาสำคัญฉันใด
ธรรมก็สำคัญฉันนั้น
ด้วยประการฉะนี้

รูปธรรมอย่างแรกที่ควรเริ่มต้นก่อน คือ การแบ่งปันน้ำใจกันต่อกัน เพื่อความสุขของผู้ให้และผู้รับ..พี่ใหญ่เชื่อว่า เมตตาธรรม ช่วยค้ำจุนโลก ..

 

                    

 

 

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ
แนวคิดดีนะครับ ๑ วันของ ๑ ปี
ออกไปทำดีเพื่อผู้อื่น ชอบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท