ใครว่า"ท่องจำ"..ไม่จำเป็น


"ควักหัวใจออกมา เอาออกมาพิสูจน์" สอนโครงสร้างหัวใจด้วยการให้นักเรียนศึกษาหัวใจสุกรจริงตามหนังสือ สสวท. การเรียนจากของจริง เหตุการณ์จริงหรือเมื่อมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง จะสร้างความน่าสนใจให้กับนักเรียนได้ อย่างที่ครูไม่ต้องกระตุ้นหรือมีฝีมืออะไรมาก  

ทุกปีการศึกษาที่สอนเรื่องนี้ นักเรียนจะสนใจดี เริ่มจากสังเกตสภาพภายนอก ตามด้วยการกรีดผ่าเส้นเลือดใหญ่ไล่ไปยังผนังห้องหัวใจ สังเกตลักษณะ ขนาด ความหนา รวมทั้งลิ้นกั้นระหว่างห้อง บันทึกผลด้วยการวาดภาพและชี้บ่งส่วนสำคัญต่างๆ

นัดแนะนักเรียนคนที่อาสาไปจัดเตรียมหัวใจมาล่วงหน้า บอกพ่อค้าก่อน“ตัดเส้นเลือดเหลือให้ยาวหน่อย” พวกเราจะได้รู้ง่ายว่าเป็นเส้นเลือดใด เวนาคาวาหรือเอออร์ตา จะช่วยให้พิจารณาห้องหัวใจต่างๆไม่ผิดพลาดด้วย

ตระหนักดีว่านักเรียนตัวเองไม่ได้เก่งกาจเหมือนในโรงเรียนประจำจังหวัดหรือโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ฉะนั้นครูไปเข้มงวด จำจี้จำไช เน้นเนื้อหาสาระมากๆไม่น่าจะดี อาจทำให้นักเรียนเครียด เบื่อ ไม่ชอบหรือพาลไม่สนใจเรียนเอาเลยก็ได้ จึงเน้นไปที่ความสุข ความพึงพอใจ แค่ให้ตั้งใจหรือเอาใจใส่ต่อการเรียนเท่านั้น คิดเพียงว่าเนื้อหาอาจไม่ได้มาก แต่ที่จะได้คือวิธีการ

ทุกครั้งก่อนทำปฏิบัติการ จะบอกนักเรียนให้ไปศึกษามาล่วงหน้า หัวใจมีส่วนประกอบสำคัญใดบ้าง ตรงไหนเรียกว่าอะไร ทำหน้าที่อย่างไร บางปีจะทำเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน ด้วยการให้นักเรียนระบุชื่อส่วนต่างๆ แต่ไม่ได้เน้นว่าจะต้องรู้หรือต้องผ่านเกณฑ์อะไรเสียก่อน

แต่ปีนี้เป็นครั้งแรก นึกยังไงไม่รู้ ในใจแค่จะขู่ตามประสาคุณครู ต้องผ่านการทดสอบชื่อส่วนต่างๆของหัวใจให้ได้ก่อน ซึ่งมีอยู่ร่วม ๓๐ ชื่อ ถ้าใครตอบเป็นภาษาไทยจะได้คะแนนครึ่งเดียว ต้องตอบเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ใจจริงตั้งใจจะให้คะแนนเท่ากันทั้งหมด..ขอให้ตอบได้เถอะ! แต่วางแผนว่าจะบวกคะแนนพิเศษเป็นโบนัสให้ สำหรับคนที่ตอบเป็นภาษาอังกฤษ

นอกจากนั้นยังแกล้งเปรยดังๆ ทีเล่นทีจริง หากใครตอบไม่ได้ ก็เอาคะแนนเต็มตั้งหักด้วยคะแนนที่ได้ นักเรียนส่งเสียงฮือฮาพร้อมๆกัน น่าจะเข้าใจว่าครูหมายถึงอะไร(ฮา)

ทึ่งผลการทดสอบครั้งนี้มาก เพราะไม่เคยขู่เข็ญให้นักเรียนท่องจำชื่อหรือคำศัพท์ชีววิทยามาก่อนเลย นักเรียนประมาณหนึ่งในสามของห้องหรือร่วม ๑๐ คน สามารถบอกชื่อส่วนต่างๆของหัวใจได้ทั้งหมด โดยเฉพาะหลายคนเขียนชื่อภาษาอังกฤษได้ไม่ผิดเพี้ยน

พอถึงชั่วโมงต้องลงมือกรีดผ่าหัวใจกันจริงๆ พบว่านักเรียนปีนี้สนใจทำปฏิบัติการมากกว่าปีที่ผ่านๆมาอย่างเห็นได้ชัด ทุกครั้ง ๒ ชั่วโมงทั้งผ่าและบันทึกจะเหลือเวลาเสมอ แต่ครั้งนี้บางกลุ่มใช้เวลาเต็มเหยียดไม่เหลือเลย สมาชิกทุกคนง่วน จับ พลิกไปมา บันทึก สายตาจดจ้องอยู่ที่หัวใจ ซึ่งเลอะไปด้วยเลือด

เฝ้าสังเกตนักเรียนตลอด พร้อมเก็บรายละเอียดด้วยการบันทึกภาพตามปกติของตัวเอง ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนวันนี้อีกแล้ว

ประการแรก แม้ชีววิทยาจะมีเนื้อหาหรือศัพท์ต่างๆมากมายให้จำ แต่มักไม่เน้นให้นักเรียนท่อง เพราะคิดว่าเข้าใจสภาพเด็กดี แต่ต่อไปนี้อาจต้องคิดใหม่ทำใหม่บ้างแล้ว เนื่องจากเด็กๆหลายคนสามารถทำได้ แถมไม่ได้วิตกกังวล อึดอัดหรือทุกข์ใจไปกับการเข้มงวดให้ท่องจำของครูมากนัก

ประการต่อมา ความแม่นในชื่อส่วนต่างๆมาก่อน ทำให้นักเรียนใส่ใจจะเรียนรู้ของจริงมากยิ่งขึ้น มั่นใจว่านักเรียนปีนี้ตั้งใจหรือเอาใจใส่ทำปฏิบัติการมากกว่าปีก่อนๆ

ใครว่าท่องจำ..ไม่จำเป็น!

หมายเลขบันทึก: 410555เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2021 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

ลงมือทำ จำให้ขึ้นใจ

ผมคนหนึ่งที่ชอบท่องจำ โดยเฉพาะบทกลอน ซาบซึ้ง จำได้นานครับ

ตามมาดูครูธนิตย์ สอนหนังสือ ต้องบอกว่า "เห็นใจจริงๆ" ครับ เห็นหัวใจ ที่ใส่ให้ศิษย์ นับถือๆ

สวัสดีค่ะ

ครูไปเข้มงวด จำจี้จำไช เน้นเนื้อหาสาระมากๆ ไม่น่าจะดี เพราะอาจทำให้นักเรียนเครียด เบื่อ ไม่ชอบ หรือพาลไม่สนใจเรียนเอาเลยก็ได้  ผมจึงเน้นไปที่ความสุข ความพึงพอใจ แค่ให้ตั้งใจ หรือเอาใจใส่ต่อการเรียนเท่านั้น คิดเพียงว่า เนื้อหาอาจจะไม่ได้มาก แต่ที่ได้คือวิธีการ ....เห็นใจค่ะ  จริง ๆ แหละ

ตอนพี่คิมเรียน ม.ปลายก็อาศัยท่องจำวิชาชีววิทยาและเคมี  เอาจริง ๆ ท่องแม้กระทั่งคำนวณเป็นข้อ ๆ แต่ก็จำได้ดีนะคะ

ภาษา..ซึ่งเป็นวิชาทักษะ  หากไม่ท่องและไม่ฝึกนำไปใช้  ไม่ได้ผลค่ะ  การไม่ทอ่งนั้นหมายถึงเด็กสติปัญญาดี ซึ่งมีเทคนิคในการจดจำ  แต่ก็มีน้อยนะคะ

ดีใจค่ะการสอนครั้งนี้มีความสุขนะคะ  อ่านแล้วรู้สึกดีไปด้วย

เอาจริงๆกับการเรียนรู้ของเด็กชีวะ เอาสิวะ อ่ะๆๆๆ หัวใจ เครื่องในมาฝากเต็มตู้เย็นครู อิอิ นึกว่าจะผัดโป้ยเซียน ที่ไหนได้เอาไปเล่นๆๆ ชำแหล่ะ ๆๆ เสียดายจังๆ ..

สวัสดีครับอาจารย์

ไม่ได้แวะมาทักทายเสียนานเลย

อ่านบันทึกอาจารย์ด้วยความเพลินเพลินทุกคราวไป

ทำไมผมจึงไม่เจอครูดี ๆ แบบนี้ตอนเรียนชีวฯ ก็ไม่รู้ มิเช่นนั้นคงไใ่ต้องติดศูนย์ทั้งสองเทอมตอน ม.๔ ไม่ได้ติดศูนย์ตอน ม.๕ เพราะเรียนแค่ ม.๔

คร้ังนึงเราให้เด็กนักเรียนท่องตะพึดตะพือ พอมาวันนึงเราก็บอกให้เลิกท่อง หาความพอเหมาะพอดีไม่ได้

ผมคิดอย่างนี้ครับ

ผมว่าการจำอย่างไรเสียก็มีประโยชน์ อย่างน้อยก็มีมากกว่าไม่มีอะไรจะจำ แต่จะยิ่งมีประโยชน์ยิ่งขึ้นจากการจำเลื่อนขั้นไปถึงเข้าใจ

สมัยผมเป็นพระผมท่องปาฏิโมกข์อยู่สามเดือน ท่องได้แล้วก็ลืม ตอนหลังผมใช้วิธีท่องแล้วศึกษาความหมายไปด้วย ทำให้การท่องจำนั้นดีขึ้น ไม่หลง ๆ ลืม ๆ

ความจำที่ปราศจากความเข้าใจอยู่ในใจได้ไม่นานเดี๋ยวก็ลืม แต่จะอยู่ติดแน่นคงทนเมื่อเลื่อนขั้นขึ้นไปถึงความเข้าใจ

แหะ แหะ ไม่ได้ทักทายอาจารย์นานเลยคุยยาวหน่อยครับ...

จำเป็นมาก...ขอบอกๆๆๆได้ดีเพราะ สุ จิ ปุ ลิ นี่แหล่ะ..ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้เลย...

บันทึกที่ดีมากครับ..

ตอนผมเรียนผมชอบชีวิวทยาครับ เพราะเป็นเรื่องรอบๆตัวเรา อีกทั้งเป็นเรื่องของเพื่อนร่วมโลกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งมองไม่เห็น เเต่ก็ท่องจำกันเป็นวักเป็นเวรกันเลยทีเดียว การเรียนรู้แบบเล่นกับของจริง ก็ทำให้จำได้เเบบเนียนๆนะครับ

วันก่อนที่ได้ KM5 ผมได้ DVD จาก อ.เอ็ม (มณฑล สรไกรกิติกูล (Monthon Sorakraikitikul) ให้ผมมา เรื่อง " Coach Carter" ดูภาพจากปกน่าสนใจมาก คิดว่าหากชมเเล้วจะมาเล่าให้ครูธนิตย์ฟังครับ คิดเอาเองนะครับ ว่าน่าจะเชื่อมสัมพันธ์กันกับภารกิจของทุกท่านที่กำลัง สร้างกระบวนการเรียนรู้ อยู่ขณะนี้

สวัสดีค่ะ ครูธนิตย์ เป็นอะไรกับพี่กาญจนาค่ะ คริคริ

พี่จบนิติศาสตร์ ม.รามฯมาก็เพราะการท่องจำนี่แหละค่ะ...สำคัญมากๆค่ะ

-สวัสดีครับอาจารย์....

-ควักหัวใจออกมา......จริง ๆ หรือครับ .....555

-ท่องจำ...ยังใช้ได้ดี...จริง ๆ ..ครับ....

-เก็บ "บะตันขอ"มาฝาก.....รู้จักรึเปล่าครับ "บะตันขอ"

***  ต้องเก็บดูแลหัวใจตนเองให้ดี   มิเช่นนั้นจะถูกคนมาควักเอาไปผ่าเล่น ..  อุ๊ยหวาดเสียว....เอ๊ะ...  ท่องอะไรอยู่น๊า......   ลืมไปเลย... อิอิอิ ***

                                                   
                                                                         Arrow

  • พี่ยังคิดว่าการ "ท่องจำ" ยังจำเป็น เพราะบางอย่างต้องจำจริงๆ แต่ต้องจำจากความเข้าใจ
  • ตอนเรียนพี่ชอบวิชาชีวะมาก อุตส่าห์ดิ้นรนไปหาที่เรียนพิเศษ (ที่ไม่ค่อยจะมี)  ก็ยังไม่ได้เรื่อง น่าเสียดาย ถ้าพี่เจอครูธนิตย์ซะตอนนั้นก็ดีซิ
  • การท่องจำที่พี่ชอบที่สุดคือ "ท่องอาขยาน" ค่ะ  ทุกวันนี้ก็ยังจำได้  บางครั้งยังแอบท่องในใจ บรรยากาศสมัยนั่งท่องเจื้อยแจ้วก่อนเลิกเรียนก็หวนกลับมา  มันทำให้เรารักภาษาไทย วรรณคดีไทย ขึ้นเยอะนะคะ

ป.ล. พี่เหลือหนังสืออีกไม่กี่เล่ม เล่มที่ส่งมาเจอที่หัวเตียงแล้วคิดถึงอาจารย์ทันทีค่ะ (เพราะอาจารย์เป็นครูชีวะในดวงใจพี่ไง + และ เป็นคุณพ่อที่อบอุ่น)  วันก่อนเด็กแวะมาหาที่ร้านบอกว่าครูให้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วสรุปมารายงาน  แกหาซื้อไม่ได้ เดินมาถาม  พี่เลยไปค้นมาให้แก๑เล่ม

ช่างทำได้เนาะ...บูรณาการเข้ากับภาษาอังกฤษ

สงสัยติดใจครูสอนภาษาอังกฤษ  หรือไม่ก็ถูกขู่เอาไว้ อิๆๆๆ

ตามไปดูนกสวยๆได้แล้วนะคะ 

  • ผมว่าการท่องจำยังจำเป็นอยู่
  • แต่พบการเรียนรู้แบบอาจารย์
  • คิดถึงคุณครูท่านหนึ่งมาก
  • ให้เลี้ยงยุงเพื่อจะได้ศึกษาวงจรชีวิตของยุง
  • ใครเลี้ยงตาย ตก ...
  • จากภาพผมเห็นว่า นักเรียนตั้งใจมากๆๆ
  • ขอชื่นชมครับ

เห็นภาพแล้วนึกถึงตอนเรียนชีววิทยาครับ ทำเช่นนี้เลยครับผม..

ลงมือปฎิบัติจริง..

 

ขอบคุณที่เยี่ยมติดตามอ่านบทความผมเสมอมาครับ..

ดูแลสุขภาพนะครับ..

ผมว่าการท่องจำยังจำเป็นครับ

ว้าว คุณครูร้องเพลง วัยรุ่นเลยทีเดียว .. ไม่ต้องควักหัวใจ ก็ต้องเชื่อคุณครู ผู้เชียวชาญค่ะ :)

อ้ายหยา ควักออกมาจริงๆ มีเด็กๆ ที่กลัวเลือดบ้างไหมคะ แล้วปฏิกิริยาเป็นไงบ้าง ฝันดีค่ะ

*** วันนี้พี่สุกิจเจ้าของหนังสือ....เขาจะมาพูดที่โรงแรมรัตนา พาร์ค 2 วันนะ ( 2 - 3 ธ.ค.) ถ้าว่างก็แวะไปฟังได้ พี่พูดถึงอ.ธนิตย์ให้เขาฟังแล้ว (ถ้าเป็นเลือดแดงขาว...เราไปไหนไปกัน)...วันที่ 18 ธ.ค.53 รุ่นพี่ มศ.5 ปี2521 จะเลี้ยงรุ่นที่กำแพง อ.ทรงวุฒิก็มาด้วย

ควักหัวใจออกมา..   เอาออกมาพิสูจน์....

มาเรียนรู้ห้องเรียนอาจารย์ค่ะ  เยี่ยมมากค่ะ

เด็กๆตั้งใจดีนะคะ 

                          

เเวะมาส่งอาหารสุขภาพครับ อาหารทำทานที่บ้านวันหยุด

สวัสดีครับ ผมเห็นด้วยครับ

ความจริงแล้วการท่องจำไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรหรอกครับ บางเรื่องบางอย่างเด็กจำได้ดีด้วยซ้ำ อยู่ที่ว่าครูทำอย่างไรให้เด็กสนุกกับการจำ และต้องรู้ด้วยนะว่า จำแล้วได้อะไร ใช้อย่างไร ที่สำคัญสิ่งที่ครูให้จำต้องถูกต้องและคงทนแม้เวลาผ่านไปนานแค่ไหนสิ่งนั้นต้องไม่เปลี่ยนไปจริงไหมครับ

ที่ขาดหายและน่าห่วงคือ

การนำข้อมูลจากการท่องจำ..นำไปใช้

ถ้าไม่มีฐานจากการจำ   การนำไปใช้จะได้อย่างไร

  • สวัสดีครับ อาจารย์ธนิตย์
  • การท่องจำ จำเป็น หรือไม่จำเป็น แต่ผมก็ยังให้นักเรียนท่องอยู่ครับ
  • พวกสูตรคณิตศาสตร์ บางครั้งก็จำเป็นต้องจำ
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆ ครับ
  • บางคน จำ แต่ไม่ ท่อง
  • บางคน ท่อง แต่ไม่ จำ
  • บางคน ไม่จำ ไม่ท่อง
  • บางคน ไม่ท่อง ไม่จำ
  • บางคน จำ
  • บางคน ท่อง
  • ผมคือคน บางคน ข้างบนนี้แหละครับ ครูธนิตย์
  • -ปณิธิ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเยี่ยมชมครับ

หลักการเเละเหตุผลอยู่ในบันทึกนี้ครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/412209

ฝาก หลักสูตร ด้วยนะครับ ...

สำหรับนักเรียนหลายๆ คน การท่อง ช่วยให้เขาจำ นำไปใช้

กระติกเป็นพยาบาลได้ ก็เพราะการท่องจำ

ตอนเรียนต้องท่อง และจำให้ได้ ว่าเส้นเลือดอะไร เส้นประสาทอะไร อยู่ตรงไหนบ้าง การฉีดยา ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดอันตราย  สารพัดที่จะต้องท่องและจำให้ได้ค่ะ

 

มาช่วยยืนยันค่ะ ว่าการท่องจำ ยังเป็นอยู่ และหลายๆวิชาต้องท่องศัพท์ให้ได้ควบคู่กับการทำความเข้าใจตามมา (เข้าใจ แต่ไม่จำก็งง ๆ เหมือนกันว่าทำได้ยังไง meepole นศ.ของก็ชอบใช้คำนี้ เลยติด E ไปเยอะแล้ว เพราะเขียนตอบไม่ได้ ลืมจำ!!)

ในอดีตนานมามากแล้ว meepole ได้คะแนนสูงสุดของระดับอยู่ 2 วิชาตลอดมา คือ ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ (แม่จ้างให้ท่องศัพท์ 10 คำ 1 บาท) ท่องแหลกจนหมูออมสินอ้วนพี และเชื่อใหมคะว่า ยังจำชีววิทยาจนปัจจุบัน จำได้แม่นกว่านศ.ที่กำลังเรียนอยู่อีก เพราะถามเมื่อใด ก็ตอบได้อย่างเดียว "หนูลืมค่ะ"

ไม่ทราบว่า สมองเด็กรุ่นใหม่นี่ no convolution or less fissure กันแน่ แซวเด็กเสมอ แต่ ไม่ make sense เลยค่ะ เฮ้อ!!!

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราเป็นประเภทท่องจำเหมือนกันค่ะ ถ้าท่องแล้วยังไม่จำ ทีนี้ถึงคราวต้องจดค่ะ อิอิ
  • ระลึกถึงกันเสมอค่ะ

                  

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทาย

อาจารย์สบายดีนะคะ สำหรับวันหยุดชดเชย

ขอบคุณที่ไปชมภูทอกค่ะ ถ้าผ่านไปอย่าลืมแวะ

             

ความสามารถให้การจำของแต่ละคนจะไมเท่ากันและไม่เหมือนกัน นักเรียนที่ความจำไม่ค่อยดีอย่างผม ถ้าเรียนให้ทันเพื่อนก็ต้องท่องจำ ถ้าไม่ท่องจำก็จำไม่ได้ ผมสงสารนักเรียนที่พยายามจำ พยามยามอ่านนะครับ แต่ก็ยังทำข้อสอบไม่ได้ ผมเป็นกำลังใจให้นักเรียนพวกนี้ทุกคน เพราะหัวอกเดียวกับผม

ตามแนวคิดปรัชญญา ร่วมสมัย น้ำเต็มแก้วใบที่ 1เต็ม จึงจะสามารถรับน้ำเต็มแก้วใบที่สองได้ ซึ่งตรงกับคำว่า จงทำตนเสมือนน้ำเต็มแก้ว ของฝรั้ง ต่างจากไทย ที่พยามสอนปรัชญญา จงทำตนให้เสมือนน้ำไม่เต็มแก้ว การแสงหาความรู้ความจำ แบบเต็มแก้ว เราจึงได้แค่แก้วเดียว... (Constructivism)

ญีปุ่น มีแนวคิดแบบนี้เช่นกันแต่เป็น บันไดแห่งการเรียนรู้ มาดังและโกยเงิน จากเด็กไทยเราไม่น้อย แค่แนวคิด นั้นหรือ...

ความจำจึงเป็นบันใดที่สำคัญ จำภายใต้จิดสำนึก และนึกได้ แบบจิตวิทยาการเรียนรู้ ยังใช้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท