สื่อ เทคโนโลยี กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง


การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้สื่อเป็นตัวช่วย

คุณเคยคิดมั้ยว่า ความขัดแย้งเกิดจากอะไร ยกตัวอย่างเช่น โครงการเหมืองแร่โพแทช อุดรธานี คิดว่าหลายท่านคงทราบถึงการดำเนินงานของรัฐบาลใน เมกกะโปรเจคนี้

และก็เกิดความขัดแย้งขึ้นทั้งในหมู่นักวิชาการ ชาวบ้านเอง ความขัดแย้งขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ เป็นความหวาดระแวง ไปทุกเรื่อง ทุกโครงการ แม้กระทั่ง การที่ในพื้นที่นี้หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเกิดโครงการพัฒนาใดๆ ขึ้นมา ความขัดแย้งจะยืนรอท่าอยู่เสมอ

แล้ว สื่อ หรือ เทคโนโลยีสื่อสาร จะมีส่วนช่วยลดความขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างไร

ขอทราบในมุมมองจากทุกๆ ท่าน (ในมุมมองท่มีความเป็นธรรมนะคะ ไม่ใช่เพื่อทำทุกอย่างเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้ แต่เน้นว่าโครงการจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตามแต่ไม่อยากให้มีความขัดแย้งกันรุนแรง)

หมายเลขบันทึก: 37845เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

     ผมว่าหากเป็นไปได้ คุณกัลยา ในฐานะ นศ.ป.เอก เทคโนฯ น่าจะได้ว่ามาก่อนนะครับ ว่าในมุมมองของท่านแล้วว่าอย่างไร เผื่อผมจะได้ขอความรู้อันมีค่าจากท่านบ้าง (ยิ้ม ๆ ปนขำ ๆ ครับ)

  • อยากให้สื่อให้ข้อมูลที่ตรงประเด็น ไม่ยั่วยุ ให้ข้อมูลทั้งข้อดีและข้อเสียเพื่อจะได้มีข้อมูล ให้นักวิชาการ ชาวบ้าน เอกชน ได้ตัดสินใจ ไม่ต้องการให้เขียนข่าวเพื่อให้เกิดความขัดแย้ง ครับ
  • เป็นประเด็นที่น่าสนใจนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณท่านชายขอบ และ อ จิต อย่างยิ่งนะคะ ที่กรุณาให้ตวามคิดเห็น

แต่โดยส่วนตัวตอนนี้ ยังคิดอะไรไม่ออกนะคะ ก็เลยอยากได้มุมมองจากหลายๆ ท่าน (อย่าพึ่งขำ ผู้ด้วยด้วยปัญญาเลยนะคะ)

สำหรับคำถาม ที่คุณกัลยา  ถามไว้ ???  รู้สึกว่าจะเคยมีอาจารย์ที่สอนทางด้านเทคโนฯ  เคยถามไว้เหมือนกันคะ..(ประมาณซัก 3-4 เดือนก่อน)..เพราะฉะนั้น ประเด็น จึงอยู่ที่ว่า  คุณกัลยา  น่าจะมีแนวคิดเป็นของตัวเองก่อน...อย่างไรก็ตามในการนำความรู้  เช่น วิธีการหรือกระบวนการในการนำเทคโนโลยีและสื่อสารฯ  มาช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับโครงการ  หรือในกรณีกลับกัน  จะมีกระบวนการอย่างไรในการวิเคราะห์โครงการฯ ดังกล่าวเพื่อสนับสนุนแนวความคิดของชาวบ้านให้เห็นถึงผลดีหรือผลเสียในการบรรลุผลของโครงการฯ  ลองศึกษาดูก่อนดีกว่านะคะ  แล้วค่อยวิพากษ์คะ   จะทำให้นิวหรือคนอื่น ๆ ทราบถึงแนวคิดและความเป็นไปได้คะ..ขอบพระคุณคะ....

ห่างหายไปนาน วันนี้มีเวลาก็เลยแวะเข้ามาครับ คุณกาเหว่าสบายดีนะครับ

ปัญหานี้ก็พอได้รับทราบมาตอนที่ไปอุดรฯบ่อยๆ ถ้ามองเรื่องสื่อ สื่อที่ใส ตรงไปตรงมา หายากมาก มักถูกแต่งแต้มและแอบแฝงไปด้วยผลประโยชน์ การหลอกลวงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนชาวบ้านมีอคติกับสื่อ ทั้งยังแยกออกเป็นสองฝ่ายคือสื่อที่สนับสนุนและสื่อที่ต่อต้าน ต่างฝ่ายต่างหาข้อมูลมาสนับสนุนเพื่อให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องจริยธรรมของสื่อ (อย่าถูกครอบงำโดยความโลภ) และการพัฒนาความรู้ให้ชาวบ้านมีกระบวนการคิด วิเคราะห์เองได้ ขนาดพ่อตาผมที่เป็นชาวอุดร ยังไม่เชื่อผมเลยว่า คนที่ครอบครองสื่อสารและเงินทุนก้อนโต....เป็นผู้ครอบครองอำนาจในประเทศนี้ 555

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน ขอบคุณ คุณมะขวิดนะคะ

เอาไว้เคลียร์งานลงตัวจะมาต่อเติมประเด็นนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท