ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... Shopping KM สไตล์ สบาย สบาย (9)


การเล่าของเรานี้ เราจะไม่ได้เล่าแบบเป็นทางการ เพราะว่าเมื่อไรเป็นทางการแล้ว คนมักจะรู้สึกระมัดระวังตนเอง ในการพูดหรืออะไร เราพูดในฐานะพี่กับน้อง หรือในฐานะเพื่อนกับเพื่อน ให้เขาเล่าให้เราฟัง ตรงนั้นคือ Guide ของการทำ KM Spy ของเรา

 

คุณยุพิน โจ้แปง นักเทคนิคการแพทย์ 7 ... คุณอำนวย ผู้แสวงหาโอกาสของการเกิด KM ในหน่วยงาน คุณยุพิน หรือพี่โจ้ของน้องๆ และน้องโจ้ของพี่ๆ หรือเพื่อนซางคำ ของหมาน้อย ชาว ศูนย์อนามัยที่ 5 อาชีพอยู่ห้องแลป ก็ออกมาจากประตูห้องแลปมาทำงาน KM ของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ค่ะ

คุณยุพิน โจ้แปง ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาศูนย์อนามัยที่ 5 เริ่มดำเนินการ KM มาตั้งแต่ปี 2548 และก็เหมือนกับทุกศูนย์ฯ คือ กรมฯ ให้เราไปจัดตั้ง ชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP) ในการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่พอหลังจากที่เราทบทวนกิจกรรมของเราแล้ว เราก็ทำ CoP ไป 2 กลุ่ม (... จริงๆ มันก็กลายเป็น Community of Interest ก็คือเหมือนกับว่าเป็นกลุ่มที่สนใจ มันยังไม่ถึงการปฏิบัติจริง)

ชุมชนของเรามีอยู่ 2 กลุ่ม คือ เรื่อง "ชมรมบริหารจิตเพื่อชีวิตเป็นสุข" และ "ชมรมภาษาอังกฤษ" พอหลังจากที่เราดำเนินการไปแล้ว 1 ปี เราก็มาทบทวนว่า เราได้อะไรไหม ... ได้ความรู้จากชมรมนั้นหรือเปล่า หรือได้ดึงความรู้ หรือขุมความรู้ หรือสกัดความรู้จากตรงนั้นออกมาได้ไหม ซึ่งพอทบทวนแล้ว พบว่า ... มันเป็นนามธรรม แต่ว่ามันสามารถสัมผัสได้ยังไง ก็มีเรื่องเล่าให้ฟังว่า การสัมผัสของเราในเรื่องของการฝึกสมาธิ หรือฝึกปฏิบัติอะไรต่างๆ เพราะว่าโจ้ก็เป็นสมาชิกตรงนี้ด้วย ... ก็มีเรื่องเล่าว่า มีพี่เขาเป็นมะเร็ง แต่ว่าเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้ ก็ไปถามเขาว่า เอ เขาทำยังไง คิดยังไง เขาก็บอกว่า คนเราเกิดมา ถึงไม่ได้เป็นมะเร็ง ก็เกิดครั้งนึงแล้วก็ตายครั้งนึง คนที่เป็นมะเร็งก็เหมือนกัน เขาก็เกิดครั้งนึง และตายครั้งนึง เพราะฉะนั้น ทุกคนก็สามารถเกิดครั้งเดียว และก็ตายครั้งเดียว ทำไมเราจะไม่ทำให้ชีวิตของเรามีความสุข ... ณ ปัจจุบัน เขาสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ถึงแม้ว่าเขาจะต้องฉายแสง หรือกินยาเคมีบำบัด เขาก็สามารถทำให้ชีวิตของเขาเป็นสุข

ทีมศูนย์อนามัยที่ 5 และ KM Spy จาก KM Team ... คุณศรีวิภา

ภาพนี้คุณศรี เธอเข้าไปเป็น Spy ล้วงความลับจาก KM Spy ของโคราชมาอีกทีจ้ะ 

แต่ว่า สิ่งที่ต่างๆ เหล่านี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการความรู้ เราไม่สามารถดึงความรู้ตรงนี้ออกมาถ่ายทอด มันจะต้องเป็นลักษณะของการฝึกปฏิบัติว่า การที่เราจะปฏิบัติ มันได้อะไรขึ้นมา

ในจุดนี้เราก็ถามชุมชนว่า เอ แล้วเราจะทำยังไงเกี่ยวกับศูนย์อนามัยที่ 5 ดีนะ เพราะว่า ศูนย์ต้องทำแผนการจัดการความรู้ภายในองค์กร ผอ.ศูนย์อนามัยที่ 5 บอกว่า ศูนย์ 5 จะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ... แล้วเราจะทำยังไง 

พอปี 2549 เราก็เลยเริ่มบทบาทของเราอีก โดยเชิญคุณหมอนันทา และทีมงาน ไปอบรม เรื่อง การเป็น Facilitator และ Notetaker ให้ เรากำหนดรายละเอียดคำว่า F A ไว้ว่า ... F ของเราคือ Future คือ เดินไปข้างหน้า และ A คือ Active หมายความรวมว่า "เราต้องมีความกระตือรือร้น"

ในกลุ่มแกนนำ KM ของเราทั้งหมดมี 11 คน (รวม CKO) ทุกคนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก KM มาด้วยความสมัครใจ มีความตั้งใจ กลุ่มแกนนำของเราส่วนใหญ่เป็นระดับกลาง พร้อม น้องๆ อายุก็ยังไม่ถึง 30 กัน มีพี่ใหญ่ อายุ 40+ ทุกคนจะค่อนข้าง active ค่อนข้างคิดที่จะทำยังไง ให้เกิดการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน และเราจะเริ่มต้นยังไง

ในเมื่อเราไปคุยกับทีมงาน หรือคุยกับสมาชิกในศูนย์อนามัยที่ 5 คำพูดที่ว่า "KM" เขาก็บอกว่า งานประจำเขาก็เยอะแล้ว ทำไมจะต้องมาเชิญประชุมอีก ซึ่งจริงๆ แล้ว KM เป็นการไปเพิ่มงานให้ประสบความสำเร็จ ให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ... แต่เวลานำไปปฏิบัติ คือ พอน้องๆ เข้าไปนี่ ก็กลายเป็นเพิ่มภาระงาน ติดปัญหาเรื่อง เห็นการประชุมที่จะต้องทำเท่านั้น เท่านี้ เป็นเรื่องแล้วจะเอาเวลาที่ไหนมาพูดคุยกัน

เราจึงมามองบทบาทของ FA หรือแกนนำของเราคือ จะทำยังไงให้คนมาคุยกัน หาเวทีมาให้เขามาแลกเปลี่ยนกัน เราก็ เอ๊ะ จะทำยังไงดี มีครั้งนึง ดิฉันเข้าร่วมประชุมในฐานะที่เป็นกรรมการของ ศูนย์อนามัยที่ 5 เขาก็มีการนำเสนอในเรื่องของ Food spy / Toilet spy เราก็มีความรู้สึกว่า เอ ได้ตัว spy อันนี้น่ะ เราเอามาทำเป็น KM Spy ได้ไหม เราก็คิดว่า เราน่าจะเอามาทำตรงนี้ได้ คือ ตอนนี้มันเป็นลักษณะของการ Direct sale และถ้าเรา

ลองทำว่า ในฐานะที่เรามีทีมอยู่ 10 ท่าน ไม่รวม CKO เราลงไปคุยกับเพื่อนๆ เราซิว่า เขามีอะไร คือ มีความรู้ที่อยู่ในตัวของเขาน่ะ คือ ปกติ เวลาเราไป share ความรู้ หรืออะไรกัน มันต้องเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ดีก่อน
เพราะฉะนั้น อะไรที่ใกล้ๆ กัน ก็คือ หาเพื่อนสนิท และให้คุยให้เราฟัง และเราสกัดเอาความรู้ตรงนั้นออกมา แต่ว่าส่วนใหญ่พวกเราจะเป็นนักพูด เราไม่ได้เป็นนักฟัง เราก็คิดจัดหลักสูตรขึ้นอันหนึ่ง คือ สุนทรียสนทนา โดยเชิญวิทยากรจากเชียงราย มาฝึกอบรมให้เรา 3 วัน 3 คืน ก็เอาแกนนำทั้งหมด และผู้ที่สนใจของ ศูนย์อนามัยที่ 5 ทั้งหมดเข้าร่วมอบรม สิ่งที่เราได้จากการอบรมในครั้งนั้น คือ เราเป็นนักฟัง ก็คือ เราฟังเขา ให้เขาพูดจนจบ และจับประเด็นในการพูดจากเขา เพื่อที่เราจะได้สกัดเอาความรู้ตรงนั้นออกมาให้ได้ ... เราก็ได้ฝึก ในลักษณะเหมือนกับว่า เวลาเราไปคุยกับใคร ถ้าเราให้ความสนใจในเขา เขาก็ย่อมจะให้ความรู้แก่เราออกมา เขาก็เรียกว่า เป็นการเชื่อมใจกันก่อน

แล้วเราก็ดำเนินการกลวิธี KM Spy เราก็ให้น้องๆ แต่ละคนก็ลองไปคุยกับคนในศูนย์ ตอนแรกๆ ก็ไม่มีทิศทางในการดำเนินงาน เขาอยากจะคุยอะไร เราก็คุยกับเขาทุกเรื่อง และเราพยายามสกัดเอาความรู้ตรงนั้นออกมา ก็มีอยู่ครั้งหนึ่ง จากประสบการณ์ของตัวเอง ได้ไปร่วมประชุมกับพี่ท่านหนึ่ง เผอิญนอนห้องเดียวกัน แล้วก็รู้สึกว่า อยากรู้ว่าพี่เขามีเป้าหมายของการดำเนินงาน ในเรื่อง การนิเทศติดตามงาน เขาดำเนินงานยังไง เพราะเราเองก็เป็นนักเทคนิคการแพทย์ โอกาสที่เราติดตามงานจะน้อยมากพี่เขาก็เล่าให้ฟัง

แต่ว่าการเล่าของเรานี้ เราจะไม่ได้เล่าแบบเป็นทางการ เพราะว่าเมื่อไรเป็นทางการแล้ว คนมักจะรู้สึกระมัดระวังตนเอง ในการพูดหรืออะไร เราพูดในฐานะพี่กับน้อง หรือในฐานะเพื่อนกับเพื่อน ให้เขาเล่าให้เราฟัง ตรงนั้นคือ Guide ของการทำ KM Spy ของเรา

ต่อจากนั้น ทุกเดือนเราจะมีการประชุมกรรมการ KM ทุกคนก็จะเอาเรื่องเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยต่างๆ ของตนเอง เข้ามาเล่า และจัดทำเป็นจดหมายข่าว (ซึ่งเราทำมาตั้งแต่ปี 2548 ปีนี้เป็นปีที่ 2) ก็มีจดหมายข่าวต่างๆ มีเกร็ดความรู้ต่างๆ ลงใน Intranet ของศูนย์อนามัยที่ 5 เราก็จะส่งเกร็ดความรู้ทั้งหมดใส่ลงไป เป็นความรู้ที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับหน่วยงาน เราก็มีการดำเนินการ

หลังจากนั้นเราก็มีความรู้สึกว่า ที่เราตั้งเป้าไว้ว่า เราอยากจะรู้เรื่องอะไร คือ มีเป้าหมายอยู่ในใจ แล้วเราก็ไปคุยกับเขา เขาคือใคร บุคคลที่มีความรู้ใน ศูนย์อนามัยที่ 5 แต่ว่าเรามีเป้าหมายแล้วละ ว่าเราอยากจะได้ความรู้ในเรื่องไหน เช่น ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ก็มีพี่คนหนึ่งเขาเก่งมากในเรื่องการ ปชส. การสร้างเครือข่าย กับนักข่าว กับทีวี กับวิทยุต่างๆ ก็คือ เขามีวิธีการยังไงที่ดำเนินการ เราก็ส่ง Spy ของเราเข้าไปคุยกับ เราเรียกตัวเองว่า Spy แกนนำของเราก็จะเป็นเด็กๆ ไปคุย และพี่เขาก็จะเล่าให้เราฟัง อาจจะเป็นช่วงทานข้าวเที่ยง หรือในรถระหว่างเดินทางมาทำงาน (เพราะศูนย์อนามัยที่ 5 จะมีรถตู้รับ-ส่ง เจ้าหน้าที่ จากในเมืองมาที่ทำงาน ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง)

หรืออีกเรื่องหนึ่ง ก็เป็นการยกระดับของเราเองในงานต่างๆ ที่ยังไม่เข้าถึง กลุ่มของเราก็จะเป็น Spy อยู่ในทีมงานต่างๆ ด้วย พยายามสกัดเอาความรู้ จากการที่เขาเข้าร่วมประชุม เพราะปกติความรู้ KM มีอยู่มากมาย แต่ว่าการที่เราไม่ได้มีการบันทึกกัน ตอนนี้พวกเราแกนนำ 10 คนนี่ ก็ให้มีการบันทึก และนำมาสะสมเป็นองค์ความรู้ของศูนย์ 5 ได้ความรู้มาเยอะ และตอนนี้ก็อยู่ในขั้นตอนของการจัดเป็นหมวดหมู่

พัด KM Spy  ความรู้ที่ขโมยเขามาจ้ะ

ในวันนี้ (ที่แผงของศูนย์ 5 ในตลาดนัด KM) เราทำพัด KM Spy มาแจก พัดนี้มีน้องเสิดที่ไปทำกิจกรรมในกลุ่มพี่เลี้ยงเด็ก ที่คิดทำเรื่องสื่อการสอนเด็กอยู่แล้ว เขาปิ๊งไอเดียของพี่เลี้ยงเด็ก ... เราก็มี สคส. เก่า น้องเสิดเขาอยู่ห้องโสตฯ จะเก็บพวกนี้ไว้ และเราคิดถึงความรู้ จาก อ.ประพนธ์ ที่บอกว่า เราสามารถลอกเลียนแบบได้ และการจัดการความรู้ต้องมีการยกระดับของความรู้นั้น เราก็เลยไปทำลอกเลียนแบบ และมีความรู้ตรงนั้นด้วย เพื่อยกระดับของความรู้ตรงนั้นขึ้นมา ก็เลยมาทำพัดความรู้ KM Spy แจกที่นี่ และเราก็ดีใจที่จะโชว์ความรู้ เพราะเราต้องการจะเชื่อม สิ่งที่พวกเรารู้สึก คือ เรารู้สึกว่า เราให้ใจ ให้ความรู้กับเขา เราก็จะได้ความรู้นั้นกลับคืนมา เพราะฉะนั้นอันนี้ก็

เป็นอันหนึ่งที่เราคิดว่า เป็นความภาคภูมิใจของเราทั้งหมดที่เข้าไปทำมาแล้วนั้น ตอนนี้มันคงยังไม่หลากหลาย เพราะเรื่องนี้ ยังทำค่อนข้างน้อย เพราะแต่ละคนจะมีงานประจำอยู่ และกิจกรรมต่างๆ นั้น เป็นการเริ่มต้น

ส่วนเรื่องชมรมภาษาอังกฤษ ซึ่งทำเป็น CoP ตั้งแต่ปี 2548 ก็เหมือนกัน พอจะเป็นรูปธรรมที่ว่าความรู้ต่างๆ มันอยู่ในตำราเยอะแยะมากมาย แต่ว่า การฝึก การพูดภาษาอังกฤษ ก็ไม่มีคนต่างชาติเข้ามาใช้บริการใน ศูนย์อนามัยที่ 5 โอกาสที่เราจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือพัฒนาการพูด การฝึกของเรา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของการฝึก โดยคนไทยคุยกันเอง จึงเหมือนกับว่า ยังไม่ใช่การฝึกทักษะมากมาย อันที่จริงเราก็ต้องการคุยกับชาวต่างชาติ

ในปี 2549 นี้ หน่วยงานของเราก็ค่อนข้างกำลังเริ่มต้นในเรื่องการจัดการความรู้ เราเริ่มเห็นภาพมากขึ้นว่า เราจะจับความรู้ในศูนย์อนามัยที่ 5 ยังไงเมื่อพี่เขาเกษียณไป เราจะดึง tacit knowledge ของพี่เขาออกมาได้ยังไง จะสกัดขุมความรู้ในส่วนของศูนย์อนามัยที่ 5 ได้อย่างไร

พัด KM Spy ของศูนย์ฯ ทำง่ายๆ นะคะ ประกอบด้วย ด้านหนึ่งเป็นภาพ สคส. อีกด้านหนึ่งเป็นความรู้ KM ที่ศูนย์ฯ สกัดมา โดยส่ง Spy เข้าไปในกลุ่มผู้เล่าความสำเร็จ แล้วนำเรื่องเล่านั้นมาเล่าสู่กันฟังต่อในพัดเล่มนี้

และเรื่อง KM ในรถตู้ก็มีบางที่เคยทำเหมือนกัน เช่น ศูนย์อนามัยที่ 1 เขาก็ทำ AAR (After Action Review) ในรถตู้เหมือนกัน เป็นการสรุปผลการไปทำงาน และมอบหมายงานต่อเสร็จสรรพในรถตู้นั่นละค่ะ

KM Spy ของศูนย์อนามัยที่ 5 และ KMTeam กรมอนามัย

นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ ... KM Spy ของศูนย์อนามัยที่ 5

 

หมายเลขบันทึก: 40879เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
...ประเด็นที่พี่เม่ยคว้าได้ก็คือ...
ทีม KM Spy มีการสร้างเอกลักษณ์และวางแนวทางการทำงานของตนเองได้อย่างโดดเด่นมากค่ะ คือ
  • มีพัด KM_Spy เอกลักษณ์ของทีม
  • มีคุณค่าร่วมกันกับคำว่า Future, Active
  • วางบทบาทสมาชิกทีมที่เป็นทั้งคุณอำนวยและคุณลิขิตผสมผสานกันอยู่ "เรียกว่าคุณอำนวยช่วยลิขิต?"
ไม่ทราบว่าในรายละเอียดการดำเนินงานของทีมมีการแบ่งขอบข่ายของหัวเรื่องที่ spy แต่ละท่านต้องรับผิดชอบไปขุดค้นหาความรู้ไหมคะ หรือว่าทำไปรวมๆกัน...ใครพบเรื่องอะไรก็นำมาใส่พัดไว้?....ที่จริงความรู้ในพัดแต่ละใบถ้าคุณยุพินนำมาเขียนเล่าเรื่องเป็นแต่ละบันทึกใน G2K ได้เนี่ย...จะมีประโยชน์มากเลยนะคะ
  • อีกอย่างค่ะ เนื่องจากคุณยุพินเป็นนักเทคนิคการแพทย์ ไม่แน่ใจว่ามี  tacit knowledge ที่ขุดได้เกี่ยวกับเรื่องทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บ้างไหมคะ สนใจ๊...สนใจค่ะ

น้องโจ้ที่รัก พี่เม่ยกำลังตามหาเพื่อนชาวเทคนิคฯ จ้ะ ... ไม่ไกลกันหรอกนะ พี่เม่ยอยู่สงขลา และน้องโจ้อยู่โคราช ใกล้กันนิดเดียวเอง

คุณหมอนนท์คะ
เห็นภาพพัดแล้วคิดต่อว่า ถ้ารูปทรงเหมือนพัดจริงๆ (กลมๆ...  หรือคลี่ออกมาได้แบบพัดจีบ) ก็ เจ๋ง!ไปเลย...

ว้าว อารมณ์ศิลปินของพี่เม่ยออกมาอีกแย้ว ... ข้าน้อยจะไปกระจาย idea ต่อจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท