"กรรมการเครือข่าย"ประชุมกลุ่มย่อยสงขลา ตอนจบ


กระบวนการเครือข่ายที่ทำให้สมาชิกในเครือข่ายสัจจะมีสวัสดิกาครที่ดีขึ้น

2.คุณจำรัส สนจิตร์คณะกรรมการอุดมการณ์ เครือข่ายสัจจะฯ .  ตราด

เรื่อง กระบวนการเครือข่ายที่ทำให้สมาชิกในเครือข่ายสัจจะมีสวัสดิการที่ดีขึ้น

·       ปัญหาของตราด คือ  มีเงินเหลือ จะบริหารจัดการอย่างไร  

·       ทางออกคือ แทนที่จะนำเงินไปฝากธนาคาร  หรือเพิ่มมูลค่าของเงินด้วยการนำเงินไปหมุนเวียนในกิจกรรมที่ต้องมีคนรับผิดชอบ เช่น ในการทำกลุ่มอาชีพ  (คงเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงจึงจำเป็นต้องมีคนรับผิดชอบผู้จดบันทึก) ก็นำเงินนั้นมาจัดสวัสดิการ

·       เป้าหมายของเครือข่าย คือ การทำให้สมาชิกมีชีวิตความเป็นอยู่ได้เป็นปกติแต่มีสวัสดิการที่ดีขึ้น

·       การจัดสวัสดิการของเครือข่ายสัจจะ เป็นการให้หลักประกันชีวิตและเป็นการปฏิบัติธรรม

·       เช่น  ถ้าต้องนอนโรงพยาบาล   ฐานสวัสดิการที่สมาชิกจะได้รับคือ 200 บาท/คน/คืน แต่ถ้าเป็นสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมรวมซื้อ   ก็จะได้รับเพิ่มอีก 80 บาทในปีแรก   ปีต่อไปได้รับส่วนเพิ่มนี้เป็น  100 บาท    และหากสมาชิกได้ ทำบุญ  ก็จะได้รับอีกไม่เกิน 10,000 บาทสำหรับการพักฟื้น

·       การทำบุญ   หมายถึง

1.       ตัวแทนในครอบครัวเข้าร่วมประชุมต่อเนื่อง อย่างน้อย 6  ครั้ง/ปี

2.       ร่วมกิจกรรมรวมซื้อ

3.       ซื้อ พรบ.รถยนต์

4.       บริจาคขยะ

5.       ทำบัญชีครัวเรือน

หากทำบุญทั้ง 4 รายการแรกจะได้รับ 6,000 บาท  และหากทำบุญข้อ 5 ด้วยก็จะได้รับ 10,000  บาท

(ข้อคิดเห็นเสนอคุณภีมและอาจารย์ตุ้ม:  ระบบแลกเปลี่ยนก็เปิดโอกาสให้ ทำบุญ ในลักษณะนี้  แต่แทนที่จะได้รับเงินบาท ก็ได้รับเป็นเงินตราชุมชน  หรือ  แต้มสะสมในบัญชี  ซึ่งสามารถนำเงินหรือแต้มสะสมนี้ไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ (รวมสวัสดิการ) ที่ผลิตในชุมชนได้     ได้เคยเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมโครงการแลกเปลี่ยนแล้ว   อย่างไรก็ดี  กลุ่มแม่บ้านมิตรภาพที่กรุงเทพฯ ได้ทำคล้ายๆกัน  แต่ให้เป็นสิ่งของตอบแทนในทันที (เช่น ให้สิ่งของในร้านค้าชุมชนแก่คนที่มาช่วยสอนศาสนา ซึ่งถือเป็น การจัดสวัสดิการด้านการศึกษา โดยชุมชน)   การให้สิ่งของตอบแทนในทันทีแบบกลุ่มแม่บ้านมิตรภาพตัดปัญหารกใจเรื่องคูปองไม่หมุนเวียน   ด้วยฐานการผลิตที่แคบแบบชุมชนไทย  การตอบแทนในทันที หรือของแลกของจะไม่ยุ่งยาก   และบางทีอาจเป็นระบบที่เหมาะกว่าระบบคูปองอันที่จริง  แนวทางของกลุ่มจังหวัดตราด ปรับเข้าสู่เรื่องระบบแลกเปลี่ยนได้ไม่ยากนัก)      

3.คุณกัญญา  เจริญรัตน์  ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านต.ในคลองบางปลากด  .พระสมุทรเจดีย์ .สมุทรปราการ

เรื่อง       การริเริ่มโครงการสัจจะวันละบาท

·      กลุ่มมีฐานมาจากกองทุนหมู่บ้าน  แต่ได้ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดตราด  แล้วกลับมาทดลองจัดเวที   เปิด  VCD และพูดคุยกับสมาชิกในหมู่บ้าน   จึงเกิดกลุ่มสัจจะแล้ว 1 หมู่บ้าน ในระยะเวลา 2 เดือน มีสมาชิก 180 คน

·       ขณะนี้กำลังจะขยายไปสู่หมู่บ้านอื่นๆในตำบลในคลอง  เกิดเป็นเครือข่ายระดับตำบล

·       การบริหารจัดการ ใช้กรรมการชุดเดียวกับกองทุนหมู่บ้าน  (เนื่องจากเปิดรับสมัครกรรมการกลุ่มสัจจะแล้วแต่ไม่มีคนมาสมัคร)   ใช้ระเบียบข้อบังคับแบบของพระอาจารย์สุบิณและของครูชบผสมกัน

4. คุณประชา  วัฒนมงคลรักษ์ รองประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ม.2   .ในคลองบางปลากด    .พระสมุทรเจดีย์  .สมุทรปราการ 

เรื่อง   การฟ้องร้องสมาชิกที่ไม่ส่งเงินกู้ต่อศาล

·      กองทุนหมู่บ้านของคุณประชานับเป็นกองทุนแรกที่มีการฟ้องสมาชิกที่ไม่ส่งเงินกู้  โดยฟ้องร้อง 3 ราย  คือผู้กู้ 1  คน และผู้ค้ำประกัน 2  คน

·     ในตอนแรกกองทุนระดับชาติบอกว่าฟ้องไม่ได้เพราะถือว่า กลุ่มไม่ใช่เจ้าของทุน  แต่ก็มีเจ้าหน้าที่สำนักนายกฯ มาตรวจสอบว่าไมจึงต้องฟ้องร้อง  ซึ่งกลุ่มแสดงให้เห็นว่า  ได้มีการออกหนังสือทวงถามเงินเป็นระยะ รวม 9  ครั้ง   และกองทุนต้องการฟ้องเพื่อเป็นตัวอย่าง

·       อย่างไรก็ดี  ในที่สุด  ศาลรับฟ้องและกองทุนเป็นฝ่ายชนะคดี  โดยหลังศาลตัดสิน  ได้มีการชำระคืนแล้ว 1  ราย  อีก 1 รายชำระครึ่งหนึ่ง   เพราะคณะกรรมการกองทุนได้ไปดูแล้วว่า  ผู้ถูกฟ้องไม่มีเงินจ่ายคืนจริงๆ   (ตรงนี้ ขอให้นักวิจัยตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่บันทึกนี้อีกครั้ง  เพราะขาดข้อมูลของรายที่ 3 ไป)

·       สำหรับคณะกรรมการกองทุน   จะทำงาน 5  วันใน 1  เดือน

ผู้ดำเนินการประชุมถามถึงผลของการฟ้องร้องต่อความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก  แต่ผู้นำเสนอมิได้ตอบ

5.คุณวิทยา   นวลลม   กรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ม.2   .ในคลองบางปลากด    .พระสมุทรเจดีย์   .สมุทรปราการ

เรื่อง    การจัดการความรู้ทำให้เกิดพลัง

·      กลุ่มจัดโครงการสัจจะวันละบาทแบบจังหวัดตราด เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่ได้มาเข้าร่วม

·      ครั้งนั้น มีปัญหาเรื่องการคืนหนี้  แต่การพูดคุยกับบ่อยๆทำให้เกิดพลัง

·      กลุ่มได้รวบรวมสมาชิก ในตอนต้นให้สมาชิกออมครั้งละ 100 บาท บวกนำเงินกองทุนสวัสดิการอีก 50  บาท รวมเก็บ 150 บาทเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานใน กทม.และเสียชีวิต ครอบครัวไม่มีเงินมาเยี่ยม ก็จะจัดเงินสวัสดิการให้  

·       5  เดือนแรกเก็บเดือนละ 150  บาท  ต่อมาเก็บเพียงเดือนละ 100  บาท

·       แรกเริ่มมีสมาชิก 28  คน

6.คุณสายหยุด    คงยะฤทธิ์ นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน  หมู่ 9  หมู่บ้านเคหะชุมชนสงขลา  .เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

เรื่อง    การพัฒนากองทุนของหมู่ 9

·       หมู่ 8  เพิ่งแยกเป็นหมู่ 9  จึงได้มีการรวมกลุ่มกองทุนหมู่บ้านของหมู่ 9  แต่มีเงื่อนไขว่าสมาชิกต้องทำสัจจะ    ได้พัฒนากลุ่มมา 5 เดือน  ปัจจุบันมีสมาชิก  135  คน

·       เมื่อครบ 5 เดือน ก็ปล่อยให้สมาชิกกู้ยืม  และเมื่อครบ 1 ปี เมื่อมกราคม 2549   ก็ให้เงินปันผล      มีสมาชิกเสียชีวิตแล้ว 1  คน  ได้รับเงินช่วยเหลือ 1 พันบาท

·      คุณสายหยุดเป็นข้าราชการ สนใจว่าจะพัฒนาสัจจะไปสู่สวัสดิการได้อย่างไร  อยากทำสวัสดิการโรงเรียน  อยากให้นักเรียนได้เข้าร่วม

·       ชุมชนเมืองอาชีพไม่มั่นคง  แต่คาดว่าต่อไปภายหน้า กองทุนจะช่วยได้

7.คุณวรรณี  ศุภพันธุ์มณี เลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน หมู่ 3  บ้านท่าหว้า  .กะหรอ   เลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล

เลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ

กิ่ง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

เรื่อง       การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

·      คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีการแบ่งงานกันทำและรู้จักหน้าที่มีประธานเครือข่ายกองทุนระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

·       มีการทำงานทุกวันที่ 20  ของเดือน เพียงเดือนละ 1 วัน  ดูแลทั้งกองทุนล้านบาท กองทุนสัจจะ กองทุนลดรายจ่ายวันละบาท โดยทั้ง 3  กลุ่มทำงานในวันเดียวกัน ทีมเดียวกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ได้รับรางวัลในปี 2546 และ 2548

·      ทั้งนี้เนื่องจากมีระบบแรงจูงใจและการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด  คือ

o     ให้เบี้ยเลี้ยง 100 บาทต่อวันต่อคน  ให้ไปเลยไม่ว่าจะมาทำงานหรือไม่ 

o     แต่หากขาดการทำงาน 3 เดือนติดต่อกัน  ให้ออกจากกรรมการ

o     หากมาทำงานสายก็จะหักเงิน

8.คุณสมศักดิ์  สาริกา

ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าหว้า หมู่ 3

ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลกะหรอ   กิ่งอ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

เรื่อง       เครือข่ายระดับตำบล

·       การจัดตั้งเครือข่ายเป็นเรื่องยาก    9 หมุ่บ้านรวมเป็น 1 เครือข่าย  มีการสัญจร  ปรึกษาแต่ละกองทุนแต่ละหมู่บ้าน  เกี่ยวกับปัญหา และความร่วมมือระหว่างกัน

·       แต่ละกองทุนมีปัญหาการชำระหนี้  การทวงหนี้โดยเครือข่ายจะได้ผลดีกว่าการทวงหนี้โดยกลุ่มในพื้นที่หมู่บ้านนั้นๆ

เนื่องจากเวลากระชั้นชิด   สองกลุ่มสุดท้ายจึงมีเวลาพูดสั้นๆ   อย่างไรก็ดี  เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกกลุ่มพยายามรักษาเวลาในการนำเสนอได้ดี   มีการซักถามเพิ่มเติมบ้างในกลุ่มแรกๆ  แต่ไม่มีเวลาซักถามในกลุ่มหลังๆ

เมื่อให้เลือกเรื่องที่จะขึ้นไปนำเสนอในเวทีใหญ่    มีหลายเสียงสนับสนุนให้คุณสามารถ จากจังหวัดลำปางเป็นผู้นำเสนอ เพราะสนใจฟังรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาเครือข่ายของจังหวัดลำปาง  ทั้งนี้อาจเนื่องจากกลุ่มนี้ประกอบด้วยคนทำงานระดับเครือข่ายจึงอาจสนใจแนวคิดดังกล่าว  อีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะการเลือกที่ตัวบุคคลที่คิดว่ามีความสามารถในการนำเสนอมากกว่าคนอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 36868เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท