สมุนไพร 150 ชนิด ช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้โดยนำมาทำอาหารเป็นยาเพื่อสุขภาพลดน้ำตาลในเลือด


สมุนไพร บำบัดเบาหวาน 150 ชนิด โดยเภสัชกร หญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก

สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด จากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน ผ่านการวิจัยและทดลองแล้วในต่างประเทศและประเทศไทย รวบรวมเรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช. ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม.ขอนำข้อมูลชื่อของสมุนไพรและวิธีใช้มาบอกกล่าวให้ทราบตามที่อาจารย์เขียนไว้ในหนังสือ



1. กระเจี๊ยบ วิธีใช้ นำผลอ่อน มาปรุงอาหารเป็นผักจิ้มน้ำพริก

หรือทำเป็นผลแห้งนำมาบดเป็นผง ชงรับประทานกับน้ำ

ใช้รักษาโรคเบาหวานและกระเพาะอาหาร

2. กระชับ วิธีใช้ นำรากสด 120 กรัม ทุบให้แตกต้มกับน้ำ 3 แก้ว

ต้มให้เดือดนาน 20 นาทีแบ่งน้ำมาดื่มตอนเช้า –เย็น ก่อนอาหาร

3. กระถิน วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินมาบดเป็นผง หรือคั่วกินเป็นอาหาร

ปรกติยอดและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกเป็นอาหาร

4. กระถินเทศ วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินเทศ มาบดเป็นผงหรือคั่วกินเป็นอาหาร

5. กระเทียม วิธีใช้ ให้กินกระเทียมสด 3-5 กลีบ/วัน เป็นประจำ

โดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2ช้อนชา (10 กรัม)

กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน

มีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสด

ต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีนเช่น เนื้อ ไข่

6. กระเพรา วิธีใช้ ทำเป็นชาชงดื่ม โดยนำใบกระเพรามาตากแห้ง

ชงดื่มแทนน้ำ ปรุงเป็นอาหาร

7. กะหล่ำปลี วิธีใช้ นำใบกะหล่ำปลี มาปรุงเป็นอาหารไม่จำกัดจำนวน

8. กำแพง เจ็ดชั้น วิธีใช้ นำต้นกำแพงเจ็ดชั้นมาต้มดื่มทั้งวัน

9. กรดน้ำ วิธีใช้ นำต้นและใบสด 1 กำมือมาต้ม 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที

แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร

10. กรุงเขมา วิธีใช้ นำต้นและใบ 10กำมือ ต้มนาน 30 นาที

แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร


11. กานพลู วิธีใช้ นำดอก ปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศ ปรุงรสอาหาร

12. กาแฟ วิธีใช้ นำเมล็ดที่คั่วแล้ว มาชงกับน้ำร้อนเป็นเครื่องดื่ม ยามว่าง

13. โกฏกระดูก วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัมมาทุบให้แหลก

ต้มน้ำต้มนาน 30 นาที ดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

14. กล้วย วิธีใช้ ดอกหรือปลี นำมาปรุงอาหาร

15. ข้าว วิธีใช้ ใช้ส่วนราก นำมารับประทาน อาจอยู่ในรูปเครื่องดื่ม

16. ข้าวสาลี วิธีใช้ นำรำข้าวสาลีมาชงน้ำร้อน ดื่มเช้า- เย็นก่อนอาหาร

หรือนำเมล็ดข้าวสาลีปรุงเป็นอาหารในรูปของธัญพืช

17. ข้าวโพด วิธีใช้ ยอดข้าวโพด 100กรัมนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

หรือฝอยข้าวโพด 1 กรัม นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

18. ขนุน วิธีใช้ นำใบขนุนแก่ 5-10 ใบ มาต้มในน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที

นำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

19. ขิง วิธีใช้เห้งาขิง แก่สด มาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วย ต้มกินน้ำ 2 ถ้วย

ดื่มวันละ 3 ครั้งอาจเติมเกลือ มะนาวเพื่อเพิ่มรสชาติ

หรือใช้ผงขิง 1-2 ช้อนชาชงน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ

20. คูณ วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัม มาทุบให้แหลก

นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30นาที แบ่งดื่ม เช้า เย็น ก่อนอาหาร



21. คึ่นไฉ่ วิธีใช้ ใช้ต้น ก้าน ใบ นำมา 1กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือคั้นน้ำ

ทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม เช้า –เย็น ก่อนอาหารหรือนำมาผัดทำเป็นอาหาร

22. คำแสด วิธีใช้ เมล็ด 110-120 กรัม หรือ รากสด 90-120 กรัม

ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

23. แครอท วิธีใช้ รากหรือหัวนำมาทำสลัด แกงจืด ผัดผัก

คั้นเป็นเครื่องดื่มและแต่งสีอาหารให้มีสีเหลืองหรือส้ม

24. แคแดง วิธีใช้ นำต้นและเปลือกต้น 1 กำมือต้มน้ำดื่ม

แทนน้ำหรือนำดอก ยอดอ่อน มาลวกจิ้มน้ำพริก หรือ ทำเป็นแกงส้ม

25. คาง วิธีใช้ เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

26. จำปา รากสด 90- 120 กรัม ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

27. จิกนา วิธีใช้ นำเปือกต้นและราสด 90-120 กรัม มาต้มน้ำดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร

28. ชาแป้น วิธีใช้ นำรากสด90-120 กรัม มาทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว

นาน 30 นาที แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร วิธีใช้ ใบแห้ง 1 หยิบมือ

ชงน้ำร้อน 1-2แก้วทิ้งไว้ 5-10 นาทีนำมาจิบบ่อยๆดื่มต่างน้ำ

29. ชา วิธีใช้ นำใบสดหรือแห้ง 1 กำมือนำมาต้มน้ำดื่มเคี่ยวนาน 30นาที

แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

30. ชุมเห็ดเทศ วิธีใช้ นำใบสด หรือแห้ง 1 กำมือนำมาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน30 นาที แบ่งมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร


31. ชะพลู วิธีใช้ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 จำนวน 7 ต้นล้างน้ำให้สะอาด

ใส่น้ำพอท่วมต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่มเหมือนดื่มน้ำชา

32. ชงโค วิธีใช้ นำใบแห้ง 1กำมือ ต้มน้ำดื่มตลอดวัน

33. ชิงช้าชาลี วิธีใช้ นำต้นใบ เถา 1 กำมือ ต้มน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 10-15 นาที

นำมาแบ่งดื่ม เช้า-เย็น หรือใช้ราก 90-120 กรัมทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่ม เช้า –เย็น

34. เดือย วิธีใช้ นำลูกเดือย มาต้มกินเป็นอาหารว่าง

35. ดีปลี วิธีใช้ ผลแห้งดับกลิ่นคาวในแกงเผ็ด แกงคั่ว ใช้ถนอมอาหารไม่ให้บูด

หรือนำรากและลำต้นสด 1 กำมือ มาต้มนาน 20 นาที ดื่ม เช้า-เย็น

36. ตะโก วิธีใช้ นำส่วนของลำต้น ( แก่น) หรือเปลือก 4-6 ชิ้น มาต้มน้ำ 1 ลิตร ดื่มต่างน้ำ

37.ตำลึง วิธีใช้ ขนาดที่ใช้ ใบสดตำลึง 250 กรัม

ต่อน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม เช้าเย็น วันละ 2 ครั้ง

38. เตยหอม วิธีใช้ นำรากเตยหอม 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เช้า - เย็น

39. ถั่วเขียว วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเขียวมาต้มน้ำใช้น้ำตาลเทียม

เป็นของหวานหลังอาหาร หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร

40. ถั่วแระต้น วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วแระต้น มารับประทานเป็นของกินเล่น



41. ถั่วเหลือง วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเหลืองมาทำเป็นน้ำถั่วเหลือง

ดื่มเป็นเครื่องดื่มแทนอาหารว่าง หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ นำมาปรุงอาหาร

42. ท้อ วิธีใช้ ใช้เมล็ดแห้งนำมาตำให้ละเอียดตวง1-2ช้อนชา

หรือเมล็ดสด 4 กรัมชงน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหารไว้ชงกินกับน้ำร้อน

43. ทับทิม วิธีใช้ นำเมล็ด มารับประทานหรือนำมาตากแห้ง

บดเป็นผงตวง 1-2 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น

44. โทงเทง วิธีใช้ ใช้ราก 1กำมือ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ2 ครั้ง เช้า-เย็น

45. ทองพันชั่ง วิธีใช้ นำส่วนของต้นกับใบมา 1กำมือ ต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

46. ทองหลางใบมน วิธีใช้ นำใบทองหลางมาทานเป็นอาหาร

47. เทียนเกล็ดหอย วิธีใช้ นำเมล็ดมาแช่น้ำให้พองตัวแล้วดื่ม ขนาดที่ใช้ 7.5 กรัม

48. เทียนเยาวพานี วิธีใช้ เมล็ดแห้ง 7.5 กรัมนำมาแช่น้ำนาน 5-10 นาทีแล้วดื่มเช้า-เย็น

49. น้ำเต้า วิธีใช้ นำใบแห้ง 1 กำมือมาชงกับนำร้อนเป็นชาดื่มแทนน้ำตลอดวัน

50. บุก วิธีใช้แยกแป้งเป็นเนื้อทรายแล้วชงดื่ม ใช้แป้ง 1 ช้อน

ต่อน้ำ 1 แก้วชงดื่มวันละ 2-3 มื้อก่อนอาหาร ครึ่งขาวโมง


51. บุกอีรอกเขา วิธีใช้ นำหัวบุก ที่อยู่ใต้ดินมาปรุงเป็นอาหาร

52. บัว วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดหั่นนำมาตากแห้ง คั่วให้หอมเก็บไว้ชงดื่ม

เช่นเดียวกับน้ำชาโดยหยิบเอาดอกบัวตรั้งละหยิบมือเล็กๆชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว

จิบกินไปเรื่อยๆเหมือนน้ำชาชงกิน 3 ครั้งก็ให้เปลี่ยนยาใหม่

53. บัวจงกลนี วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดมาหั่นนำมาตากแห้งคั่วให้หอม

เก็บไว้ชงดื่มกับน้ำร้อน หรือใช้ดีบัวแห้งครั้งละหยิบมือเล็กๆ

ใส่น้ำร้อน 1 แก้ว ชงดื่มไปเรื่อยๆแทนน้ำ

54. บวบเหลี่ยม วิธีใช้ นำผลบวบ มาปรุงเป็นอาหาร

55. บอระเพ็ด วิธีใช้ ใช้เถาสด 30-40 กรัมต้มน้ำดื่ม

ข้อควรระวังการใช้ไม่ควรใช้ขนาดสูงติดต่อกันนานๆ

เพราะจะทำให้ ตับ ไต ทำงานผิดปรกติ

56. ประดู่ วิธีใช้ ใบประดู่ 1 กำมือ นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว

แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

57. ปรู๋ วิธีใช้ใบและต้น 1 กำมือ ต้มน้ำ3แก้วเคี่ยวนาน 30นาที

แบ่งน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

58. ปอกระเจา วิธีใช้นำใบปอกระเจา มาทำอาหาร หรือ

ตากใบให้แห้งนำมา 1 กำมือ ชงน้ำร้อนแช่นาน 5-10 นาที

นำมาดื่มแทนน้ำทั้งวัน

59. ผักเชียงดา วิธีใช้ นำผักเชียงดา ต้น ใบ มาปรุงเป็นอาหาร


60. ผักเบี้ยใหญ่ วิธีใช้ นำใบมาตากแห้ง 1กำมือ

นำมาชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

61. ผักกาดแดง วิธีใช้ นำราก 1 กำมือมาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยนาน 20 นาทีนำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

62. ผักกาดน้ำ วิธีใช้ นำทั้งต้นทั้งใบ ราก 1 กำมือ มาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

63. ผักกาดหอม วิธีใช้ นำผักกาดหอมทังต้นและใบมาเป็นอาหาร

64. ผักโขมหิน วิธีใช้นำต้นใบและราก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

65. ผักชี วิธีใช้ เมล็ดผักชี มาปรุงเป็นอาหารบ่อยๆ

66. ผักคะน้า วิธีใช้ นำใบ ต้นมาปรุงอาหารไม่จำกัดจำนวน

67. ผักเป็ดแดง วิธีใช้ นำใบ 1กำมือ มาต้มน้ำ 3แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่ม 1/2แก้ว เช้าเย็น ก่อนอาหาร

68. ไผ่เหลือง วิธีใช้ นำใบแก่ 7-10 ใบนำมาต้มน้ำ 1 ขวดเคี่ยวนาน 30 นาที

นำน้ำที่ได้มาดื่มแทนน้ำทั้งวัน

69. ฝรั่ง วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เคยทราบว่า ถ้ากินฝรั่งวันละ 1 ลูก

ใช้ใบอย่าให้อ่อนและแก่เกินไปล้างให้สะอาด ใช้น้ำ 3 แก้วต้มพอเดือด

เด็ดใบฝรั่งจากกิ่งขยำพอช้ำใส่ในหม้อแล้วเอากิ่งที่เด็ดใบฝรั่ง 6 ใบ

ทุบใส่ลงไปเคี่ยวให้เหลือแก้วเดียว จิบที่ละอึก สองอึกไปเรื่อยๆทำวันละครั้ง

ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลไม่หาย ก็ทำเพิ่มเป็นต้มทีละ 2 หม้อ วิธีเดียวกัน

70. พริกชี้ฟ้า วิธีใช้ นำมาปรุงเป็นอาหาร


71. พริกขี้หนู วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร

72. พริกหยวก วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร

73. พริกไทย วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยดำ มาปรุงเป็นอาหาร

74. โพธิ์ วิธีใช้ นำใบแก่ 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3แก้ว แบ่งดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร

75. พญายา วิธีใช้ นำใบแก่ 1 กำมือมาต้มน้ำ 3แก้ว แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

76. พญาสัตบรรณ วิธีใช้ นำเปลือก ต้น 4-6 ชิ้นมาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาที นำมาดื่มแทนน้ำ

77. ฟ้าทะลายโจร วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นและใบสด 1 กำมือมาต้มน้ำ3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

78. ฟักข้าว วิธีใช้ นำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน มาปรุงเป็นอาหาร

79. มะกอกฝรั่ง วิธีใช้ นำผลมะกอก มาปรุงเป็นอาหารหรือคั้นน้ำจากผล ดื่ม

80. มะตูม วิธีใช้ นำใบมะตูมแก่ 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 15-20 นาทีนำมาแบ่งดื่มตลอดวัน


81. มะขามป้อม วิธีใช้ นำผลสดมาตำแล้วคั้นน้ำดื่มผสมเกลือดื่มเช้า-เย็น

82. มะระ วิธีใช้ ทำอาหารหรือคั้นดื่ม

83. มะระขี้นก วิธีใช้ ใช้ผลต้มรับประทานครั้งละ 6-15 กรัม

หรือผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงหรือชงเป็นน้ำชาดื่ม

84. มะแว้งเครือ วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เอามะแว้งทั้งห้านำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

ตากให้แห้ง แล้วคั่วให้เหลือง เกือบไหม้เก็บไว้ในโหล ใช้ประมาณ 1-2 หยิบมือ

ชงกับชาร้อน 1 แก้ว กินต่างน้ำ ดื่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย ถ้าเป็นยาผง

ให้กินครั้งละ 1ช้อนแกง กับน้ำ 1แก้ว วันละ 3 เวลา กิน 15 วัน จะรู้สึกดีขึ้น

หรือเอามะแว้งเครือ ปรุงเป็นอาหาร กินติดต่อกัน 30 วัน

85. มะแว้งต้น วิธีใช้ ผลใช้ปรุงเป็นอาหาร

86. มะเดื่อชุมพร วิธีใช้ ใช้เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น

87. มะตาด วิธีใช้ นำใบแห้งหรือสด 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหารหรือนำผลสดมาคั้นดื่ม เช้า-เย็น

88. มะม่วงหิมพานต์ วิธีใช้ เปลือกต้น ส่วนในนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

89. แมงลัก วิธีใช้ รายงานการทดลอง เมล็ดนำมาแช่น้ำ 10 กรัม

กินหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างชัดเจน


90. แมงลักคา วิธีใช้ นำใบและต้นสด 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

91. ไมยราบ วิธีใช้ ในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน

92. ยี่หร่า วิธีใช้ นำผลแห้งยี่หร่า นำมาปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่ม

93. ยูคะลิปต์ วิธีใช้ นำส่วนที่อยู่เหนือดินเช่นใบ เปลือกต้น นำมาต้มดืมเช้า-เย็น

94. ระย่อม วิธีใช้ รากแห้ง 100 กรัม ชงน้ำร้อนดื่มเช้า- เย็น

95. ลูกชัด วิธีใช้ ผงจากเมล็ด และสารสกัดจากเม็ด

96. เลียบ วิธีใช้ สารสกัดจากต้น

97. ลูกใต้ใบ วิธีใช้ นำใบและต้น 1-2 กำมือ มาต้มกับน้ำ 3 แก้วแบ่งดื่มเช้าเย็น

98. ลิ้นจี่ วิธีใช้ ใบ 1กำมือ นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

99. ว่านพร้าว วิธีใช้ นำรากสด90-120 กรัม มาต้มน้ำ1-2 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น

100. ว่านพระฉิม วิธีใช้ นำเหง้าขนาด 10-20 กรัม

บดละเอียดนำมาชงน้ำร้อน 1 แก้วดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร


101. ว่านน้ำ วิธีใช้ เหง้าแห้ง 10-20 กรัม หั่นเป็นชิ้น

ชงด้วยน้ำร้อน 1 แก้ว รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้วก่อนอาหารเช้า-เย็น

102. ว่านชักมดลูก วิธีใช้ เหง้าแห้ง 6.9 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 แก้ว

แบ่งรับประทานครั้งละ 1 แก้วเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

103. ว่านหางจระเข้ วิธีใช้ ใช้เนื้อวุ้นสดขนาด 2x2 นิ้ว กินวันละ3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร

104. สะตอ วิธีใช้ นำมาทำอาหารหรือใช้สารสกัดจากเมล็ดสะตอ

105. สะเดา วิธีใช้ นำใบสะเดาไปต้มดื่ม ปรุงเป็นอาหาร แต่ต้องกินทุกวัน

หรือต้มให้เดือดนาน5/10 นาทีใบสด 1 กำมือต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยแก้ว

เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ2 ครั้ง เช้า-เย็นก่อนอาหาร

106. โสมเกาหลี วิธีใช้ ใช้สารสกัด โดยนำรากอายุโสม 5-6 ปี

มาล้างน้ำให้สะอาด ตากให้แห้งในที่ร่มใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์อบในตู้อบ

ที่มีอากาศถ่ายเท 60-80 องศาฯนาน 2-3 วันแล้วเพิ่มเป็น 90 องศา ฯ

ข้อแนะนำ ขณะกินโสม เพื่อให้ได้ผลสูงสุดเวลากินโสมจะต้องเลี่ยงอาหารบางอย่างอย่ากินรวมกัน จะได้ดี อาหารอื่นต้องกินหลังกินโสมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง อาหารเหล่านี้ได้แก่ ผลไม้ที่มีกรดสูงๆ น้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว และห้ามกินวิตามินซีร่วมกับโสม อาหารหรือสารอาหารต่างๆ ดังกล่าวจะไปทำลายฤทธิ์ที่ควรจะได้จากโสม


107. สัก วิธีใช้ นำใบสักมาปิ้งให้สุกกรอบ พร้อมกับใบเตย

ใบสัก 3 ใบต่อใบเตย 7 ใบ เมื่อสุกกรอบแล้วนำภาชนะที่จะใช้ใส่

คือหม้อดินใส่น้ำพอประมาณใส่ใบสักและใบเตยลงใบ ต้มทิ้งไว้สักครู่

เทดูน้ำเป็นสีชาแก่ๆ ไม่ขมมาก ตำรานี้ได้มาจากปักษ์ใต้ดื่มเป็นประจำเช้า-เย็น

108. ส้มกบ วิธีใช้ ใช้รับประทานเป็นผัก ทำอาหาร

109. ส้มกุ้ง วิธีใช้ใช้เมล็ดส้มกุ้ง ที่แห้งนำมาป่นเป็นผง

ใช้ 1-2 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น

110. สายน้ำผึ้ง วิธีใช้นำดอกแห้ง 30 กรัม ดอกสด 90 กรัม

ต้มน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ หรือใช่เถาหรือใบก็ได้ ต้มน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ


111. สนทะเล วิธีใช้นำแก่น 3-5 ชิ้น มาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น

112. ส้มเกลี้ยง วิธีใช้ นำผลมารับประทานเป็นของว่าง

113. โหราข้าวโพด วิธีใช้ ใช้ส่วนที่เป็นเหง้ามาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น


114. หญ้าหนวดแมว วิธีใช้ วิธีดื่มชาหญ้าหนวดแมว โดยทั่วไปให้ใช้ใบ

และก้านแห้ง 1 หยิบมือ(5 กรัม) ชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร (3-4 แก้ว)

ดื่มครั้งละ 1 แก้ววันละ 3 ครั้งหรือดื่มต่างน้ำ


ข้อควรระวัง

1. เนื่องจากหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปรตัสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ

2. ควรใช้ชงไม่ควรใช้ต้ม และควรใช้ใบอ่อน ไม่ควรใช้ใบแก่

เพราะอาจมีตัวยาออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ

ทำให้หายใจผิดปรกติใช้ใบอ่อนหรือยอดอ่อน(มีใบอ่อน 2-3 ใบ)

ควรเก็บตอนที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอกเพราะจะเป็นช่วงที่มีสาระสำคัญมาก

(แต่ไม่ใช้ดอก)

3. ถ้าใช้ใบสด จะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นจึงควรใช้ใบตากแห้ง

4. สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน

5. ใบกิ่งหรือใบแก่ จะมีสารที่มีฤทธิ์บีบหัวใจ ทำให้ใจสั่น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรใช้

หรือควรระวังในการใช้ยา ควรเลือกเก็บแต่ใบอ่อนและยอดอ่อนจะปลอดภัยที่สุด


115. หญ้าพันงูขาว วิธีใช้ นำทั้งต้นสดและใบสด มา1กำมือ ต้มกับน้ำ 3แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาที นำน้ำที่ได้แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

116. หญ้าหวาน วิธีใช้ นำมาผสมในเครื่องดื่ม หรืออาหารให้รสหวานแทนน้ำตาล

117. หญ้าใต้ใบ วิธีใช้ นำทั้งต้นและใบ 1กำมือ มาต้มดื่ม 3

แก้วเคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งมาดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

118. หญ้าต้อมต๊อก วิธีใช้ นำผลแห้งมาบดเป็นผง ตวง 1-2 ช้อนชา

ชงน้ำร้อน 1แก้ว ดื่มเช้า-เย็น

119. หม่อน วิธีใช้ ใบ ใช้ใบอ่อน และแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ชงน้ำดื่ม

เปลือกรากใบหม่อน นำมาทุบให้แหลก 90-120 กรัม มาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น

หรือปัจจุบันมีการแปรรูปใบหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ ชา ทั้งชาเขียว

และชาดำ ชงน้ำดื่ม เช้า-เย็นได้เช่นกัน

120. หว้า วิธีใช้ เมล็ด ต้มหรือบดรับประทาน


121. หนุมานประสานกาย วิธีใช้ ใช้ใบสดๆเคี้ยวครั้งะ 2 ช่อ

หรือนำมาตำให้ละเอียดรับประทานวันละ 1-3 ครั้งก่อนอาหาร

หรือใช้ใบตากแห้ง 1-3 ช่อนำมาใส่แก้วผสมน้ำร้อนแช่นาน 10 นาที

แล้วดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกินต่างน้ำเป็นชาร้อน

ข้อควรระวัง พบอาการข้างเคียงคือ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงขึ้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

ห้ามใช้ ควรเริ่มยาจากขนาดน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆปรับขนาดยาเอง

ตามอาการข้างเคียงที่พบ


122. หมากดิบน้ำค้าง วิธีใช้ ต้นใบนำมาต้มดื่ม

123. หอมแดง วิธีใช้ ใช้หัวและใบแต่งกลิ่นอาหารคาวหลายชนิด

หัวตากแห้งใช้เป็นส่วนของเครื่องแกง พริกทุกชนิด

124. หอมใหญ่ วิธีใช้ ใช้ประกอบอาหาร

125. เห็ดหลินจือ ต้ม หรือ สารสกัดเป็นเม็ดแคปซูล

126. อินทนิลน้ำ วิธีใช้ ใช้ใบต้มดื่ม

127. อบเชย วิธีใช้ ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1200 มิลิกรัม

โดยแบ่งออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้อบเชยผง ปริมาณ 300 มิลลิกรัม

หรือขนาดเท่ากัน แคปซูลเบอร์ 1 สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถ

กินวันละ 500-600 มิลลิกรัม 2 เม็ดต่อวัน

128. อ้อย (ช่อดอก) วิธีใช้ นำดอกอ้อย 100กรัม

มาตากแห้ง ป่นเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น

129. เอื้องหมายนา วิธีใช้ นำราก 90-120 กรัม มาต้มดื่ม 3 แก้ว

เคี่ยวนาน 30 นาที นำน้ำที่ได้มาแบ่งดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

130. แฮ่ม วิธีใช้ ใช้เป็นยาชง


131. ก้างปลาเครือ วิธีใช้ นำราก 120กรัม ทุบใหแหลก มาต้มดื่มเช้า-เย็น

132. ตะไคร้ ต้นสด หรือเหง้า วันละ 1กำมือ หรือหนัก 40-60 กรัม

ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร

133. แตงกวา วิธีใช้ ผลนำมารับประทานเป็นอาหาร

134. แตงโม นำส่วนเปลือกที่มีสีขาว มาป่นน้ำดื่ม หรือนำมาปรุงอาหาร

135. มะขาม วิธีใช้ เนื้อในเมล็ดที่เป็นสีขาว ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย

รับประทาน 1 ครั้งหรือคั่วให้เนื้อในเหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่ม

เคี่ยวเช่นถั่วขนาด20-25 เมล็ด

136. มะเขือเทศ วิธีใช้นำผลมะเขือเทศสด ทำน้ำปั่นดื่มเช้า-เย็น

หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร

137. มะเขือยาว วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร

138. มะม่วง วิธีใช้นำใบ10-20 ใบมาต้มน้ำ 1ลิตร ดื่มแทนน้ำบ่อยๆทั้งวัน

139. มะนาว วิธีใช้ นำน้ำมะนาว 3-4 ลูก ผสมน้ำโซดา 1 ขวด

แช่น้ำแข็งดื่มแก้กระหายน้ำ

140. มะรุม วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัม ทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็น

หรือใช้ใบหรือดอก 1กำมือ มาต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็นหรือนำฝักมะรุมมาทำอาหาร


141. มะละกอ วิธีใช้นำผลสุกมากินเป็นอาหารหรือนำผลดิบ1 ผล/น้ำ1ลิตรดื่มแทนน้ำ

142. มะเฟือง วิธีใช้ นำรากประมาณ 1-2 ช้อนชา

ทุบให้ละเอียดต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือนำมาบรรจุแคปซูลกิน1 เม็ดเช้า-เย็น

143. รากสามสิบ วิธีใช้ นำราก 90-100 กรัม มาต้มน้ำดื่มวันละครั้งตอนเช้า

144. สะระแหน่ วิธีใช้ นำใบสะระแหน่ 1 กำมือ มาปั่นหรือตั้มดื่มตอนเช้า-เย็น

145. หญ้าฝรั่น วิธีใช้ ดอก 1 กำมือ มาต้มดื่มตอนเช้า-เย็น

146. สมอไทย วิธีใช้ นำผลสด 10-15 ผล มาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้วแบ่งดื่ม เช้า-เย็น

147. สมอพิเภก วิธีใช้ นำผล 5-10 ผล มาต้มน้ำ 3 แก้ว

เคี่ยวให้เหลือ แก้ว แบ่งดื่มเช้า-เย็น

148. หูกวาง วิธีใช้ นำใบแก่ 3-4 ใบ มาต้มดื่มน้ำตอนเช้า

149. โหระพา วิธีใช้ นำทั้งใบ ต้น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้า- เย็น ก่อนอาหาร

หรือนำใบมาปรุงเป็นอาหาร

150. องุ่น วิธีใช้ ใบ จำนวนพอควร คั้นเป็นเครื่องดื่ม

หรือใช้สารสกัดจากเมล็ดใส่แคปซูลกิน 1-2 เม็ด เช้า-เย็น


ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย ประมาณ 3 - 4 ล้านคน โรคเบาหวานเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ และการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องสมุนไพรที่นำมาเขียนทั้งหมดนี้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น หรือผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน ป้องกันได้ทางหนึ่ง โดยเรานำมาเป็นอาหาร รับประทานแต่พอดี หรือตามในข้อมูลที่กล่าวไว้ ช่วยกันบอกกล่าวผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน พืชผักใกล้ตัว สามารถนำมาช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้


น้ำต้ม หนวดข้าวโพด





ฟักข้าว 6 บันทึกเพื่อสุขภาพ

http://www.gotoknow.org/posts/501315


ขอบคุณสมุนไพร 150 ชนิดจากหนังสือ สมุนไพร 150 ชนิดบำบัดเบาหวานโดยเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 401397เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2015 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

ขอบคุณน่ะค่ะสำหรับสาระดีๆที่มีมามอบให้...ขอบคุณค่ะพี่ดา

เรียนพี่ดาที่นับถือ

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้นะคะ น้องจะส่งข้อมูลให้คลินิกเบาหวานค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาอ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับ "สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด" มีสมุนไพรหลายชนิดเลยค่ะ ที่บุษราไม่ทราบสรรพคุณ...มาเรียนรู้กับบันทึกนี้ค่ะพี่กานดา
  • คุณพ่อ และ คุณแม่ เป็นเบาหวานทั้ง 2 คนเลยค่ะ ต้องไปรับยาตามแพทย์นัดทุกเดือน คิวต่อไป น่าจะเป็นบุษราแน่ ๆ.... โรคทางกรรมพันธุ์ แต่ตอนนี้ตรวจสุขภาพประจำปียังไม่เป็นค่ะ พยายามระมัดระวังเรื่องอาหารการกินมาก ๆ ยอมรับว่ากลัวค่ะ
  • ขอบคุณสาระน่ารู้ที่พี่ดานำมาแบ่งปันกันค่ะ

                     

 

สวัสดีครับคุณกานดา

          สูตรยาเเจ๋วมากครับ เเต่ถ้าใช้ในการรักษาเบาหวานก็จะเป็นกลุ่มยาที่ใช้ขับปัสสาวะทั้งหมด ส่วนฟักข้าว ในรูปที่ลูกสีเเดงๆ ตัวนี้คุณหลวงไม่เคยใช้ในการรักษาโรคนี้เลยไม่เเน่ใจ สงสัยต้องไปหาข้อมูลเพิ่มซะเเล้ว เเต่รู้ว่าเป็นตัวยาที่ค่อนข้างใช้ด้วยความระมัดระวัง อิอิ ของคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมครับ ไว้จะสอบ ใบ พท.ภ วันไหน เดียวส่งเเนวข้อสอบไปให้ลองทำ สัก 5 ปีย้อนหลังนะครับ อิอิ ผมมีเก็บไว้เพียบเลย

ขอบคุณค่ะ..สมุนไพรหลายตัวหยิบได้ใกล้มือ เช่นชะพลู ที่สวนในบ้านดกงามมากมาย..

 

โอ้โห กินผักเป็นยาจริงๆนะครับนี่

สวัสดีค่ะ คุณหนูรี

        ค่ะหนูรี ฝากบอกกล่าวต่อให้กับผู้ป่วยเบาหวานด้วยนะคะ

 เลือกผักที่ใช้ทำอาหารประจำวันก็ได้ค่ะ หรือผลไม้  ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณยาย

 ยินดีมากค่ะ เราช่วยกันบอกกล่าวนะคะ บางคนน่าสงสารมากนิ้วก็โดนตัด ตาก็เสีย ชึวิตเลยขาดความสุขอย่างมาก  เพื่อนๆพี่ดาและญาติๆก็เป็นค่ะ ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องบุษรา

   ค่ะพืชบ้างชนิดพี่ดาก็ยังไม่รู้จัก ก็บอกกล่าวเลือกที่เรารู้จักนะคะ ที่ใช้ทำอาหารประจำวันแต่ละมื้อจะดีมากค่ะทำสลับกันไปปลอดภัยดีด้วยนะคะ ฝากบอกคุณพ่อคุณแม่ด้วย

สวัสดีค่ะ คุณหลวงเวชการ

           ขอบคุณล่วงหน้านะคะ ข้อสอบย้อนหลัง ฟักข้าวกำลังเป็นพืชที่ผู้ผลิตต้องการมากค่ะ รวมทั้งผู้ที่อยากปลูกหากทราบสรรพคุรทั้งหมดของฟักข้าว ขายกันเมล้ดกันเมล็ดละ5 บาททีเดียว ปัจจุบันมีผลิตขายทั้ง ชาเยื้อฟักข้าว ชายอดฟักข้าว และแพงมาก น้ำฟักข้าว ม.มหิดลจดสิทธิบัตรแล้วค่ะ แต่ไม่ได้จดเรื่องยอดและลูกอ่อนรักษาเบาหวานนะคะ จดตรงที่สารสกัดจากเมล็ดฟักข้าว ฆ่าเชื้อเอดส์และเชื้อมะเร็งได้ค่ะ  และฟักข้าวยังมีดีมากอีกอย่างที่ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางต้องการมากๆและนักษาปริญาโทนำมาวิจัยทำผลิตภัณฑ์ออกมา คือ เยื้อหุ้มเมล็ดฟักข้าวที่มีสีแดงนั้นสุดยอดค่ะ นำไปสกัดเป็นสารหรือน้ำมัน ผสมในเครื่องสำอาง ลดรอยลึก รอยเหี่ยวย่นบนหน้าและผิวหนังค่ะ  และที่สำคัญ เป็นผักที่อร่อยมากๆค่ะ 

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่

       ภาพใบชะพลูงามมาก จริงๆแล้วเราต้องเรียก ช้าพลู ค่ะ ดาชอบทานกับเมี่ยงคำของโปรดค่ะ แกงใส่หอยแครง  แกงใส่ขนุนอ่อน ทานกับตำมะม่วง แกงใส่ปลีกล้วย อร่อยทั้งนั้นค่ะ ต่อแต่นี้ไปเห็นใบช้าพลู  ดาคิดถึงคงคุณพี่ใหญ่เสมอค่ะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณโสภณ

         ค่ะหากทุกคนกินผักเป็นยาได้ จะแข็งแรงมากค่ะ   โรคภัยไม่เข้าใกล้และระบบอวัยวะในร่างกายก็จะดีหมดค่ะ แต่ทุกอย่างต้องทานในแต่ละมื้อพอดีๆ

   

สวัสดีค่ะพี่ดาเข้ามายามเย้นแดดร่มลมโชย เห็นสมุนไพรสำหรับแก้เบาหวานเยอะจริงๆค่ะ เป็นการรวบรวมที่มีความงดงามอ่านง่ายค่ะ ขอเก็บให้เด็กๆได้ค้นคว้านะคะ สาระน่ารู้ที่ยอดเยี่ยมจริงๆในบล็อกพี่ดา ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูตูม

   ยินดีค่ะ ให้เด็กๆทราบก็ดีค่ะเพื่อพ่อแม่ญาติ พี่ดน้อง ของนักเรียนเป็นจะได้บอกกล่าวกันได้นะคะ เพราะเด็กๆเป็นกันมากเหมือนกัน   สมุนไพร ทำเป็นอาหารในแต่ละมื้อได้หลายชนิดเลย เช่น ตำลึง กะหล่ำ คะน้า แตงกวา มะเขือเทศ สะระแหน่ ฯลฯ ช่วยกันบอกให้กับผู้เป็นเบาหวานนะคะ  ขอบคุณค่ะ

พี่ดาขา

ดอกตุ้มหูค่ะ

ผักหวานไงค่ะ ดอกผักหวานบ้านค่ะ ดอกอยู่ใต้ใบค่ะ

จะพยายามสรรหา..ผัก ผลไม้

ที่ไม่ทำให้เกิดเบาหวานมารับประทาน

ให้ติดเป็นนิสัย...ตลอดไปค่ะ

WOW.....150  ชนิดอย่างที่เคยคุยกันไว้จริงๆด้วย

นับว่าเป็นทางเลือกสำหรับคนอ่านและไม่มีทางเลือกสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน

ยังไงเราก็ควรป้องกันไว้ก่อนเป็นดีที่ซู๊ด....

ฝันหวานฝันดีฝันเด่นและฝันจนถึงเช้านะจ้ะ

   หนูรีขอบคุณนะคะ

  พี่ดารู้จักผักหวานบ้านค่ะ แต่ไม่เคยเห็นดอก หนูรีถ่ายรูปได้ชัดสวยมาก จึง    ดูดอกงามน่ารักมากค่ะ หากพบต้นผักหวานบ้าน พี่ดาต้องสังเกตมองใต้ใบบ้างแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องป.1

     ค่ะเราเลือกผักที่ช่วยลดน้ำตาลได้ก็ยิ่งดีค่ะ เราจะได้ทานขนมได้บ่อยไงค่ะ ตามกันไปหักล้างกันในท้องไปเลย ห่วงขนมค่ะก็ขนมไทยเราอร่อยทั้งนั้นนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ kruqui

      ดาตั้งใจไว้หลายครั้งมากแล้วว่าจะมีวิธีใดเขียนบอกกล่าวได้ทีเดียว 150 ชนิด ดาเคยเขียน 35 ชนิดไว้บันทึกหนึ่งแล้วพร้อมชื่อประเทศที่ทดลองวิจัย  เดิมอาจารย์จุไรรัตน์ เขียน 130 ชนิด เล่มใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก ตอนแรกบันทึกเดียวกลัวยาวมากไปแต่พอเขียนแล้วยาวก็ยาว ไม่อยากแบ่งเป็น 2 จะได้อยู่ที่เดียวกันค่ะ  พืชหลายอย่างเราก็ทำอาหารกันอยู่แล้ว แต่ละอย่างให้ประโยชน์มากกว่าลดน้ำตาลด้วย  ทานผักมากๆดีต่อร่างกายอยู่แล้วนะคะ  ดาจะฝันดี ฝันเด่นฝัน  ถึงเช้าไม่ไหวค่ะ หลายเรื่องไป ขอบคุณนะคะ

 

สรุปแล้วทานอาหารเทศ-ไทย โรคหนีหายแน่ นอนดึกนะครับ ..วันนี้พระกิติศักดิ์ขีดเส้นตาย เลยต้องปั้นต้นฉบับครับ

  • ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากจริงๆค่ะ วันนี้ส่งผลงาน ชิ้นที่ 1 แล้วนะคะ
  • ดื่มวันนี้ 2 แก้ว อุ่น 1 แก้ว  เย็น 1 แก้ว 
  • ยังมีเก็บอีก 1 ชิ้น (วันนี้ทำแค่ครึ่งเดียวอร่อยมาก)

              

  • ตอนนี้ที่บ้านติ๋มก็เลือกทานกระเจี๊ยบ(ลวกจิ้มน้ำพริก)ค่ะพี่ดา
  • ส่วนสมุนไพรอื่นๆก็ทานบ้างบางชนิด ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลสมุนไพรต้านโรคที่มากมาย หลากหลายประโยชน์จริงๆ

สวัสดีค่ะ คุณอ้อยเล็ก

     ค่ะบันทึกนี้ รายชื่อสมุนไพรมากหน่อย นำมาทั้งหมดที่อาจารย์ จุไรรัตน์เขียน เนื้อหาในเล่มละเอียดมากๆค่ะ คนที่ไม่เป็นโรคก็น่ามีไว้สัดเล่มเพราะข้อมูลทราบหมดว่า พืชแต่ละชนิด มีสารอาหารอะไรบ้าง วิจัยที่ไหน ปีไหน ทดลองอย่างไร ฯ

สวัสดีค่ะ คุณเบดูอิน

       ค่ะรีบเขียนนะคะ ที่บ้านปลูกพืชผักไว้มากอยู่แล้วนะคะ

สุขภาพแข็งแรงต้องทานผักมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณดาวเรือง

     ดีใจนะคะลองทำแล้ว วันนี้ก็ซื้อมาค่ะจะทำพรุ่งนี้ ทำแล้วดื่มได้ทันที สอนนักเรียนทำนะคะ จะได้ไปทำให้ผู้ปกครองดื่มได้ หรือไปบอกให้พ่อแม่ทำให้ดื่มสลับกับการดื่มนมบ้าง  เพราะมีวิตามินเอมากค่ะบำรุงสายตาดี  ฝากบอกกล่าวพืชสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ kanchana

   กระเจี๊ยบลวกจิ้มน้ำพริก ดีต่อกระเพาะและลำไส้มากๆค่ะ และยังช่วยลดน้ำตาลในเลือดด้วย สมุนไพรพืชผักผลไม้ ถ้าทานทุกวันๆละรวมกัน 500 กรัม สุขภาพแข็งแรงมากค่ะ  ค่ะฝากบอกผู้ที่เป็นเบาหวานนะคะ ทานสมุนไพรช่วยบ้างนอกจากยา จะได้ทานยาน้อยลงได้บ้าง  ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับพี่ดา
  • เห็นรายการสมุนไพรในบันทึกนี้แล้ว ตาลายครับ
  • มีดอกไม้มาฝาก  ดอกเสาวรสครับพี่
  • ฝันดีครับ

มารับความรู้ แม้จะมีสมุนไพรมากมาย

ในความคิดเห็นของตัวเอง คิดว่านำไปใช้ไม่มาก

เพราะดูจากคนไข้เบาหวาน ไปหาหมอที่โรงพยาบาลจังหวัดกันเยอะมาก มืดฟ้ามัวดินทุกวัน

เดี๋ยวนี้เห็นคนไข้ล้นโรงพยาบาล พึ่งยากันมากจริง ๆ (พอดีที่ทำงานเป็นโรงพยาบาลด้วยค่ะ)

อ่านแล้วอยากถามสมอไทย (รู้จักค่ะ ลูกเขียว ๆ) ต่างกับสมอพิเภกยังไง

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะคุณก้ามกุ้ง

       ขอบคุณมากนะคะ ดอกเสาวรสแสนสวยครบทุกสี

สวัสดีค่ะ น้องnana

นำสรรพคุรมาบางส่วนนะคะ

สมอพิเภก   ลูกแก่    รสเปรี้ยวฝาดหวาน (ฝาดสุขุม) แก้เสมหะจุกคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาติ แก้ไช้ แก้ริดสีดวง

สมอไทย   

 เนื้อลูกสมอ   รสฝาดเปรี้ยว  แก้บิด แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมาน แก้ตับม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง    

  ลูกแก่     รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ลมป่วง แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุแก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ดีพุ่ง แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย แก้นอนสะดุ้งผวา

 พี่ดายังนำภาพมาไม่ได้งงๆ

 คลิกดู ที่ไฟล์พี่ดานะคะ  สมอไทยลูกสีเขียวๆ สมอพิเภกสีน้ำตาล

-สวัสดีครับพี่กานดา.....

 -แวะมาเยี่ยม.....ครับ.....

-สบายดีนะครับ

-สมุนไพรไทยลดเบาหวาน.....

-วันนี้เปิดงานกล้วยไข่วันแรก.....ครับ....

-เรื่องสมุนไพร...วันนี้มีเมนู "เมี่ยงคำกล้วยไข่"มาฝากครับ....

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้ำหนึ่ง

    จัดสวยงามมาก แล้วได้รางวัลหรือเปล่า น่าอร่อยจริงๆพรุ่งนี้พี่ดาต้องไปหาเมี่ยงคำทานแล้วละค่ะ   ขอบคุณนะคะ

วันนี้ทำน้ำขิงดื่มค่ะ  ใส่ตู้เย็นไว้แล้ว 1 ขวดด้วย

ปิดเทอมจะขยันหาสมุนไพรมาดื่ทุกวันค่ะ

ขอบคุณที่บอกข้อมูลค่ะ

    

 

ก๊อกๆ แวะมาบอกว่า อยากได้วิธีคลายกล้ามเนื้อหน่อยคะ

เพราะว่า ปวดหลัง ปวดเอว  มากๆ กินอะไรถึงจะหายเนี๊ยะ!

แต่ถึงจะหาย..ก็...ยังไม่หายคิดถึง..คนเมืองเหนือเน้อจ้าวว วว วว

สวัสดีค่ะ คุณดาวเรือง

       น้ำขิง ดื่มแล้ว ขับลมดีค่ะ รสเผ็ดร้อน วันนี้ซื้อขิงมาเหมือนกันค่ะ แต่จะมาทำเพิ่มใช้กับแชมพูสระผม  แก้ปัญหาผมร่วง ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผมทำให้ผมที่งอกขึ้นใหม่แข็งแรง เป็นข้อมูลที่ทราบจากรพ.พระยาอภัยภูเบศร จะลองใช้ดู  วันนี้ทำน้ำดอกอัญชันค่ะ ขอบคุณนะคะนำภาพมาให้ชม  ด้ส่งการทำน้ำมันมะพร้าวให้ ดร.ณรงค์ชมแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องNew.บันเทิง

            สมุนไพรที่ใช้แก้ปวดเมื่อยใช้ดื่มนั้นมีหลายชนิดเหมือนกันค่ะ เช่น กำลังวัวเถลิง  กำลังเสือโคร่ง  เถาโคดลาน เถาเอ็นอ่อน ฯ สมุนไพรใช้นวด ก็น้ำมันมะพร้าว น้ำมันไพล  ฯ มีบ้างไหมค่ะ  ทั้งดื่มทั้งนวดก็จะหายเร็วค่ะ คิดถึงเช่นกันค่ะ

     

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราวที่มีสาระดีๆ

พร้อมกับมาเรียนรู้ด้วยนะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ^__^

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาด้วยความคิดถึงครับ
  • ช่วงนี้ห่างหายไป ไม่ค่อยได้แวะมาคุยกับพี่ๆ เพราะยุ่งกับการย้ายที่อยู่ใหม่ เพื่อให้เด็กๆ มีห้องอ่านหนังสือเป็นสัดส่วนมากขึ้น ทั้งทาสี ขนของ จัดห้องให้เด็กๆ ได้ฤกษ์ดีจะย้ายเข้าไปอยู่วันนี้ครับ เลยแวะมาเยี่ยมก่อน ก่อนจะถอดเนต
  • พืชสมุนไพรที่เรากินแต่ละวัน ล้วนมีประโยชน์ที่เราอาจไม่ทราบ ผมชอบกินกระเทียมสดเป็นของเคียง เวลาทานข้าวครับ โดยเฉพาะกระเทียมกลีบเล็กจากทางเหนือ รสเผ็ด โดยกินกับแกงผักต่างๆ แกงขนุน ปัจจุบันมีกระเทียมจากต่าง ปท. กลีบใหญ่แต่รสชาดสู้ของไทยไม่ได้ครับ

สวัสดีค่ะ น้องต้นเฟิร์น

      ค่ะรู้จักใครเป็นเบาหวาน ฝากบอกกล่าวให้ทราบบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณชำนาญฯ

           ทานกระเทียมประจำแล้วรู้สึกร่างกายแข็งแรงดีใช่ไหมค่ะ พี่ดาก็เว้นบ้างวันนี้อ่านที่บอกพี่ดาทานข้าวเลยต้องหยิบมาโรยข้าวค่ะ  ดีใจกับเด็กๆด้วยนะคะ ได้ห้องใหม่อ่านหนังสือกันแล้ว ขอบคุณนะคะคิดถึงพี่ดาก่อนปิดคอมฯ เสร็จแล้วมาอ่านการทำน้ำฟักทองนะคะ จะได้ชวนเด็กๆทำดื่มกัน

 

ขอบคุณมากค่ะ ขออนุญาตลิงค์ที่บันทึกเบาหวานนะคะ

ขอบคุณค่ะ

มาบอกพี่ว่า ที่ไร่มีตั้งหลายชนิดแบบนี้ต้องทดลองและอนุรักษ์ไว้เสียแล้ว เย้ๆๆ

ขอบคุณพี่ดาค่ะ...เรื่องสมอ

เมื่อเสาร์ที่ผ่านมา ได้ไปตลาดนัดมาพบสมอไทย(สีเขียว)ขายเยอะแยะ

แสดงว่าดิฉันไม่เคยเห็นสมอพิเภกค่ะ

สำหรับเรื่องกล้วย สรุปคือกล้วยเทพรสนะคะ แสดงว่ามีการกลายพันธุ์ เพราะเขาให้กล้วยงาช้าง พอมาปลูกในหลุมที่ขุดหน่อกล้วยน้ำว้าทิ้งไป  ปลูกกล้วยงาช้างแทน ก็กลายเป็นกล้วยที่เห็นในรูปน่ะค่ะ

                   

สวัสดีค่ะ คุณkrutoting

        ยินดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะช่วยกันบอกให้กับผู้ป่วยหรือญาติ หริอคนรู้จักนะคะ เพราะพืช 150 ชนิดนั้นหลายชนืดนำมาเป็นอาหารในแต่ละมื้อได้ทุกวันค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. ขจิต

      ค่ะพี่ดาชมสวนพืชผักผลไม้บ้านอาจารย์แล้ว มีมากมายหลายชนิด สมุนไพรเป็นยาทั้งนั้นค่ะ เพียงแต่ให้ทราบว่าจะมารักษาโรคอะไร ใช้ส่วนไหน ปริมาณเท่าไหร่ ต้องผสมกับสมุนไพรอื่นหรือไม่ หรือทานเดี่ยว ฯ ตั้งแต่พี่ดาเรียนเภสัชไทยนะ แต่ละคนที่เรียนไม่อยากถอนหรือเหยียบต้นอะไรทั้งนั้น เป็นยาได้หมดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องnana

      กล้วยเทพรส กลายพันธุ์จาก 2 พันธุ์เลยใช้ไหมค่ะ เราได้ความรู้ใหม่กันเลยดีจัง  พี่ดาจะบอกให้อาจารย์ณรงค์ ทราบด้วยว่ากลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้ากับงาช้างนะคะ ไม่น่า ผลเลยไม่สวยเลย  เรื่องสมอไทยนั้น ถ้าพบซื้อไว้เลยค่ะ เป็นสมุนไพรเยี่ยมมากนะคะ นำมาดองเกลือ 7 วันก็ทานได้แล้ว  เก็บไว้ได้นานค่ะ หรือทำน้ำเอ็นไซม์ก็ดีมากๆ  ตากป่นแห้งบดเป็นผงไว้ก็ได้ค่ะ

      

อยากดูว่าแต่ละสมุนไพรแต่ละชนิคกินมากน้อยเท่าไรและต้องกินนานไหม

สวัสดีค่ะคุณอุบล

เคยโทรหาอาจารย์จุไรรัตน์ ถ้าเป็นผู้สูงอายุ อาจารย์แนะนำให้กินพืชขมเช่นมะแว้ง มะระขี้นกฯ ติดต่อกันทุกมื้อทุกวัน 1 เดือน แต่ สมุนไพรต้ม บางชนิดถ้าดื่มปริมาณมากเกินไปต่อวัน จะทำให้ไตทำงานหนักได้ ในหนังสือไม่ได้บอกเวลาดื่มกี่วัน บอกแต่ปริมาณการทำ  และเวลาดื่ม  โดยรวมทั้งหมด ถ้าทำต่อครั้งตามที่อาจารย์ เขียนบอก ก็ดื่ม หรือทำอาหารได้ทุกวันจนน้ำตาลอยู่ระดับปรกติค่ะ  แต่ถ้าไม่แน่ใจขอแนะนำหลีกเลี่ยงสมุนไพรชนิดนั้น แล้วทานอย่างอื่นที่ใช้ทำเป็นอาหารแทนซึ่งมีหลายอย่างมากให้เลือก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ YS

ขอบคุณเช่นกันกันค่ะแวะมาทักทายกัน ฝากบอกต่อด้วยนะคะ

ผักคื่นไฉ่ ทำง่ายและดีมากๆค่ะ

http://gotoknow.org/blog/kanda02/477224

 

ขอให้วิทยาทานเหล่านี้จงดลบันดาลให้พี่มีความสุข

สวัสดีค่ะคุณเบดูอิน Ico48

ขอบคุณมากค่ะ บ้านสวนเป็นอย่างไรบ้าง

ฟักข้าวขยายพันธุ์ได้อีกหรือเปล่า คิดถึงน้องทั้ง 2 เสมอนะคะ

 

ขอบคุณมากค่ะสำหรับสิ่งดีๆๆ

สวัสดีค่ะคุณเหมียวเหมียว

ฝากแนะนำผู้ที่เป็นโรคเบาหวานด้วยนะคะ ขอบคุณเช่นกันค่ะ

ขายปอกะบิด

โลละ 400

โทร 0852989337 คุณสมพงษ์

ปอกกะบิด เเก้เบาหวานได้ผลดี มีการพิสูจน์โดยสถาบันการแพทย์

ดีมากค่ะหางายทำกินได้มีให้เลือกหลากหลาย



อยากได้รายละเอียดและข้อเสนอแนะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นทั้งไตวาย เบาหวานค่ะ

ดีมากคับขอบคุณคับ


มะระขี้นก ต้นไมยราบ เป็นสมุนไพร ต้านและรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือ ??
http://korsornor-ang-thong.blogspot.com/2014/10/bl...

ดูแลรูปร่าง ลดนำหนัก ด้วยโหย่งหมิง

>>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท