beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ถอดบทเรียน : KM-MSU


ทำ KM ภายในเวลา 3.20 ชั่วโมง

   เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 ผมไปเป็นวิทยากรกระบวนการ KM ที่มมส. จึงขอถอดบทเรียนมาบันทึกไว้ ดังนี้

  1. ใช้ Model ปลากัด (Pla-CARD) ดัดแปลงโดยคุณวิชิต  กำหนด KV ใหญ่ (KM to LO) กลาง (Blog to KM) เล็ก (Open Mind Open Blog)
  2. Information เปิดงานโดย ผศ.สังคม ภูมิพันธ์ นายใหญ่ CARD 
    สถานที่จัดคือ ศูนย์พัฒนาภาษา (LDC) ห้อง 104 อาคารราชนครินทร์
    จัดโดย KCC = Knowledge Center for CARD
    วิทยากรกระบวนการ : นายสมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ ประธานฝ่ายเทคนิคเครือข่ายคุณอำนวยจัดการความรู้แห่งชาติ 
    คุณอำนวยจัดการความรู้ : คุณวิชิต เชาวหา
  3. กระบวนการ
    - เตรียมความพร้อม
    - เปิดงาน (10 นาที)
    - Model ปลากัด (30 นาที)
    - แนะนำตัวรอบวง 38 ท่าน (รวมท่านประธานที่อยู่ตลอด) (15 นาที)
    - แบ่งเป็น 3 วง (นับ 1,2,3)
    - แต่ละวงเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในการทำงาน หรือเรื่องประทับใจในอดีต โดยใช้ Tool คือ dialogue และ Deep listining (50 นาทีรวมเบรค)
    - คัดเรื่องเด่นมาวงละ 2 เรื่อง เพื่อมาเล่าในวงใหญ่ รวม 6 ท่าน (45 นาที)
    - หา Key success factor และ แก่นความรู้ (core competence) (20 นาที)
    - สรุปกระบวนการและ เล่าเทคนิคเรื่องบล็อกไปสู่ KM ว่าต้องรวบรวมความกล้า กล้าที่จะเริ่มต้น และรักษาความต่อเนื่อง
  4. AAR โดยผู้เข้าร่วมกระบวนการ หญิง 2 ชาย 2 ถูกคัดเลือก (15 นาที)
  5. สรุป 11 C โดยท่านประธานหรือคุณเอื้อ ผศ.สังคมฯ (10 นาที)
  6. Time เริ่ม 9.00 น. ปิดงาน 12.25 น. พักรับประทานอาหารตามความสะดวกของแต่ละท่าน

 

 

หมายเลขบันทึก: 33481เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2006 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • คล้ายเกมสอนภาษาอังกฤษเลย
  • ท่าทางสนุกดีนะครับ
  • แอบเก็บเกี่ยวเทคนิคบางส่วนจากอาจารย์มาเรียบร้อยแล้วค่ะ

 

ขอบคุณครับท่าน Beeman  ตามมาเรียนรู้ครับ เสียดายที่ไม่ได้มาร่วมงาน

 

นามสกุลผม ชาวะหา ครับอาจารย์

 

          เคยจัดเวทีเรื่องเล่า ...เมื่อทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย....  เมื่อปี 48  ซึ่งตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่อง KM  เลยเพียงแต่คิดว่า มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างจากคนที่ทำงานอยู่หน้างาน ซึ่งมีคุณค่ามากๆ  แต่ไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกมาให้เรียนรู้ร่วมกัน  โดยให้ผู้เล่า เล่าในหัวข้อที่กำหนด (คล้ายประยุกต์หัวข้อวิจัยมาแบบง่ายๆ ) เช่น มีแรงบันดาลใจอะไร  ทำไปทำไม  มีวิธีการทำอย่างไร  ผลลัพธ์เป็นอย่างไร  ได้เรียนรู้อะไรบ้าง   บรรยากาศดีมาก  มีเล่าเรื่อง ~ 12 เรื่อง คนเล่าเรื่องดูมีความภูมิใจ ผู้ฟังก็สนใจ  ทำให้เราเห็นผลการพัฒนางานมาก  แต่เราไม่ได้สรุปแก่นของความรู้หรือหาKey success factor ออกมา   อย่างนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อดีคะ 

โอกาสหน้าคงมีกิจกรรมดีๆเช่นนี้ที่ มมส.อีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท