เตรียมชม 'ฝนดาวตกลีโอนิดส์' วันอังคาร 17-พุธ 18 พ.ย. 2552


 

ล่าสุด!

สรุปการสังเกตการณ์ ปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ปี 2552 โดยศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (pdf)

 


 

เตรียมดูฝนดาวตกลีโอนิดส์

คืนวันอังคารที่ 17 - เช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 

 


ข้อมูลโดยสรุป

 

 

  • เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้ส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะระเหิดออกไป เหลือแต่ฝุ่นหินซึ่งถูกทิ้งเป็นแนวยาว เรียกว่า สายธารอุกกาบาต (meteor stream)

 

  • หากโลกโคจรผ่านบริเวณสายธารอุกกาบาตนี้ ฝุ่นหินก็จะพุ่งเข้าสู่บรรยากาศของโลกอย่างรวดเร็ว และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ แต่ละก้อนเกิดเป็นดาวตก ซึ่งเมื่อมีจำนวนมากก็จะเรียกว่า ฝนดาวตก (meteor shower)

 

  • ฝนดาวตกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ เกิดในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต (Leo) จึงเรียกว่า ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)

 

  • ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตเกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในสายธารอุกกาบาตของ ดาวหาง 55P/เทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ซึ่งมีคาบการโคจร 33 ปี

 

ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (แนวจุดประ) โลก (วงกลมสีฟ้า) และดาวพฤหัสบดี (วงกลมสีน้ำตาล)

 

 

  • ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตมีความสำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเคยแผลงฤทธิ์ในอดีตหลายครั้ง เช่น ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966) เกิดจำนวนดาวตกสูงสุดถึง 144,000 ครั้งต่อชั่วโมง ในกรณีที่มีจำนวนดาวตกมากเช่นนี้ จะยกระดับจาก "ฝน" ไปเป็น "พายุ" และเรียกว่า พายุฝนดาวตก (meteor storm)

 

  •  ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ.1833) ได้เกิดพายุฝนดาวตกครั้งสำคัญทางซีกโลกด้านตะวันตก เช่น แอกเนส เคลิร์ก (Agnes Clerke) นักเขียนเรื่องดาราศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า

       "คืนวันที่ 12-13 พฤศจิกายน ค.ศ.1833 เกิดฝนดาวตกอย่างหนักราวดาวตกจะท่วมโลก เห็นในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ลูกไฟสว่างเป็นทางยาวทั่วท้องฟ้าทุกทิศทุกทาง ท้องฟ้าสว่างอย่างน่าอัศจรรย์ ยากที่จะนับจำนวนดาวตกได้ อาจประมาณราว 240,000 ลูก ในช่วงเวลา 9 ชั่วโมงต่อกัน"

        [อ้างอิง : สิทธิชัย จันทรศิลปิน, เรียนรู้และสังเกตการณ์ฝนดาวตก, หน้า 14]

 

 

  • ตัวอย่างภาพต่อไปนี้แสดงเหตุการณ์พายุฝนดาวตกในปี ค.ศ.1833

 

ภาพพิมพ์แกะไม้ แสดงปรากฏการณ์พายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ในปี ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2376)
โปรดสังเกตปฏิกิริยาของผู้คนในภาพซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป (ภาพนี้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1889)




 


ภาพแสดงพายุฝนดาวตกปี ค.ศ. 1833 เหนือน้ำตกไนแอการา

 


 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

 
  •   ข้อมูลจากศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (Thai SMC) สวทช.

เตรียมตัวดูฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พ.ย. ศกนี้ (pdf)

 

  • ข้อมูลจากหนังสือ เรียนรู้และสังเกตการณ์ ฝนดาวตก เรียบเรียงโดย สิทธิชัย จันทรศิลปิน, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

หน้า 12-13 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้า 32-33

 

 

 

 

 

 


 

คำสำคัญ (Tags): #leonids#ฝนดาวตก
หมายเลขบันทึก: 313336เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ

  • เคยดูฝนดาวตก 2 ครั้งแล้วค่ะ ตื่นเต้นและประทับใจมาก
  • ครั้งนี้จะไม่พลาดเลยค่ะ..
  • ขอบคุณค่ะ

้ กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง มาเจอโดยบังเอิญ มองเห็นทั่วทุกภาคหรือเปล่าค่ะ ตกเยอะมั้ยค่ะ มองด้วยตาเปล่าเห็นมั้ยค่ะ

จะได้ไปเล่าให้เด็กๆฟัง ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ พี่ชิว ;)

ฝนดาวตกซึ่งนำมาซึ่งความตื้นเต้นให้กับผม เมื่อครั้งการโหมข่าวฝนดาวตกเมื่อปี 2541 ปลายปี ;)

ผมจำได้ เพราะผมสามารถใช้กล้องฟิล์มบันทึกที่พอดูได้ของฝนดาวตก ณ ดอยสุเทพ-ปุย ก่อนวันทำนายว่าจะมีเยอะ 1 วัน

แต่ยังหาภาพมาโม้ไม่เจอครับ อิ อิ แหม ... ช่วงนี้เชียงใหม่ฟ้าโปร่งอยู่ แต่ไม่มีกล้องอ่ะ ;(

แหมเป็นช่วงที่อยู่ที่มุกดาหาร ไม่ได้อยู่ที่บ้านขอนแก่น จะหาทางดูครับ มีสถานที่ที่น่าไปนอนดูอยู่ในหมู่บ้าน เป็นลานหินกว้างๆ กำลังถกกันว่าตรงนั้นเป็น pot hole หรือกุมภลักษณ์ ตามหลักธรณีวิทยาหรือ รอยดาวตก เพราะนักวิทยาศาสตร์มี มข.ถกกันอยู่ แต่ชาวบ้านบอกว่าเป็นภูเขาไฟ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ มข.บอกว่าไม่ใช่ปล่องภูเขาไฟแน่นอน แต่จะเป็น ร่องรอยดาวตกกับ กุมภลักษณ์ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป

แต่ อบต. ขึ้นป้ายเป็นปล่องภูเขาไฟ ตรงลานกว้างนี้น่าจะเหมาะนอนดูฝนดาวตก

จะได้ไปหรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะต้องเตรียมงานท่านเลขาสปก.จะไปดูงานวันที่ 18-19 นี้ด้วย ถ้าไม่ได้ไปก็ดูที่หลังคาที่พัก แต่เป็นในเมืองมันจะไม่มืดเท่าที่ควรนะ..ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ปีนี้มีการประชาสัมพันธ์ชวนดูฝนดาวตกเยอะมา รู้สึกอยาก...ตั้งใจ...ไปดูที่ไหนสักที่หนึ่งแล้วสิคะ ขอบคุณค่ะ

  • พี่ชิวครับ
  • ภาวนาให้ฟ้าเปิด
  • จะได้ดู เผื่อจะถ่ายภาพได้
  • ฮ่าๆๆ
  • จะได้เอามาอวดพี่ชิว

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้เกี่ยวกับฝนดาวตก คิดว่าคุณบัญชาลืมเสียแล้ว ศิริวรรณจะนำความรู้ไปเล่าสู่เด็กน้อยในโรงเรียนและถ้าเป็นไปได้ก็จะไปหาที่ดูดาวตกชุดนี้ ไม่ทราบว่าจะไปดูที่ไหนดีจึงจะไม่ไกลนัก (พักที่อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา)
  • เมื่อประมาณสามสิบกว่าปีมาแล้ว ขณะที่น้องชายของศิริวรรณยืนกินลมชมฟ้าในยามค่ำคืนที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ได้พบเห็นดาวตก (ก็ธรรมดาๆ นี่แหละ) แต่เป็นการเห็นดาวตกที่ตกถึงพื้นดิน และได้เก็บวัตถุชิ้นนั้นมาให้พ่อเก็บไว้ วันก่อนศิริวรรณถามถึงดาวตกชิ้นนั้น ก็ได้ทราบว่ายังอยู่ที่บ้าน(ภูเก็ต) ถ้าคุณบัญชาสนใจจะขอให้พ่อถ่ายภาพมาฝาก หรือจะให้ทำอย่างไรก็บอกนะคะ เราอยู่ไม่ไกลกันหรอก เพราะถ้าพ่อมาหาหมอที่รพ.ธรรมศาสตร์ วันที่ ๒๓ พ.ย.นี้ก็จะพักที่บ้านที่คลองหลวงค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

เริ่มประมาณตีเท่าไหร่อ่ะคะ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท