หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ทำฝายที่บ้านห้วยปลาหลด ตอน ๒


(๓)

“มา ผมบ้าง...”

เบิ้มลงมาผลัดผมขุดดินเพื่อเอาไปถมเป็นคันฝาย

เพิ่งจะขุดดินได้ไม่ถึงสิบบุ้งกี๋ แรงก็เริ่มหมด คาดว่าคงเก็บอาการเอาไว้ไม่อยู่เบิ้มเลยมาขอผลัด

พวกเราเริ่มลงมือทำฝายหลังอาหารกลางวันพักใหญ่

สถานที่ทำฝายเป็นบริเวณตาน้ำข้างสวนผักของนะปาย

จะเคาะกับน้องเยาวชนสองสามคนเดินขึ้นไปบนเขาข้าง ๆ ตัดไม้ไผ่ลำย่อม ๆ มาสามสี่ลำ จะบูและจำปาเอาไม้ไผ่พาดขวางกับคันดินสองข้าง สองท่านห่างกันราว ๗๐ ซ.ม. แล้วก็ตัดไม้ไผ่เป็นท่อนสั้น ๆ ราว ๑ เมตร นำไปวางพาดกับไม้ไผ่ท่อนยาว โดยให้ปลายด้านบนป้านออก มีพื้นที่ตรงกลางที่จะนำหินและดินมาถมกั้นเป็นคันฝาย

ผมเริ่มต้นด้วยการขุดดินต่อจากนะปาย

เพื่อน ๆ ที่เหลือช่วยกันขนหินไปถมทับเป็นคันฝาย

พื้นที่เหนือคันฝายเดิมที่ดูรก และไม่มีทีท่าว่าจะมีน้ำ สักพักพอคันฝายเริ่มเป็นรูปร่าง ก็เริ่มมีน้ำขังอย่างน่าประหลาด

เพื่อนเราบางคนแซวจำปาว่าไปแอบเปิดก๊อกน้ำมาหรือเปล่า...

จำปาบอกกับพวกเราว่า บริเวณนี้เป็นตาน้ำ ปกติแล้วถ้าไม่มีอะไรมากั้น น้ำจะค่อย ๆ ไหลซึมลงดินลงไปตามร่องห้วย ถ้าเราทำคันกั้นไว้ก็จะมีน้ำขัง ชะลอการไหลซึมของน้ำลงไปเบื้องล่าง ฝายที่ทำอยู่นี้เป็นฝายชะลอน้ำ

ชาวลาหู่บ้านห้วยปลาหลดจัดการน้ำโดยสร้างฝายหลายประเภท หลายวัตถุประสงค์

ฝายในป่าต้นน้ำ เป็นฝายชะลอน้ำที่สร้างความชุ่มชื่นให้ผืนป่า ฝายตามลำธารที่อยู่เหนือที่ราบชายเขาไม่สูงนักจะถูกกั้นเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และที่อยู่สูงขึ้นไปจะถูกกั้นต่อเป็นปะปาภูเขาลงมาที่หมู่บ้าน สำหรับลำธารที่ไหลผ่านไหมู่บ้านก็จะถูกกั้นเพื่อนำน้ำมาปั่นเป็นกระอสไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

พวกเราใช้เวลาราวสองชั่วโมงในการสร้างฝายลูกนี้

เหนื่อยน้อยกว่าที่คาดไว้มาก...

 


...

 

(๔)

การทำฝายร่วมกับชาวบ้านห้วยปลาหลดในคราวนี้ เป็นกิจกรรมทดลองนำร่องการจัดท่องเที่ยวของชุมชนห้วยปลาหลด หลังจากที่หมู่บ้านนี้ได้รับการส่งเสริมให้จัดการท่องเที่ยวแบบ “โฮมสเตย์” จากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

ผมสนิทกับแกนนำหมู่บ้านนี้หลายคน เคยร่วมงานกันมาบ้างแล้ว เห็นแกนนำชาวบ้านกังวลใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแล้วผมก็อยากยื่นมือเข้ามามีส่วนร่วม ว่ากันตามตรงก็คือ ไม่ค่อยจะไว้เนื้อเชื่อใจหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริมสักเท่าไร ไม่อยากเห็นหมู่บ้านได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็อยากจะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือของชุมชน เป็นสะพานเชื่อมให้คนเมืองเข้ามาเรียนรู้ซึมซับเรื่องราวดี ๆ ของชุมชนแห่งนี้

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ปฏิเสธการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวมีแง่มุมดีงามอยู่หลายประการ แต่ก็ต้องระมัดระวังเพราะมีด้านที่เป็นพิษภัยอยู่ด้วย คล้ายกับดาบสองคม

แกนนำชาวบ้านที่นี่เกือบสิบคนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว แล้วเดินทางไปดูงานโฮมสเตย์ที่ จ.เชียงราย แต่กลับมาแล้วความกังวลก็มิได้หายไป หนำซ้ำดูเหมือนว่าจะหนักหนากว่าเก่า ความเข้าใจ ความมั่นใจก็มิได้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่มิตรสหายมาร่วมกิจกรรมเลี้ยงผีต้นน้ำที่ de’Musoi C&L ผมได้เล่าเรื่องราวนี้ให้ฟัง ได้รับคำแนะนำว่าน่าจะจัดทริปนำร่องสักทริปให้ชาวบ้านทดลองต้อนรับนักท่องเที่ยวแบบ “โฮมสเตย์”

เบิ้มเพื่อนผม ซึ่งอยู่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รับผิดชอบงานด้านประชาสังคม ที่ช่วยมาขับเคลื่อนงานพัฒนาในพื้นที่ดอยมูเซอร่วมกับผมมาพักใหญ่ ก็ช่วยออกแรงงานนี้มิใช่น้อย ทั้งช่วยหาสมาชิกมาร่วม ให้คำแนะนำก่อนเริ่มงาน เดินทางมาร่วมงาน สะท้อนความเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการของชาวบ้าน ฯลฯ

...

หมายเลขบันทึก: 372119เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

      แวะมาชมกิจกรรมดีๆแต่เช้่าค่ะ น่าสนุกจัง ได้บุญได้กุศลกันถ้วนหน้านะคะ

อาจารย์..งานนี้หมอโดนทากกัดด้วย..

มารู้ตัวตอนถึงบ้านแล้ว..น่องข้างซ้าย

นึกว่าจะพ้นซะอีก..ตอนนี้คันที่รอยทากกัดมาก ๆ

พัฒนาชุมชน เยี่ยมค่ะ

เป็นกำลังใจให้น่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ

น่าสนุก ฮาหมอเอโดนทาก 

สวัสดีค่ะหนานมาเยี่ยมชมกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์กับการทำฝายกั้นน้ำ..แต่ก็นากลัวที่มีทากเยอะค่ะ..

เคยไปสร้างฝายลักษณะนี้เหมือนกันครับ ที่เชียงราย แต่ไม่นานน้ำมา ฝายก้เสียดาย ต้องพากันกลับไปซ่อมอีก จริงๆ แล้วผมคิดว่า ประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะเข้ามามีบทบาทมากกว่านี้ อะไรหลายๆ อย่างจะยั่งยืนมากขึ้น (พูดถึงบางทีนะครับ อิอิ)

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

ไปนั่งให้กำลังใจไม่ออกแรงน่ะ

ลางานไว้แล้ว ถ้าไม่มีอุปสรรคพบกันครับน้องหนาน

สวัสดีครับ คุณยาย 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ...

 

สวัสดีครับ หมอเอ หมออนามัย 

ฮะฮ่า... โดนทากกัน แสดงว่าถึงที่แล้วหมอ ถึงที่...
ผมเคยโดนทากเกาะกินเลือดคราวนึงเป็นสิบตัวเมื่อขึ้นเขาเจ็ดยอดปีก่อน
กำลังจัดทริปเดินป่าสักสองวัน หมอสนใจไหม..

 

สวัสดีครับ คุณศิรินทร มีวงศ์ 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
มีโอกาสคราวหน้ามาร่วมแจมด้วยกันนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่ครูคิม 

ทริปนี้สนุกมากครับพี่...
ประสบความสำเร็จสูงมากครับ

 

สวัสดีเจ้า คุณครูrinda 

ทากมีไม่มากเท่าไรครับ ไม่มีใครโดนดูดเลือดนอกจากหมอเอ สงสัยเลือดหวาน

 

สวัสดีครับ คุณบีเวอร์ 

การสร้างฝายแบบภูมิปัญญาชาวบ้านนี้ โดยมากเป็นการสร้างในลักษณะชั่วคราวครับ ต้องมีการซ่อมแซมเป็นประจำทุก ๑- ๓ ปี ครับ

 

สวัสดีครับ คุณบุษรา 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและนำดอกไม้สวย ๆ มาฝากครับ

 

คารวะท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

อยากให้บังมเที่ยวห้วยปลาหลดสักรอบ คาดว่าจะได้มาช่วงเข้าพรรษาใช่ไหมครับ

 

  • ตามมาอ่านก่อนนะครับ
  • ท่าทางสนุกมากๆๆ
  • เย้ๆๆๆๆๆ

งานสร้างฝายต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากค่ะ..ขอบคุณที่ไปเยี่ยมสนับสนุน "โครงการเธอคือแรงบันดาลใจปี ๒" นะคะ..

 

ตามอ่าน ตามชม ตามชื่นชมงานคุณหนานเกียรติอยู่เป็นระยะๆ งานหนักนะคะ แต่เห็นความสุขที่สมดุลทั้งการทำงานจิตอาสา งานวิชาการ และการดูแลครอบครัว ขอให้มีพลังมากมายเช่นนี้ไปอีกนานๆค่ะ

          ร่วมแรงร่วมใจ  งานก็เสร็จเร็วนะคะ อากาศเย็นสบายนะคะ มีแต่ต้นไม้  พี่ดาได้ชื่อและหมายเลขโทร.มาแล้วนะคะ แต่ยังไม่โทร. ใช่ไหม  ถามเองตอบเอง เพราะคุณพ่อดีขึ้นแล้ว ๆได้โทรไปหาคุณ ปานเทพหรือเปล่าค่ะพี่ดาบอกคุณปานเทพไว้แล้วนะ ท่านยินดี  ส่วน คุณตาชั้น  แย้มขยาย ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก  กำลังถูกเชิญไประยองไปแสดงตนว่าหายได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว โดยทางคุณไพฑูรย์ที่หายจากโรคเบาหวานด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าว แล้วอุทิศตนเผยแพร่น้ำมันมะพร้าวที่ระยอง   จะออกค่าเดินทางเครื่องบินให้หมด ก็ไม่ทราบว่าท่านจะไปหรือไม่ อยู่ที่เชียงใหม่นี่เองพี่ดาพึ่งทราบ เข้าใจว่าอยู่ระยอง ตามที่ดร.ณรงค์บอกสงสัยสับสน  เบอร์คุณตาชั้น โทร.หาพี่ดาแล้วกันนะคะ จดเบอร์พี่ดาไว้แล้วใช่ไหม

สวัสดีค่ะ

     มาชวนไปเยี่ยมบันทึกที่พี่น้องGTKได้เจอกันค่ะที่นี่นะคะ...http://gotoknow.org/blog/0815444794/373325

                                                             มาตายี

หนานเกียรติ์ครับ ฝายคือทางเลือกสำคัญ ยินดีและเป็นแรงใจด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท