หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

สุดยอดค่ายทัศนศิลป์


ดร.อภิชาติ เคยตั้งข้อสังเกตว่า เด็กไทยมีทักษะทางด้านศิลปะสูง สามารถแข่งขันและชนะเลิศได้รางวัลระดับโลกมากมาย แต่พอโตขึ้นผู้ที่ได้รับรางวัลอะไรต่อมิอะไรต่างกลับหลุดหายไป เราไม่ค่อยเห็นผลงานศิลปะของคนไทยในเวทีระดับโลก เหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้นน่าจะอยู่ที่ “การคิด” เด็กไทยเก่งเรื่อง “เทคนิค” แต่ “คิด” ไม่ค่อยเก่ง คิดวนอยู่ในกรอบเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจุดเน้นในการพัฒนาต่อยอดความสามารถของเยาวชนในค่ายฯ ครั้งนี้ คือ “การคิดเป็น”

ยังมิทันจะพ้นเดือนเมษา...

สายฝนโปรยปรายต่อเนื่อง วันนี้ก็ปาเข้าไป ๔ วันแล้ว ราวกับจะบอกกล่าวว่าบัดนี้กาลกำลังจะเคลื่อนจากคิมหันตฤดูเข้าสู่วสันต์ฤดู

เป็นเพราะฝนยังไม่ยอมหยุด บรรดาเยาวชนราว ๕๐ ชีวิต แทนที่จะได้ออกมานั่งสร้างสรรค์งานศิลปะ บนผืนหญ้าใต้ร่มเงาแมกไม้อันร่มรื่นภายในศูนย์ศิลป์สิรินธร กลับต้องเบียดเสียดทำงานกันอยู่ในห้องประชุมตามการมอบหมายจากวิทยากร

เยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะ เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศ ซึ่งได้รับเชิญจากครูสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร ให้มาเข้า “ค่ายพัฒนาศักยภาพทางศิลปะของเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์” เพื่อพัฒนา เสริมสร้างและต่อยอดความสามารถเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) องค์การมหาชนสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค่ายฯ นี้ กำหนดไว้ ๑๒ วัน ดำเนินการ ณ ศูนย์ศิลป์สิรินธร แหล่งผลิตผลงานทางศิลปะของนักเรียนที่มีคุณภาพ ที่สร้างชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับโลก มีวิทยากรที่เป็นมิตรสหายและลูกศิษย์ลูกหาของครูสังคม ทองมี

วิทยากรอาวุโส ได้แก่ อ.พิชัย นิรันต์ ศิลปินแห่งชาติ, ศ.ปรีชา เถาทอง, ศ.วิโชค มุกดามณี และ อ.นิวัติ กองเพียร วิทยากรประจำ ได้แก่ รศ.ทินกร กาษรสุวรรณ, อ.วุฒิกร คงคา และ ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ

อาจารย์ผู้ช่วยวิทยากร ได้แก่ น.ส.ลำพู กันเสนาะ, น.ส.ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์, นายฑีฆวุฒิ บุญวิจิตร, นายธนากรณ์ อุดมศรี และนายชฎิล ชัยกุล

งานแรกที่เยาวชนผู้เข้าค่ายฯ ได้รับมอบหมายจากวิทยากร คือ การสะท้อนตัวตนลงในผลงานศิลปะ มีเวลา ๒ ชั่วโมง ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน

ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลูกศิษย์ครูสังคม ทองมี หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า งานชิ้นแรกนี้ถือเป็นการ Pretest เด็กที่มาเข้าค่ายฯ ซึ่งงานนี้จะสะท้อนวิธีคิด สะท้อนทักษะ ฝีมือ ความสามารถทางศิลปะ ซึ่งจะทำให้เหล่าวิทยากรทั้งหลายจะรู้จักและเข้าใจเยาวชนผู้เข้าค่ายมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นในการอบรมสั่งสอนต่อไป

ดร.อภิชาติ เคยตั้งข้อสังเกตว่า เด็กไทยมีทักษะทางด้านศิลปะสูง สามารถแข่งขันและชนะเลิศได้รางวัลระดับโลกมากมาย แต่พอโตขึ้นผู้ที่ได้รับรางวัลอะไรต่อมิอะไรต่างกลับหลุดหายไป เราไม่ค่อยเห็นผลงานศิลปะของคนไทยในเวทีระดับโลก เหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้นน่าจะอยู่ที่ “การคิด” เด็กไทยเก่งเรื่อง “เทคนิค” แต่ “คิด” ไม่ค่อยเก่ง คิดวนอยู่ในกรอบเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจุดเน้นในการพัฒนาต่อยอดความสามารถของเยาวชนในค่ายฯ ครั้งนี้ คือ “การคิดเป็น”

“...การเข้าค่ายฯ ๑๒ วันนี้ จะเป็นการฝึกฝนอย่างเข้มข้น เป็นการย่นย่อเอาหลักสูตรที่สอนในมหาวิทยาลัย สำหรับการฝึกฝนผู้เข้าค่ายฯ โดยเฉพาะ...”

อ.วุฒิกร คงคา หัวหน้าภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยากรอีกท่านหนึ่งกล่าวกับผู้เข้าค่ายฯ

กระบวนการพัฒนาในค่ายฯ ผู้เข้าค่ายฯ จะผลิตผลงานศิลปะของตนเองทุกวัน วันละ ๑ ชิ้นเป็นอย่างน้อย ตามโจทย์ที่รับรับจากวิทยากร และในช่วงท้ายของแต่ละวัน งานแต่ละชิ้นจะถูกนำเสนอและได้รับการชี้แนะจากวิทยากร

ผลงานของผู้เข้าค่ายฯ ในแต่ละวัน จะถูกบันทึกและรวบรวมโดยทีมงานค่ายฯ เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินพัฒนาการเป็นระยะ จนถึงสิ้นสุดค่ายฯ

หลังการเข้าค่ายฯ ผลงานของเยาวชนแต่ละคนจะถูกรวบรวมเป็นสูจิบัตร และงานที่โดดเด่นจะถูกคัดเลือกไปจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงาน ๓ ครั้ง ครั้งแรก ณ ศูนย์ศิลป์สิรินธร จ.เลย ครั้งที่สอง ณ ห้องแสดงนิทรรศการวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม และครั้งที่สาม ณ ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายธนัช พรหมเมตตา นักเรียนจากโรงเรียนศรีสงครามวิทยา จ.เลย เยาวชนผู้กวาดรางวัลจากผลงานศิลปะของตนเองจนนับไม่ถ้วน หนึ่งในเยาวชนที่ได้รับเชิญให้มาเข้าค่าย กล่าวว่า

“...ดีใจมาที่ได้มาเข้าค่าย มันเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับตัวเอง มีโอกาสได้เรียนลัด เรียนล่วงหน้าเหมือกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทำให้เราได้พัฒนาฝีมือขึ้น...

...ประทับใจคณะวิทยากรมาก แต่ละคนเก่งมาก ให้คำชี้แนะ คอยบอกสิ่งที่เราผิดพลาด บอกว่าเราควรจะแก้ไขเพิ่มเติมงานของเราอย่างไร...

...พี่ ๆ ที่มาเป็นพี่เลี้ยงก็ดูและให้เราเป็นอย่างดี หากิจกรรมมาให้เราเล่นผ่อนคลายในช่วงที่เราเหนื่อยล้าจากการทำงาน ทำให้บรรยากาศในค่ายไม่เครียดเกินไป...”

นายฑีฆวุฒิ บุญวิจิตร นักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิษย์เก่า ร.ร.ศรีสงครามวิทยา อาสามาเป็นพี่เลี้ยงค่ายฯ กล่าวว่า

“...ดีใจที่มีโอกาสได้ทำประโยชน์ในสิ่งที่ตนเองถนัด ค่ายนี้มีประโยชน์มาก เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเด็กต่างจังหวัดที่จะได้พบกับสุดยอดวิทยากร...

...เด็กแต่ละคนมีความสามารถสูง แต่บางคนก็ยังไม่รู้ว่าเส้นทางการพัฒนาตนเองต่อไปจะเป็นอย่างไร การที่เขาได้พบกับสุดยอดวิทยากร ก็จะช่วยชี้แนะแนวทางพัฒนาต่อยอดได้...”

สายฝนยังโปรยปรายอย่างต่อเนื่อง...

เยาวชนผู้เข้าค่ายฯ ยังคงเบียดเสียดอยู่ห้องประชุมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเองตามโจทย์ที่ได้รับจากวิทยากรอย่างขะมักเขม้น แม้ว่าโจทย์จะยากขึ้น...

หมายเลขบันทึก: 301639เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

สวัสดีค่ะ

เด็กไทยมีทักษะทางด้านศิลปะสูง สามารถแข่งขันและชนะเลิศได้รางวัลระดับโลกมากมาย แต่พอโตขึ้นผู้ที่ได้รับรางวัลอะไรต่อมิอะไรต่างกลับหลุดหายไป เราไม่ค่อยเห็นผลงานศิลปะของคนไทยในเวทีระดับโลก เหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้นน่าจะอยู่ที่ “การคิด” เด็กไทยเก่งเรื่อง “เทคนิค” แต่ “คิด” ไม่ค่อยเก่ง คิดวนอยู่ในกรอบเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจุดเน้นในการพัฒนาต่อยอดความสามารถของเยาวชนในค่ายฯ ครั้งนี้ คือ “การคิดเป็น”

  • อย่าว่าแต่เด็กเลยนะคะเรื่อง...ติดกรอบ
  • คนที่ไม่ใช่เด็กก็...นิยมกรอบเยอะไป
  • หลักสูตร...เขาก็บอกให้เน้น...การสอนคิดเป็น  ทำเป็น
  • แต่ผู้ควบคุมกระบวนการ....ไม่เอาจริงมั้งคะ
  • ชื่นใจกับเด็ก..โดยเฉพาะเด็กบ้านนอกนะคะที่ทีโอกาสร่วมกิจกรรมดี ๆ
  • ตอนพี่เป็นเด็กอยู่โรงเรียน...ที่เชียงใหม่...ประมาณ ม.ต้น ได้พบกับท่าน ดร.สิปนนท์ เกตุทัต ประทับใจจนเดี๋ยวนี้ค่ะ

 

P พี่ครูคิม ครับ

แปลกเน๊อะ คนที่มีคุณูปการณ์ต่อวงการศึกษาบ้านเรา

มักไม่มีใครอยู่ในวงการศึกษา

ดร.สิปนนท์ เกตุทัต เป็น วิศวกร

ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นหมอ

ฯลฯ

อ.อภิชาติ ที่ผมยกคำพูดแกมาอ้างนั้น เป็นเด็กปั้นครูสังคมครับ เป็นรุ่นน้องผมนิดหน่อย แต่เก่งมาก ๆ จบศิลปะจากอังกฤษ สอนที่ จุฬาฯ ครับ เป็นคนอ่อนน้อมมาก ๆ เข้าวัดเข้าวา ธัมมะธัมโม...

 

กระบวนการพัฒนาฯ ดีจังค่ะ..."มีการให้นักเรียนผลิตชิ้นงานศิลปะ แต่ที่ดียิ่งกว่าคือ...มีผู้กูรูคอยแนะนำชี้แนะ"...เยี่ยมค่ะ

งานศิลป์ช่วยสร้างให้เด็กๆ  มีจินตนาการ 

มีความคิดสร้างสรรค์

และคิดนอกกรอบ ได้มาก

ปีนี้  พี่เห็น สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กระทรวงศึกษาธิการ 

ประกาศส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเข้าค่ายต่างๆ ให้มากที่สุด  เพราะการเข้าค่ายให้อะไรที่มากกว่าการเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนอย่างเดียว

และมีงบประมาณรายหัวให้ด้วยค่ะ

 

P อาจารย์ Vij ครับ

ค่ายฯ นี้ถือว่าใช้วิทยากรเยอะมาก ทั้งรุ่นปรมาจารย์ รุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นเล็ก

บรรยากาศในค่ายก็สนุกสนานมากครับ

ตอนแสดงผลงานที่ ธ.ไทยพาณิชย์ ท่านอานันท์ ชื่นชมมาก

 

P สวัสดีครับ พี่ ครูอรวรรณ

ใช่ครับ สพฐ. สนใจและกำลังผลักดันเรื่องนี้อยู่

คุณหญิงกษมา ไม่อยู่แล้ว ไม่รู้ว่าต่อไปจะอย่างไร

เท่าที่ทราบท่านเป็นผู้ผลักดันเรื่องนี้

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

มาอ่านกิจกรรมดี ๆ ครับ  กิจกรรมดีที่น่าสนันสนุน  และมาเยี่ยมท่านหนานเกียรติด้วยครับ 

 

P สวัสดีครับ ท่าน นายก้ามกุ้ง

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

บันทึกนี้ผมเขียนไว้ต้ังแต่ปีแล้ว เอามาปัดฝุ่นแล้วมาแบ่งปันครับ

สัวสดีค่ะ..หนานเกียรติ..(ฮ้องใหม่เน้อ) ชอบที่แบ่งปันสาระดีๆ บันทึกแต่ละเรื่องล้วนแล้วกระตุ้นต่อมคันๆ..ของวงการศึกษาค่ะ ถ้าให้ชั่วโมงสอนในโรงเรียนมากขึ้นกว่าทุกวันนี้..รับรองว่าเด็กไทยเรา คิดเป็น.. เป็นนักสร้างสรรค์..นักพูด..นักการเมืองที่มีความสร้างสรรค์ในสิ่งดีๆคะ คิดว่าวิชาศิลปะเป็นวิชาที่นำไปใช้กับทุกสาระการเรียนรู้..ยิ่งยุคที่เน้นทักษะการคิดแบบ สรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิดนะลูก ระบายสีให้สวยงามนะลูก..

สวัสดีครับน้องหนาน แวะมาเยี่ยมค่าย มาเติมพลังความคิดทางการศึกษา ให้มีปัญญาทางความคิด

*ส่วนหนึ่งที่เด็กโตขึ้นแล้วไม่ค่อยอยู่ในวงการศิลปะ น่าจะมาจากความสามารถของเด็กเอง สภาพสังคม และพ่อแม่เด็กด้วยมังคะ

*เพราะในวัยเด็ก พ่อแม่อยากให้ลูกพัฒนาสมอง พัฒนาอารมณ์ด้วยศิลปะ ก็ส่งเด็กไปเรียน(ส่วนมากเป็นการเรียนวันหยุด) แต่พอเด็กโตขึ้น หากเด็กมีความสามารถด้านอื่น เด็กอาจต้องเลือกวิชาหลักที่จะเรียน และโดยสภาพ มักมีการแข่งขันกันสูง เด็กก็ค่อยๆหลุดจากวงจรศิลปะ ไปสู่วงจรการเรียนพิเศษ

*แต่หากเด็กรักศิลปะจริงๆ ถ้าพ่อแม่เห็นด้วย เด็กก็ได้ทำในสิ่งที่รัก แต่ถ้าไม่เห็นด้วย เด็กก็เข้าไปสู่วงจรเรียนพิเศษอีกนั่นแหละค่ะ

*จำไม่ได้ว่าใครพูดค่ะ ว่าถ้าสามารถเอางานอดิเรกเป็นอาชีพได้ จะมีความสุขในการทำงานมาก

*เป็นไปได้มั๊ยคะ ที่เด็กต้องหันหลังให้วงการศิลปะเพราะสภาพสังคมที่แข่งขัน และสภาพสังคมเองที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการงานศิลปะ (ลองมองตามฝาบ้านเรา มีรูปภาพแขวนติดผนังให้เสพความงามบ้านละสักเท่าไรกัน)

*บ่นไปงั้นค่ะ

ไม่เข้าใจศิลปะอ่ะนะ

ขอเว้น...บันทึกนี้นะ

จะมาชวนเฌวาไปลุยทุ่งนา..บ้านป้าน่ะ

มาชม

เพราสังคมเรามีแต่ห้าม...เด็กเลยไปทำอย่างอื่นเช่น แข่งรถตายไว...

เพราะสังคมเราเอาแต่พวกพ้อง คนเก่งมีความสามารถเลยไม่มีโอกาส...มั้ง...อิ อ อิ

สวัสดีค่ะ พี่หนาน

ตอนนี้เคลียร์งานไปถึงไหนแล้วค่ะ (แวะมาส่งกำลังใจ)อยากให้ไปปายดวยกันเหลือเกินค่ะ..^^เอาใจช่วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจ พร้อมกับมาศึกษากิจกรรมดี ๆ พร้อม ๆ กัน

 

นำสื่อมาฝากครับ
สื่อเหล่านี้นอกจากจะทำให้รู้ว่าใครทำอะไรแล้ว ยังมีมิติของบุญกุศล และองค์ความรู้หรือวิธีการ กระบวนการที่ทำด้วย
แต่ก็นั่นละครับ ในยุคโมหะภูมิเช่นนี้
สื่อดีๆพวกนี้ไม่มีโอกาสออกช่วง prime time พอที่จะให้คุณครูกับเด็กๆได้ชมหรอก
เป็นเสียงที่ไม่ได้ยิน.....และเป็นแสงที่มองไม่เห็น
น้อยคนที่จะมีบุญได้ชม..
.
สื่อชั่วๆออกฟรี สื่อดีๆ เสียสตางค์..... แถมยังวางอยู่หน้า1
คนในชาติเสพอยู่กับสื่อประโลมโลก มีพวกตลกหยาบคายเป็นผู้ผลิต
กับพวกขายเนื้อหนัง บริโภคนิยม สื่อแดงเหลืองกระตุ้นโทสะ โมหะ โลภะ
สังคมไทย จึงดุจดั่งจมอยู่ในบ่ออุจจาระเน่าเหม็น.. ยากจะสัมผัสกับอะไรสะอาดๆ
ช่างน่าสะอิดสะเอียน เวทนาเป็นอย่างยิ่ง 
น่าสงสาร...ประเทศไทย สังคมไทยเสียจริงๆ...
เรามาช่วยกันปฎิวัติวงการสื่อบ้านเรากันเถอะครับ


 

 

P สวัสดีเจ้า คุณครู rinda

ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน...

 

 

P สวัสดีครับ ท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ขอบคุณท่านผู้เฒ่าที่มาเยือน

ผมเคยไปจัดค่ายศิลปะที่เกาะยอด้วยครับ

แล้วจะเอาบันทึกมาแบ่งปันครับ

 

P สวัสดีครับ คุณ ณัฐรดา

แม้จะเป็นคำบ่น

แต่ก็มีสาระที่คมคายครับ

เห็นด้วยกับความเห็นที่แสดงทุกประการ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

 

P  สวัสดีคุณพี่ ครู ป.1

วันนี้พาเฌวาไปยกแปลงเตรียมปลูกผักบุ้งครับ

เฌวามันส์มาก

ส่วนพ่อมันจะตายยยยย เหนื่อยยยยยมากสสสสส์

 

P สวัสดีครับ อ. umi

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ผมไปจัดค่ายศิลปะที่เอกาะยอด้วย

จะทะยอยเอาบันทึกมาแบ่งปันครับ

 

P น้องก้อย ♡*.:。 KiTTyJuMP゚・♡゚゚・~ ครับ

อยากไปมาก ๆ แต่สงสัยจะฝันสลายแล้ว

บอกให้เพื่อนสนิทเลื่อนงานแต่งงานออกไปก่อน เพราะผมติดธุระ

เพื่อนก็ใจแคบไม่ยอมเลื่อนให้

 

น่าสนใจมากครับ ค่ายนี้

 

P สวัสดีครับ คุณ บุษรา

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ศิลปะทุกแขนงทำให้มีจินตนาการที่สร้างสรรค์ขอรับท่านหนานฯ

  

P สวัสดีครับ ท่าน Man In Flame

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนเอาสื่อดี ๆ มาฝากครับ

จะค่อย ๆ ทะยอยดูนะครับ

พอดีว่าเครื่องคอมที่ใช้อยู่ค่อนข้างโบราณ ล่าช้า

ชมไป รอไป ฝึกความอดทนครับ

  • เป็นสื่อเพื่อพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ทางศิลปะที่ดีจังเลยนานเกียรติ เอาอีกๆ
  • อันที่จริง นอกจากสร้างเด็กๆให้ไปโดดเด่นทางศิลปะมากมายทั้งในเวทีระดับประเทศและของโลกแล้ว อาศัยความเป็นมาที่มีมาก่อน และอาศัยความเป็นสถานศึกษาที่อยู่ในท้องถิ่นชนบท ศูนย์ศิลป์สิรินธร ของครูสังคม ทองมี จะตั้งรางวัลศิลปะเด็กระดับประเทศหรือระดับภูมิภาคอาเซียน ให้ประเทศไทยโดยสถานศึกษาในชนบทกลายเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาทางศิลปะนี่ก็คิดว่าเป็นที่ยอมรับในวงการแน่นอนเลยนะครับ แล้วก็มีนัยะต่อการพัฒนาการศึกษา-การพัฒนาคน มากมายนะครับ
  • ผมมีข้อสังเกตเหมือนกับหลายท่านได้พูดถึงบ้าง โดยทั่วไปเรามักสอนศิลปะเด็ก และให้การเรียนรู้แก่สังคมให้ได้รู้จักเรื่องศิลปะ ก็จำเพาะแต่เรื่องความเป็นงานฝีมือกับเทคนิคทางศิลปะ
  • แต่ไม่ค่อยได้เน้นให้เห็นการทำงานศิลปะในแง่ที่เป็นปฏิบัติการทางกระบวนการคิด ปฏิบัติการสื่อสะท้อนวิถีทรรศนะต่อสรรพสิ่ง รวมทั้งความเป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ที่ส่งความรู้สึกและสื่อถึงกันจากใจสู่ใจ ที่พ้นภาษาถ้อยคำและพ้นพรมแดนทางสังคมวัฒนธรรม โดยมีธรรมชาติของความงามเป็นศูนย์กลาง ซึ่งก็จะทำให้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้อย่างกว้างขวาง โดยเทคนิควิธีการกับความถนัดทางฝีมือจะเป็นตัวเลือกไปตามแต่ใครจะชอบอย่างไหนอีกทีหนึ่ง

ศิลปะทุกแขนง..คือความงามจากจิตใจมนุษย์  และเป็นสื่อเรียนรู้ หรือเครื่องมืออันทรงพลังในการขัดแต่งจิตใจของเด็กๆ ในวัยเรียนได้เป็นอย่างดี...

ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ นะครับ

พบอ.สังคมตัวเป็นครามาสาธิตสียี่ห้อหนึ่งที่โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) ยังเก็บภาพและลายเซนต์ไว้...แต่ครูอ้อยเล็กยังไม่มีเวลาระบายสีเลยจ้า...

 

P สวัสดีครับ คุณครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

มีค่ายดนตรีด้วยนะครับ

สุดยอดค่ายดนตรี

 

P สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ วิรัตน์ คำศรีจันทร์

เมื่อภาคฤดูร้อนปีที่แล้ว ผมเป็นผู้รับผิดชอบและประสานงานการจัดค่ายสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ทั้งด้านศิลปะ ดนตรี ภาษาวรรณกรรม การละคร และวิทยาศาสตร์ ครับ

องค์กรเมืการเมืองทั้งภายในและภารนอกเยอะ ผมสู้ไม่ไหวเลยถอยออกมา

สิ่งที่เสียดาย คือ ผมทุ่มเทศึกษาทำความเข้าใจภารกิจนี้ของประเทศอย่างเอาจริงเอาจัง กระทั่งว่ามีความเข้าใจในระดับที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนงาน แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ และไม่แน่ใจว่าความรู้นี้จะได้ใช้ประดยชน์อีกหรือไม่

สิ่งที่ผมเรียนรู้ได้มาก เป็นเพราะมีโอกาสได้ข้ามไปมาหลายด้านหลายสาขา จึงเห็นภาพกว้าง ขณะที่ได้เข้าไปขลุก คลุกคลีกับในแต่ละสาขาก็ทำให้เห็นภาพลึก

ต้ังใจจะเขียนถ่ายทอดบทเรียนประสบการณ์ความรู้สึกนึกคิดครับ แต่ยังมิได้ลงมือ

อาจารย์เข้ามาเยี่ยมแม้มิได้บอกโดยตรง ก็เสมือนจุดประกายครับ

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลี่ยนครับ

 

 

P สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน

ใช่ครับ ศิลปะทุกแขนงทำให้คนจิตใจอ่อนโยน ที่สำคัญมีความเป็นมนุษย์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

 

P พี่ อ้อยเล็ก ครับ

ผมไม่เจอครูนานมากแล้ว น่าจะเกือบปี แต่ก็ยังโทรคุยกันอยู่

ไม่รู้ว่าแกหมดวาระกรรมการ สพฐ หรือยัง

 

ส่งเทียบเชิญมาถึงคุณหนานเกียรติ

และกัลยาณมิตรทุกท่าน 

ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ โครงงานคุณธรรม 

ในงาน"พลังเยาวชน พลังสังคม" ครั้งที่ 1 
"ร่วมสร้างประเทศไทย...ด้วยการให้"

และร่วมเวทีเสวนา


วันเสาร์ที่ 10 ต.ค. : ถอดองค์ความรู้โครงงาน สร้างเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ 
เวลา10.00-16.30น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

วันอาทิตย์ที่ 11ต.ค. : ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ 
เวลา13.00-18.00น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ



ผมก็ถือโอกาสใช้เวทีเสวนาที่สยามกัมมาจลเป็นเจ้าภาพงาน จัดระดมความคิด หัวข้อ ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ขึ้น

ยังไงก็เรียนเชิญ กัลยาณมิตร ผู้รักแผ่นดินทุกท่าน ร่วม work shop ระดมความคิดในเวทีเสวนาได้นะครับ

 

 

P สวัสดีครับ ท่านMan In Flame

น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณมากครับที่ชวน

คาดว่าน่าจะได้ไปแจมด้วยครับ เพราะไม่ได้ไปไหนทั้งสองวันนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท