สมุนไพรเพื่อสุขภาพมีขัอดีข้อเสีย


สมุนไพรมีข้อดีข้อเสียโดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก

 สมุนไพรมีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ? นี้ จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง   โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2525  ปัจจุบันอาจารย์ทำงาน ที่    เภสัชกร 8 วช.  ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม.  ผลงานเขียนด้านการเขียนหนังสือวิชาการที่จัดทำมาแล้ว  อาจารย์บอกไว้ในหนังสือความดันโลหิตสูง    13  เรื่องรวมเล่มนี้เป็น 14 เรื่อง เท่าที่ทราบ ยังมีอีกที่เขียนต่อจากเล่มนี้ อีกประมาณ  2 เรื่อง ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดจะบอกผลการทดลอง จากต่างประเทศและประเทศไทย ฯลฯ

 

 

 "  ปัจจุบันประชาชนชาวไทย ได้หันมานิยมใช้สมุนไพรกันมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาไม่แพ้แผนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพืขสมุนไพรจะมีประโยชน์ แต่อาจมีโทษได้ สรุปว่า สมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

 

ข้อดีของสมุนไพร

 

1.  สมุนไพรมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด  คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

 

2. ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว

 

3. ไม่เสี่ยงอันตราย ต่อการใช้ยาเกินขนาด เพราะตัวยาในสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาตปริมาณยาเจือจางไม่เข้มข้น

 

4. สมุนไพรชิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้ เช่น  หอมหัวใหญ่ กระเทียม โสน เห็ดหลินจือ เป็นต้น

 

 5. สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บางชนิดได้รับความสนใจ จากอุสาหกรรมยานำมาผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันแล้ว เช่น ระย่อม แป๊ะก๊วย เห็ดหลินจือ น้ำองุ่น เป็นต้น

 

6. ช่วยลดความฟุ่มเฟื่อย ในการใช้ยาต่างประเทศที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง เพราะ สมุนไพรหาง่าย ให้รสอร่อย เช่น น้ำลูกยอ น้ำทับทิบ น้ำองุ่น เป็นต้น 

 

7. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยสมุนไพรใช้เป็นยา เป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้ ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัศนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบัยที่ 6 กระทรวงได้กำหนดแผนการพัฒนาสมุนไพร ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานและแผนงานยา และชีววัตถุ มีงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยาในอุสาหกรรมผลิตยา และเศรษฐกิจโดยรวมของชาติต่อไป

 

 8. ตอบสนองนโยบาย ของผู้บริหารกทม.(พศ.2548 ) ในการกำหนดนโยบายของสำนักอนามัยให้บริการแพทย์ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และสนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น

 

 

ข้อเสียของสมุนไพร

 

1. ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยสมุนไพรในเมืองไทยมีน้อย

และไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ที่จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยาได้

 


 

 2. การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในรูป หนังสือ หรือสื่ออื่นๆ

ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความนิยม ความเชื่อมั่น ในการใช้สมุนไพร


 

 

3. ความไม่สะดวกในการบริโภคยาในสมุนไพรแต่ละชนิด(ในธรรมชาติ) มีตัวยาอยู่น้อยและไม่คงตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคพืชสมุนไพรจำนวนมาก และนำมาปรุงใหม่ๆสดๆวันต่อวัน ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้บริโภค บางชนิดก็หายากเป็นอุปสรรคในการใช้สมุนไพร

 

 

4.  สมุนไพรบางชนิดต้องเสี่ยงกับความไม่สะอาด  ปนเปื้อนจากเชื้อรา เนื่องจากกรรมวิธี ในการเก็บ หรือการผลิตไม่สะอาด และมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ กรณีไม่ตรวจสอบเฝ้าระวัง วัตถุดิบที่เก็บมาให้ถูกต้อง

 


 

5. สมุนไพรบางชนิดยังโตไม่เต็มที่ เกษตรกรรีบเก็บมาขาย

ทำให้ตัวยาสมุนไพรมีน้อยไม่เข้ามาตรฐานอาจทำไห้ผลในการรักษาไม่เต็มที่


 


 

6. รัฐบาลยังควบคุมมาตรฐานการผลิตสมุนไพรในโรงงานยาต่างๆไม่ทั่วถึง

ทำให้ยาสมุนไพรที่วางจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพในการรักษาโรค


 


 

7. ประชาชนยังไม่รู้จักต้นไม้สมุนไพรบางชนิด เพราะหายาก

ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทำให้เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี


 

      

 

     ณ วันนี้ แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบันควรตื่นตัว และตระหนักในบทบาทวิชาชีพของตนเอง  ควรให้ความสำคัญต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีการผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ (ผลการทดลองวิจัย) เข้ากับตำรายาไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษโดยพิจารณาไปถึง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย พิษภัยของสมุนไพร เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลของสมุนไพรต่างๆ ซ้ำรอยแพทย์แผนโบราณ ทำให้พบความลับใหม่ๆ ของสมุนไพร อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต "

       

ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือ

 สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง 121 ชนิด  รวบรวมและเรียบเรียงโดยเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก     

ด้วยความปรารถนาดี    กานดา แสนมณี 

 

หมายเลขบันทึก: 438570เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2011 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2013 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ปี้ดาเจ้า ตามภาพสมุนไพรโนรา มาค่ะ

ถ้าชาวบ้านหันมาใช้สมุนไพรเป็นยา มากขึ้นเราก็พอเพียง ลดการพึ่งพาภายนอกนะคะ ขอบคุณความรู้ดีๆ ค่ะปี้ดา  

แถว ๆ บ้านครูอิง ตอนนี้นิยมใช้สมุนไพรในการรักษาโรคกันมากค่ะ

แต่ก่อนสมุนไพรใช้ยาก ส่วนมาต้องต้ม อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนไม่ชอบใช้

แต่ปัจจุบัน สมุนไพรส่วนใหญ่ก็อยู่ในรูปแคปซูล ง่ายต่อการใช้ และ ง่ายต่อการพกพาด้วยค่ะ

ขอบพระคุณนะคะ สำหรับความรู้ที่นำมาฝากกัน มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

  • ส่วนใหญ่เราจะรู้แต่สรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพร
  • ไม่ค่อยได้ศึกษาข้อเสียของยาสมุนไพร
  • แต่เมื่ออ่านแล้วก็มีน้อยกว่าใช้ยาอื่นๆ
  • บางอย่างเราสามารถควบคุมได้  เช่นความสะอาดการจัดเก็บ
  • แต่ก็เหมือนคุณกานดาว่าเรายังมีความรู้น้อย
  • ควรส่งเสริมให้คนมีความรู้จริงเรื่องพืชสมุนไพร  โดนเฉพาะสมันไพรในแต่ละท้องถิ่น
  • บันทึกนี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านมากค่ะ /ขอบคุณมากๆ

....น่าแปลกใจ..เรื่องของสมุนไพรไทย...ต้นกำเนิด..ชาวบ้านสมัยก่อนมีความรู้และใช้กันเป็น..โดยการสืบทอด..หรือหมอยาชาวบ้าน..ที่เชี่ยวชาญเฉพาะตน....แต่เดี๋ยวนี้..ขายกันเกร่อ..มีทั้งถุงทั้งซองและแคปซูล..ราคาก็แพง..เนื่องจากการผลิต..เป็นอุตสาหกรรม..มีการขายและซื้อกันเกลื่อน...มีแต่สรรพคุณ..โทษไม่มี..มีก็ไม่รู้......มีวันผลิตไม่มีวันหมดอายุ..เป็นต้น...(เป็นความสงสัยของยายธีค่ะ)

สวัสดีค่ะ

เดี๋ยวนี้คนเราหันมาสนใจสมุนไพรใกล้ตัวกันมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลดีผลเสียแล้ว

ยิ่งได้อ่านรายละเอียดจากบันทึกนี้แล้ว  ทำให้ยิ่งอยากจะห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ใช่

ธรรมชาติมากขึ้นค่ะ

คิดถึงเสมอนะคะ

          ขอบคุณมากค่ะ ที่แบ่งปันความรู้เชิงวิชาการและมีความละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับสมุนไพร ดิฉันเองสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรมานานแล้วค่ะ ได้ซื้อหนังสือ "สมุนไพร” ไว้หลายเล่ม (ดังตัวอย่างหนังสือบางเล่มในภาพล่างซ้าย) และมีสวนสมุนไพรเล็กๆ ที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ปลูกพืชสมุนไพร เช่น มะนาวโห่ (ภาพกลาง) โปร่งฟ้า ดีปลาช่อน ฯลฯ ตอนนี้กำลังปลูกและศึกษาฟักข้าว (ภาพขวา) ได้ต้นกล้ามาจาก สปป.ลาว ค่ะ ไม่นานมานี้ดูรายการภาคดึก เห็นอาจารย์คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นท่านหนึ่ง กล่าวถึงโครงการวิจัยฟักข้าวที่เป็นความร่วมมือของ 3 คณะ (รวมคณะวิทย์ฯ และคณะเภสัชฯ) น่าสนใจมาก และดิฉันได้บันทึกเป็น DVD ไว้ด้วยเพราะเป็นคนที่ชอบงานวิจัย โดญเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นงานวิจัยที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ 

          อีกอย่างลูกสาวกำลังจะสมัครเรียนป.โท คณะการแพทย์แผนตะวันออก แขนงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร บันทึกนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับลูกสาวด้วยค่ะ เลยขออนุญาตรับ Blog นี้เข้าใน Plannet เพื่อจะได้ให้ทั้งตัวเองและลูกติดตามศึกษาเรื่องสมุนไพรต่อๆ ไป

          ดิฉันสนใจหนังสือของ เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ซึ่งระบุว่าสมุนไพรแต่ละชนิดจะบอกผลการทดลองจากต่างประเทศและประเทศไทยไว้ด้วย ไม่ทราบว่ามีจำหน่ายที่ไหน ช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ         Ico48   Ico48   Ico48   Ico48   Ico48  Ico48 

 

ขอบคุณมากค่ะ ดอกไม้และกำลังใจที่มอบให้    กานดาน้ำมันมะพร้าว

                         

สวัสดีค่ะ   Ico48   Ico48   Ico48    Ico48    Ico48    Ico48

 

น้องpoo   เมื่อคืนพี่ดาเขียนเสร็จ มึนๆเลยค่ะ คงอยู่กับคอมฯมากไป นำโนราให้น้องpoo แล้วก็ปิดเลย ค่ะสมุนไพรที่เราใช้ทำอาหารประจำวันนี้แหละค่ะดีต่อสุขภาพมากๆ ขอให้ทานผักทุกวัน  โดยเฉพาะเครื่องแกงของไทยเราไม่ว่าท้องถิ่นไหน รักษาโรคได้ทั้งนั้น ต้านโรคร้ายได้เลย เช่น หอมแดง กะเทียม ขมิ้น  กระชาย ข่า ตะไคร้ พริก ฯลฯ ดีเยี่ยมค่ะ การพอเพียง คือ ความสุขจริงๆ

 

น้องตาล   ค่ะเจ้าสมุนไพรที่ไม่คุ้นๆต้มพี่ดาก็ไม่ชอบค่ะ แต่ถ้าเป็นสมุนไพรที่รู้จักและรสจืดก็ชงชาหรือต้ม ดื่มได้บ่อยๆ  ซึ่งตอนนี้พี่ดาดื่มทุกวันเพื่อแก้ปัญหาพี่ดาได้ผลพลอยได้ในการดื่มน้ำค่ะ สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ทำอาหารแต่ละมื้อดีที่สุดนะคะ ขอให้ทานทุกวันสุขภาพแข็งแรง  เราช่วยกันสนับสนุนบอกกล่าวกันมากๆนะคะ  ผักผลไม้ไทยหาง่ายมากๆ

 

คุณครูดาวเรือง    จริงๆการบอกกล่าวการใช้สมุนไพรสำคัญมากๆ โดยเฉพาะสมุนไพรใช้แทนยารักษาโรค การทราบปริมาณการใช้ต่อครั้ง กี่วัน มื้อไหนบ้างก่อนหรือหลังอาหาร กี่เม็ด  สมุนไพรต้มยิ่งต้องระวังมาก ความเข้มข้นของสมุนไพรแต่ละส่วนที่นำมาต้มต่างกัน ผู้ใช้บางคนไม่ทราบเลย ทราบแต่ว่าดื่มสมุนไพรชนิดนี้แล้วรักษาได้  บางคนดื่มมากๆติดต่อกัน ซึ่งก็เป็นโรคอยู่แล้ว พ่อแม่ก็อยากให้ลูกหายเร็วๆ ต้มให้ดื่มมากๆทุกมื้อ ติดต่อกันหลายวัน ไตทำงานหนักมาก อันตรายมากๆค่ะ การบอกกล่าวบางครั้งคนที่ไปเผยแพร่ต่อบอกไม่หมด ไม่ทราบ คนก็ไม่อ่านครบทุกคนที่เขียน เช่น ในเน็ต   หรือการบอกเรื่องสมุนไพรบางชนิดดื่มแล้วทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปรกติ  บางคนไม่เขียนบอกข้อระวังเลย เช่น คนที่เป็นโรคเก๊าต์และเป็นโรคหัวใจด้วยดื่ม หญ้าหนวดแมว มากเข้าไปก็อันตรายอีก เป็นต้น ซึ่งแพทย์แผนไทยจะช่วยได้มากเรื่องนี้แต่บางหมอก็บอกไม่หมดเช่นกัน  ตอนนี้ ก็เป็นห่วงเรื่อง รางจืด ผู้ดื่มจำนวนไม่น้อยไม่ทราบอะไรหลายอย่างมาก

 

คุณยายธี    ความสงสัยของยายธี ดาเห็นด้วยค่ะ ผู้ผลิตไม่ทราบตัวสมุนไพรอย่างละเอียด แล้วไปซื้อจากร้านมาใส่แคบซูลขาย มีมากๆและควบคุมไม่ได้ด้วยนะคะ สมุนไพรการอบตากไม่ดี เชื้อราปนเปื้อนแน่นอน ยิ่งชนิดไหนขายดี และรับซื้อไม่อั้น มามาถึงร้านก็อบแห้ง ใส่เครื่องบด ล้างหรือไม่เราก็ไม่ทราบ  ความเสี่ยงมีมากเช่นกันนะคะ

 

คุณพี่กีร์    ค่ะเราห่างไกลธรรมชาติ แต่เราก็เลือกได้บ้างนะคะ เพราะเราพอทราบบ้าง แต่ผู้ที่ไม่ทราบเลยน่าห่วงที่สุดค่ะ การดื่มทานอะไรที่สะสมก็อันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้  หรือเฉียบพลัน สิ่งแวดล้อมทุกวันนี้เสี่ยงอยู่แล้วค่ะ  หากเรารู้จักการใช้สมุนไพรที่ถูกต้องก็ไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบันได้เช่นกันเพราะสมุนไพรล้างพิษ  สิ่งไม่ดีออกจากร่างกายบ้างก็มี แต่ต้องทราบวิธีดื่ม ดื่มไปแล้วเว้นระยะเท่าไหร่ถึงกินยาหรือกินอาหารอื่น เพื่อให้ได้ผล หรือยากับอาหารล้างไปด้วยหมด หรือไม่  การทำอาหารแต่ละมื้อเราก็ได้ตัวยาสมุนไพรแล้วนะคะ

 

อาจารย์ วิไล ฯ     ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ หากอยู่ใกล้ๆคงไปเดินเที่ยวด้วยแล้วค่ะ  มะนาวโห่ ลูก-ดอก สวยน่ารักค่ะ ใกล้บ้านมีให้ชมชอบมากค่ะ ดีจังค่ะมีที่ปลูกสมุนไพรได้มาก   

      เรื่องฟักข้าวเป็นสมุนไพรที่รักชอบมากค่ะเพราะทำให้ได้มาอยู่ gotoknow ตอนนั้นกำลังสนใจมาก ตอนนี้ก็เป็นยอด-ใบสมุนไพรที่ทำอาหารได้อร่อยมากๆ ว่าจะเขียนบันทึกเรื่องฟักข้าวสักครั้งก็ยังไม่ได้เขียนสักทีค่ะ เตรียมภาพไว้พอควร คงไม่เขียนเนื้อหามากมายอะไรเพราะในเน็ตก็มีมากแล้ว เพียงเป็นสมุนไพรที่มีความพิเศษส่วนตัวค่ะ

     ยินดีและขอบคุณมากนะคะ นำรวมแพลนเน็ต บล็อกนี้ kanda02 มีเรื่องรวมทั่วไป

     นำภาพหนังสือไปฝากแล้วนะคะ จะไว้ที่นี้ด้วยเผื่อมีผู้สนใจเพิ่มนะคะ เพราะอยากให้เป็นหนังสือประจำบ้านหรือเป็นของขวัญสำหรับ เพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ที่ชอบอ่านหนังสือ ด้วยค่ะ

 

 

 

สวัสดีค่ะ

คนไทยรู้จักสมุนไพรดีอยู่แล้ว อาหารไทยก็เป็นพืชสมุนไพรทั้งสิ้น นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ของดี ภูมิปัญญาไทยค่ะ

ไม่รู้สิครับ  ผมในวัยนี้กลับหันเหไปชอบการปลุกต้นไม้ ปลูกผัก และเฝ้ามองการเติบโตของมันทีละเล็กละน้อย เฉกเช่นกับการเก็บพืชผักแถวกระท่อมริมทุ่งมาปรุงอาหารอย่างไม่อิดออด  และแม่ก็ยืนยันว่า "อยู่ได้โดยไม่ต้องซื้อต้องขาย"

ผมเองคิดถึงคำพูดของคนแก่คนเฒ่าที่ว่า "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น"
หรือไม่ก็ "กินผักเป็นยา"

ขอบคุณครับ

*ขอบคุณค่ะ..ตู้ยาบ้านพี่ใหญ่มีแต่สมุนไพรไทยทั้งสิ้น..ดีใจที่ปัจจุบันมีการผลิตที่ได้มาตรฐานและหลากหลายชนิด..หวังว่าภูมิปัญญาไทยจะได้รับการพัฒนาต่อยอดไปอย่างยั่งยืนนะคะ..

*มีภาพต้นไม้เล็กๆงอกงามเองในสวนที่บ้าน..คุณดาพอจะทราบไหมคะว่าชื่ออะไร..มีผู้แนะนำให้นำ ผลแดงๆไปโรยหน้าสลัดผักเพื่อเพิ่มสีสัน..

เมื่อมีผลดีมากกว่าเสีย สังคมออนไลน์ควรช่วยกันเผยแพร่ครับ


ยาสมุนไพรต้มแล้วมีตระกรอนมากกินแล้วไม่เป็นอันตรายหรือครับ เรากินเป็นเดือนหรือปี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท