"ปั้นดินเป็นเงิน" อาชีพเสริมชุมชน


ผมประทับใจนายทหารที่ทำงานอุทิศเพื่อชุมชน เพราะก็เห็นผู้หมวดทุ่มเทกับงานมาโดยตลอดในสถานที่ลำบากและคับขันบางสถานการณ์...ขอชื่นชมด้วยใจ นายทหารผู้ปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

                 บ่ายวันนี้ได้พูดคุยกับ ร.ต.อดิสรณ์ สาระมนต์  นายทหารหนุ่มใหญ่นักพัฒนาผู้ปิดทองหลังองค์พระปฏิมา แห่ง ร. ๗ พัน ๕ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน   ผู้หมวดได้ทำงานพัฒนาชุมชนชายแดนแถบอำเภอปางมะผ้า(แม่ฮ่องสอน) มานาน "ภารกิจ" หนึ่งที่สำคัญนอกจากการเป็นรั้วของชาติ รักษาอธิปไตยของไทย ก็คือ   การสร้างอาชีพให้ชุมชนชายแดน มีอาชีพที่มั่นคง และสามารถสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและให้ขวัญกำลังใจให้กับชุมชนชายแดน ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคนรากหญ้า ชายขอบมาโดยตลอด

                 "กิจกรรมสร้างอาชีพ"  หนึ่งที่น่า สนใจคือการทำ "อิฐดินซีเมนต์อัดบล็อก" ซึ่งอิฐลักษณะแบบนี้สามารถนำไปสร้างบ้านได้ มีความแข็งแรง และสวยงาม ทรัพยากรที่ใช้ก็หาได้จากในท้องถิ่น เพียงแต่มีเครื่องอัดอิฐ ราคาไม่กี่หมื่น กับแรงงานจำนวนหนึ่ง ก็สามารถทำอิฐดินซีเมนต์บล็อกได้

                 “วันนี้จะมาวิจัยอะไรครับ?” คำแซวจากผู้หมวดทำให้ผมอมยิ้ม เพราะผมเองส่วนใหญ่ก็จะทำงานคลุกคลีกับงานวิจัยชุมชน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคิดว่า คำแซวแบบนี้ คงเป็นภาพที่ทุกคนเห็นกันบ่อยๆจนกลายเป็นภาพของผมไปแล้ว

                    “ผมมาวิจัยดินครับ” ผมตอบเล่นๆ เพราะผมได้ทราบข่าวจาก อาจารย์ดิเรก(อาจารย์นักวิจัย)ว่าผู้หมวดได้มาสาธิตการทำอิฐดินที่โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า เพื่อใช้ในการเรียนรู้ให้กับเด็กๆและใช้สร้างอาคารเล็กๆ ให้กับทางโรงเรียนด้วย บังเอิญผมได้ผ่านมาทางนี้พอดี โอกาสดีผมได้ไปดูวิธีการทำอิฐดินทุกขั้นตอนอย่างละเอียด

                  มาเริ่มเรียนรู้กระบวนการดีกว่านะครับ (ผมได้ใช้ภาพประกอบด้วยเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น)

  •  เริ่มด้วยเราหาดินที่มีอยู่ทั่วไป เป็นดินที่ไม่มีความชื้นสูง หรือดินแห้งๆนั้นหละครับ หากเป็นดินสีๆธรรมชาติ (แดง,เทา,ดำ)ก็ยิ่งดีทำให้อิฐที่ออกมาสวยงามด้วยสีสันของดิน ในแต่ละแหล่ง

 

  • นำดินมาร่อนโดยใช้ตะแกรงร่อนเพื่อให้ดินกระจายตัว ไม่จับเป็นก้อน ตรงนี้ ทำให้คุณภาพอิฐเรียบเนียน แน่นสวย (ไม่มีวัสดุที่แปลกปลอมเจือปน)

 

  • เมื่อได้ดินที่ร่อนเสร็จแล้ว นำดินดังกล่าวมาผสมกับปูนซีเมนต์ ในการผสมกับปูนนี้ ผู้หมวดบอกว่า "หากไม่ต้องการคุณภาพมากมายนัก หรือเป็นอิฐที่ใช้ในร่มก็จะใช้อัตราส่วน ดินต่อปูน ๑๐ : ๑ แต่หากอยากได้ความแข็งแกร่ง ใช้ในการสร้างอาคารที่ต้องรองรับน้ำหนัก ก็จะอยู่ที่อัตราส่วน ดินต่อปูน ๑๐ : ๓ หรือ ตามแต่ต้องการ"

 

  • นำดินและปูนที่ผสมกับ คลุกเคล้า ผสมน้ำโดยใช้บัวรดน้ำรดให้ทั่ว พอหมาด จับดูพอเป็นก้อนไม่ชื้น ไม่เปียกมาก

 

  • ตอนนี้ก็ถึงขั้นตอนนำดินที่ผสมแล้วเข้าแบบบล็อกอิฐ ให้เต็ม ใช้แรงอัดโดยแรงคนกดให้แน่น ทราบมาว่าบางสถานที่ใช้วิธีการผ่อนแรงโดยใช้ แรงน้ำแรงเครื่องยนต์ก็มี พออัดแรงได้พอสมควรเราก็จะได้อิฐดินซีเมนต์ที่สวยงาม

 

  • นำไปผึ่งให้แห้งและนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

 

                 อิฐแบบนี้มีคุณสมบัติที่ดีตรงที่ใช้สร้างบ้านอาศัย ช่วงอากาศร้อนในบ้านก็จะเย็น หากเป็นช่วงอากาศหนาวเย็นในบ้านก็จะอบอุ่น เป็นคำยืนยันจากคนที่ใช้อิฐแบบนี้สร้างบ้าน....

น่าสนใจมั้ยละครับ ....

                 อาจจะเป็นกระบวนการคร่าวๆ ไม่ละเอียดมากนัก แต่ก็ทำให้เห็นว่า การสร้างอาชีพ มีหลากหลาย และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประโยชน์ที่สุด

               อีกอย่างหนึ่งผมประทับใจนายทหารที่ทำงานอุทิศเพื่อชุมชน เพราะได้เห็นผู้หมวดทุ่มเทกับงานมาโดยตลอดในสถานที่ลำบากและคับขันบางสถานการณ์...ขอชื่นชมด้วยใจ นายทหารผู้ปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

หมายเลขบันทึก: 36871เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อยากทราบเกี่ยวกับวิธีการทำและรายละเอียวกับวัติถุที่ต้องใช้และเครื่งแม่แบบหาซื่อได้จากไหน แล้วตลาดป็นไง รายละเอียดแบบครบถ้วนครับ ผมขอขอบคุนนะที่นี้ด้วย

คุณแมนครับ

สามารถติดต่อได้ที่นี่ครับ

 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกประสาน

ข้อมูลจาก
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชนบท ( ฝถท .)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนโลยีบล็อกประสาน วว .

เพื่อการสร้างอาคารราคาประหยัด
ติดต่อสอบถามโทร
(Hot Line) (66) 081-7668019

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกประสาน

ข้อมูลจาก
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชนบท ( ฝถท .)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เทคโนโลยีบล็อกประสาน วว .

เพื่อการสร้างอาคารราคาประหยัด

ติดต่อสอบถามโทร

(Hot Line) (66) 081-7668019

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท