เวทีเรียนรู้ "โรงเรียนแห่งความสุข" : กระบวนการเรียนรู้ที่ทรงพลัง


ในเวลา ๑ วันเป็นเวลาที่สั้นมากสำหรับการจัดกระบวนการ และท้าทายมากทีเดียวสำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่หากออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันได้ดี มีการสะท้อนบทเรียนทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่มเป็นระยะๆแล้ว จะสามารถตรึงความสนใจใคร่รู้ของผู้เข้าร่วมกระบวนการได้เป็นอย่างดี

การสร้างแรงบันดาลใจสำคัญกว่าเรื่องใดๆทั้งหมด หากผมมีเรื่องราวและประสบการณ์มากมายแต่ไม่สามารถอรรถาธิบายให้เพื่อนผู้ร่วมเรียนรู้ได้เรียนรู้ร่วมกันได้ในเวลาที่กำหนด ก็เหมือนกับว่าบทเรียนนั้นไม่สมบูรณ์และไม่มีพลังเพียงพอที่จะคิดต่อเเละเชื่อมต่อประสบการณ์เดิมของผู้ร่วมเรียนรู้ได้

แต่หากผมเพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจโดยย่นย่อประสบการณ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ประณีต ผ่าน “ถ้อยคำที่ทรงพลัง” สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีท่วงทำนองสอดคล้องกับเสียงหัวใจของผู้เข้าร่วมเวทีเรียนรู้ ผมเชื่อว่า ในระยะเวลาที่กำหนด เราต่างได้เติมพลังให้แก่กันและกัน

เวที “โรงเรียนแห่งความสุข” โดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดให้มีพื้นที่การเรียนรู้ที่มีวัตถุประสงค์ให้ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รหัส ๕๒ ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา เป็นการพัฒนาทักษะนอกเหนือจากวิชาชีพครูที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  ผมอ่านตัวโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยส่งมาให้แล้วคิดตามคำว่า “การพัฒนาทักษะ” อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ผมกำลังไปเปิดพื้นที่เรียนรู้ แต่น่าจะเป็นการ “สร้างแรงบันดาลใจ” มากกว่า และอย่างที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นไว้แล้วการสร้างแรงบันดาลเป็นเรื่องที่สำคัญและยิ่งกว่านั้นต้อง ประณีต ทรงพลังเพียงพอ


เวทีถูกกำหนดขึ้นตามกลุ่มเป้าหมาย ๓ กลุ่ม ซึ่งรวมจำนวนนักศึกษาแล้ว ประมาณ ๕๐๐ กว่าคน ในห้วงแรกเป็นกลุ่มนักศึกษาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมี ๒  กลุ่ม คือ ศูนย์แม่สะเรียง ๙๐ คน และ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ๙๗ คน ทั้งสองกลุ่มเปิดเวทีในวันที่ ๒๕ และ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ กลุ่มละ ๑ วัน โดยกำหนดกระบวนการเหมือนกัน ชุดวิทยากรกระบวนการชุดเดียวกัน ส่วนกลุ่มเชียงใหม่ที่มีจำนวนนักศึกษากว่า ๓๔๖ คน กำหนดไว้ในช่วงปลายเดือน มกราคม ๕๔  

ดังนั้นเวทีที่แม่ฮ่องสอน จึงเหมือนเป็นเวทีที่วิทยากรกระบวนการเองก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม และเรียนรู้ผลสะท้อนเวทีที่เกิดขึ้นในแต่ละมิติของการเรียนรู้ ทีมวิทยากรกระบวนการยึด “ความสุข”ในกระบวนการเรียนรู้ เราเชื่อว่าความสุขผ่านความละเมียดของประสบการณ์ชีวิตที่ส่งผ่านการเล่าเรื่อง จาก อ.พนัส ปรีวาสนา จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคามและ อาจารย์พิสมัย เทวาพิทักษ์ แห่งโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก อ.ดอยสะเก็ด จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่มีพลัง

ในเวลา ๑ วันเป็นเวลาที่สั้นมากสำหรับการจัดกระบวนการ และท้าทายมากทีเดียวสำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่หากออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันได้ดี มีการสะท้อนบทเรียนทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่มเป็นระยะๆแล้ว จะสามารถตรึงความสนใจใคร่รู้ของผู้เข้าร่วมกระบวนการได้เป็นอย่างดี

กระบวนการ ๑ วันทำอะไรบ้าง?  ผมมุ่งความสำคัญไปที่การเปิดใจในช่วงแรกของความเป็นคนแปลกหน้าของกันและกัน แม้ว่านักศึกษาด้วยกันเองจะคุ้นชินกันอยู่แล้วแต่ยังต้องการเปิดเผยบางมุมของชีวิตให้กันและกันได้เรียนรู้ ขั้นตอนนี้ใช้วิธีการเขียนคำ การวาดรูป การเล่าเรื่อง สิ่งที่ประทับใจที่คิดเมื่อไหร่ก็สุขใจและมีรอยยิ้ม ที่สำคัญก็คือ อยากจะเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้ผู้อื่นฟัง อาจารย์พนัส ปรีวาสนา เรียกกระบวนการนี้ว่า “รู้จักฉัน รู้จักเธอ”  และมีคำบางคำในสไลด์เขียนว่า “เปิดเปลือย” ดูจากศัพท์แล้วขวยเขินกันน่าดู แต่กระบวนการนี้กลับเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนอ้าแขนโอบกอดคนแปลกหน้าอย่างกระชับอบอุ่นผ่านเรื่องเล่าของตัวเอง รอยยิ้มและสายตาที่มีความสุขเวลาเล่าเรื่อง เป็นการประเมินในเบื้องต้นว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของทุกคน ณ พื้นที่แห่งนี้ 

หากคิดจากฐานประสบการณ์ของตัวผมเองที่ไม่ได้เป็นครูโดยวิชาชีพ แต่แรงบันดาลใจแรกที่ทำให้ผมสนใจกระบวนการเรียนรู้และตระหนักว่าสำคัญอย่างยิ่งหากเราสร้างเยาวชนของชาติเราต้องตระหนักในเรื่องใดในวัยแรกเริ่มของชีวิตคนหนึ่งคน

นานมาแล้วผมได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง “สมอง” และ เรียนรู้ถึงการพัฒนาสมองว่า สมองสร้างได้ พัฒนาได้ ไม่ว่าคนไทย ต่างชาติ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใด เรามีสมองมาเท่ากันสิ่งที่แตกต่างก็คือ การเจริญเติบโตของสมอง การกระจายตัวของเซลล์สมองที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้แบบปฏิกิริยาตอบสนอง นั่นก็หมายถึงว่า การสร้างกระบวนการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสมอง นอกจากปัจจัยอื่นเช่น กรรมพันธุ์,อาหาร,การพักผ่อน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสมองเด็กก็ได้แก่ พ่อ แม่ และครู ช่วงอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง ๖ ขวบ สมองมีการเจริญเติบโตสูงที่สุด และจะพัฒนาไปเรื่อยๆจนถึงอายุ ๑๑ ขวบ ส่วนใหญ่ของเด็กวันนี้มีปฏิสัมพันธ์กับ ครู,เพื่อน และอยู่ในโรงเรียน


ผมได้นำเสนอ “การพัฒนาสมอง เด็กไทยไม่โง่” เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ทั้งความรู้เกี่ยว Anatomy ของสมอง และกลไกอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองให้มีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม...นั่นคือแรงบันดาลใจเริ่มแรกของผมและผมคิดว่าหลายคนก็ได้แรงบันดาลแรกเริ่มจากประเด็นนี้เช่นเดียวกัน บันทึกเดิมของผมที่เคยเขียนประเด็น "การพัฒนาสมอง"

 

 

เเละบันทึกของ อ.was ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning : BBL)

จากการฟังบรรยายไม่ยาวนักเกี่ยวกับสมอง ถูกเชื่อมไปยัง “เรียนนอกฤดู” ที่อาจารย์พนัส ปรีวาสนา ได้ร้อยเอาเรื่องราวการเรียนรู้ผ่านรูปภาพ เรื่องเล่า ถ้อยคำที่สวยงาม ผมจินตนาการว่าสมองซีกซ้ายและขวาของผู้เข้าร่วมเวทีเรียนรู้ได้รับการกระตุ้นอย่างสมดุล งดงามในเวลานี้แล้ว

กระบวนการหลังจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่ม ๗ กลุ่ม โดยผ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับระบบการคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษา พิจารณาดูแล้วเป็นคำถามเชิงลึก การเปิดให้กลุ่มได้แลกเปลี่ยนกันอย่างอิสระ ภายใต้คำถามเหล่านี้ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่ โดยมีวิทยากรกระบวนการช่วยเติมเต็ม ถือว่าเป็นการเปิดมุมมองในการสะท้อนความคิดกันไปมา “คุยกับตัวเอง และสะท้อนไปยังผู้อื่น” ได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมหนึ่งที่ผ่อนคลายและสร้างแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าจากครูพิสมัย ก็เป็นกระบวนการนั่งเสวนาง่ายๆ เป็นกันเอง “ล้อมวงฟังเรื่องเล่า” ความง่ายงามของกระบวนการบวกกับเรื่องราวชีวิตจริงของครูประถมศึกษาท่านหนึ่งที่ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ กล่อมเกลาศิษย์ด้วยวิธีการเฉพาะ และเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี “ความปรารถนาดี” ผสานกับ  “จิตวิญญาณความเป็นครู” ของครูพิสมัยนั้น เรื่องเล่าในเวทีจึงไม่ธรรมดา สิ่งที่วิทยากรกระบวนการมองเห็นก็คือ แววตาที่เปล่งประกายของผู้เข้าร่วมเวที ความเงียบที่คอยฟังเรื่องราวจากปากครูพิสมัยอย่างใจจดจ่อ น่าจะเป็นแบบประเมินถึงความสนใจใคร่รู้ และการเรียนรู้อย่างทรงพลังของผู้เข้าร่วมเวที

 Educator and Inspiration for the Film Coach Carter 

ภาคบ่าย หลังจากที่ เตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมกระบวนการแล้ว เราเริ่มต้นด้วยโครงสร้างคำถามง่ายๆผ่านภาพยนตร์คัดสรร  ซึ่งผมเตรียมมาก่อน ภาพยนตร์ที่ใช้ในกระบวนการ ชื่อเรื่องว่า Coach Carter”

Carter gained notoriety in 1999 when coaching the Richmond High School Oilers. He canceled all of his undefeated basketball team's games and practices for eight days -- forfeiting two games (one non-conference game and one alumni game) -- because fifteen team members had unacceptably poor academic performance. This event was known as "the lockout", and his actions were criticized by the school, players' parents, the community, the schools that his team was scheduled to play, and media commentators.

....

The story of the 1999 season is the basis for the 2005 film Coach Carter, with Carter played by Samuel L. Jackson.

Carter continues to coach sports teams, except basketball. Currently, he is the coach of the Slamball team Rumble. He led Rumble to their first-ever Slamball Cup victory in 2001/2002. Carter has said that the greatest moment in his life was when he carried the Olympic Torch for the 2002 Winter Olympics.

Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Ken_Carter

เป็นเรื่องราวชีวิตจริงของ Ken Carter  โค้ชบาสเก็ตบอลผู้ได้รับทั้งความชื่นชม สรรเสริญ และความไม่เห็นด้วยกับผู้คนในชุมชน เมื่อเขากลายเป็นหัวข้อข่าวใหญ่ของประเทศ ที่ไม่ยอมให้ทีมบาสเก็ตบอลฝีมือเยี่ยมของเขาลงแข่งขันจนกว่าการเรียนเด็กๆ ทีมนี้จะดีขึ้น ด้วยแรงกดดันจากตัวนักกีฬา ผู้ปกครองของพวกเขา รวมถึงคนในชุมชน ที่พยายามผลักดันให้ทีมกลับมาลงแข่งให้ได้ คาร์เตอร์ต้องเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ให้ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเด็กหนุ่มเหล่านี้ อนาคตของพวกเขาต้องไปให้ไกลกว่าการเป็นนักเลงหัวไม้ ยาเสพติด คุก และไม่ได้จบลงที่บาสเก็ตบอลตลอดไป

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมได้เตรียมสรุปประเด็นจากฉากต่อฉากไว้ เพื่อให้เห็นวิธีคิดเบื้องหลังของ คาร์เตอร์ รวมไปถึงการเป็น Coach ผมมองว่าคุณครูเองในชีวิตจริงก็คงต้องเป็น Coach มากกว่าผู้สอนความรู้

อาจด้วยความบังเอิญของการคัดเลือกภาพยนตร์เรื่องนี้มาใช้ใน Workshop ที่ผมคิดว่าเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ จังหวะของภาพยนตร์เรื่องนี้มีจังหวะบีบ คาย ที่สามารถตรึงผู้ชมได้ตลอดสองชั่วโมงกว่าๆ (ซึ่งยาวนานพอสมควร) สุดท้ายการสรุปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากชมภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่ร้อยเรียงผ่านกระบวนการตั้งแต่เช้าจรดเย็น เป็นความสมบูรณ์ของกระบวนการที่รวบรัดให้เสร็จสิ้นภายใน ๑ วัน

การประเมินผลหลังกระบวนการ (AAR) ของผู้เข้าร่วมกระบวนการทั้งวัน ทำให้เราเห็นเห็นถึงกระบวนการการทำเวทีเรียนรู้แบบนี้ว่าใช้ได้ผลและสร้างพลังแรงบันดาลใจได้ระดับหนึ่ง สังเกตจากจำนวนผู้เข้าร่วม(ที่ไม่ได้บังคับ) ที่ยังอยู่กันพร้อมพรั่ง แววตาที่เปล่งประกาย รอยยิ้ม คำเขียนบอกเล่าจากความรู้สึก หรือแม้แต่พลังที่เราต่างก็สัมผัสได้...

หมายเลขบันทึก: 417240เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2010 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

สวัสดีปีใหม่ครับ น้องเอก

โรงเรียนแห่งความสุข ยังไม่ได้เรียน แต่ วปช. วิทยาลัยป้องกันชุมชน ไปเรียนรุ่นที่ 2 มา ได้รู้เรื่องราวจากหลายๆชุมชนที่จัดการเรื่องสิทธิชุมชน ตาม รธน.ม. 67

ชื่นชมค่ะ

การสร้างแรงบันดาลใจได้สำเร็จ เป็นความสำเร็จในการเรียนรู้ค่ะ

มาชื่นชมกิจกรรมดี ๆ ของคนแม่ฮ่องสอนที่น่าภาคภูมิใจครับ

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)...

แอบมาบอกว่า วิทยากรทุกท่าน..ปรมาจารย์มาก ๆ ครับ เชี่ยวชาญในสิ่งที่ทำ และทำด้วยหัวใจจริง ๆ

ผมได้แต่นั่งตาปริบ ๆ (เพราะต้องตื่นเช้ากว่าปกติ อิ อิ)

อุ้ย ! มีบันทึก BBL ปีมะโว้ด้วย ... ทฤษฎีการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง (Brain-Based Learning : BBL)

ขอบคุณมากครับที่ AAR ขึ้นบันทึกแล้ว ผมจะแจ้งให้อาจารย์อ้อยเข้ามารับผลต่อไป

ป.ล. กลุ่มเชียงใหม่ดูเหมือนจะเป็นปลายเดือนมกราคม ๕๔ นะครับ ;)

วิทยากรทุ่มเทกันมาก ๆ โดยเฉพาะท่าถ่ายรูป ;)

ตามด้วยการนำกล้องของตนเองไปยิงกันกระจาย ใครหันหลังให้เป็นเสร็จอีกคนหนึ่ง ;)

  • สวัสดีค่ะ คุณเอก..
  • รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้มาอ่านบันทึกดีๆ
  • ที่บอกเล่าเรื่องราวการสร้างแรงบันดาลใจ
  • ซึ่งแป๋มเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
  • ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าเรื่องใดๆทั้งหมด
  • แรงบันดาลใจไม่ใช่การพูดจาหวานหูไพเราะอย่างเดียว
  • บางครั้งการสร้างแรงกดดันก็สามารถทำให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่
  • พลังที่พร้อมจะแสดงศักยภาพที่มีอยู่ภายในออกมา
  • อ่านบันทึกนี้แล้วจบลงพร้อมกับรอยยิ้มที่"โดนใจ"แบบเต็มๆค่ะ..^___^

มาชื่นชมการจัดกิจกรรมดีๆเพื่อประโยชน์ต่อ  "เด็กน้อย"  ที่วันข้างหน้าพวกเขาจะเป็น "ผู้ใหญ่"  สวัสดีปีใหม่นะคะอาจารย์

 

เป็นการสร้างสรรค์ความสุข

ที่ถ่ายทอดมาทั้งสายตาและจิตใจ

ทั้งผู้ถ่ายทอด และผู้แอบถ่ายทอดด้วย

พี่วอญ่าครับ...

ผมเห็นบังเขียนเรื่องราวของ วปอ.ภาคประชาชนเเล้ว ยังไม่ได้เข้าไปอ่านเลยครับ

กระบวนการที่ผมเเละทีมทำกับ ว่าที่คุณครู ก็เรียนรู้ไปทำไปด้วย อย่างน้อยการสะท้อนบทเรียนไปมา ก็ทำให้เราชัดเจนในทิศทางที่เราควรเดินไปด้วยครับ

ขอบคุณครับผม :)

พี่แก้ว อุบล

กระบวนการสร้างเเรงบันดาลใจ หากทำได้ดีประณีตก็จะทรงพลังด้วยครับ ผมเเละทีมงานก็พยายามเขียนกระบวนการเพื่อเเลกเปลี่ยน หากท่านไหนมีความาคิดเห็นต่อกระบวนการก็ยินดีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณครับ

ผอ นาย วัฒนา คุณประดิษฐ์ ขอบคุณครับ 

ที่เเม่ฮ่องสอน ถือว่าเป็นบ้านเกิดของผม ไปทำงานที่บ้านเกิดมีความสุขเเละเบิกบานใจครับ อย่างน้อยเราก็ได้ตอบเเทนบ้านของเราครับ

อ.วัส

ต้องขอบคุณภาพที่นำเสนอครับ มีชีวิตชีวามาก

เลยคนเเซวภาพด้านบนบอกว่า ต้องวิเคราะห์ท่าของการถ่ายภาพ ผมขอวิเคราะห์เบื้อต้นดังนี้ครับ

โสดจะหงาย

ไม่โสดจะคว่ำ   

ครับ :)

ขอบคุณคณาจารย์ ทีมงานของ มรภ.เชียงใหม่ครับ ที่ให้โอกาส ให้มิตรไมตรีที่ทำให้ผมกับทีมงานมีความสุข ได้ทุ่มเทพลังในการทำงานอย่างเต็มที่เเละเต็มศักยภาพที่มี

ขอบคุณจริงๆ

ครูแป๋มครับ

โดยสรุปกระบวนการนี้ เรามุ่งไปยังการสร้างเเรงบันดาลใจสู่การเป็น Change Facilitator ของครูครับ เเต่บทสรุปที่ไม่ชัดเจน เป็นธรรมชาติของการเรียนรู้เมื่อเราเดินมาในระยะหนึ่ง ความรู้เดิม ประสบการณ์เเละปัจจัยอื่นๆจะกล่อมเกลาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นเองครับ

ให้กำลังใจคุณครูครับ

ขอบคุณครับ ครูปู

Happy New Year ครับ

ให้กำลังใจคุณครูครับ

  • ไม่เคยผิดหวังเลยสักครั้งในการนั่งอ่านการถอดบทเรียนของน้องเอก
  • สวัสดีปีใหม่ ด้วยนะคะ มีความสุข สนุกในการสรรสร้างทุกๆวัน....

ขอบคุณครับ คุณครู ป.1

บันทึกนี้ขอมองภาพกว้างของกระบวนการก่อนครับ จริงๆหากมีเวลาผมอยากเขียนรายละเอียดเเต่ละช่วงของกระบวนการด้วย

ขอบคุณครับที่มาให้ข้อเสนอเเนะเเละให้กำลังใจครับ :)

พี่อุ้มบุญครับ

Happy new year

ขอบคุณมากครับ การ์ดปีใหม่ สวยๆเเละมีเสน่ห์ :)

  • แม๊ จะขยัน จะเก่งไปไหนนน ท่านว่าดร.เอก ฮึ ....
  • ใครนะช่างแซวท่าถ่ายภาพ ฮ่าาา ฮ่าาาา
  • แต่ละกิจกรรมน่าสนใจนะครับ เทอมหน้าพี่จะไปสอนหนังสือวิชา "ความเป็นครู" แต่พี่คงไม่สอนตรงๆ หรอกเน๊อะ ก็อาจารย์หมอวิจารณ์กล่าวไว้ว่า ครูต้องปรับเปลี่ยนจากครูผู้สอนให้มาเป็นโค๊ชหรือเป็นฟาได้แล้วววว ปรับครู (ชี้ที่ตัวเอง) ก่อนนี่แหละ จะปรับวิชาความเป็นครู นำวิชา ความเป็นมนุษย์ เสริมซะ =
  •  วันนี้เลยพาน้องเมย์จากบันทึกนี้ [คลิ๊ก] มามอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๔ ให้พี่เอกคนเก่ง และครอบครัว(?)มีความสุขม๊ากก มากกกจ้า =)

สวัสดีปีใหม่ นะครับคุณ จตุพร

น้องเอก

“รู้จักฉัน รู้จักเธอ”ด้วยใจใสๆไม่ขุ่นมัว

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

        

พึ่งไปพํฒนาศักยภาพผู้ให้คำปรึกษาแนวทางวิถีพุทธมาค่ะ ทักทายกันด้วยรอยยิ้ม

แสดงท่าทางประกอบ 

                        

 

ครูเหมียวณัฐพัชร์ :)

ผมจะรอฟังเรื่องราวจากพี่เหมียว อย่างใจจดจ่อครับ ;)

สวัสดีปีใหม่ "ปีหนู" นะครับผม

ขอบคุณ คุณ แสงแห่งความดี ครับ

ขอให้คุณเเสงฯเเละครอบครัวมีความสุขมากๆเช่นกันนะครับ

คุณเอก

ดีใจที่ได้เป็นส่วนเล็กๆช่วยเติมเต็มและสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆนักศึกษาป.บัณฑิตเกิดพลังจากการฟังเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของการเป็นครู สว.(สูงวัย)มา31ปี พี่ขอบคุณคุณเอกที่เห็นคุณค่าความเป็นครูของครูประถมศึกษาและให้โอกาสเปิดเปลือยความรู้สึก(ยืมคำอ.พนัสมาใช้) ผอ.สมบูรณ์ เดชยิ่ง ดีใจมากที่ได้รับหนังสือจากคุณเอกและฝากขอบคุณด้วย

ในวาระของการเปลี่ยนศักราชใหม่ (2554)ที่จะมาถึงนี้ขออวยพรให้คุณเอกมีความสุขที่ไม่มีวันสิ้นสุดตลอดไป

เป็นบทความที่ทรงพลังมากๆครับ

เห็นกระบวนการ เกิดการเรียนรู้ได้เลย

ชื่นชมมากๆ ครับ เป็นนวัตกรรมการสอนได้เลยครับ

สวัสดีปีใหม่นะครับ ขอให้คุณจตุพรมีความสุขมากๆ นะครับ

สวัสดีส่งท้ายปีเก่า ๒๕๕๓ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๔ ค่ะ "อาจารย์เอก"

สวัสดีปีใหม่ค่ะน้องเอก มาเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมให้น้องๆ ขอบคุณที่แบ่งปัน ภาพเท่ห์ เก๋ จังเนาะๆ ชอบค่ะ

ขอบพระคุณพี่ท้องฟ้า..ครับ

พรใดที่พี่ให้มา ขอให้พรนั้นกลับคืนด้วยครับ

อยู่ดี มีสุข ครับ

เป็นการประสานที่ทรงพลัง ของมหาวิทยาลัยด้วยกัน เป็นความงดงามทางใจที่เกิดการแบ่ปันกันและกัน

สวัสดีปีใหม่ค่ะ น้องเอก

ขอให้มีความสุข สดชื่นตลอดไปค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณจตุพร

ตั้งแต่ไดู้้รู้จักกับพี่เอก...ก็ได้รู้ว่าชีวิตที่มีความสุขกับการได้รู้จักและทำงานเพื่อสังคมมันมีคุณค่ามากมาย ด้วยความระลึกถึงครับ

เราเป็นส่วนหนึ่งของทุกคน ณ พื้นที่แห่งนี้ 

...แล้วเมื่อไหร่..มหาวิทยาลัย..จะลุกขึ้นมาสอนสิ่งเหล่านี้บ้าง...

เล่นสอนแต่สิ่งที่ไม่ได้ใช้...

เรียนท่านวิทยากร (อาจารย์เอก)

ในนามของทีมงานขอขอบพระคุณทีมวิทยากรเป็นอย่างสูงที่ได้มอบสิ่งดี ๆ ให้แก่นักศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิตของเรา  ตั้งแต่ได้รู้จักและได้ร่วมงานกับทีมวิทยากรมานั้น ทำให้หนูมีพลังในการที่จะอุทิศตนให้กับงาน ให้กับองค์กรมากขึ้น หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างทำให้หนูสามารถเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ พร้อมกันนี้ก็ต้องขอขอบคุณอ.วัส อ.อ้อย และหลาย ๆ ท่านที่ไม่เอ่ยถึง ที่ให้โอกาสหนูได้ทำงานนี้ และได้ให้องค์ความรู้ซึ่งหนูเองก็ไม่เคยได้รับมาก่อน  ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

คุณเอก ...

ผมได้ส่งเลขาโครงการฯ "โรงเรียนแห่งความสุข" เข้ามาขอบคุณในการที่ได้ให้เกียรติกับทางทีมงานเล็ก ๆ ของคณะผลิตครูในการสร้างสรรค์ครูดี ๆ ออกไปสู่สังคมไทย

ขอบคุณมากครับ ;)...

ขอบคุณครับทุกท่าน

สำหรับคนต้นเรื่อง-ทีมเชียงใหม่ ผมรอรายละเอียดเวที workshop เมษายน ส่งให้กระผมทางอีเมลด้วยครับ

ผมจะได้วางแผนเดินทางถูกครับ

รับทราบครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)...

ผมจะไปประสานงา... มาให้ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท