๓.การหายใจ
๓.๑ หายใจลึก นอนราบกับพื้น เหมือน ๒.๑ เพ่งความสนใจอยู่ที่การเคลื่อนไหวของท้องเพื่อให้อากาศเข้าสู่ส่วนล่าง ส่วนบนของปอด บริเวณทรวงอกก็จขยายตัว ไม่ควรฝืน หายใจติดต่อกัน ๑๐ ครั้ง ลมหายใจออกจะยาวกว่าลมหายใจเข้าเล็กน้อย
๓.๒ ก้าวเท้าวัดความยาวของลมหายใจ เดินช้า ๆ หายใจธรรมดาวัดลมหายใจเข้าออกด้วยจำนวนก้าว สังเกตลมหายใจอย่างระมัดระวัง หายใจติดต่อกันสัก ๑๐ ครั้ง เมื่อมีปิติให้ขยายลมหายใจเข้าให้ยาวขึ้นอีก ๑ ก้าว ทำอีก ๑๐ ครั้ง แล้วกลับมาหายใจปกติสัก ๕ นาที และกลับมาทำแบบเดิมอีก อย่าฝึกหายใจเข้าหายใจออกเท่ากันเกินกว่า ๑๐-๒๐ ครั้ง
๓.๓ นับลมหายใจ นั่งขัดสมาธิ หรือจะเดินก็ได้ เมื่อหายใจเข้าก็ให้รู้ว่าหายใจเข้า ๑ หายใจเข้า ๒...หายใจเข้า ๑๐ แล้วกลับมานับใหม่อีก ถ้าหลงก็ให้เริ่มต้นใหม่
๓.๔ ตามลมหายใจขณะฟังดนตรี หายใจเบาและยาวสม่ำเสมอตามลมหายใจให้ตลอด ขณะที่มีสติรู้ท่วงทำนองและจังหวะของดนตรีด้วย อย่าปล่อยใจไปที่ดนตรีทั้งหมด แต่พยายามบังคับบัญชาลมหายใจและตัวเองไปด้วย
๓.๕ ตามลมหายใจขณะสนทนา หายใจเบา และสม่ำเสมอ ตามลมหายใจไปขณะที่ฟังคำพูดของเพื่อนและคำพูดของเราเอง ติดต่อกันไปเหมือน ๓.๔
๓.๖ ตามลมหายใจ นั่งขัดสมาธิหรือเดินเล่น เริ่มหายใจเข้าช้า ๆ อย่างปกติ เริ่มจากท้อง มีสติรู้ว่า"กำลังหายใจเข้าออกปกติ" ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๔ ขยายการหายใจเข้าออกให้ยาวขึ้น มีสติรู้ว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าออกยาว "ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง ติดตามลมหายใจอย่างระมัดระวัง ให้มีสติรู้เท่าทันการเคลื่อนไหวทุก ๆ ระยะของท้องและปอด
ตามลมหายใจเข้าและตามลมหายใจออกตั้งแต่ต้น มีสติรู้ว่า "กำลังหายใจเข้าออกและกำลังตามลมหายใจเข้าตั้งแต่ต้นจนสุด"
หายใจต่อเนื่องกัน ๒๐ ครั้ง แล้วกลับมาหายใจปกติสัก ๕ นาที ทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อย่าลืมยิ้มเล็กน้อย เมื่อคล่องแล้วจึงทำขั้นต่อไป
๓.๗ ทำจิตและร่างกายรำงับเพื่อนเข้าถึงปิติสุข นั่งขัดสมาธิ ยิ้มเล็กน้อย ตามลมหายใจเข้าออก เหมือนข้อ ๓.๖ เมื่อร่างกายและจิตสงบแล้ว หายใจเข้าออกอย่างเบา ๆ และมีสติรู้ว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ" ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง
นึกในใจอย่างมีสติว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ" ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง
นึกในใจอย่างมีสติว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ" คงความนึกคิดอย่างนี้ด้วยสติตลอด ๕ นาที ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมงแล้วแต่ความสามารถ
การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการฝึก ควรเป็นไปอย่างผ่อนคลายและนุ่มนวล เมื่อจะหยุดควรเอามือลูบหน้าลูบตาอย่างนุ่มนวล ลูบกล้ามเนื้อ แขนขาก่อนที่จะอยู่ในท่านั่งปกติ
http://images.google.co.th/imglanding?q