รายวิชาที่มีปัญหาการลอกการบ้าน


จุดขายของนักเทคโนฯ คือการเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional System Design)

                  จากประเด็น ถ้าเป็นผม ผมไล่ไป drop แล้ว ซึ่ง ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ได้เปิดประเด็นแสดงความคิดเห็นไว้เกี่ยวกับการลอกการบ้าน และส่งการบ้านที่มีข้อความเหมือนกันทุกประการ ซึ่งผมในฐานะของอาจารย์ผู้สอน รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง แต่ก่อนอื่นผมขอเล่าความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนนะครับ

  1. สำหรับรายวิชาที่เรียนเป็นรายวิชา 355542 การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  [ตอนนี้เว็บจำกัดสำหรับผู้เรียนนะครับ] รายวิชาดังกล่าวนี้ นิสิตที่เรียน จะเน้นเรื่องการออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งตามกระบวนการเรียนการสอนแล้ว นิสิตต้องเสนอเนื้อหาความสนใจในช่วงชั้นต่างๆ หลากหลาย คือตั้งแต่ระดับอนุบาล ช่วงชั้นที่1(ป.1-ป.3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6) ระดับอุดมศึกษา (อาชีวะ-ปริญญาตรี) และช่วงวัยผู้ใหญ่ (แนวคิดนี้ได้มาจาก อ.อายัติ เอี่ยมบาง ศน.พิษณุโลก เขต 1) การที่แบ่งเป็นหลายช่วงชั้นมีนัยมาจากการที่จะให้นิสิตได้ศึกษา ทฤษฎีจิตวิทยาต่างๆ ไม่ว่า จิตวิทยาเด็กปฐมวัย จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอนต่างๆ รวมทั้งหลักการที่ว่า นักเทคโนโลยีการศึกษานั้น ต้องสามารถออกแบบสื่อได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ตนเองถนัด หรือไม่ถนัดก็ตาม ต้องสามารถทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมให้ได้ จุดขายของนักเทคโนฯ คือการเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional System  Design)
  2. ดังนั้นในรายวิชาจึงกำหนดต้องให้นิสิตทำตามขั้นตอนคือ
    1. เสนอหัวข้อเรื่องที่กลุ่ม (3 หรือ 4 คน) โดยให้ต่างคนต่างเสนอ แต่ต้องใส่ชื่อสมาชิกกลุ่มมาข้างท้าย โดยมีเงื่อนไขว่า (1) ต้องตอบคำถามว่า "ทำไปทำไม" (2) ผู้เรียนจะได้อะไร (3) ต้องเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ อาจเป็นการ บูรณาการในสาระ หรือข้ามสาระการเรียนรู้ก็ได้ (ความจริงขั้นนี้ควรศึกษาความต้องการ ของโรงเรียน ครู หรือผู้เรียนก่อนว่าสนใจ หรือมีความต้องการในประเด็นใด)
    2. หลังจากนำเสนอหัวข้อ ตอบซักถาม แล้ว ผู้เรียนต้องเสนอ โครงการ เขียน หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ความสำคัญ กระบวนการขั้นตอน แนวทางการพัฒนา แผนระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ(ตรงนี้สอนให้นิสิตเป็นผู้วางแผนก่อนทำ ไม่ใช่นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ)
    3. ขั้นตอนการขายฝัน แต่ก่อนจะขายฝัน นิสิตต้องมาจากหลักการ หรือทฤษฎีที่มีมาบ้างแล้ว เช่น หลักจิตวิทยา ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน ผลการวิจัย ซึ่งนิสิตสามารถค้นหาได้ตามแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Digital Collection :DC ) จากฐานข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศทางด้านการศึกษา หรือจากแหล่งสืบค้นเฉพาะแวดวงวิชาการของ http://scholar.google.com แต่บางครั้งกรอบทฤษฎีและหลักการต่างๆ นานา ก็ทำลายกรอบเสรีภาพทางความคิดและจินตนาการ ดังนั้นผมจึงให้นิสิตผสมผสานทั้งความคิดและจินตนาการของตนเองบวกกับหลักการและทฤษฎี มาขายฝันความคิดของพวกเขาก่อนว่าเขาจะออกแแบบ CAI ของเขาอย่างไร บางคนอาจใช้นิทาน บางกลุ่มอาจใช้กาตูนที่นักเรียนชอบเป็นตัวนำเรื่อง หรือบางกลุ่มใช้เนื้อหาเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์อาจใช้เทคนิคคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด บางกลุ่มอาจใช้เกมกิจกรรม ฯลฯ มาขายฝันให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
    4.  จากนั้นกลุ่มจะต้องวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง วิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์กิจกรรม วิเคราะห์สื่อ การวัดผลประเมินผล ตัดทอนเนื้อหาทำเป็นสคริพ รวมถึงเขียนโครงสร้างเนื้อหา โครงสร้างของบทเรียน CAI เสนอผู้สอน
    5.  ถึงขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะต้องทำสิ่งที่เป็นความคิด สิ่งที่เป็นความฝัน ให้ออกมาสื่อสารกับนักพัฒนาบทเรียน นักคอมพิวเตอร์กราฟิก ช่างภาพ ช่างโทรทัศน์ โปรแกรมเมอร์ ได้โดยการเขียนเป็นสตอรี่บอร์ด เป็นภาพร่าง สิ่งสำคัญในจุดนี้ที่ผมเน้นก็คือต้องแสดงให้เห็นภาพร่างทางความคิดในการออกแบบการสอน นิสิตต้องอาศัยศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ศาสตร์การสอน ความเข้าใจในเนื้อหา ความรู้ทางด้านเทคนิค มุมกล้อง การออกแบบสาร (Message Design) บูรณาการและประยุกต์ความรู้เข้าด้วยกัน
    6. ถ้าสตอรี่บอร์ด OK ขั้นนี้ก็ลงมือได้
    7. ขั้นทดสอบ อยากรู้ว่า CAI สำหรับเด็กอนุบาลดีไหม มาถามผู้เชี่ยวชาญ ถามเพื่อน ถามอาจารย์ ก็คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีเท่ากับการ นำไปให้เด็กอนุบาลทดลองใช้หรอกครับ ดังนั้น สิาิตก็ต้องนำไปให้ผู้เรียนได้ทดลองเรียน และปรับปรุงครับ แต่ในทางการวิจัยแล้วนิสิตต้องนำไปหาประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากเวลาในการเรียนมีจำกัดดังนั้น นิสิตผมจึงทำได้แค่นำไปให้เด็กนักเรียนทดลองใช้เท่านั้น
    8. ขั้นสุดท้ายก็คือเผยแพร่ (แต่ที่ต้องปกปิดก็มีนะครับ) ส่วนใหญ่ผมก็มอบให้ห้องสมุด ลองค้นได้ที่นี่ครับ 
  3. ผมว่าบันทึกที่ดีไม่ควรยาวเกินไป  ถ้างั้นเราไปอ่านต่อในบันทึกถัดไปนะครับ ใน คิดอย่างไรที่ใช้ Gotoknow ในการเรียนการสอน

 

หมายเลขบันทึก: 36872เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ทำไมถึงต้องจำกัดการเข้าใช้ด้วยคะ  ไม่เข้าใจคะ ..??..เพราะสิ่งที่อาจารย์ชี้แจง  หนูกำลังมองว่า...มันน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่น ๆด้วยคะ ....ขอบคุณคะ
  • จริงๆ ไม่ได้จำกัดหรอกครับ แต่ไม่รู้ Admin เซตอีท่าไหนเข้าเวลาเข้าจากนอกมอ จะมีการถาม Username กับ password คนใช้ภายนอกเข้าไม่ได้ ก็เลยพูดให้สวยๆ หน่อยว่าจำกัดสำหรับนิสิตน่ะครับ 555
  • กำลังให้ Admin แก้ปัญหาอยู่นะครับ

เป็นตัวอย่างการเรียนรู้ที่ดีคะอาจารย์หนึ่ง :) ดิฉันเขียนสรุปและเสนอแนะแนวทางไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/rujroadk/36954 ค่ะ

 

  • ขอบคุณมากครับอาจารย์
  • ได้แนวคิดดีเพิ่มมากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท